Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

273


ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
“Highlight”
1 Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคสัปดาห์ที่แล้วยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในบรรดา 5 ประเทศที่เรา cover นั้น มี 4 ประเทศที่ fund flow จากต่างชาติเป็น net inflow ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน โดยยอดซื้อสุทธิรวมกันอยู่ที่ 3,528 ล้านเหรียญ ในขณะที่ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่เป็น net outflow ยอดขายสุทธิอยู่ที่ 92 ล้านเหรียญ
2 ประเทศที่เห็นสัญญาณแรงซื้อเร่งตัวขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ได้แก่ ไต้หวัน (1,884 ล้านเหรียญเทียบกับ 1,588 ล้านเหรียญ) อินโดนีเซีย (491 ล้านเหรียญเทียบกับ 219 ล้านเหรียญ) และฟิลิปปินส์ (38 ล้านเหรียญเทียบกับ 26 ล้านเหรียญ) ในขณะที่เกาหลีใต้มีแรงซื้อชะลอลงเหลือ 1,116 ล้านเหรียญจาก 1,375 ล้านเหรียญ
3 สำหรับ Volume Index ของเซคเตอร์ในไทยและอินโดนีเซีย ที่มีสัญญาณเพิ่มขึ้นคล้ายกัน คือ กลุ่มพลังงานและค้าปลีก ในขณะที่ประเทศอื่นๆจะค่อนข้างมิกซ์ โดยเกาหลีใต้มี Volume Index เพิ่มขึ้นเด่นในกลุ่มสื่อสาร ในขณะที่ฟิลิปปินส์เป็นกลุ่มการเงินการธนาคาร

“Outlook”
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในแง่ของ Volume Index ของสัปดาห์นี้ ได้แก่ (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker)
กลุ่มที่ Volume Index อยู่ในระดับต่ำแต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวอ่อนๆจากโซน oversold คือกลุ่ม Bank
กลุ่มที่ Volume Index อยู่ระดับกลางๆ แต่ค่าเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือกลุ่ม Commerce
กลุ่มที่ Volume Index อยู่ในกลุ่ม leader ได้แก่ Energy & Utilities คาดว่าดัชนีวอลุ่มจะปรับตัวขึ้นสู่กรอบบนได้ภายในไตรมาส 1 นี้

สรุปภาพตลาดวานนี้ ดัชนียังแกว่าง Sideways ต่ออีกวัน หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิคส์กลับมาหนุนตลาด (รีบาวน์เบาๆ ไม่ถ่วงก็ดีแล้ว) DELTA HANA KCE CCET และกลุ่มที่บวกเดน กลุ่มยาง ทั้งยางพารา STA STGT NER และยางมะตอย TASCO (ปันผลดี และเก็ง Outlook งานก่อสร้าง) และหุ้นใหญ่เด่นๆ อย่าง CPN GULF เริ่มเครื่องติด ขณะที่หุ้นกดดันตลาด ได้แก่ PTTEP KBANK ADVANC CPAXT CPF EA CRC BAY

แนวโน้มตลาดวันนี้ XD ฟรี! มีอยู่จริง (สัญญาณ ดี)
“เมื่อวานหุ้นขึ้น XD 2 บริษัทใหญ่อย่าง PTTEP จ่ายปันผล 5.25 ราคาหุ้นลงแค่ 4.5 บาท และ ADVANC จ่าย 4.61 บาท ราคาหุ้นลง 4 บาท แบบนี้แหละที่เรียกว่า XD ฟรี”

เรามองแรงขายที่ออกมาน้อยกว่าปันผลที่ได้รับ เป็นสถานการณ์ที่บ่งชี้แนวโน้มเชิงบวกของภาพรวมการลงทุน...(1) สะท้อนแรงขายเริ่มหมด วอลุ่มหดลงอย่างมีนัยยะ (นลท.ยอมถือรับปันผลไปจนกว่าราคาจะขึ้นจนหลุดดอย) (2) แรงขายยืมหุ้นช็อตบางลงกว่าปีก่อนๆ...


กลยุทธ์สัปดาห์นี้ จึงเน้นไปที่การสะสมซื้อ หุ้นตาม ธีมการลงทุนหลัก 2 เรื่อง (โดยไม่ได้ให้น้ำหนักกับการจัดทัพตาม Sector rotation) คือ (1) การรายงานงบกลุ่มที่เป็นความหวังหมู่บ้านอย่าง ค้าปลีก และหุ้นกลางเล็ก (2) ฤดูร้อน-ผลกระทบจากเอลนีโญ ที่จะผลักดันรายได้ ของกลุ่มที่เชื่อมโยงให้มีโอกาสดีกว่าคาด (ตามที่ BLS Research ออกรายงาน Thai Market Strategy วันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา)

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกเล่นหุ้นตาม ธีมลงทุน Earnings play / หุ้นปันผล / ธีมการลงทุนจากปัจจัยหนุนการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร เช่น เอลนีโญ ทำอุณหภูมิประเทศไทยเฉลี่ย สูงขึ้น มีผลต่ออุตสาหกรรมเชื่อมโยง เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น, ยอดขายสินค้าฤดูร้อนมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล เป็นต้น

วิเคราะห์ทางเทคนิค SET ขึ้นแต่!ยังไปไม่ไกล อยู่ในกรอบแคบ แนะจับตาโครงสร้างสามเหลี่ยมย่อย....ดัชนีต้องผ่านด่าน 1400 จุดขึ้นไปให้ได้เสียก่อน ถึงจะมีโอกาสทดสอบโซนต้านสำคัญที่ 1,430 จุด ขณะที่กรอบล่างย่ำฐานอยู่นาน ไม่หลุดโซนรับบริเวณ 1,350 จุด เกิดภาพ “Triple bottom” คาดจุดต่ำสุดผ่านพ้นไปแล้วนั่นเอง แผนเทรดเน้นซื้อ-ขายหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่ม เลือกหุ้นเป็นรายตัว ธีมวันนี้เลือกหุ้นโรงกลั่น & โรงไฟฟ้า...Note: ถึงแม้สภาพัฒน์ประกาศ GDP ไตรมาส 4/66 โต 1.7% ต่ำกว่าตลาดคาด แต่สูงกว่ากระทรวงการคลังที่เคยให้ไว้ที่ 1.5% เราคาดว่าตลาดมีการรับรู้หรือปรับฐานลงไปแล้ว ลุ้น GDP Q1/67 กลับมาฟื้นตัว!

 


What to watch
หุ้นใน Coverage ที่จะเครื่องหมาย XD สัปดาห์นี้ วันอังคาร INTUCH (1.70 บาท) พุธ THCOM (0.13 บาท) และศุกร์ GLOBAL (25:1 หุ้น และ 0.174 บาท) GPSC (0.44 บาท) // ส่วนสัปดาห์หน้า ที่สำคัญๆ IRPC (0.03 บาท) TOP (2.75 บาท) CPNREIT (0.257 บาท) GULF (0.88 บาท) CBG (0.5 บาท) ITC (0.35 บาท และ PTT (1.20 บาท)
รายงานการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ วันพุธนี้ คาดส่งสัญญาณที่ชัดเจน กว่า การประชุมเดือน มค. หลังเฟดเห็นตัวเลขจ้างงานแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อที่ยังเหนียวแน่นไม่ยอมลงง่ายๆ แต่ตลาดเงิน ที่ดูจะตึงตัว เช่น การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ ในกลุ่มธนาคารเงาอย่างรวดเร็ว คาดว่าเฟดจะแถลงรายงานการประชุม ด้วยท่าที ที่อ่อนลง กว่าการประชุมเมื่อเดือน ม.ค.
งบไตรมาส 4/66 หุ้นรายตัว มีผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้
การประชุมธนาคารกลาง เกาหลีใต้ คาดคงดอกเบี้ย 3.5% ส่วนอินโดนีเซียคงดอกเบี้ย 6%
คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (บอร์ดใหญ่) ขอเวลาศึกษาอีก 3 เดือน เรื่องปลดล็อคเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แบงก์ชาติ ถกข้อเสนอสภาพัฒน์ที่ขอผ่อนคลายเกณฑ์จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 8% กลับมาใช้เกณฑ์ 5% ต่ออีกระยะหนึ่ง (ส่งผลบวกต่อธุรกิจบัตรเครดิตจากรายได้ดอกเบี้ยรับ)
แบงก์ชาติจีนคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% คาดพุ่งเป้าปกป้องเงินหยวน ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเอาไว้ที่ระดับ 2.50% และอัดฉีดสภาพคล่องจำนวน 5 แสนล้านหยวน (ราว 7.039 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบธนาคาร ผ่านทางโครงการ MLF และกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ระดับ 2.5% ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLF เป็นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายเมื่อมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางจีน โดยมีระยะเวลาการกู้ยืม 6 เดือน-1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับธนาคารพาณิชย์
MSCI Rebalance ทั้งในส่วนจีน (66 บริษัทถูกถอดออกจากดัชนี MSCI China Index และดัชนี MSCI All Country World Index) และไทย MSCI Thailand Standard index ถอดหุ้นออก BANPU BJC OSP
FTSE Rebalance ดัชนี Large-Cap ไม่มีหุ้นเข้า แต่หุ้นออกได้แก่ CPF HMPRO IVL SCGP และไปเข้าใน Mid-Cap. แทน (ไม่มีหุ้นออกใน Mid-Cap) ส่วน Small-Cap หุ้นออก KEX RABBIT RAM SAMART WORK (มีผล 15 มี.ค.)

หุ้นแนะนำวันนี้
CPALL Earnings play งบย่อมดีตาม CPAXT ที่แจ้งไปก่อนหน้านี้ รอลุ้นงบดีเกินคาด(S 54 R 57 SL 53)


รายงานพื้นฐานวันนี้
Quantitative Strategy
ดัชนี Market Timing ส่งสัญญาณมิกซ์
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา Market Timing Indicators หลายๆตัวของตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมิกซ์ ยังไม่ได้มีพัฒนาการเชิงบวกที่ชัดเจน โดยภาพที่ดีขึ้น เช่น market volatility และ Short-term Momentum ถูก offset ด้วย Short-term Bull-to-Bear และ Short-term Market Breath ที่อ่อนแอลง ส่งผลให้ Composite Indicator เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มากนัก เราคาดว่าภาพลักษณะนี้จะดำเนินต่อไปอีกราว 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของ earnings season ทำให้ SET อาจยังขาดแรงส่งของโมเมนตัมและติดแนวต้านโซน 1405-1415 จุดไปอีกระยะหนึ่ง

ECON
GDP ปี 2023 เพิ่มขึ้น 1.9% หนุนโดยการท่องเที่ยว
รายงานตัวเลข GDP ไทย 4Q23 เพิ่มขึ้น 1.7% YoY (ลดลง 0.6% QoQ จากรายการปรับปรุงรายการฤดูกาล) โดยการเติบโตถือว่าต่ำกว่าตลาดคาดที่เพิ่มขึ้น 2.5% YoY และ 0.1% QoQ หลักๆ เกิดจากการลงทุนของภาครัฐที่ออกมาต่ำกว่าคาด และการนำเข้าสูงกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม ตัวขับเคลื่อน GDP มาจากการท่องเที่ยวที่กลุ่มโรงแรม-ร้านอาหารเติบโต 10% YoY กลุ่มขนส่ง-โทรคมนาคมเติบโต 5% YoY และคอมเมิร์ช เติบโต 5% YoY ทำให้ภาพรวมปี 2023 GDP ไทยเพิ่มขึ้น 1.9% YoY (ชะลอตัวลงจากปี 2022 ที่ 2.6% และต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.5%) โดยการบริโภคภาคเอกชนนำที่ 7% YoY
ส่วนแนวโน้มใน 1Q24 คาดว่าจะเห็นการเติบโตชะลอตัวลงเหลือ 1.3% YoY (และ 1.1% QoQ) แม้ว่าการท่องเที่ยวจะช่วยหนุนการเติบโตทั้ง YoY, QoQ แต่ พรบ. งบประมาณที่ล่าช้ายังกดดัน ซึ่งเราคาดว่าจะแล้วเสร็จปลาย เม.ย. ส่วนภาพรวมทั้งปี 2024 คาดเติบโต 3.2% YoY แรงหนุนจาก 1) การส่งออกที่เพิ่มจากฐานต่ำ 2) การท่องเที่ยวเติบโตต่อ ขณะที่หาก พรบ. งบประมาณผ่านใน 2Q24 และใช้ใน 2H24 และสามารถคลอดมาตรการกระตุ้นอย่าง Digital wallet ที่มูลค่า 1 หมื่นบาทตามแผน จะคิดเป็น Upside ที่ราวๆ 0.4%

Commodities
กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
BDI และน้ำมัน พุ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ในสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับตัวขึ้นกว่า $2.88 WoW เป็น $81.74/บาร์เรล (บวกต่อ PTTEP) ตามข่าวสถานการณ์ความไม่สงบ
ค่าการกลั่น (อิงสิงคโปร์) ลดลง $1.01 WoW เป็น $8.56/บาร์เรล ส่วนสินค้าใหญ่ (ลบต่อ SPRC และ TOP มากสุด)
ส่วนต่างราคา (Spread) ส่วนใหญ่อ่อนตัวลง จากต้นทุน Naphtha ที่เพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมัน ขณะที่ราคาเคมีภัณฑ์ยังคงตัวได้ (ลบต่อ PTTGC มากสุด)
ราคาถ่านหินเพิ่มต่อเล็กน้อย 1% WoW เป็น $122.79/ตัน (บวกต่อ BANPU)
ค่าระวางเรือเทกอง (BDI) พุ่งขึ้นอีก 6% WoW เป็น 1,586 จุด จากทุกกลุ่ม
ส่วนค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) ลดลงต่อเล็กน้อย 1% WoW เป็น 3,733จุด (ลบต่อ RCL)
Fundamental View: เชิงพื้นฐานเราชอบ PTTEP มากสุดสำหรับพลังงานต้นน้ำ, TOP มากสุดในกลุ่มโรงกลั่น และเป็นโอกาสเก็งกำไร PSL TTA อีกครั้ง

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

Financials
ธปท. เตรียมคุยสภพัฒน์ฯ ทบทวนปรับลดค่างวดบัตรเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมหารือสภาพัฒน์ฯ ทบทวนอัตราผ่อนขั้นต่ำ บัตรเครดิตจาก 8%/เดือน เหลือ 5%/เดือน
View From Fundamental: เราประเมินว่าหากมีการปรับลดอัตราการผ่อนบัตรเครดิตขั้นต่ำจริง ถือเป็นประเด็นบวกต่อผู้ให้บริการบัตรเครดิต ได้แก่ KTC, AEONTS และธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต โดยเรามองว่ายังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ลูกหนี้เป็นหนี้นานขึ้น ส่งผลให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ซึ่งจะสวนทางกับนโยบายของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการให้หนี้ครัวเรือนปรับลดลง

 

 

 

 

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เก็งกำไรงบ บจ. By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม มองห้วงการเก็งกำไร ประเด็นงบไตรมาสแรกปีนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่นักลงทุน ให้น้ำหนักการเก็งกำไร หรือ แม้งบอาจ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้