Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: AOT กำไรงวดQ2โต12.36% รับนักท่องเที่ยวพุ่ง

2,304

 

HotNews: AOT กำไรงวดQ2โต12.36%
รับนักท่องเที่ยวพุ่ง

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 15 พฤษภาคม 2561)------AOT กำไรงวดQ2โต12.36% รับนักท่องเที่ยวพุ่ง ระบุจำนวนเที่ยวบินรวม 436,817 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 5.04% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศ ยันความสามารถในการทำกำไรสม่ำเสมอ โบรกฯ ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น "ซื้อ" เคาะเป้า 92 บาท

นางพูลศิริ วิโรจนาภา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่(สางานบัญชีและการเงิน) บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT เปิดเผยว่าในไตรมมาส2/2561 มีกำไรสุทธิ 7,269.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 799.61 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.36 ดดยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1,659.07 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 666.75 ล้านบาทและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 193.39 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 ปริมาณการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) (ทอท.) มีจำนวนเที่ยวบินรวม 436,817 เที่ยวบิน เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 5.04 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 231,645 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 205,172 เที่ยวบิน ส่วนจำนวนผู้โดยสารรวมมีทั้งหมด 72.39ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.33 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 41.80 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 30.59 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศ
สำหรับกำไรสุทธิสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 7,269.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 799.61 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.36 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายหรือการห้บริการเพิ่มขึ้น1,651.79 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.26 จากการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้เกี่ยวกับกิจการการบิน 935.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.19 และรายได้ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน 716.17 ล้านบาทหรือร้อยละ 11.37 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร รายได้อื่นเพิ่มขึ้น 7.28 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.98 ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 666.75ล้านบาท หรือร้อยละ 9.61 ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ สำหรับค่าใช้จ่ายภาษีได้เงินเพิ่มขึ้น 193.39 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.02 สอดคล้องกับกำไรที่เพิ่มขึ้น
กำไรสุทธิสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 3 มีนาคม 2561 จำนวน 13,489.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,993.16ล้านบาท หรือร้อยละ 17.34 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี โดยมีรายได้จากการขายหรือการให้บริการเพิ่มขึ้น 3,651.36 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.39 จากการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้เกี่ยวกับกิจการการบิน 2,096.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.57 และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน 1,555.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.15 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร รายได้อื่นลดลง 133.00 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.14 ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1,083.94 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.87 ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนการใช้ประโยน์ในที่ราชพัสดุ สำหรับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 437.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.03 สอดคล้องกับกำไรที่เพิ่มขึ้น
รายได้เกี่ยวกับกิจการการบินมีสัดส่วนของรายได้แต่ละประเภทในไตรมาส 2/2561 ไม่แตกต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนอย่างมีสาระสำคัญ โดยรายได้เกี่ยวกับกิจการการบินส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าบริการผู้โดยสารขาออก
สำหรับงวดสามเดือนสินสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 รายได้เกี่ยวกัยกิจการการบินจำนวน 9,300.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 935.62 ล้านบาท หรือร้อยละ11.19 เมื่อเปรียบเทียบ กับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าบริการผู้โดยสารขาออกจำนวน 788.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.28 โดยมีสาเหตุจาการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร โดยรวมของทั้ง 6 ท่าอากาศยานร้อยละ 8.20 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำถึงร้อยละ 13.99 นอกจากนี้รายได้ค่าบริการสนามบินเพิ่มขึ้นจำนวน 148.32 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินร้อยละ 5.43 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสายการบินต้นทุนต่ำถึงร้อยละ 12.26
สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 รายได้เกี่ยวกับกิจการการบินมรจำนวน 17,547.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,096.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.57 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าบริการสู้โดยสารขาอกจำนวน 1,816.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.60 โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสารโดยรวมของทั้ง 6 ท่าอากาศยาน 10.33 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำถึงร้อยละ 15.12 นอกจากนี้รายได้ค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสพดวกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 276.41 ล้านบาท และ 3.48 ล้านบาท ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินร้อยละ 5.04 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสายการบินต้นทุนต่ำถงร้อยละ 11.16
รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินมีสัดส่วนของรายได้แต่ละประเภทในไตรมาส 2/2561 ไม่แตกต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนอย่างมีสาระสำคัญ โดยรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินส่วนใหญ่มาจากรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินจำนว 7,016.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 716.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.37 เมื่อเปรียบเทียบกับของปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จำนวน 564.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.50 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้โดยสารและผู้ใช้บริการภายในท่าอากาศยาน รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญา และการเพิ่มขึ้นของรายได้เกี่ยวกับบริการจำนวน 131.28 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.04 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการตรวจสอบผู้โดยสารล่วงหน้า
สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินจำนวน 13,381.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,554.82 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.15 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเชการเพิ่มขึ้นของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จำนวน 1,92.25 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.57 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้โดยสารและผู้ใช้บริการภายในท่าอากาศยาน รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาและการเพิ่มขึ้นของรายได้เกี่ยวกับบริการจำนวน 324.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.15 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการตรวจสอบผู้โดยสารล่วงหน้า
รายได้อื่นสำหรับงวดดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 374.99 ล้านบาท ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
รายได้อื่นสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 807.62 ล้านบาท 133.00 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.14 เมือ่เปรียบเทียบกับงวดดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 219.02 ล้านบาท เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับยอดเงินเยนลดลงจากงวดเดียวกันของปี
ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 7,601.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 666.75 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.61 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนการใช้ที่ราชพัสดุจำนวน 306.50 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับอัตราค่าตอบแทนโดยคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สิน (Return on Asset : ROA) เพิ่มเติมจากวิธีส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ตามฐานของสัญญาเดิม โดยเริ่มใช้วิธี ROA ที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิในปีงบประมาณ 2561 เป็นเงินประมาณ 900.27 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ค่าจ้างภายนอกเพิ่มขึ้นจำนวน118.79 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 105.28ล้านบาท และค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้น 100.48ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายประเภทอื่นไมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสาระสำคัญจากงวดเดียวกันของปีก่อน
ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 14,860.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,083.94 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.87 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนการใช้ที่ราชพัสดุจำนวน 635.17 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับอัตราค่าตอบแทนโดยคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สิน (Return on Asset : ROA) เพิ่มเติมจากวิธีส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) ตามฐานของสัญญาเดิม โดยเริ่มใช้วิธี ROA ที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิในปีงบประมาณ 2561 เป็นเงินประมาณ 900.27 ล้านบาทต่อปี นนอกจากนี้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้นจำนวน223.55 ล้านบาท ค่าจ้างภายนอกเพิ่มขึ้นจำนวน 207.78ล้านบาท และค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษษเพิ่มขึ้นจำนวน 118.42 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายประเภทอื่นไมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสาระสำคัญจากงวดเดียวกันของปีก่อน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 ทอท. มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 175,491.09 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 30 กันยายน 2560 จำนวน 2,918.84 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.64
สินทรัพย์หมุนเวียน จำนวน 67,424.74 ล้านบาท ลดลง 4,230.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.90 เกิดจากการลดลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 3,273.18 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการจ่ายเงินปัญผล และลงทุนชั่วคราวลดลง จำนวน 1,799.94 ล้านบาท ในขณะที่ลูกหนี้การค้าเพิ่มข้นจำนวน 649.01 ล้านบาท ตามสัดส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น และลูกหนี้อื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 167.43 ล้านบาท สำหรับกรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เช่น สินค้าและวัสดุคงเหลือ และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระสำคัญจากปีก่อน
หนี้สินหมุนเวียนจำนวน 18,795.00 ล้านบาท ลดลง 1,933.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.33 เกิดจากการลดลงของเจ้าหนี้จำนวน 2,109.49 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ในราชพัสดุปี 2560 ประกอบกับมีการลดลงของหนี้สินหมุนเวียนอื่นจำนวน 958.09 ล้านาท จากการจ่ายโบนัสพนักงานในขณะที่ภาษีเงินได้ค่างจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 17,522.62 ล้านบาท
เงินกู้ระยะยาว จำนวน 17,522.62 ล้านบาท ลดลง 1,706.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.87 เนืองจากการจ่ายคืนเงินกู้ยืม และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่นๆ จำนวน 6,553.39 ล้านบาท ลดลง 210.91 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.12 เนื่องจากการลดลงของเงินประกันผลงานจำนวน 107.35 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาการจ่ายเงินคืนประกันผลงานงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลักที่ 1 (ชั้น B2,B1 และ G) รวมทั้งลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลักที่ 1 และส่วนต่อเชือมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและระบบงานหลัก) ของท่าอากศยานสุวรรณภูมิ
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 ส่วนของเจ้าของมีจำนวน 132,620.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 931.39 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.71 เนื่องจากกำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 13,216,.67 ล้านบาท หักเงินปันผลที่จ่ายจำนวน 12,285.28 ล้านบาท
3. การวิเคราะห์สภาพคล่อง
การเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเปรียบเทียบเท่าเงินสดสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2561 สามารถอธิบายตามกิจกรรมอธบายตามกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
เงินสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 14,802.45 ล้านบาท เกิดจากผลการดำเนินงานของงวดปัจจุบัน
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน จำนวน 3,336.99 ล้านบาท เกิดจากเงินสดจ่ายจากการลงทุนในที่ดินอาคารและอุปกรณ์ จำนวน 5,040.08 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายการองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ตและท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราน โดยมีเงินสดรับสุทธิจากเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 1,799.94ล้านบาท
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 14,738.64 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการจ่ายเงินปันผลจำนวนทั้งสิ้น 12,285.28 ล้านบาท
4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
ทอท.มีความสามารถในการทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.65 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเข้าของเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 สำหรับอัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน ทอท.สามารถดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของน้อยกว่า 1 เท่า และอัตราส่วนสภาพคล่องมากกว่า 3 เท่า
ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในอนาคตจากสถานการณ์การแข่งขันที่รุงแรงของอุตสาหกรรมการบิน ประกอบกับความต้องการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาการให้บริการด้านท่าอากาศยานในประเทศไทย โดยมีแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นกรเตรียมความพร้อมเพื่อนรองรับปริมาณความต้องการในการเดินทางและการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Association : IATA) ได้รายงานสถิติการเเติบโตทางการบินในระยะ 20 ปีข้างหน้าว่า ประเทศไทยจะก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่จำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลก จากปัจจุบันอยุ่อันดับที่ 20 ของโลด และมีศักยภาพการบินที่เติบโตขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะกลายเป็นแกนสร้างรายได้หลักของตลาดการบินโลก
ทอท.ในฐานะผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติ 6 แห่งของประเทศ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ได้เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าชอากาศยานในความรับผิดชอบเพื่อรองรับปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย ทอท. ได้เร่งพัฒนาและยกระดับท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งที่อยู่ในความดูแลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้ว ภาครัฐมีนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองรับเพื่อแบ่งเบาจำนวนนักท่องเที่ยวจากเมืองหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาท่าอากาศยาน โดย พอท.พร้อมที่จะเพิ่มศักยภาพ โครงข่ายระบบท่าอากศยานของประเทศไทย เพื่อบริหารจัดการท่าอากาศยานบางแห่งของกรมท่าอากศยาน ทั้งนี้เพ่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่งท่าอาศของภูมิภาคเอเชียรวมถึงการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการกระจายรายได้ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาคและระดับประเทศอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

บล.เออีซี แนะนำซื้อ AOT ด้วยปัจจัยบวกจากแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของภาครัฐ และการที่องค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศถอดประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 60 คาดหนุนให้แนวโน้มจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ดังนั้นเราจึงมีการปรับเพิ่มประมาณการเพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว โดยมีการปรับสมมติฐานตั้งแต่ปี 2560/61 ดังนี้ 1) ปรับอัตราการเติบโตของรายได้รวม เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8.4% และ 2) ปรับอัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.9% ส่งผลให้ภายใต้ประมาณการใหม่คาด ปี 2560/61 AOT จะมีกำไรปกติ 30,097 ล้านบาท เติบโต 36.7%YoY (เพิ่มขึ้นจากเดิม 12.8%) และปี 2561/62 จะมีกำไรปกติ 33,675 ล้านบาท เติบโต 11.9%YoY (เพิ่มขึ้นจากเดิม 16.8%)
ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น "ซื้อ" ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 60/61 ที่ 80 บาท
เพื่อสะท้อนศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว บวกกับ AOT ยังมี Upside risk จากโครงการ Airport City และโครงการรับบริหารสนามบินในประเทศอีก 15 แห่ง นอกเหนือจากสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงราย อีกทั้งราคาหุ้นมี Upside 11.5% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ ปี 2560/61 (สิ้นสุด ก.ย. 61) ที่ 80 บาท (วิธี DCF) และคาดให้ Div.Yield ปีนี้ที่ 1.25% เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก "ถือ" เป็น "ซื้อ"


บล.หยวนต้า แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 92 บาท/หุ้น 4 เหตุผลที่เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "BUY" 1) ภาพจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2561 ของเราที่ 38 ล้านคน เติบโต 9% YoY มี Upside risk จากตลาดนทท.จีน 2) ณ ปัจจุบันชาวจีนมีหนังสือเดินทางเพียง 4% ของประชากรทั้งหมด แนวโน้มสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ คาดชาวจีนออกเดินทางแตะ 240 ล้านคนในปี 2563 จาก 130 ล้านคน ณ ปัจจุบัน 3) ไทยถือเป็น Top destination ของนทท.จีน ย่อมได้อานิสงค์จากการขยายตัวนี้และ 4) ทำให้เราปรับสมมติฐานจำนวนผู้โดยสารในสุวรรณภูมิเฟส 2 ถูกปรับขึ้น รวมกับ Terminal growth จาก 3% เป็น 2% ส่งผลให้ได้มูลค่าเหมาะสมใหม่ขึ้นเป็น 92 บาท จาก 71 บาท
นักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อการท่องเที่ยวของโลกเป็นอย่างมาก ไม่เพียงจำนวนนักเดินทางที่เติบโตก้าวกระโดดจาก 57 ล้านคนในปี 2553 เป็น 130 ล้านคน ในปี 2560 (12% CAGRs 2553-2560) นทท.จีนยังเป็นกลุ่มที่จับจ่ายใช้สอยสูงสุดในโลกเช่นกันถึง 2.9 แสนล้านบาท/ปี มากกว่าอันดับสองอย่างกลุ่มสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่าตัว
โอกาสเติบโตของนทท.จีนจากนี้ยังอีกมาก จากปัจจุบันประชากรจีนมีหนังสือเดินทางเพียง 4% ของทั้งหมด เทียบกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ 35% และ 25% ตามลำดับ คาดอัตราส่วนนี้จะขยับขึ้นเป็น 9% หรือชาวจีนที่เดินทางออกนอกประเทศได้แตะ 240 ล้านคนในปี 2563
โครงสร้างนทท.ต่างชาติของไทยปัจจุบันพึ่งพิงตลาดจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คิดเป็น 30% ของนทท.ทั้งหมด เพราะจีนมีประชากรมากที่สุดในโลก รวมทั้งอินเดียที่เป็นอันดับสองของโลกซึ่งถือเป็นตลาดนทท.ที่มีศักยภาพของไทย แม้ประเด็นข้างต้นหลายคนมองเป็นอุปสรรค แต่เรากลับมองเป็นโอกาสเติบโตระยะยาวของอุตฯท่องเที่ยวไทย อีกทั้งประเทศไทยเป็น Top destination ของนทท.จีน เพราะใช้เวลาเดินทางมาไทยเพียง 4.5 ชั่วโมง โดยจากข้อมูล Bloomberg ไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางสูงสุดอันดับหนึ่ง (ไม่รวมฮ่องกงและมาเก๊า) ต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (2558-2560)
ความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวไทย (Tourism Infrastructure) ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากทั้ง 1) AOT ในโครงการลงทุนสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อปลดล็อคศักยภาพรองรับผู้โดยสารเพิ่มเท่าตัวเป็น 90 ล้านคน จาก 45 ล้านคนภายในปี 2564 2) ภาครัฐบาลกับการผลักดันโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ 3) ล่าสุดภาคเอกชน CPN ลงทุน Luxury outlet บนพื้นที่ 100 ไร่ ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิคาดแล้วเสร็จใน 3Q62 และคาดเป็น Model ต้นแบบในโครงการ Airport city พื้นที่ 1.6 พันไร่ของ AOT เราเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญรองรับการเติบโตรอบใหม่ที่ก้าวกระโดด
ปรับมูลค่าเหมาะสมขึ้นเป็น 92 บาท - ท่องเที่ยวไทยเด่นต่อเนื่องในระยะยาว
เราปรับสมมติฐานการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารในระยะยาวขึ้น (2564-2567) เป็นเฉลี่ยต่อปีที่ 15% จาก 7% บนแนวโน้มตลาดจีนที่แข็งแกร่ง หนุนให้ปริมาณผู้โดยสารในสุวรรณภูมิเฟส 2 เต็มเร็วกว่าที่เคยคาด และปรับอัตราการเติบโตระยะยาว (Terminal growth) ขึ้นเป็น 3% จาก 2% จากบทพิสูจน์ของอุตฯที่ทนทานและฟื้นตัวเร็วเมื่อมีปัจจัยภายนอกกระทบ ส่งผลให้มูลค่าเหมาะสม AOT ณ ปี 2561 ขยับขึ้นเป็น 92 บาท จาก 71 บาท เทียบเท่า EV/EBITDA ที่ระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +3Sd เรามอง AOTสมควรซื้อขายที่ Premium จากกำไรปกติคาดเติบโตเฉลี่ยต่อปี 25% (CAGR 2564-2566) และจุดแข็งภาคท่องเที่ยวไทย ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "ซื้อ"
ปัจจุบันแผนรับบริหารสนามบินภูมิภาคเพิ่มเติม 15 แห่ง จากกรมท่าอากาศยาน ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าบริษัทฯจะเข้าบริหารในรูปแบบใดระหว่างการรับจ้างบริหารหรือการรับโอนทั้งหมด เรามองว่าประเด็นนี้มีผลกระทบจำกัดต่อประมาณการในระยะสั้น เพราะสร้างกำไรได้เล็กน้อย เนื่องจากทุกท่าอากาศยานบริการเฉพาะเที่ยวบินในประเทศซึ่งมีรายได้จากภาษีสนามบินเพียง 100 บาท/เที่ยว เทียบกับภาษีสนามบินเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ 700 บาท/เที่ยว ในสนามบินหลักอย่างสุวรรณภูมิและดอนเมือง และแม้ว่าบริษัทฯต้องมีแผนพัฒนาสนามบิน คาดใช้เงินลงทุนเฟสแรกเพียง 1 พันล้านบาทเท่านั้น จึงไม่กระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทฯแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าแผนดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญหนุนการเติบโตระยะยาวของบริษัทฯ เป็นการเชื่อมโยงของโครงข่ายระหว่างสนามบินหลักและสนามบินรอง ภายใต้ผู้ประกอบการรายเดียว ช่วยให้การบริหารจัดการเที่ยวบินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้ AOT พัฒนาสนามบินภูมิภาคบางแห่งที่มีศักยภาพขึ้นเป็นสนามบินนานาชาติ เพื่อรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ลดความแออัดในสนามบินหลักสุวรรณภูมิ โดยในปี 2560 มีจำนวนผู้โดยสารที่บินมาสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อต่อเครื่องไปสนามบินภูมิภาคทั้งสิ้น 4 ล้านคน คิดเป็น 11% ของผู้โดยสารระหว่างประเทศของ AOT ทั้งหมด
การประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรีฉบับใหม่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ปัจจุบันบริษัทฯอยู่ระหว่างทบทวนรูปแบบสัมปทาน ซึ่งเราคาดว่าจะได้ข้อสรุปเกณฑ์การประมูลภายใน 2H61 นี้ เป็นประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ภายใต้การแข่งขันที่เข้มข้นจากผู้เล่นรายใหญ่ทั้งไทยและต่างชาติร่วมประมูลครั้งนี้ ส่งผลให้อัตราส่วนแบ่งรายได้ดิวตี้ฟรีตั้งแต่ปี 2563 (เริ่มใช้สัญญาฉบับใหม่) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเรามองไว้ที่อัตรา 25% จากอัตราปัจจุบันที่ 20% โดยทุกๆ 5 % ของอัตราส่วนแบ่งรายได้ที่สูงกว่าคาดการณ์เราส่งผลต่อมูลค่าเหมาะสมของเราที่ 2.50 บาท
เราประเมินโครงสร้างนทท.ของโลกจากนี้จะขับเคลื่อนโดยกลุ่มไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ (Millennials) ที่เน้นการท่องเที่ยวด้วยตนเอง เมื่อเทียบกับรูปแบบดั้งเดิมอย่างกรุ๊ปทัวร์ หนุนจากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่สะดวกสบาย พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่เสาะแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงประสบการณ์และคุณภาพที่ได้มากกว่าตัวเงินที่จ่ายไป ทำให้นทท.กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงรวมทั้งการออกเดินทางอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญหนุนการเติบโตอุตฯการท่องเที่ยวโลกและประเทศไทย


---จบ---

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

"สโตนวัน (STX)" ลั่นระฆังเทรด หุ้นเหมืองหินรายแรกในตลท.

"สโตนวัน (STX)" ลั่นระฆังเทรด หุ้นเหมืองหินรายแรกในตลท.

จบในวัน By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง เมื่อข่าวบวก ข่าวดีมา เล่นหุ้น ก็ต้อง เผด็จศึก จบในวัน ทำกำไร ไม่ต้องรอ ฟ้าสาง เพราะฟ้า...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้