Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : จับตาผลงานโค้งแรก NER สุดแจ่ม

2,800

HotNews : จับตาผลงานโค้งแรก NER  สุดแจ่ม

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ ( 1 เมษายน 2562) "ชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์" บิ๊กบอส NER ส่งซิกยอดขาย Q1/62 โตกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนราว 15% หลังปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ดันกำลังการผลิตเพิ่มมั่นใจรายได้ปี 62 ไม่พลาดเป้าที่ 1.35 หมื่นลบ. - ปริมาณขายแตะ 2.6 แสนตัน หัวกระไดไม่แห้งกองทุนเข้าพบต่อเนื่องกว่า 10 แห่ง ลั่นพร้อมเดินหน้าสร้างการเติบโต

 

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยกับสำนักข่าวหุ้นอินไซด์ว่าบริษัทฯ คาดผลประกอบการไตรมาส1/2562 ในส่วนของยอดขายมีแนวโน้มเติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณ15% รับผลดีจากการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรชุดเดิม ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น

 


"ในไตรมาสแรกของปี 62 คาดยอดขายเราเติบโตประมาณ 15% ส่วนหนึ่งมาจากกำลังการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเครื่องจักรชุดเดิมที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และในวันหยุดปีนี้ตั้งแต่ต้นปีเรายังไม่หยุด ทำให้เราทำงานได้เต็มที่ แต่ในช่วงสงกรานต์นี้เราจะหยุด 7 วันรวด" นายชูวิทย์ กล่าว

 

 

ส่วนภาพรวมผลประกอบการปี 2562 บริษัทฯ ยังคงเป้ารายได้เติบโตมาอยู่ที่ระดับ 1.35 หมื่นล้านบาท เทียบกับปี2561 ที่มีรายได้อยู่ที่ 10,084.01 ล้านบาท พร้อมคาดปริมาณการขายยางพาราแปรรูปในปี2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 แสนตัน จากปีก่อน(2561) อยู่ที่ระดับ 2.15 แสนตัน โดยในไตรมาส2/62 บริษัทฯ จะมีกำลังการผิตจากเครื่องจักรชุดใหม่เข้ามาอีก 6 หมื่นตัน/ปี ประกอบกับในไตรมาส 4/62 โรงงานใหม่จะเสร็จ ซึ่งมีกำลังการผลิตเพิ่มมาอีก 1.7 แสนตัน ส่งผลให้คาดว่าคาดว่าในช่วงต้นปี 2563 บริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตราม 4.6 หมื่นตัน ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับออเดอร์ทั้งจากลูกค้ารายใหม่ และฐานลูกค้ารายเดิมที่เราจะพยายามรักษาฐานไว้ ซึ่งบริษัทฯ บริษัทฯมีการทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contact) กับลูกค้าไว้แล้วประมาณ 11 ราย ยอดขายประมาณ 1.1 หมื่นตัน/เดือน

 

 

 

"ในไตรมาส 2 นี้เราจะมีกำลังการผลิตจากเครื่องจักรชุดใหม่เข้ามาอีก 6 หมื่นตัน/ปี และในไตรมาส4/62 โรงงานใหม่เราจะเสร็จ ซึ่งมีกำลังการผลิตเพิ่มมาอีก 1.7 แสนตัน เท่ากับว่าต้นปี 63 ในไตรมาส1 เราจะมีกำลังการผลิตรวม 4.6 หมื่นตัน ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับออเดอร์ทั้งจากลูกค้ารายใหม่ และฐานลูกค้ารายเดิมที่เราจะพยายามรักษาฐานไว้ครับ" นายชูวิทย์ กล่าว

 

ด้านแผนการลงทุนปี 2562 บริษัทฯ ขยายโรงงานลิตยางแผ่นผสม (RSS Mixtures Rubber) โดยจะเริ่มเดินเครื่องในเดือน ก.พ.62 และพร้อมรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2562 นี้ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่คาดว่าจะรับรู้รายได้ในไตรมาส2/2562 ขณะที่การผลิตจะทำให้กำลังการผลิตยางผสมสูงขึ้น 60,000 ตันต่อปี ส่วนการก่อสร้างโรงงานผลิตยางแท่ง (STR20) และยางผสม (Mixtures Rubber) ปัจจุบันบริษัทฯ ซื้อที่ดินใกล้กับโรงงานเดิม คาดว่าโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 ซึ่งจะส่งผลให้ต้นในปี2563 เพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 4.6 แสนตันต่อปี

 

สำหรับแหล่งเงินทุนในการขยายโรงงานบริษัทฯ จะนำมาจากการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ซึ่งบริษัทฯ ได้รับเงิน IPO ประมาณ 1.5 พันล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้มีการใช้เงิน IPO ตามวัตถประสงค์การระดมทุน ขณะที่บริษัทฯ ยังมีความสามารถในการกู้จากสถาบันทางการเงิน โดยที่ผ่านมาได้รับความเชื่อถือจากหลายสถาบันการเงิน ทั้งนี้ปัจจุบันมีบริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ประมาณ 1 เท่า ลดลงจากช่วงก่อน IPO ที่มีD/E อยู่ที่ 6 เท่า

 

 

 

 

ขณะที่หากจะมีการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต บริษัทฯ อาจจะพิจารณาออกตราสารการเงินเพื่อระดมเงินทุน โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนอย่างแน่นอน

 

นายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม มีกองทุนมาขอพบบริษัทฯ ประมาณ 9 แห่ง ขณะที่ล่าสุดเพิ่งพบกองทุน 4 แห่ง รวมทั้งยังมีนักลงทุนรายย่อยที่ให้ความสนใจเข้าไปเยี่ยมชมกิจการและโรงงานของบริษัทฯ ที่จังหวัดบุรีรัมย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทฯ มีความยินดีที่จะให้ข้อมูลเพื่อให้นักลงทุนมีความเข้าใจในพื้นฐานของธุรกิจ ขณะที่บริษัทฯ พร้อมจะเดินหน้าสร้างการเติบโตให้มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ

 

"ต้องขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนใจหุ้น NER ซึ่งเราในฐานะฝ่ายบริหารขอยืนยันชัดเจนว่าไม่เคยขายหุ้นออกไป และตั้งใจทำผลงงานให้ดีเพื่อที่จะกำไรมาสู่บริษัทฯ และเราเองทำงานด้วยความรอบครอบ ไม่เสี่ยงและตั้งใจทำงานอย่างดีที่สุดครับ " นายชูวิทย์ กล่าว

 


นึกถึงหุ้นยาง นึกถึง NER 

บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า NER รายงานกำไร 2561 เติบโตโดดเด่น 117%YoY จากประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น การปรับปรุงเครื่องจักร ลดต้นทุนการผลิต ลดขั้นตอน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงราว 250,000 บาทต่อวัน - ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2561 NER ได้มีการปรับปรุงเครื่องจักรที่สามารถผลิตยางประเภท Mixtures จากเครื่องที่ผลิตยาง STR ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเครื่อง Compound จากเดิม ที่จะต้องผลิตเป็นยาง STR20 แล้วจึงผ่านเครื่อง Compound อีกต่อหนึ่ง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเสียค่าไฟราว 0.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยการปรับปรุงเครื่องจักรนี้เป็นปัจจัยให้ NER สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้ถีง250,000 บาทต่อวัน (คำนวนจากการผลิตยางประเภท Mixtures เฉลี่ย 500,000 กิโลกรัมต่อวัน) ทันที

 

ที่ตั้งของ NER เป็น Strategic Location ที่สามารถดึงดูดแรงงานจำนวนมาก - ภาคอีสานเป็นต้นทางของแหล่งแรงงานในประเทศไทย จึงมีความได้เปรียบได้การดึงดูดแรงงานเข้ามาร่วมงานการบริษัท เนื่องจากจำนวนแรงงานมีความสำคัญอย่างมากต่อโรงงานยางประเภทที่ผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนเพราะโรงงานไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาทุ่นแรงได้และต้นทุนแรงงานน้อยกว่า เนื่องจากเป็นพนักงานจากในท้องถิ่น

 

ใช้วิธีการจ่ายค่าจ้างแรงแบบเหมาจ่าย - NER จ่ายค่าแรงตามปริมาณผลผลิตที่ได้ในแต่ละวันที่ โดยถือว่าเป็นโรงงานเดียวที่จ่ายค่าแรงด้วยวิธีการนี้และพนักงานยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่บริษัทฯใช้ ทั้งนี้ในอดีตทาง NER เคยใช้วิธีการจ่ายค่าแรงแบบรายวัน โดยจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ผลผลิตที่ได้ในแต่ละวันในอดีตเท่ากับ 40,000 กิโลกรัมต่อวัน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้วิธีการแบบเหมาจ่าย ผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 กิโลกรัมต่อวัน สาเหตุเป็นเพราะวิธีการเหมาจ่ายสร้างกลไกให้พนักงานมีการตรวจสอบการทำงานกันเอง

 

 

วัตถุดิบยางแผ่นในภาคอีสานมีคุณภาพดี - ยางเบอร์ 3 ในภาคอีสานมีน้ำปน 1.5% ในขณะทียางเบอร์ 3 ในภาคใต้มีน้ำปนอยู่ 2.5% ซึ่งมากจากกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน โดยการผลิตยางของภาคอีสานได้มีการนำกรรมวิธีที่ใหม่กว่า ใช้การผลิตเชิงวิชาการ ซึ่งปรับปรุงจากการผลิตจากการผลิตแบบวิถีดั้งเดิมของทางใต้ จึงทำให้ลดการปนของน้ำเข้ามาในยางได้ จึงมีน้ำหนักที่สูญเสียน้อยกว่า

 

ค่าขนส่งจากโรงงานของ NER ที่บุรีรัมย์ไปที่ท่าเรือแหลมฉบังมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งจากภาคใต้ขึ้นมาที่แหลมฉบัง - จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังประมาณ 350 กิโลเมตรเมื่อเทียบกับจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมาที่แหลมฉบังระยะทางอยู่ที่ 800 กิโลเมตร โดยมีความต่างกันอยู่ถึง 3 เท่า จึงทำให้ ได้เปรียบในเรื่องค่าขนส่ง

 

อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคายางลดลงจากวิธี Matching Order


การ Matching Order จะทำให้ NER ขายสินค้าในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณสั่งซื้อวัตถุดิบเข้ามาในแต่ละวัน - ซึ่งทำให้วัตถุดิบคงคลัง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบยางหรือสินค้ายางสำเร็จรูปเกือบทั้งหมด มีคำสั่งซื้อรองรับไว้แล้วจึงทำให้คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคายางต่ำลง เนื่องจากสามารถกำหนดราคาขายได้ตามราคาเฉลี่ยที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามาและบวกส่วนต่าง จึงทำให้สามารถรักษาระดับอัตรากำไรได้ ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้สินค้าคงคลังของบริษัทฯมีอยู่ในปริมาณสูง แต่เป็นสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของวิธีดังกล่าว คือ การใช้ Working capital สูงและต้องใช้พื้นที่เพื่อเก็บสินค้ามาก ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งซื้อรองรับแล้วเป็นเวลา 6 เดือน คิดเป็นมุลค่าราว 7.2 หมื่นตัน

 

มีมุมมองเชิงบวกต่อ NER หลังจากได้เยี่ยมชมโรงงาน โดยมองว่ามีกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่ดี มีแนวโน้มการเติบโตสูง โดยประกาศงบออกมาน่าประทับใจ สูงกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ เราจึงอยู่ระหว่างการปรับประมาณการ
Median Consensus 3.80 บาทต่อหุ้น (source: SETTRADE)

 

 

เคทีบีฯ แนะซื้อ NER เล็งเป้า 3.40 บาท/หุ้น

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า ยังคงแนะนำให้ "ซื้อ" NER โดยมีราคาเป้าหมายใหม่ที่ 3.40 บาท โดยเรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นภายหลังการเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่บุรีรัมย์เมื่อวานนี้ โดยจากเดิมที่เราคาดว่ากำลังผลิตยางผสม RSS Mixture จะเริ่มในเดือน เม.ย.2019 แต่ปัจจุบันคาดว่าจะสามารถเริ่มได้เร็วขึ้นเป็นกลางเดือน มี.ค. อีกทั้งในส่วนของ STR20 Mixture นั้น NER ได้ทำการซื้อที่ดิน รวมถึงได้ถมที่เสร็จแล้วเพื่อรองรับกำลังผลิตที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปลายปี 2019 เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ขึ้น 8% มาที่ 549 ล้านบาท จากการขยายกำลังการผลิตที่ทำได้ค่อนข้างเร็วกว่าที่คาด รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการทำผลิตภัณฑ์ยางผสมซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงมากขึ้น เราประเมินมูลค่าเป้าหมายของ NER โดยวิธี PER ที่ 9.5x กับ 2019EPS ได้ราคาเป้าหมายที่ 3.40 บาทปรับเพิ่มจากเดิมที่ 3.10 บาทอันเนื่องมากจากการดำเนินการขยายกำลังผลิตที่เร็วกว่าแผนและการบริหารจัดการขายและต้นทุนที่ดี ปัจจุบันหุ้น NER ซื้อขายถูกเพียง PER 7x ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ"

 

 


มีมุมมองเป็นบวกต่อการเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่บุรีรัมย์เมื่อวานนี้ โดยในปี 2019 จากเดิมที่เราคาดว่าการขยายกำลังผลิตยางผสม RSS Mixture 60,000 ตัน (Figure 1) จะเริ่มในเดือน เม.ย.2019 แต่ปัจจุบันคาดว่าจะสามารถเริ่มได้เร็วขึ้นเป็นกลางเดือน มี.ค.2019 เราคาดว่า NER จะมีกำไรขั้นต้นที่อยู่ในระดับที่ดี 9.5% จากการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการผลิตได้ดีขึ้น(ปรับจาก dry process เป็น wet process) อีกทั้งในส่วนของ STR20 Mixture นั้น NER ได้ทำการซื้อที่ดินเรียบร้อยแล้วจำนวน 88 ไร่ (Figure 3-4) รวมถึงได้ถมที่เสร็จแล้วเพื่อรองรับกำลังผลิตที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปลายปี 2019 ที่ 172,000 ตัน ทำให้อาจจะเริ่มก่อสร้างได้เร็วขึ้นจากเดิมในกลางปี 2019 เป็นประมาณเดือน มี.ค.- เม.ย. และคาดจะสามารถเดินกำลังผลิตเต็มที่ได้ในปี 2020

 

 

แผนป้องกันความเสี่ยงด้วยการ Matching order


NER สามารถรักษามาร์จิ้นได้ดีจากการป้องกันความเสี่ยงของราคายางที่ผันผวนด้วยวิธี matching order โดยเมื่อมีคำสั่งซื้อจะสต็อกยางไว้ส่งมอบด้วยราคาที่ตกลงกันในเวลานั้น ไม่ได้เป็นการรับคำสั่งซื้อมาก่อนแล้วค่อยหาสินค้ามาส่งมอบภายหลังซึ่งราคาอาจจะไม่เท่าเดิม ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อรองรับเป็นระยะเวลา 6 เดือน คิดเป็นประมาณ 7.2 หมื่นตัน

 

ปรับเพิ่มประมาณการปี 2019 ขึ้น 8% มาที่ 549 ล้านบาท


ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ขึ้น 8% มาที่ 549 ล้านบาท จากการขยายกำลังการผลิตที่ทำได้ค่อนข้างเร็วกว่าที่คาด รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการทำผลิตภัณฑ์ยางผสมซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงมากขึ้น เราจึงปรับเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นจากเดิมที่ 9% เป็น 9.5% รวมถึงการลดต้นทุนโดยการใช้ biogas ทั้งนี้บริษัทมีการเตรียมวัตถุดิบในการผลิต biogas ไว้รอบบริเวณโรงงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดจากการใช้ biogas แทน LPG

 

ยังคำแนะนำ "ซื้อ" ปรับราคาเป้าหมายเป็น 3.40 บาท


เราเทียบกับผู้ผลิตยางรายสำคัญในตลาดหลักทรัพย์ คือ STA ซึ่งมีการซื้อขายด้วยระดับ PER เฉลี่ยย้อนหลัง 9 ปีที่ 12x แต่เนื่องจาก STA มีขนาดที่ใหญ่กว่า NER อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่รองรับการผลิตจากต้นน้ำและกลางน้ำของบริษัท เราจึงประเมินมูลค่าเป้าหมายของ NER โดยวิธี PER ที่ 9.5x กับผลประกอบการปี 2019 ได้ราคาเป้าหมายที่ 3.40 บาทปรับเพิ่มจากเดิมที่ 3.10 บาท อันเนื่องมากจากการดำเนินการขยายกำลังผลิตที่เร็วกว่าแผนและการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ปัจจุบันหุ้น NER ซื้อขายถูกเพียง PER 7x ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ"

 

NER

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เกาะเส้นกราฟ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ นักลงทุน คงต้องเกาะเส้นกราฟ เทรดตามกรอบแนวรับ แนวต้าน....

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้