Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

186

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
“การขึ้นดอกเบี้ยของญี่ปุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องหนี้หรือไม่?”
หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีกในปีนี้ ก็อาจทำให้นักลงทุนหลายๆท่านอาจเกิดคำถามว่า ญี่ปุ่นจะเกิดปัญหาเรื่องหนี้ตามมาหรือไม่ เพราะมีหนี้สาธารณะสูงถึง 250% ของ GDP เช้านี้จะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยกับบทความที่เราเคยอัปเดตให้ในปีที่แล้ว โดยแบ่งการอภิปรายเป็นสองประเด็น ดังนี้

ประเด็นแรก: ทำไมเป็นประเทศที่ร่ำรวยแต่มีหนี้สาธารณะสูง
หลังจากฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นญี่ปุ่นแตกในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลงอย่างมาก และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย รัฐบาลจึงพยายามใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายจากเงินออมของภาคเอกชน และหนุนอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนี่เองที่ทำให้หนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ญี่ปุ่นก็ยังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการมีอัตราการเกิดต่ำซึ่งเป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับปัญหาแรกพอดี โดยประชากรมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 28.2 ปีในปี 1970 เป็น 40.7 ปีในปี 2000 และ 48 ปีในปัจจุบัน
จากการที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น จึงทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นของรัฐบาล

สรุปในประเด็นแรก: สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงก็คือ
1 ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นแตกในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซา
2 รัฐบาลใช้นโยบายการเงินขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น
3 ประชากรญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น


ประเด็นที่สอง: ทำไมญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงมานานแต่ไม่ประสบปัญหาทางการเงิน
การอธิบายเรื่องนี้ต้องใช้เรื่องทางบัญชี โดยการหักสินทรัพย์บางรายการออกจากฝั่งของหนี้สิน เพื่อนำมาหาค่า Net Debt to GDP ซึ่งการคำนวณนี้เป็นไปเพื่อให้เห็นภาพความเสี่ยงที่แท้จริง

หากพิจารณารายละเอียดในฝั่งสินทรัพย์จะพบว่า มีรายการที่ธนาคารกลางและหน่วยงานของรัฐถือหุ้นและหลักทรัพย์ต่างๆไว้ในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศอื่นเป็นอย่างมาก กล่าวคือสูงถึง 130% ของ GDP จึงทำให้เมื่อนำมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้มาหักออกไป ก็จะทำให้ “หนี้สินสุทธิ” ของญี่ปุ่นลดลงเหลือประมาณ 120% ของ GDP เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขหนี้สาธารณะรวมมาก

สรุปก็คือ ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีตัวเลขหนี้สาธารณะสูงถึง 250% ของ GDP แต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ระดับหนี้สุทธิที่แท้จริงไม่สูงอย่างที่เห็น นี่เลยเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมสถานะความน่าเชื่อถือทางการเงิน (Credit Rating) ของประเทศญี่ปุ่นจึงยังคงอยู่ในระดับ A ได้ และไม่ได้มีความเสี่ยงเรื่องหนี้สาธารณะที่มากกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น สหรัฐ เป็นต้น

สรุปภาพตลาดวานนี้ SET บวกกลับมาเล็กน้อย แต่มีหุ้นบวกแรง LH AP (เก็งมาตรการอสังหาฯ) หุ้นอิงคริปโตฯ JTS ZIGA JAS XPG BROOK ALPHAX และแอลฟา อื่นๆ TPL TPOLY THCOM เป็นต้น ส่วนหุ้นใหญ่ด้านบวก DELTA HANA CPAXT AWC KBANK KTB KTB บวกสู้กลุ่มลบ เช่น ADVANC AOT PTT TOA GULF MINT

แนวโน้มตลาดวันนี้
ปัจจัยหนุนบวกหุ้นรายตัว
วันนี้คาดหุ้นไทยรายตัวโดยเฉพาะขนาด กลาง เล็ก และหุ้นที่ราคาลงแรงก่อนหน้านี้มีแนวโน้มจะถูกเร่ง ซื้อคืน หนุนภาพรวมวันนี้เป็นบวกมากขึ้น จากมาตรการที่ ตลท. ทยอยออกมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเท่าเทียม ให้กับ นลท. เช่น ล่าสุด ตลท.จะเพิ่มรายงานหุ้นยืมช็อตที่ยังไม่ได้ซื้อคืน นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวบวกหุ้นรายตัวรายกลุ่ม เช่น กระแสรัฐบาลเตรียมออกแพ็กเกจ กระตุ้นอุตสาหกรรมอสังหาฯ...
โดยเรายังคงรอจังหวะสะสมหุ้นตามกระแสการลงทุนใหม่ ตลอดทั้งปลายเดือนนี้ต่อเนื่อง เมย. คือ
1. แรงซื้อคืน (covered short) หุ้นที่ลงแรงหรือตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวก เช่น การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในประเทศจะมาเร็วขึ้นกว่าที่คาด, การพลิกฟื้นของเศรษฐกิจฐานราก ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตร และมาตรการอุดหนุนจากภาครัฐ
2. หุ้นตามกระแสการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร จากสถานการณ์พิเศษ หรือ ปัจจัยฤดูกาล เช่น วันหยุดยาวฤดูร้อน เทศกาลสงกรานต์ หนุนการบริโภค และ กลุ่มเครื่องดื่ม, เตรียมทัพโปรโมชั่น อาหารและเครื่องดื่มรับ ฟุตบอลยูโร 24 (มิย.-กค.) และ โอลิมปิค 24 (กค.-สค.), กระแสเศรษฐกิจโลกใหม่ AI, ไบโอเทคโนโลยี, หุ้นเติบโตสูง เป็นต้น
3. ปัจจัยมหภาคหนุนความเชื่อมั่น เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จีน (มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลกลาง) ญี่ปุ่น (การขึ้นค่าแรง, เศรษฐกิจฟื้นตัวในรอบหลายสิบปี)
สำหรับกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้คาด ยกฐานใหม่สูงขึ้น แต่จะยังไม่ทะลุผ่านแนวต้าน ดังนั้นกลุ่มหุ้นเด่นคาดว่าจะหมุนลงมาเล่นหุ้นกลางเล็ก, หุ้นเติบโตสูง มากกว่าหุ้นบูลชิพใหญ่

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกเล่นหุ้นตาม ธีมลงทุน Earnings play / หุ้นปันผล / ธีมการลงทุนจากปัจจัยหนุนการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ดีดเด้ง แต่ยังคงอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม sideway ออกข้าง...รอจังหวะเลือกทาง ส่วนเงื่อนไขของตลาดมีทางเลือก 2 ทางเลือก Bull (or) Bear …โดยเรายังคงให้น้ำหนักในแบบ sideway & triple bottom ซึ่งชี้ว่าดัชนีมีโอกาสผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โซนรับ 1,350 จุด สู้ได้ รอทะลุกรอบบนที่ 1,390 จุด ในทางตรงข้ามหากเป็นรูปแบบขาลง “Inverse Head & Shoulder” โอกาสพอมีแต่ยังให้น้ำหนักน้อยกว่า แนะติดตามตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนก.พ. ประกาศโดย BOT สิ้นเดือนนี้...หากตัวเลขออกมาดีจะช่วยสบับสนุนมุมมองตลาดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Note: บทวิเคราะห์ “World Asset Class” หัวข้อ “น้ำมัน…ขาขึ้น & บาทอ่อนถึงจุดวัดใจ

 

What to watch
เงินเฟ้อสหรัฐฯ PCE สัปดาห์นี้: ซึ่งจะมีผลต่อ คาดการณ์นโยบายการเงิน และการเดินหน้านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น (ลด QT)
เริ่ม 9 เมย.นี้ ตลท.เพิ่มรายงาน รายชื่อหุ้นยืมขายช็อต ที่ยังไม่ได้ซื้อคืน (คาดความรัดกุมที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และปิดช่องโหว่การ ขายช็อตหุ้นแบบผิด กม.)
จีนเตือนความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์เข้าสู่ช่วงวิกฤต เหตุข้อพิพาททะเลจีนใต้ล่าสุด
เมื่อวานพาณิชย์รายงาน ตัวเลขส่งออกเดือนก.พ. ขยายตัว 3.6% ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ 3.9-4.3%
นักเศรษฐศาสตร์คาดแบงก์ชาติจีนเตรียมลด RRR อีก 2 ครั้งปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หากเป็นไปตามคาดการณ์ จะทำให้ PBOC ปรับลด RRR ลงรวม 0.50% และคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

หุ้นแนะนำวันนี้
ลุ้นมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมอสังหาฯ จากภาครัฐ
SC (S 3.5 R 3.9 SL 3.4)
AP (S 10.8 R 11.5 SL 10)


รายงานพื้นฐานวันนี้

AMC Sector
กลุ่มบริหารสินทรัพย์
ชอบกลุ่มหนี้ไม่มีหลักประกันมากกว่า
เราประเมินว่าธุรกิจบริหารหนี้แบบไม่มีหลักประกันจะยังดีในปีนี้ หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และผลบวกจากปริมาณหนี้ที่บริหารเพิ่มขึ้น เพราะการเจรจาตามเก็บหนี้ที่ไม่มีหลักประกันจะเริ่มจัดเก็บเงินสดได้เร็วกว่าเฉลี่ยที่ราว 6 เดือน เทียบกับการเจรจากับลูกหนี้ที่มีหลักประกันที่ต้องใช้เวลาเฉลี่ยราว 3-5 ปี ขณะที่ธุรกิจบริหารหนี้แบบมีหลักประกันเราคาดว่าจะฟื้นตัวค่อนข้างช้า เพราะธนาคารยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า 3 ล้านบาท และลูกค้าของ BAM ที่ต้องการซื้อ NPL และ NPA ขนาดกลางและใหญ่มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ก็ชะลอการตัดสินใจออกไปก่อน เพราะรอความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนก่อนค่อยเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
Fundamental View: ในกลุ่มบริหารสินทรัพย์ เราแนะนำซื้อ JMT ขณะที่ BAM เรายังแนะนำขาย

PLANB
แพลน บี มีเดีย
ราคาที่ลงมาเป็นโอกาสซื้อ
แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจใน 1Q24 ยังเป็นปัจจัยกดดันภาพเม็ดเงินโฆษณาโดยรวม แต่ธุรกิจสือ่นอกบ้านยังเห็นการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องโดยคาด Utilization rate ที่ 67-68% เทียบกับ 65% ใน 1Q23 และกำลังการผลิตสื่อเพิ่มขึ้น 10% YoY โดยเราประเมินกำไรอยู่ที่ราว 150-160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% YoY แต่ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล เราประเมินกำไรจะเร่งตัวขึ้นใน 2Q24 หลังจากที่มีสื่อใหม่อย่างนครชัยแอร์และ MuvAds เข้ามา และยังมีกาปรับขึ้นราคาสื่อในสนามบินอีกราว 5% อีกทั้งจะเริ่มรับรู้รายได้จากโอลิมปิกเข้ามา นอกจากนั้นกระแสบอลไทยยังเป็นปัจจัยหนุน

XPG
(Visit Note)เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล
1Q24 กำไรดีต่อเนื่อง
ปี 2023 XPG มีการปรับสัดส่วนการลงทุนและมีการให้สินเชื่อเพิ่มมากขึ้นทำให้ผลประกอบการพลิกเป็นกำไรได้ เรามองว่ากำไรของ XPG จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในปี 2024 จากทั้งรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะธุรกิจ Digital Asset) ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ที่ 1,000 ล้านบาทแบ่งเป็น 55-60% มาจากรายได้ดอกเบี้ย (โตขึ้น 18-29% YoY) และ 30% จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ
ส่วนธุรกิจ Digital Asset เราคาดจะมีการเติบโตดีหนุนจาก 1) ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการซื้อขายหลังจาก BTC มีการทำ ATH ไป (จะเกิด Halving ในปีนี้) และ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการโอนขายคริปโท และ สำหรับ Digital token แบบ Utility Token (คาดว่าจะช่วยหนุนธุรกิจ ICO ด้วย) 2) บริษัทมี Pipeline ICO 2-3 ดีลแล้วสำหรับปีนี้ 3) ใน 2Q24-3Q24 คาดว่าจะมีการ ICO แบบ PP มูลค่าประมาน 500 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้ม 1Q24 เราประเมินกำไรจะเติบโตต่อเนื่อง QoQ และพลิกจากขาดทุน 38 ล้านบาทใน 1Q23 หนุนจาก 1) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการซื้อขายของธุรกิจ Digital Asset
Our view: หากอิงตามเป้ารายได้ของบริษัทเราคาดกำไรที่ 200 ล้านบาท (โต 89%) ราคาปัจจุบันเทรดที่ Forward PER ที่ 80 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ้มโบรกเกอร์ที่ 12.6 เท่า BAM ที่ 18 เท่า และ JMT ที่ 14 เท่า น่าจะสะท้อนการพลิกเป็นกำไรไปมากแล้ว แนะนำ wait-and-see


สรุปประเด็นจาก Quick take

AUTO
ยอดผลิตรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567

View From Fundamental:เรามีมุมมองออกมาเป็นลบโดยยอดขายในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาเดิมๆและแม้ว่ายอดส่งออกจะโตขึ้น YoY และ MoM เรามีมุมมองระมัดระวังต่อยอดผลิตรถยนต์รวมที่ยังคงไม่ฟื้นตัว และอยู่ระหว่างการทบทวนประมานการของ SAT และ AH (คาดว่าจะมีการปรับลง) เราคงชอบ nex มากที่สุดจากการ เปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นในประเทศ

EXPORT
ส่งออกเดือน ก.พ. 67 โตต่ำกว่าคาดแต่...ดุลการค้าดีกว่าคาด
ตัวเลขส่งออกเดือน ก.พ. โต 3.6%Y ชะลอลงจากเดือนก่อนที่โต 10%Y และต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะโต 4.4%Y สินค้าที่เห็นสัญญาณการเติบโตได้ดีในเดือนนี้ได้แก่กลุ่มยาง อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับตลาดหลัก การส่งออกไปสหรัฐยังคงเติบโตดี ขณะที่การส่งออกไปในอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านเริ่มชะลอตัว และการส่งออกไปจีน ญี่ปึ่นและสิงคโปร์พลิกกลับมาติดลบ แนวโน้มในเดือนหน้า อาจจะเห็นตัวเลขที่ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่นะครับ จากฐานที่สูง แต่หากมองโดยรวมทั้งปี เราคาดการส่งออกจะยังคงเติบโตได้ราว 2% จากฐานที่ต่ำ รวมถึงการนำเข้าวัตถุดิบก็เติบโตอย่างอย่างเนื่องด้วย สำหรับดุลการค้า แม้เดือนนี้จะขาดดุล 554 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ต่ำกว่าที่ตลาดคาดขาดดุลเกือบพันล้านเหรียญ ซึ่งโดยรวมทั้งปีคาดจะเห็นดุลการค้าที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน ที่ขาดดุล 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เก็งกำไรงบ บจ. By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม มองห้วงการเก็งกำไร ประเด็นงบไตรมาสแรกปีนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่นักลงทุน ให้น้ำหนักการเก็งกำไร หรือ แม้งบอาจ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้