Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : NER กำไรปี 61 ติดปีกโต 117.05% ลั่นปี 62 รายได้โต 20%

2,482

HotNews : NER กำไรปี 61 ติดปีกโต 117.05%
ลั่นปี 62 รายได้โต 20%

 

บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) NER  แจ้งผลประกอบการงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561  มีกำไรปี 486.46 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.47 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไร 224.13 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.24 บาท บอร์ด เคาะจ่ายปันผลปี 61 อัตราหุ้นละ 0.13  บ. กำหนดจ่าย 16 พ.ค.62 พร้อมวางเป้าปี 62 รายได้จะเติบโต 20% จากความต้องการยางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น พร้อมเจรจาลูกค้ารายใหม่รุกขยายตลาดเอเชีย – ยุโรปมากขึ้น 

 

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางพาราธรรมชาติแปรรูป เปิดเผยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2562 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.13 บาท/หุ้น รวมเป็นเงิน 202.2 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของงบการเงินปี 2561 ที่บริษัทมีรายได้ปี 2561 อยู่ที่ 10,084.01 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิ 486.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.14% และ 117.05% ตามลำดับจากงวดเดียวกันปี 2560 ที่มีรายได้รวม 9,872.70 ล้านบาท กำไรสุทธิ 224.12 ล้านบาท โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record date) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 16 พฤษภาคม 2562



โดยสาเหตุที่บริษัทฯมีผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนยอดขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนคงที่ ในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทพบว่าสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อรายได้จากการขายของบริษัทมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560

 

 

เนื่องจากราคาซื้อวัตถุดิบเฉลี่ยลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายเฉลี่ยของบริษัท ส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น ประกอบกับเมื่อพิจารณาอัตรากำไรแยกตามประเภทสินค้าพบว่าอัตรากำไรขั้นต้นของยางแท่งและยางผสมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 จากต้นทุนขายที่ลดลง ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายยางผสมได้มากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต นอกจากนี้บริษัทมีสัดส่วนต้นทุนทางการเงินลดลง ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะยาว เนื่องจากบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนจากการระดมทุนมาใช้ในการบริหารจัดการสภาพคล่องมากขึ้น



สำหรับแผนงานปี 2562 บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ที่ 20% ภายใต้คาดการณ์ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 แสนตัน จากปีนี้ 2.2 แสนตัน ตามความต้องการยางในตลาดโลกจะเติบโตตามปกติในแต่ละปีราว 2-5% โดยบริษัทเดินหน้าขยายตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเจรจากับลูกค้าจีน 3 รายที่คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อรวมกันราว 1.5 หมื่นตัน/ปี และวางแผนขยายตลาดลูกค้าสิงคโปร์เพิ่ม โดยปัจจุบันบริษัทมีการทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contact) กับลูกค้าไปแล้วกว่า 11 ราย จากที่มีอยู่ 8 ราย ทำให้บริษัทมีลูกค้าที่รอรับรู้รายได้ที่แน่นอนส่วนหนึ่งแล้ว



นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างยื่นขอให้ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป 3 ราย เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของโรงงานและผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นใบเบิกทางสำหรับการรุกเปิดตลาดส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผ่านมาบริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริดจสโตนทำให้บริษัทสามารถส่งออกสินค้าไปขายในจีนและภูมิภาคเอเชียได้ดี คาดว่าการตรวจสอบและขั้นตอนต่าง ๆ น่าจะใช้เวลาราว 1 ปี หรือรู้ผลในปี 63 ซึ่งทันเวลารองรับปริมาณผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 63

 



บริษัทจะมีกำลังการผลิตยางเพิ่มขึ้นอีก 60,000 ตัน/ปี เป็นยางแผ่นผสม (RSS Mixtures Rubber) จาก 232,000 ตัน/ปี ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดย ส่วนสิ้นปี2562 ก็จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอีก 172,800 ตันต่อปี หลังจากโรงงานใหม่ผลิตยางแท่ง (STR20) และยางผสม (Mixtures Rubber) แล้วเสร็จ เมื่อรวมทั้งสองส่วนจะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 465,600 ตันต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ปี 2563 รับรู้รายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทเน้นการสร้างเสถียรภาพของผลการดำเนินงานไม่ให้ผันผวนตามธรรมชาติของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยการซื้อสินค้าจริงมาทำมาผลิตเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อ ไม่มีนโยบายเก็งกำไรจากสต็อก พร้อมทั้งรักษาสมดุลของฐานลูกค้าเพื่อบริหารความเสี่ยง

 

 

 

ด้านนายศักดิ์ชัย จงสถาพงษ์พันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีการเงิน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จํากัด (มหาชน) NER เปิดเผยว่า บริษัทมีรายได้รวมสําหรับปี 2560 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และรายได้รวมสําหรับปี 2561 สิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2561 เท่ากับ 9,872.70 ล้านบาท และ 10,084.01 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายเท่ากับ 9,805.07ล้านบาท และ 10,056.20 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.31 และร้อยละ 99.72 ของรายได้รวมตามลําดับ



รายได้แยกตามภูมิศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ รายได้จากการขายในประเทศ และรายได้จากการขายต่างประเทศ สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายในประเทศ 6,647.49 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 65.92ของรายได้รวม และรายได้จากการขายต่างประเทศ 3,408.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.80 ของรายได้รวม

 

สําหรับปี 2561 พบว่ารายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 จํานวน 251.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.56เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายในประเทศร้อยละ 12.80แต่เนื่องจากรายได้จากการขายต่างประเทศที่ลดลงคิดเป็นร้อยละ12.86 เป็นผลจากการจํากัดปริมาณการส่งออกในปี 2561

 

สินค้าของบริษัทสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยางผสม โดยมีสรุปรายละเอียดรายได้แยกตามประเภทสินค้าดังนี้

 


1) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางแผ่นรมควัน 3,483.31 ล้านบาท ลดลง 121.58 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.37 เมื่อเทียบกับปี 2560 แม้ว่าปริมาณการขายยางแผ่นรมควันจะเพิ่มขึ้นจํานวน 17.41 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.01อย่างไรก็ตามราคาขายเฉลี่ยลดลง ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

 

 

2) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (Standard Thai Rubber: STR)
สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางแท่ง 3,201.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.63 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25เมื่อเทียบกับปี 2560เป็นผลจากปริมาณการขายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 อย่างมีนัยสําคัญ จากปริมาณสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้น 14.31 ล้านตัน เป็นเงิน 429.68ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดีราคาขายเฉลี่ยของยางแท่งในช่วงปี 2561 ลดลงซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆในขณะที่ปริมาณขายต่างประเทศในปี 2561 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาขายเฉลี่ยลดลงจึงส่งผลให้ยอดขายต่างประเทศ ลดลง 142.23 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.29 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั ้นๆ


3) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางผสม (Mixture Rubber)
สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางผสม 3,371.34 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 333.04 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.96 เมื่อเทียบกับปี 2560 เป็นผลจากปริมาณการขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากปริมาณสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ผ่านมา ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตยางผสมได้มากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Dry Process เป็น Wet Process ทําให้สามารถลดขั้นตอนการผลิตสั้นลงและผลิตสินค้าได้เร็วขึ้นส่งผลให้มีปริมาณขายเพิ่มขึ้น 14.88 ล้านตัน เป็นเงิน 421.37 ล้านบาท อย่างไรก็ตามราคาขายยางผสมทั้งในและต่างประเทศเฉลี่ยของปี 2561 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบปี 2560 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

 


รายได้อื่นของบริษัทประกอบด้วย รายได้จากการรับจ้าง รายได้จากค่าเช่า รายได้ดอกเบี้ยรับ และรายได้ดูแลจัดเก็บสินค้า เป็นต้น สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้อื่นเท่ากับ 18.18 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของรายได้รวมโดยหลักๆ เป็นรายได้จากการบริการรับจ้างจํานวน 4.28 ล้านบาท รายได้ดูแลจัดเก็บสินค้าจํานวน 8.34 ล้านบาทดอกเบี้ยรับ 0.88 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ จํานวน 4.68 ล้านบาท

 


สําหรับปี 2561 บริษัทมีกําไรขั้นต้นเท่ากับ 1,039.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จํานวน 351.39 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.04 โดยมีอัตรากําไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 11.56 เพิ่มขึ้นจากร้ อยละ 5.17 ของรายได้จากการขายปี 2560 เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนยอดขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนคงที่ ในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทพบว่าสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อรายได้จากการขายของบริษัทมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560เนื่องจากราคาซื้อวัตถุดิบเฉลี่ยลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายเฉลี่ยของบริษัท ส่งผลให้กําไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้น ประกอบกับเมื่อพิจารณาอัตรา

 

กําไรขั้นต้นแยกตามประเภทสินค้าพบว่าอัตรากําไรขั้นต้นของยางแท่งและยางผสมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เนื่องจากต้นทุนขายที่ลดลง ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตและจําหน่ายยางผสมได้มากขึ้นจากการเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Dry Process เป็น Wet Process และสําหรับปี 2561 บริษัทมีกําไรสุทธิเท่ากับ 486.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 262.34 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 117.05 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีกําไรสุทธิเท่ากับ 224.12 ล้านบาท

 

เกิดจากกําไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการผลิตได้ดีขึ้น และราคาซื้อวัตถุดิบยางลดลง ซึ่งเป็นไปตามราคาตลาดเมื่อเทียบกับช่วงปี 2560 โดยในปี 2561 บริษัทมีต้นทุนผลิตที่ลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายที่ลดลงซึ่งเป็นไปตามราคาตลาด นอกจากนี้บริษัทมีสัดส่วนต้นทุนทางการเงินลดลง ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ระยะยาว เนื่องจากบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนจากการระดมทุนมาใช้ในการบริหารจัดการสภาพคล่องมากขึ้น

 

NER

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้