Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : NER ปูพรมปี 64 ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 5 หมื่นตัน/ปี

2,836

HotNews : NER ปูพรมปี 64 ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 5 หมื่นตัน/ปี 

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (20 กันยายน 2563) "ชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ " บิ๊กบอส NER แย้มเจรจาขายหุ้น PP 154 ล้านหุ้น หลังกองทุนตปท.รุมจีบเพียบ พร้อมระบุ Daiwa Fund Consulting Co.Ltd. นักลงทุนสถาบันจากประเทศญี่ปุ่น เขามาถือหุ้นของบริษัทฯ ช่วยขยายฐานลูกค้า-เจาะตลาดญี่ปุ่นคาดเห็นความคืบหน้าในไตรมาส4/63 แย้มปี64 เตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 5 หมื่นตัน/ปี หนุน แตะ 5 แสนตันต่อปี

 

 

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างเจรจากับกองทุนต่างประเทศและลูกค้าต่างประเทศหลายรายเพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) โดยจำนวนที่ขายจะไม่เกิน 154 ล้านหุ้น ทั้งนี้คาดการเจรจาจะมีความคืบหน้าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 เริ่มคลี่คลายมากกว่านี้

 


สำหรับปี 2563 บริษัทฯยังคงเป้ายอดขายยางพาราไว้ที่ระดับ 365,000 แสนตันต่อปี หรือคิดเป็น 17,000 ล้านบาท ทั้งนี้ถึงแม้ไตรมาส 2/2563ราคายางจะปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ระดับ 40-45 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปลายไตรมาส3/2563 ราคายางได้ปรับตัวพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว เนื่อจากดีมานด์ยางเริ่มกลับมาหลังประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายหลักของบริษัทฯสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19ได้ดี และความต้องการใช้ถุงมือยางก็ได้ดึงซัพลายยางพาราให้ปรับตัวน้อยลง

 


อีกทั้งปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตจากโรงงานใหม่ที่เพิ่มขึ้นอีก 170,000 ตันต่อปี ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ของกำลังการผลิตใหม่ตั้งแต่ไตรมาส3เป็นต้นไป ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 460,000 ตันต่อปี จากก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 290,000 ตันต่อปีขณะที่ในช่วงไตรมาส2/2564(ช่วงวันหยุดสงกรานต์)บริษัทฯยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีก 50,000 ตัน ด้วยการปรับปรุงเครื่องจักรที่ได้ซื้อมาแล้วก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งลงทุนซื้อเตาอบเพิ่มอีก 1 เตา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้กำลังการผลิตรวมของบริษัทฯเพิ่มขึ้นไปแตะที่ระดับ 500,000 ตันต่อปีตามแผนที่วางไว้ส่วนการที่ Daiwa Fund Consulting Co.Ltd. นักลงทุนสถาบันจากประเทศญี่ปุ่น เขามาถือหุ้นของบริษัทฯนั้นมองว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของบริษัทฯ โดยบริษัทฯมีแผนเจาะตลาดญี่ปุ่นในอนาคตซึ่งคาดว่าจะเห็นความคืบหน้าในไตรมาส4/2563

 


"โควิด-19ไม่กระทบกับเรามากนัก เรายังดำเนิธุรกิจได้อยู่ โดยในปีนี้เรามีลูกค้าใหม่เพิ่มเข้ามา 4 รายตามนโยบายที่ให้ไว้กับฝ่ายการตลาดที่จะต้องหาลูกค้าเพิ่มเข้ามา 2-4 รายต่อปี และในไตรมาส3เรารับรู้รายได้จากกำลังการผลิตของโรงงานใหม่ประมาณ 70% ของยอดกำลังการผลิตที่เราเพิ่มเข้ามา แถมราคาขายในปัจจุบันก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีความต้องการสูง "

 

 

นายชูวิทย์ กล่าวนายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการจำหน่ายแผ่นปูนอนในคอกปศุสัตว์ว่า ปัจจุบันมีคำสังซื้อสินค้า(ออเดอร์)ในมือแล้ว 2 ล้านบาท แต่ทั้งนี้บริษัทฯยังไม่สามารถทำการติดตั้งเครื่องจักที่สั่งจากประเทศไต้หวันได้ ดังนั้นปัจจุบันต้องสั่ง OEM จากโรงงานที่จังหวัดปทุมธานีไปก่อน ส่งผลให้การผลิตสินค้ามีความล่าช้า ส่วนโมเดลการส่งออกสินค้าไปยังประเทศออสเตเลียจะไปในรูปแบบการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายซึ่งปัจจุบันได้มีการเจรจาทำข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะสามารถส่งสินค้าไปยังออสเตเลียได้ในปี 2565

 

 

อนึ่งก่อนหน้านี้ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยว่าบริษัทได้รายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าได้ขายหุ้นให้นักลงทุนสถาบัน คิดเป็น 4.8701% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,540 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นในส่วนของ นางสาวมธุชา จึงธนสมบูรณ์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์

 

 

ทั้งนี้ ในการรายงานระบุการขายหุ้นของ นางสาวมธุชา จึงธนสมบูรณ์ จำนวน 75 ล้านหุ้น ให้แก่ Daiwa Fund Consulting Co.Ltd. นักลงทุนสถาบันจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกองทุนยักษ์ใหญ่และเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่นที่มีความแข็งแรงด้านการบริหารการเงิน และมีประวัติการคัดเลือกหุ้นน้ำดีเข้ากองทุนอย่างต่อเนื่อง และอีกเหตุผลที่ NER เป็นหุ้นที่ Daiwa ติดตามความความสามารถและการเติบโตของ NER มาอย่างต่อตั้งแต่บริษัทได้เคยนำเสนอข้อมูลของบริษัทให้ทางกองทุนรู้จักที่ญี่ปุ่นที่ในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา

 

 

นายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทเราได้รับการติดต่อจากตัวแทนของกองทุน Daiwa หลังจากที่ไปนำเสนอข้อมูลว่า ทางกองทุนต้องการลงทุนระยะยาวในหุ้นของกิจการ โดยมองที่ผลการดำเนินงานที่มีกำไรคงที่และต่อเนื่อง ทั้งยังมองเห็นการทำงานบนพื้นฐานที่ไม่เสี่ยงโดยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท คือการซื้อขายแบบจับคู่วัตถุดิบและยอดสั่งซื้อ (Matching order) ในทุกวัน ไม่มีการกักตุนวัตถุดิบและมองเห็นการเติบโตของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากโรงงานใหม่ที่เพิ่งแล้วเสร็จ

 

 

บริษัทมองว่าเป็นผลดีต่อบริษัท ในแง่ที่บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากกองทุนขนาดใหญ่ว่าเป็นกิจการที่มีพื้นฐานที่ดี มีการบริหารจัดการที่เป็นที่ยอมรับและทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดีขึ้นจากการที่มีสถาบันมาลงทุนในหุ้นของบริษัทน่าจะทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นของกิจการแข็งแรงขึ้น ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นผลบวกต่อบริษัท

 

 

 

ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กร "NER" ที่ "BB+" แนวโน้ม "Stable"

 

 

ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BB+" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะทางการตลาดของบริษัทในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางในธุรกิจยางธรรมชาติของประเทศไทยและผลงานที่ได้รับการยอมรับทั้งในด้านการผลิตและการจำหน่ายยางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ของบริษัทเพื่อที่จะลดความผันผวนของราคายางธรรมชาติลงบางส่วนอีกด้วย

 

 

อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตก็มีข้อจำกัดจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น ความผันผวนของราคายางธรรมชาติ สภาวะตลาดที่มีการแข่งขันสูง การแทรกแซงจากรัฐบาล การมีประเภทสินค้าที่ค่อนข้างจำกัด การกระจุกตัวของตลาด และการมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว นอกจากนี้ การพิจารณาอันดับเครดิตยังประเมินถึงระดับภาระหนี้สินของบริษัทที่อยู่ในระดับสูงซึ่งเกิดจากการลงทุนในการขยายธุรกิจด้วย

 


ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต
ธุรกิจยางธรรมชาติยังคงเผชิญกับความท้าทายจากรายงานขององค์กรศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group -- IRSG) พบว่าในปี 2562 ผลผลิตยางธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงพร้อมกับความต้องการบริโภคที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงทำให้ราคายางธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ราคายางธรรมชาติโดยเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ลดลง 11%-15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากอุปสงค์ในธุรกิจยานยนต์อ่อนตัวลงในช่วงที่มีมาตรการปิดเมืองเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจยางธรรมชาติในประเทศไทยยังคงสามารถบริหารธุรกิจจนผ่านพ้นและฟื้นตัวกลับมาได้จากช่วงที่อุปสงค์ลดลงอย่างมาก ซึ่งบางส่วนนั้นเป็นผลมาจากการที่ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ในประเทศจีนจำนวนมากกลับมาเปิดโรงงานผลิตเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

 

ทั้งนี้ สภาวะช็อกของอุปสงค์ยางธรรมชาติในช่วงที่มีมาตรการปิดเมืองนั้นส่งผลทำให้ธุรกิจชะลอตัวและผู้ประกอบการยางธรรมชาติบางรายที่มีปัญหาทางการเงินต้องหยุดดำเนินกิจการ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ยังคงอยู่ในตลาดได้จะได้รับประโยชน์จากการได้รับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการบางรายออกจากตลาดไปทริสเรทติ้งคาดว่าธุรกิจยางธรรมชาติจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงปี 2564-2565 โดยคาดว่าผลผลิตยางธรรมชาติในประเทศไทยจะลดลงประมาณ 1 ล้านตันในปี 2563 และหลังจากนั้นจะเติบโตในอัตราที่ช้าลงที่ระดับ 2% ต่อปีในช่วงปี 2564-2565 ซึ่งการเติบโตที่ช้าลงนั้นเกิดจากการขาดผลตอบแทนที่จูงใจในการปลูกต้นยางใหม่ รวมไปถึงความล่าช้าในการปลูกต้นยางพารารุ่นใหม่ และการโค่นต้นยางพาราเพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลกำไรมากกว่า ทั้งนี้ การบริโภคยางธรรมชาตินั้นคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคายางธรรมชาติยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปตลอดทั้งปีและหลังจากนั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

 


เป็นผู้ประกอบการยางธรรมชาติขนาดกลาง
บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดในแง่ของยอดขายผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 1%-2% ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ผลิตยางธรรมชาติขนาดกลางรายอื่น ๆ ส่วนใหญ่แต่น้อยกว่าผู้ผลิตที่เป็นผู้นำค่อนข้างมาก โดยผู้ผลิตที่เป็นผู้นำในตลาดมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ประมาณ 10% บริษัทมีรายได้อยู่ในระดับปานกลางที่ประมาณ 1-1.3 หมื่นล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2560-2562 โดยมีรายได้รวมอยู่ในอันดับที่ 4-5 ของผู้ประกอบการยางธรรมชาติในประเทศไทย การที่บริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศจีนเป็นหลักจึงทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของตลาด ในปี 2562 บริษัทส่งออกยางธรรมชาติไปยังประเทศจีนคิดเป็นประมาณ 61% ของรายได้ส่งออกรวมของบริษัท และที่เหลือ 39% ส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับกลุ่มลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ผลการดำเนินงานยังคงผันผวน

 

 


แม้ว่าธุรกิจแปรรูปยางธรรมชาติจะมีการพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก แต่ต้นทุนวัตถุดิบกลับมีสัดส่วนถึง 95%-97% ของต้นทุนการผลิตรวม ดังนั้น ผู้ประกอบการแปรรูปยางธรรมชาติจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมักมีกำไรและกระแสเงินสดที่มีความแปรปรวนอยู่เสมอ บริษัทจึงมีความพยายามที่จะลดความเสี่ยงด้านราคารวมทั้งสร้างเสถียรภาพของกำไรและกระแสเงินสดโดยใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบ Back-to-back ซึ่งมีการบริหารจัดการปริมาณขายและปริมาณซื้อให้สอดคล้องเหมาะสมกัน

 

 

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งความเสี่ยงในด้านราคาก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในช่วงที่ราคายางพารามีความผันผวนเป็นอย่างมากบริษัทมีอัตรากำไรสุทธิที่ค่อนข้างน้อยและไม่แน่นอนโดยจะผันผวนไปตามราคายางพาราและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อย่างไรก็ตาม บริษัทก็สามารถลดผลกระทบในด้านลบจากความผันผวนของราคายางธรรมชาติได้บางส่วนโดยทำการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) บริษัทมีอัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.7% ในปี 2562 จากเดิมที่ระดับ 8.1% ในปี 2561 เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นและเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 8% เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ 6.5% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยสาเหตุหลักเนื่องมาจากการที่บริษัทมีต้นทุนวัตถุดิบยางธรรมชาติโดยเฉลี่ยที่ลดลง ทริสเรทติ้งเชื่อว่าอัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทจะคงอยู่ที่ระดับประมาณ 5% ในระหว่างปี 2563-2565

 

 

นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดด้วยว่าปริมาณการผลิตของบริษัทจะเติบโตยิ่งขึ้นจากการฟื้นตัวของธุรกิจยานยนต์และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก  ภาระหนี้อยู่ในระดับสูงระดับภาระหนี้ของบริษัทถือว่าอยู่ในระดับสูง โดยบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.9% ในปี 2562 และ 60% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 จากระดับ 56.8% ในปี 2561 ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทมีความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายลงทุนที่สูงขึ้นอีกด้วย ภายใต้สมมติฐานของทริสเรทติ้งคาดว่าค่าใช้จ่ายลงทุนของบริษัทจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลทำให้ภาระหนี้และความเสี่ยงทางด้านการเงินของบริษัทปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าค่าใช้จ่ายลงทุนของบริษัทจะอยู่ที่ระดับ 523 ล้านบาทในปี 2563 และ 100-190 ล้านบาทในปี 2564-2565 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนขยายกำลังการผลิตของโรงงานแปรรูปยางแท่ง ดังนั้น ทริสเรทติ้งจึงคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนของบริษัทจะคงอยู่ในระดับสูงที่ 65% ในช่วงปี 2563-2565 กระแสเงินสดเพื่อการชำระหนี้อยู่ในระดับที่เพียงพอ

 


ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะยังคงมีสภาพคล่องที่เพียงพอในช่วง 12 เดือนข้างหน้า บริษัทมีภาระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในช่วง 12 เดือนข้างหน้าที่จำนวน 68 ล้านบาท ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่าเงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทจะอยู่ที่ระดับประมาณ 300 ล้านบาทในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ณ เดือนมิถุนายน 2563 บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทั้งสิ้นจำนวน 168 ล้านบาทและมีวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้อยู่ทั้งสิ้นอีกจำนวน 310 ล้านบาทในอนาคตทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินทางการเงินของบริษัทจะอยู่ที่ระดับประมาณ 5% ในช่วงปี 2563-2565 ในขณะที่อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายคาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 2 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน

 

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน
+ รายได้ของบริษัทจะปรับตัวลดลงประมาณ 8% ในปี 2563 และจะเติบโต 3%-5% ต่อปีในช่วงปี 2564-2565
+ อัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่ที่ระดับ 8% ในปี 2563-2565


แนวโน้มอันดับเครดิต
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจยางธรรมชาติได้ต่อไป โดยที่บริษัทจะรักษาสถานะสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่งบดุลให้เพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากความผันผวนของราคายางธรรมชาติได้
ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง


อันดับเครดิตของบริษัทอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากบริษัทสามารถรักษาเสถียรภาพของกำไรและการสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานพอสมควร ในขณะที่การปรับลดอันดับเครดิตสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ความสามารถในการทำกำไรหรือผลการดำเนินงานของบริษัทถดถอยลงอย่างต่อเนื่องยาวนาน นอกจากนี้ การลงทุนที่ใช้เงินกู้จำนวนมากที่อาจทำให้งบการเงินและกระแสเงินสดเพื่อการชำระหนี้ของบริษัทอ่อนแอลงก็จะเป็นปัจจัยลบต่ออันดับเครดิตของบริษัทด้วยเช่นกัน
เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง


- วิธีการจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 26 กรกฎาคม 2562
- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงิน, 5 กันยายน 2561
- Group Rating Methodology, 10 กรกฎาคม 2558


บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) (NER)
อันดับเครดิตองค์กร: BB+
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

งบท่องเที่ยว By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ยังคงแกว่งตัว ในกรอบแคบๆ ส่วนการเก็งกำไรนั้น หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้