Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

166

 



ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Momentum Tracker และแนวโน้มตลาดหุ้นโลก
“Highlight”
1 สัปดาห์ที่แล้วยังเป็นช่วงที่ดีของหลายๆสินทรัพย์ ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้น 0.6%, US 10Y Treasury +0.9%, ทองคำ +4.6% และ Bitcoin +9.4%
2 หุ้น Big Tech สหรัฐหลายๆบริษัท เช่น NVDA AMD และ META แม้จะยังปิดบวก WoW แต่มีสัญญาณ reversal จากแรงขายอย่างรุนแรงในวันศุกร์ ทำให้กราฟรายวันปิดในรูปแบบ big red candle
3 สหรัฐรายงานตัวเลข Nonfarm Payrolls เดือน ก.พ. ออกมาที่ 275,000 ตำแหน่ง ดีกว่าตัวเลข 200,000 ตำแหน่งที่ Consensus คาด โดยการจ้างงานที่แข็งแกร่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม health care และหน่วยงานของภาครัฐ ในขณะที่การจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมยังอ่อนแอลง
จากภาพดังกล่าวจึงอาจทำให้ตลาดกังวลว่าจะส่งผลต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ตามเรามองว่า ภาคการจ้างงานของสหรัฐไม่ได้แข็งแกร่งอย่างที่ตลาดคิด แต่มีแนวโน้มที่อ่อนแอลงจากสัญญาณดังต่อไปนี้
3.1 เพิ่งมีการปรับตัวเลข Nonfarm Payrolls เดือน ธ.ค. 2023 และ ม.ค. 2024 ลงจำนวน 43,000 ตำแหน่ง และ 124,000 ตำแหน่ง ตามลำดับ
3.2 อัตราการว่างงานล่าสุดเพิ่มขึ้นสู่ 3.9% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2022 และสูงกว่า consensus คาด
3.3 ตัวเลขการจ้างงานใน Indeed ซึ่งเป็นเว้ปไซด์หางานชั้นนำ (Indeed Job Openings) ได้ส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ติดลบทั้ง MoM และ YoY มาไม่ต่ำกว่า 15 เดือนแล้ว
3.4 Quit Rate ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากพีคที่ 3 ในปี 2022 เหลือ 2.1 ในปัจจุบัน โดย Quit Rate ที่ลดลงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสภาพทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่อ่อนแอลงได้เช่นกัน โดย Quit Rate ที่ปรับตัวลงมากมักจะตามมาด้วย Recession อีกด้วย ดังนั้นจากแนวโน้มที่เป็นอยู่เราจึงเชื่อว่าเฟดจะไม่เลื่อนการลดดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปไกลกว่าไตรมาส 2


“สำหรับปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันอังคาร: (1) US Core Inflation เดือน ก.พ. (consensus คาดชะลอตัวลงจาก 3.9% YoY เป็น 3.7% YoY) และ (2) China Outstanding Loan Growth (consensus คาดขยายตัวที่ 10.2% YoY)
วันพฤหัสบดี: (1) US PPI (consensus คาดเพิ่มขึ้น 0.3% MoM) และ (2) US Retail Sales (consensus คาด +0.7% MoM)
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในสัปดาห์นี้”
1 เราคาดว่าหลายๆดัชนีจะสวิงรุนแรงขึ้นภายในสัปดาห์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 ดัชนี Nasdaq100 จะผันผวนขึ้น และผันผวนกว่าดัชนี S&P500 จากสัญญาณของ Momentum Tracker ที่อ่อนแอลงชัดเจนกว่า
1.2 ดัชนี Nikkei225 จะแกว่งตัวมากขึ้นเช่นกันหลังจากที่ปรับตัวขึ้นเกิน 40000 จุดแล้วยืนไม่ได้ จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการสร้างพลังก่อนขึ้นทดสอบใหม่
1.3 ตลาดหุ้นเวียดนามสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวขึ้น 3.8% WoW และ outperform ตลาดหุ้นโลก แต่สัปดาห์นี้อาจ pullback จากภาวะ technical overbought อย่างไรก็ตาม การพักฐานดังกล่าวจะทำให้เกิดการฟอร์มตัวในรูปแบบ cup & handle ตามมา ซึ่งเป็น positive pattern คล้ายกับที่เคยเคยขึ้นกับตลาดหุ้นสหรัฐมาแล้วในปลายปีก่อน
1.4 ดัชนี Shanghai Composite มีแนวโน้มซิกแซกขึ้นต่อ หนุนโดยรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่กลับมาเป็นบวก 0.7% YoY หลังจากติดลบมาติดต่อกัน 4 เดือน รวมถึง Momentum Tracker ที่ฟื้นตัวจาก oversold zone
2 แนวโน้มของสินทรัพย์อื่นๆมีดังนี้
2.1 ราคาของ US 10Y Treasury เริ่มฟื้นตัวในสัปดาห์ที่แล้ว และคาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อในระยะสั้น หลังจากที่ yidld หลุดตำแหน่ง major support ที่ 4.1% เราจึงแนะนำให้ทยอยซื้อสะสมพันธบัตรต่อ
2.2 Gold spot ปรับตัวขึ้นทดสอบ 2,150 เหรียญได้ตามคาด แต่สัปดาห์นี้ราคาอาจพักตัวจากภาวะ technical overbought อย่างไรก็ตามเรามองว่าเป็นการพักระยะสั้นเท่านั้น คาดว่าหลังพักตัวเสร็จสิ้นราคาจะขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 2,300 เหรียญ
3 ตัดกลับมาที่ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่แล้วมี performance ที่ดีขึ้น โดยได้ outperform ดัชนี MSCI All-Country World Equity ราว 0.8% เราคาดว่าสัปดาห์นี้ SET จะปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 1405 จุดอีกครั้ง

สรุปภาพตลาดวานนี้ วันศุกร์ที่ผ่านมา SET รีบาวน์จากแรงซื้อกลับ ในหุ้นใหญ่ เช่น DELTA AOT GULF GPSC EA CPAXT MINT หุ้นกลางกลุ่ม JMART JMT SINGER SGC และอื่นๆ SAWAD STEC และดันหุ้นเล็กต่อ STP PROEN SHR SAFE เป็นต้น ขณะที่ขาลบ แรงขายน้อยกว่า เช่น PTT CPALL CPF BDMS BCH เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
กลับมา Online อีกครั้ง
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยไหลลงมาตามที่เราคาด และรีบาวด์ ในกรอบที่เราประเมิน 1,350-1,380 จุด โดยหุ้นที่โดนแรงขายหนักในช่วงก่อนหน้าเริ่มมีแรงซื้อคืน เช่น DELTA HANA BAM BTS ADVANC ส่วนกลุ่มที่ค้ำตลาด เช่น พลังงาน สื่อสาร ค้าปลีก ธนาคาร

แนวโน้มสัปดาห์นี้ คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสร้างรูปแบบการฟื้นตัวจากโซนแนวรับ ซึ่งครั้งนี้จะเข้าสู่เดือนที่ 5 ที่ตลาดหุ้นไทย เล่นในกรอบ 1,350-1,430 จุด ดังนั้นกรอบสัปดาห์นี้ จึงคาดยกสูงขึ้น เป็น 1,365-1,395/1,400 จุด

โดยปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นไทยแกว่งขึ้นจากโซนแนวรับ คือ ความชัดเจนจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐระหว่าง วันที่ 19-20 มีค.นี้ คาดส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิย.นี้เป็นครั้งแรก,

ด้านปัจจัยในประเทศ คือ การพิจารณาร่าง พรบ.งบปี 67 โดยสภาผู้แทนฯจะพิจารณา 20-21 มีค.และวุฒิสภาจะพิจารณา 25-26 มีค. เพื่อให้ทันนำขึ้นทูลเกล้าฯประกาศใช้เป็น กม. 3 เมย.นี้ และ เริ่มใช้จ่ายงบได้ทันที ซึ่งเรามองว่าจะเป็นประเด็นหลักที่ทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจ และกำไร บจ. ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เมื่อ ตลท.จบการรับฟังความเห็นสาธารณะ กลางเดือน มีค.นี้ไปแล้ว การเริ่มใช้เกณฑ์คุมความผันผวนของตลาด คือ มาตรการคุม Short sell และบอทเทรด ในช่วงไตรมาส 2 นี้ เป็นต้นไป เราคาดว่าจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนบางส่วนให้กลับคืนมาได้


กลยุทธ์การลงทุน
เลือกเล่นหุ้นตาม ธีมลงทุน Earnings play / หุ้นปันผล / ธีมการลงทุนจากปัจจัยหนุนการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร เช่น เอลนีโญ ทำอุณหภูมิประเทศไทยเฉลี่ย สูงขึ้น มีผลต่ออุตสาหกรรมเชื่อมโยง เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น, ยอดขายสินค้าฤดูร้อนมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล เป็นต้น

วิเคราะห์ทางเทคนิค ดัชนีฟื้นตัวไปได้สวย ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 จับตากราฟ week ปิดสวย ปิด high! ขณะที่ price pattern “Triple bottom” บ่งชี้จุดต่ำสุดผ่านพ้นภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ RSI cross ตัดเส้น signal line ขึ้น ทะลุ level 50 สำเร็จ แสดงพละกำลังและความแข็งแกร่ง สรุป:แนวโน้ม SET สัปดาห์นี้ลุ้นทดสอบหรือทะลุ 1,400 ส่วนแผนวันนี้ “ถูกทาง…แนะลุยต่อ” Note: เรายังมีบทวิเคราะห์ “World Asset Class” หัวข้อ แผนเทรด…เมื่อน้ำมันจ่อทะลุโซนต้าน & Fund flow กำลังจะไหลเข้า bond
(อ่านต่อหน้า 11)


What to watch
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ระหว่าง 19-20 มี.ค.นี้
XD Effect หุ้นขึ้นเครื่อง XD รับปันผล
สภาฯไทยพิจารณางบประมาณปี 2567
แนวทางการคำนวณสูตรค่าไฟ งวด พ.ค.-ส.ค.
แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯวันอังคาร มีโอกาสสูงเกินกว่าตลาดคาดที่ 0.3 ถึง 0.4% m-m
สัปดาห์ที่แล้วตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาด เป็น 2.75 แสนราย จากคาดเพิ่มแสนต้นๆ แต่ตัวเลขอัตราว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.9% เกินคาดที่ 3.7% คาดหนุนการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของเฟดในเดือน มิ.ย.ตามที่ตลาดคาด


หุ้นแนะนำวันนี้
STA เก็งกำไรตามทิศทางราคายางที่ปรับขึ้น ขณะที่ภาครัฐเข้มปราบยางเถื่อน โชว์ผลงานราคายางปรับขึ้นตามแผนงาน (S 19 R 21 SL 18)
NER (S 5.6 R 6.1 SL 5.5)

สรุปประเด็นจาก Quick take

Utilities

แนวโน้มค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค
กกพ. รับฟังความคิดเห็นการปรับค่าไฟ (Ft) 3 แนวทางสำหรับงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2024
View From Fundamental: ข่าวดังกล่าว น่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่ม SPP จากแนวโน้มผลประกอบการในช่วง 2Q24-3Q24 ที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากราคาก๊าซที่ลดลง เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" ต่อ BGRIM (ราคาเป้าหมาย 33 บาท) และ GPSC (ราคาเป้าหมาย 65 บาท)


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เก็งกำไรงบ บจ. By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม มองห้วงการเก็งกำไร ประเด็นงบไตรมาสแรกปีนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่นักลงทุน ให้น้ำหนักการเก็งกำไร หรือ แม้งบอาจ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้