Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : GUNKUL ใส่เกียร์ยื่นซองโซลาร์ลอยน้ำ "เขื่อนสิรินธร 45 MW" (แก้ไข)

3,321

HotNews : GUNKUL ใส่เกียร์ยื่นซองโซลาร์ลอยน้ำ "เขื่อนสิรินธร 45 MW"

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (19 มีนาคม 2562)  GUNKUL ใส่เกียร์ยื่นซอง ประมูลโครงการโซลาร์ลอยน้ำ เขื่อนสิรินธร ขนาด 45 MW หลัง กฟผ. เตรียมคลอด TOR กูรูเคทีบี เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ "ซื้อ" GUNKUL ประเมินราคาเป้าหมายที่ 4 บาท มองเป็นหุ้น Laggard ทั้งที่มีโอกาสเทรด Premium โดยปัจจุบันเทรด PER ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม คาดผลประกอบการทำ New record high ต่อเนื่องไปอย่างน้อย 4 ปีข้างหน้า

 

 

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยกับสำนักข่าวหุ้นอินไซด์ว่า บริษัทฯเตรียมเข้าประมูลงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยให้นำร่องโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร ขนาด 45 เมกะวัตต์ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมที่จะออกประกาศเชิญชวนในวันที่ 15พฤษภาคม 2562 และยื่นซองประมูลภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 และจะประกาศผู้ชนะภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2562คาดว่าจะเริ่มดำเนินการโครงการเดือนมกราคม 2563 เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ทันตามแผนในเดือนธันวาคม 2563

 

 

อย่างไรก็ตามบริษัทฯยังต้องรอความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว ที่จะมีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาก่อน ซึ่งหากมีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาแล้ว บริษัทฯก็มีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานในทันที โดยการเตรียมเข้าประมูลงานในครั้งนี้ บริษัทฯคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 10% จากการลงทุนโครงการในประเทศ

 

 

"กันกุลเราเข้าประมูลในครั้งนี้แน่นอน โดยโครงการที่กฟผ.จะทำมีประมาณ 2 พันกว่าเมกกะวัตต์ แต่เริ่มทำที่แรกที่เชื่อนสิรินธรก่อน และตอนี้เราก็ยังไม่รู้ว่าใครที่จะผ่านคุณสมบัติในการเข้าประมูลบ้าง เพราะ TOR ยังไม่เรียบร้อย เราไม่รู้ว่าสเปกของเขาต้อการแบบไหน ก็รอให้สเปกออกมาดีๆหน่อย เพราะเราก็อยากให้ได้ของดีจริง และมองว่าควรจะมีงานดูแลหลังการทำด้วย ส่วนIRR โครงการในประเทศก็จะได้อยู่ประมาณ 2 หลัก หรือสัก 10% " นางสาวโศภชา กล่าว

 

 

ขณะที่ภาวะการแข่งขันในการเข้าประมูลงาน ต้องยอบรับว่าปัจจุบันธุรกิจไฟฟ้ามีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยที่ผ่านมาบริษัทฯก็ได้มีการหันไปรับงานจากภาคเอกชนมากขึ้น มากกว่าที่จะเข้าไปแข่งขันแบบยื่นซองประมูลโครงการของภาครัฐ "ธุรกิจนี้แข่งขันกันเยอะ ที่ผ่านมาเราเองก็จะหันไปบิดงานของภาคเอกชน หรือเราไปลงทุนให้เขาบ้างมากกว่า ดีกว่าไปฟาดฟันแบบนั้น ในไทยลงทุนน้อย และถ้าแข่งแล้วได้งานสเปกที่อ่อนมาเราก็ไม่ไหว" นางสาวโศภชา กล่าว

 

 

สำหรับการลงทุนดังกล่าว หากบริษัทฯเข้าไปประมูล หรือ ได้รับงาน บริษัทฯมีเงินทุนพร้อม เนื่องจากมองว่าเป็นโครงการที่ใช้เงินทุนไม่มาก บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ "ซื้อ" GUNKUL ราคาเป้าหมาย 4.00 บาท เราชอบ GUNKUL จากการเป็นหุ้น Laggard ทั้งที่มีโอกาสเทรด Premium โดยปัจจุบันเทรด PER ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ในขณะที่ ROE อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม พร้อมกับแนวโน้มธุรกิจขาขึ้นหนุนโดยธุรกิจพลังงานทางเลือกมีกำลังการผลิตตามสัดส่วนรอ COD ในปี 2019-22 เพิ่มขึ้นอีกว่า 73% เมื่อเทียบกำลังการผลิตปี 2018 และที่ธุรกิจ EPC มีโอกาสได้งานจากการไฟฟ้าฯเพิ่มเติม โดยมีโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้ามูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาทในระยะ 10 ปีข้างให้ลุ้น

 

 


ธุรกิจ Power producer ในส่วนของพลังงานทดแทนเป็นทั้ง Strong earnings base และ Secured growth engine ด้วยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจาก 315MW ณ สิ้นปี 2018 เป็น 542MW ในปี 2022 (+73% ในช่วงเวลาดังกล่าว) ซึ่งทั้งหมดมีสัญญา PPA รองรับ โดยโครงการ Highlight คือ Solar farm ที่ญี่ปุ่น Kimitsu 34MW COD 2Q19 และ Yamakuchi, Utsunomiya 142MW COD 2022 ในขณะที่ภาวะอุตสาหกรรมเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะ PDP ฉบับใหม่สนับสนุนโครงการโซล่าประชาชนกว่า 10GW คาดจะทำให้ GUNKUL มีโอกาสมากขึ้นในการขยายธุรกิจ Solar rooftop ซึ่งที่ผ่านมามีประสบการณ์ทำ Solar rooftop ภายใต้แบรนด์ GRoof ในลักษณะ Private PPA มาแล้ว นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจาโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มเพิ่ม (Solar/Wind) ทั้งในและต่างประเทศกว่า 500MW ซึ่งหากสำเร็จจะเป็น Upside ให้กับผลประกอบการบริษัท

 

 

ธุรกิจ EPC มีโอกาสสร้าง Upside surprise หลังการเข้าซื้อบริษัท ฟิวเจอร์ อิเล็คทริคอล คอนโทรล จำกัด (FEC) ในช่วง 2Q18 ซึ่งมีประวัติรับงานกับการไฟฟ้าฯ (EGAT, PEA, MEA) ส่งผลให้ GUNKUL ผ่านคุณสมบัติสามารถเข้ารับงานจากการไฟฟ้าฯได้ทันที ซึ่งบนแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าในประเทศระยะ 10 ปีข้างหน้ามีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท เปิดโอกาสให้บริษัทเข้ารับงานโครงการใหม่ ทั้งนี้โครงการที่รอยื่นประมูลล่าสุดในช่วง 2Q19 คือ โครงการวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเลเกาะเต่า เกาะสมุย เกาะปันหยี มูลค่ารวมราว 3.7 พันล้านบาท

 

 

ประเมินกำไรสุทธิปี 2019-20 ที่ 2.0 พันล้านบาท และ 2.1 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8% CAGR 2018-20 และผลประกอบการอยู่ในภาวะขาขึ้นอย่างน้อยจนถึงปี 2022 จาก Key driver หลักในธุรกิจ Power producer มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนอีกราว 228MW (+73% จากกำลังการผลิตปัจจุบัน) ทยอย COD ในช่วงปี 2019-22 (ครบ 542MW จากโครงการที่มี PPA แล้ว) ในขณะที่ธุรกิจ EPC เราใช้ Conservative assumption โดยคาดบริษัทสามารถรักษาระดับ Backlog ที่ราว 2 พันล้านบาทซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2016-18 ไว้ได้ แม้มี Potential upside อยู่มากถัดจากนี้จากภาวะอุตสาหกรรมขยายตัวและการขยายบริการไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (โอกาสในการรับงานจากการไฟฟ้าฯ)

 

 

เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ "ซื้อ" และประเมินราคาเป้าหมายที่ 4.00 บาท ด้วยวิธี Sum of the part แบ่งเป็น 1) ธุรกิจ Power producer อิง DCF (WACC 5.9%, No Terminal growth) ได้มูลค่า 3.48 บาทต่อหุ้น และ 2) ธุรกิจ EPC อิงวิธี PER (ใช้ PER 16X เทียบเท่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม Construction service ย้อนหลัง 5 ปี -1SD) ได้มูลค่า 0.51 บาทต่อหุ้น ปัจจุบัน GUNKUL เทรดที่ PER 13X (VS อุตสาหกรรม 20X) และ ROE 12% (VS อุตสาหกรรม 10%) และผลประกอบการขาขึ้น จัดเป็นหุ้น Laggard ที่น่าสนใจ

 

 

 

ปูฐานกำไรและสร้างการเติบโตด้วยพลังงานทางเลือก
Secured future growth จากกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนที่จะเพิ่มขึ้นอีกกว่า +73% จากกำลังการผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นปี 2018 ที่ COD แล้ว 315MW สู่ระดับ 542MW ในปี 2022 ซึ่งกำลังการผลิตทั้งหมดมีสัญญา PPA รองรับ (ปัจจุบัน Earnings contribution ของธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 70-80%)

 

 

แผน PDP ฉบับใหม่ ผ่าทางตันอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
แผน PDP ฉบับใหม่ยังคงให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะ Solar energy ซึ่งสอดรับกับธุรกิจหลักของบริษัท คลายความกังวลอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกถึงทางตันในไทย แผน PDP ฉบับใหม่ต้องการกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี 2018-37 ราว 56.4GW (ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนกำลังผลิตที่ปลดออกราว 25.3GW) โดยกำลังการผลิตหลักนอกจากโรงไฟฟ้า IPP 23.2GW ยังมีในส่วนของพลังงานทดแทน 20.7GW ซึ่งกว่า 10.0GW เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ภาคประชาชน เปิดโอกาสให้ GUNKUL เข้ามามีส่วนร่วมหลังมีโครงการนำร่อง Solar rooftop กับกลุ่ม WHA ในพื้นที่โรงงาน

 

 

และเตรียมทยอย COD ในโครงการกับ CPF ตลอดปี 2019 กำลังการผลิตรวมราว 35MW และปัจจุบันทางบริษัทรุกธุรกิจ Solar rooftop อย่างเต็มตัวด้วย Business model แบบ Private PPA ภายใต้แบรนด์ GRoof เพื่อสร้าง Cost saving ให้กับคู่สัญญา และด้วยขอได้เปรียบที่ทางบริษัทเป็น EPC จะทำให้มีจุดแข็งในด้าน Cost competitiveness ทำให้การสนับสนุนของภาครัฐบน PDP ฉบับใหม่คาดจะทำให้ GUNKUL มีโอกาสมากขึ้นในการขยายธุรกิจ Solar rooftop

 

 


นอกจากนี้โครงการ Solar floating (โซล่าร์ลอยน้ำ) ซึ่งทาง EGAT มีแผนก่อสร้างราว 2.7GW ซึ่งทาง กกพ. ต้องการให้เอกชนร่วมลงทุนราว 0.7GW เปิดโอกาสให้ GUNKULเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งการเป็น Developer หรือ EPC หลังบริษัทมี Track record มีประสบการณ์ติดตั้ง Floating solar power plant ให้กับ EGAT มาก่อน ในขณะที่ Active investment ทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซึ่งมี Potential projects อยู่อีกราว 500MW คาดจะได้เห็นพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญในปี 2019-20 ทั้งนี้บริษัทยังคงเป้ามีกำลังการผลิตสะสม >1GW ภายในปี 2020

 

 

เปลี่ยนธุรกิจ EPC เข้าสู่ Aggressive mode
ธุรกิจ EPC หลังเข้าซื้อ FEC คาดดัน Gross margin ขยายตัวสู่ระดับ 25-35% จากเดิม 10-20% และเปิดโอกาสในการเข้ารับงานจากการไฟฟ้าฯ มูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาท ธุรกิจ EPC หลังเข้าซื้อกิจการของบริษัท ฟิวเจอร์ อิเล็คทริคอล คอนโทรล จำกัด (FEC) ในช่วง 2Q18 มูลค่าราว 650 ล้านบาท (ถือ 100%) ซึ่งทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างระบบไฟฟ้าและมีประสบการณ์เคยเป็นคู่สัญญากับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (EGAT, MEA, PEA) ส่งผลให้ GUNKUL ผ่านคุณสมบัติมีสิทธิเข้าประมูลรับงานกับการไฟฟ้าฯได้ทันที (ขอบข่ายงานที่สามารถรับได้ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเหนือดินแรงดันไม่เกิน 115kv ไม่ถูกจำกัดระยะทาง, งานก่อสร้างเคเบิ้ลใต้ดินแรงดันไม่เกิน 155kv ไม่ถูกจำกัดระยะทาง, และก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงดันไม่เกิน 115kv) เป็น Potential upside หลังอุตสาหกรรมไฟฟ้าอยู่ในช่วงขยายตัวและการลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯเป็นสิ่งจำเป็น

 


ล่าสุดตามแผนงานลงทุนระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯในระยะ 2018-27 มีมูลค่ารวมกว่า 300,000 ล้านบาท โดยเฉพาะงานจาก PEA (FEC รับงานจาก PEA ในสัดส่วนที่มากกว่าจากการไฟฟ้าฯอื่น) ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 1.2 แสนล้านบาทจะทยอยเปิดให้ประมูล บริษัทคาดได้รับงานราว 10-15% โดยคาดจะมีการเซ็นสัญญารับงานราว 1 พันล้านบาทใน 1Q19 ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทมี Backlog รอรับรู้รายได้ในปี 2019 ราว 2 พันล้านบาท

 

 

นอกจากนี้ในอดีตที่ผ่านมา FEC เป็นผู้รับเหมาช่วงในการสร้างโรงไฟฟ้าของ GUNKUL ในส่วนระบบฐานรากของโรงไฟฟ้าและระบบสายส่งไฟฟ้า ดังนั้นการเข้าถือหุ้น 100% ของ GUNKUL ในครั้งนี้คาดจะช่วยให้ Gross margin ของธุรกิจ EPC สูงขึ้นในอนาคตจากระดับ 10-20% ขึ้นมาเป็น 25-35% (ปี 2018 GMP อยุ่ระดับ 32% VS 15% ในปี 2017)

 

 

คาดผลประกอบการทำ New record high ต่อเนื่องไปอย่างน้อย 4 ปีข้างหน้า
ผลประกอบการอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น โดยมี Renewable power plant ที่ COD แล้วเป็น Secured earnings base และกำลังการผลิตใหม่ที่จะ COD ในช่วง 2019-22 เป็น Secured growth engine พร้อมกับสามารถคาดหวัง Upside surprise ได้จากธุรกิจ EPC
ประเมินกำไรสุทธิปี 2019-20 ที่ 2.0 พันล้านบาท และ 2.1 พันล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8% CAGR 2018-20

 

และผลประกอบการอยู่ในภาวะขาขึ้นอย่างน้อยจนถึงปี 2022 จาก Key driver หลักในธุรกิจ Power producer มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนอีกราว 228MW (+73% จากกำลังการผลิตปัจจุบัน) ทยอย COD ในช่วงปี 2019-22 (ครบ 542MW จากโครงการที่มี PPA แล้ว) ในขณะที่ธุรกิจ EPC เราใช้ Conservative assumption โดยคาดบริษัทสามารถรักษาระดับ Backlog ที่ราว 2 พันล้านบาทซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2016-18 ไว้ได้ แม้มี Potential upside อยู่มากถัดจากนี้จากภาวะอุตสาหกรรมขยายตัวและการขยายบริการไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (โอกาสในการรับงานจากการไฟฟ้าฯ)

 

 

เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 4.00 บาท
เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ "ซื้อ" และประเมินราคาเป้าหมายที่ 4.00 บาท ด้วยวิธี Sum of the part แบ่งเป็น 1) ธุรกิจ Power producer อิง DCF (WACC 5.9%, No Terminal growth) ได้มูลค่า 3.48 บาทต่อหุ้น และ 2) ธุรกิจ EPC อิงวิธี PER (ใช้ PER 16X เทียบเท่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม Construction service ย้อนหลัง 5 ปี -1SD) ได้มูลค่า 0.51 บาทต่อหุ้น

 

 

ปัจจุบัน GUNKUL เทรดที่ PER 13X (Normalized EPS) ถูกกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 21X ในขณะที่ ROE อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในปัจจุบัน (12% VS 10%) พร้อมกับผลประกอบการอยุ่ในช่วงขาขึ้นไปอีกอย่างน้อย 4 ปี ด้วยอัตราการเติบโตระดับ 15% CAGR 2018-22 จัดเป็นหุ้น Laggard ที่น่าสนใจ

 

GUNKUL

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้