Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ...HTC ร้อนจัด

10,352


    ท่ามกลางบรรยากาศภาพรวมตลาดหุ้นเต็มไปด้วยความผันผวน แต่หุ้นเก็งกำไร ไม่เคยหลับ แม้แต่วินาที  ยิ่ง ตลาดหุ้นซบเซา  ข่าวลือ  ข่าวปล่อย เป้าหมาย รายใหญ่ คนนั้น คนนี้ ไวไอ เปิดฉากลุยหุ้นตัวนั้น ตัวนี้ ไม่เคยเงียบรอบนี้  เกมหุ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ต้องหุ้น บมจ.หาดทิพย์ หรือ
HTC ไม่น่าเชื่อ  จากราคาหุ้นหลักเดียว  ตอนนี้ราคาหุ้นHTC ยืนอยู่ตัวเลขสองหลัก แม้ระหว่างทางเดิน จะมีการพักตัวเป็นระยะๆ จากนั้น เกมราคาหุ้น ก็ดุเดือด พร้อมๆกับการสร้างฐานราคาหุ้น ถือว่ามีความน่าสนใจ


    เรื่องของเกมหุ้น ต้องว่าไปตามเกมของนักเก็งกำไร ซึ่งเป็นผู้กำหนด...แต่เชื่อว่า   นักลงทุนหลายคน มึน งง
HTC ทำธุรกิจอะไร ช่วงนี้ กระแสการเล่นเก็งกำไร ค่อนข้างรุนแรง ดึงดูดสายตาของนักลงทุนหลายคู่ให้จับตามอง เพราะหุ้นHTC ร้อนจัดจริงๆ เรามาทำความรู้จักบมจ.หาดทิพย์ หรือ HTC กันดีกว่า...

   
เส้นทางเดินHTC
                น้ำอัดลมเครื่องหมายการค้า “โคคา-โคลา” ถือกำเนิดขึ้นในภาคใต้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2512 ภายใต้ชื่อผู้ผลิตและจำหน่าย “บริษัท นครทิพย์ จำกัด” โดยได้รับลิขสิทธิ์การผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มโคคา-โคลา ใน  2 จังหวัดภาคใต้ คือสงขลาและสตูล แต่เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจของภาคใต้ในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบ ธุรกิจ ทำให้การดำเนินงานของบริษัท นครทิพย์ จำกัด ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
                   ต่อมาในปี 2517 โดยการดำเนินงานของร้อยตรี ไพโรจน์ รัตตกุล กรรมการผู้จัดการและคณะกรรมการซึ่งมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เป็นองค์ประธานฯ  นางวิไล รัตตกุล เป็นประธานกรรมการบริหาร ในนามของบริษัท ไทยธนา จำกัด ได้เข้ามาบริหารงาน ทำให้บริษัทประสบผลสำเร็จดีขึ้นเป็นลำดับ
                    ปี พ.ศ. 2521 บริษัท ไทยธนา จำกัด และบริษัท นครทิพย์ จำกัด ได้ตกลงร่วมกันจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ให้ชื่อว่า “บริษัท หาดทิพย์ จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 200,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ100 บาท พร้อมกันนี้ ก็ได้รับลิขสิทธิโดยตรงจากโคคา-โคลา คัมปะนี (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โคลา เพิ่มอีก 12 จังหวัด รวมเป็น 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนสุดชายแดนไทย-มาเลเซีย
                    บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาและขยายกิจการเสมอมาอย่างต่อเนื่อง และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหลายครั้งจนกระทั้งปี 2531 บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ กล่าวคือ บริษัทฯ ได้นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุน และเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัทฯ รวมถึงชาวใต้ได้มีส่วนเป็นเจ้าของด้วยการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 30 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 50 บาท จำหน่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 220,000 หุ้น ในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 50 บาท และส่วนที่เหลืออีก 380,000 หุ้น ได้กระจายให้แก่ประชาชนทั่วไปในราคาหุ้นละ 230 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 85 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,700,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 50 บาท ซึ่งหุ้นสามัญของบริษัทฯ ได้เข้าทำการจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531
                       ปี 2536 บริษัทฯ ได้รับเกียรติอย่างสูง เมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตัดสินใจเข้าถือหุ้นของบริษัทฯ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่เคยถือหุ้นในบริษัทใดที่ไม่มี ธุรกิจครอบคลุมทั้งประเทศ และต่อมาในพ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีนโยบายใหม่ในการถือหุ้นบริษัท ต่างๆ โดยให้ยกเลิกการถือหุ้นของบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งหาดทิพย์ก็เป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น

                ปี พ.ศ. 2537 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 จากเดิมชื่อ “บริษัท หาดทิพย์ จำกัด” เป็น “บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)”
              วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา องค์ประธานกรรมการ ได้สิ้นพระชนม์ คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้เชิญ พล.อ. จรัล กุลละวณิชย์ มาเป็นประธานกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2541เป็นต้นมา 
             ปี พ.ศ. 2545 บริษัทฯ ได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญจากเดิมมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 1 บาท เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้นของบริษัทฯ ที่ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
              ปี พ.ศ. 2548 นับว่าเป็นอีกปีหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินธุรกิจ


    HTC มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตอีกครั้ง.......
                ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง คือการแสวงหาแนวร่วมทางธุรกิจ ซึ่งบริษัทฯ ได้พิจารณาเลือก Coca-Cola Indochina  Pte.(CCI) บริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย Coca-Cola SABCO (Pty) Ltd. (CCS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา ในทวีปแอฟริกาและเอเซีย ให้เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทฯ โดย Coca-Cola Indochina  Pte. (CCI) จะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ไม่เกินร้อยละ 24 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ซึ่งการเข้ามาถือหุ้นครั้งนี้ของ Coca-Cola Indochina  Pte. (CCI) มีนโยบายที่จะไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แต่จะใช้ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ช่วยสนับสนุนและผลักดันให้บริษัทฯ ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งและมั่นคง
                บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของคณะผู้บริหารที่นำโดย ร้อยตรี ไพโรจน์ รัตตกุล ให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับจากจุดเริ่มต้นที่มีพนักงานเพียง 60 คน และมียอดการจำหน่ายประมาณ 800,00 ลัง/ปี (UNIT CASES) จวบจนกระทั้งปัจจุบัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทฯ มีพนักงานกว่าหนึ่งพันห้าร้อยคน ยอดขายรวม 33.70 ล้านยูนิตเคส มีรายได้จากการขาย 3,654.85 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 39.76 ล้านบาท ขณะที่มีสินทรัพย์รวม 2,105.26 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 1,184.61 ล้านบาท    
                     ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 250 ล้านหุ้น เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว 166,015,000 หุ้น แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 166,015,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท


                     วันนี้
HTC ไม่ใช่มีแค่สินค้า น้ำอัดลมภายใต้เครื่องหมายการค้า “โคคา-โคลา” “แฟนต้า” “สไปร์ท”  แต่ยังมี ผลิตภัณฑ์มินิท เมด สเแปลชและน้ำดื่มน้ำทิพย์ โดยมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีขอบเขตการผลิตเพื่อจำหน่ายเฉพาะใน 14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง ยะลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา ตรัง  พัทลุงสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส เรียกว่า เส้นเลือดใหญ่ของ HTC  คือ สินค้าน้ำอัดลม
                    แน่นอน
HTC  ก็มีคู่แข่งทางธุรกิจ ยิ่งตลาดน้ำอัดลมด้วยแล้ว คู่แข่งน้อยรายก็จริง แต่เกมการแข่งขัน ถือว่า มีความรุนแรง  โดย  โครงสร้างของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็นค่ายใหญ่ๆ ได้ 3 ค่าย คือ “โค้ก” “เป๊ปซี่”และ “บิ๊กโค-ลา” โดยค่ายโค้กประกอบด้วยบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา ในทุกภาคของประเทศ ยกเว้น 14 จังหวัดภาคใต้ และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โคคา-โคลา ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ค่ายเป๊ปซี่มีบริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย ค่ายบิ๊กโค-ลา มีบริษัท อาเจไทย จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย นอกจากนี้ ยังมีบริษัทกรีนสปอต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไบเล่ย์ จำกัด และบริษัทย่อยอีก 2-3 รายที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้
            คำถาม คือ
HTC จะรักษาส่วนแบ่งตลาด อย่างใด ภายใต้คู่แข่งขันอย่าง“เป๊ปซี่”  ยิ่งน้ำอัดลมเป็นสินค้าประจำฤดูกาล (Seasonal) ช่วงหน้าร้อนของทุกปี   ซึ่งอากาศร้อนจัดจะมียอดการจำหน่ายมากกว่าฤดูกาลอื่น ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้ประกอบการต่างนำแนวคิดทางการตลาดผ่านสองแนวทางหลักคือ “สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง” กับ “มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง” เพื่อสร้างกระแสการตอบรับจากผู้บริโภคผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เข้าถึง กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
            ดังนั้นสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทฯ นั้น จะเน้นการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนเน้นนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับร้านค้าและสังคมโดยรอบ เน้นการให้บริการด้วยความจริงใจ รวดเร็ว ฉับไว และสม่ำเสมอด้วยสินค้ามาตรฐานโคคา-โคลา อย่างไรก็ตาม
HTC ยังได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันสร้างสรรค์สังคมภาคใต้ให้ดีขึ้น ทั้งด้านการศึกษา กีฬา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                ปี 2554  บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นและยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งใน พื้นที่ภาคใต้ โดยมีส่วนแบ่งตลาดน้ำอัดลมรวมทุกผลิตภัณฑ์ประมาณร้อยละ 67 (Source: AC Nielsen)


HTC กับ  ปัจจัยความเสี่ยง
            
  ธุรกิจ HTC ก็มีปัจจัยเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต,ต้นทุนค่าขนส่ง,ต้นทุนบรรจุภัณฑ์, ต้นทุนวัตถุดิบ   เป็นผลให้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมเป็นสินค้าที่อยู่ในรายการเฝ้าติดตามและกำกับ ดูแลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ การจะปรับราคาจำหน่ายต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่กำกับดูแล นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงกระทรวงศึกษาธิการออกระเบียบห้ามจำหน่ายขนมขบ เคี้ยวและน้ำอัดลมในโรงเรียน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของตลาดน้ำอัดลมเนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้า หลักที่สำคัญ เป็นต้น
              มีความเสี่ยง ก็มีทางแก้ ทางออก...ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในขบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเสีย พยายามควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ สำหรับผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ PET ที่บริษัทฯ ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากกำลังการผลิตเต็มนั้น บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจะได้ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่( PET filling line) เพื่อผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค,พัฒนาช่องทางการขาย โดยมองหาโอกาสในการสร้างยอดขายและกำไรในตลาดเดิมและตลาดใหม่ๆ ตลอดจนปรับโครงสร้างของสินค้าที่จัดจำหน่าย (product mix) ในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมตามหลัก BPPC ( Brand, Pack, Price and Channel)
             ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนารูปแบบการกระจายสินค้าเพื่อให้ส่งถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทัน ความต้องการด้วยต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำลง ซึ่งรูปแบบการกระจายสินค้าของบริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้รถขาย 100% มาเป็นการผสมผสานระหว่างการบริการด้วยรถขาย ระบบ pre-sale และระบบศูนย์ช่วยกระจายสินค้า (MDC ~ Manual Distribution Center) ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพตลาดในแต่ละพื้นที่,    พัฒนาระบบ IT เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำ เพื่อให้ฝ่ายบริหารมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการนำไปใช้วางแผนงานและใช้ในการ ตัดสินใจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบงานและการจัดการให้มี ประสิทธิภาพและเชื่อมโยงทั้งองค์กร โดยได้นำระบบซอฟท์แวร์ Enterprise Resources Planning (ERP) ของ SAP ECC 6.0 มาใช้แทนระบบเดิม และยึดนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าและหน่วยงานภายนอก ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจในตัวบริษัทฯ ว่ามีมาตรฐานทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ  
 
 

ผลงาน
HTC
    ปี 2552 มีรายได้รวม 3,004 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44.89 ล้านบาท ปี2553 รายได้รวม 3,528 ล้านบาท กำไรสุทธิ 75.26 ล้านบาท ปี 2554 มีรายได้รวม 3,985 ล้านบาท กำไรสุทธิ 39.76 ล้านบาทและไตรมาสแรกปีนี้ กำไรสุทธิ 46.60 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีกำไรสุทธิ 7.82 ล้านบาท
    นั่นคือ ภาพรวม
HTC เป็นคร่าวๆ ที่นักเสี่ยงโชค นักเก็งกำไร ควรรู้จัก HTC................

โดย...ทีมข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เก็งกำไรงบ บจ. By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม มองห้วงการเก็งกำไร ประเด็นงบไตรมาสแรกปีนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่นักลงทุน ให้น้ำหนักการเก็งกำไร หรือ แม้งบอาจ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้