Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

204


เกมส์เปลี่ยน
ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.67 ของสหรัฐออกมาที่ 3.1% YoY ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.9% ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้มุมมองเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed เปลี่ยนไป โดย Fed Watch Tool แสดงความน่าจะเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกเดือน มิ.ย.67 และทั้งปีอาจปรับลดเพียง 3 – 4 ครั้ง การคงดอกเบี้ยระดับสูงที่ยาวนานขึ้น และการปรับลดดอกเบี้ยที่น้อยลง ทำให้ค่าเงินUSD แข็งค่า ส่วนในบ้านเรา หากกำหนดการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed เลื่อนออกไป ทำให้โอกาสที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน เม.ย.67เกิดขึ้นได้ยากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ในระยะต่อไป ขณะที่เศรษฐกิจบ้านเราต้องหวังพึ่งพามาตรการการคลังเข้ามากระตุ้นมากขึ้น ส่วน Investment Theme ต้องเปลี่ยนจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง มาให้ความสำคัญกับหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าคาดว่า SET Index จะได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด และดอกเบี้ยสูงที่ยังยืนระยะต่อไปอีกช่วงหนึ่ง วันนี้ประเมินกรอบ 1385 – 1400 จุดหุ้น Top Pick เลือก BDMS, CBG และ PTTEP

 

Fed อาจตรึงดอกเบี้ย 5.5% ลากยาวถึงกลางปีนี้ หลังเงินเฟ้อยังห่างไกลเป้าหมาย
รายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. 67 โดย Headline CPI +3.1%YoYชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 3.4%YoY แต่อยู่ในระดับสูงกว่าตลาดคาดที่ +2.9%YoY มีแรงหนุนหลักๆ มาจากหมวดภาคบริการ อาทิ Shelter, Medical Care Servicesเป็นต้น ขณะที่ Core CPI ล่าสุด +3.9%YoY ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ +3.7%YoY

ทั้งนี้แนวโน้มเงินเฟ้อมีโอกาสขยับตัวสูงขึ้นได้ในระยะข้างหน้า หลังราคาพลังงานจ่อดีดตัว ซึ่งราคาน้ำมันดิบ WTI วานนี้ +1.2% ทะลุ 77 เหรียญฯ และหากนับตั้งแต่ต้นเดือนก.พ. ปรับตัวสูงขึ้นราว +2.7%(mtd) โดยมีแรงผลักทั้งจากฝั่ง Supply กรณีความเสี่ยงเชิงภูมิฐศาสตร์ยืดเยื้อ บวกกับประเทศสมาชิก OPEC ทำการปรับลดกำลังการผลิตตามสมัครใจรวมถึงฝั่ง Demand ที่อุปสงค์โลกยังดูแข็งแกร่ง ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นอิงราคาน้ำมันและโรงกลั่น อาทิ PTTEP PTTGC TISCO


โดยสรุป ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าคาด จึงยังห่างไกลกรอบเป้าหมายที่2% ทำให้ความคาดหวังเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไป ในมุมมองของตลาดการเงิน โดยมีการตอบสนองผ่านหลาย Indecators อาทิ
• Fed watch Tool คาดว่า Fed มีโอกาสตรึงดอกเบี้ย 5.5% ลากยาวถึงกลางปี 2567 และปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน มิ.ย. 67 โดยทั้งปี2567 น่าจะปรับลดดอกเบี้ยลง3 ครั้ง เท่ากับ Dot Plot
• Bond Yield สรหัฐฯ ขยับขึ้นแรง โดย US Bond Yield 10 ปีวานนี้พุ่งทะลุ 4.3% ดีดตัวขึ้นมาสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง
• ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวน โดยวานนี้ร่วงลงแรงราว -1.3% ถึง 3.9%

ส่วนต่าง Bond Yield ไทยสหรัฐกว้างขึ้น กดดันค่าเงินบาทมีโอกาสพลิกมาอ่อนค่าได้นักลงทุนเริ่มเปลี่ยนความคิด ว่า Fed มีโอกาสลดดอกเบี้ยจาก 6 ครั้งในปีนี้ เหลือเพียง 3-4 ครั้ง และเริ่มปรับตัวลงช้ากว่าเดิม กดดันให้ ในปีนี้ Bond Yield10 ปีสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 43 bps. (ytd) จาก 3.88% เป็น4.33%สวนทางกับประเทศไทย ที่นักลงทุนคาดว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป (10 เม.ย. 67) หลังกนง.เสียงแตก 5:2 ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยตามสถิติพอ กนง.เสียงแตก มีโอกาสที่การประชุมครั้งต่อไปจะเปลี่ยนระดับดอกเบี้ยถึง75% ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ไทย ปรับตัวลดลงจาก 2.70% เป็น 2.55% (-15bps.)

ความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลง Bond Yield 10 ปี ไทยและสหรัฐกลับทิศกัน โดยBond Yield 10 ปีมีแนวโน้มลดลง ส่วนสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลต่างระหว่างผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร 10 ปี สหรัฐกับไทยกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติจะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเสมอ และล่าสุด Bond Yield 10 ปี สหรัฐสูงกว่าไทยถึง1.78% ซึ่งสูงกว่าในอดีตมาก อาจกดดันให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า และยืนในระดับสูงนานกว่าปกติได้

ดังนั้นเริ่มเห็นโอกาสที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าสูงขึ้น กลยุทธ์แนะนำกลับมาเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า อาทิ หุ้นส่งออก HANA SVI DELTA KCE TU ITCAAI CPF GFPT STA NER STGT SAT AH VNG SCC, หุ้นอิงการท่องเที่ยว AOTAAV BA MINT CENTEL ERW และหุ้นโรงพยาบาลมักผันผวนต่ำกว่าตลาด BH,BDMS, PR9, BCH ดังตารางทางด้านล่าง


ตัวเลข CCI Divergence หุ้นกลุ่มค้าปลีกเกินไป จนเริ่มน่าสะสม
วานนี้มีรายงาน ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค.67 อยู่ที่ระดับ 62.9 จุด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 47 เดือนนับตั้งแต่ มี.ค.63 ซึ่งปัจจัยหนุนมาจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 จากภาครัฐ เช่น Easy E-Receipt,มาตรการช่วยเหลือประชาชนด้านค่าครองชีพ เช่น ลดค่าไฟฟ้า ลดราคาเบนซิน และตรึงราคาดีเซล อีกทั้ง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในไทยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนมากขึ้น

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบ ระหว่าง ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค และ ดัชนีกลุ่มค้าปลีก จะเห็นได้ว่ามีทิศทางที่สวนทางกันอย่างชัดเจน(DIVERGENCE) โดยนับตั้งแต่ มี.ค.63 – ปัจจุบัน ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจาก 45 จุด สู่ระดับ62.9 จุด ขณะที่ PE ของอัตสาหกรรมกลุ่มค้าปลีกลดลงจาก 40 เท่า สู่ระดับ 26.2 เท่า ซึ่งระยะถัดไป หากเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างชัดเจน และ ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดหนุนยอดขายสาขาเดิมในระยะถัดไปให้หุ้นกลุ่มค้าปลีก หนุนราคาหุ้นให้มีโอกาสกลับมา Outperform ตลาดฯได้ไม่ยากนัก พร้อมValuation ที่น่าสนใจกว่าเดิม โดยฝ่ายวิจัยฯชื่นชอบ CPALL CPAXT CRC HMPRODOHOME เป็นต้น รวมถึงหุ้นอุปโภคบริโภค CBG OSP SNNP MINT CENTEL


สรุป ตัวเลข CCI DIVERGENCE หุ้นกลุ่มค้าปลีกมากเหลือเกิน ซึ่งระยะถัดไปคาดหวังการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐฯในช่วง 2Q67 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และคาดหนุนให้หุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ Valuation น่าสนใจอยู่แล้ว สามารถกลับมาOutperform ตลาดฯได้มากยาก โดยฝ่ายวิจัยฯชื่นชอบ CPALL CPAXT CRC HMPRO เป็นต้น

RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

หุ้นขึ้นยาก By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง มองตลาดหุ้นไทย ดูท่า แลทาง น่าจะขึ้นยาก หุ้นขึ้นยาก ถ้าใช้เวลานาน คงไม่พ้นทางลง....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้