Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : ส่องหุ้นกำไรปี 61 พุ่งติดจรวดโตเกิน 100% GUNKUL - NER - WP - BIZ

2,807

HotNews : ส่องหุ้นกำไรปี 61 พุ่งติดจรวดโตเกิน 100%  GUNKUL - NER - WP - BIZ

 

ทีมข่าวหุ้นอินไซด์  สำรวจผลประกอบการปี 61  พบบจ.ที่มีกำไรโตติดจรวด 4 บริษัท   นำโดย  GUNKUL อวดกำไรปี 61โต 133% หลังลุย COD โรงไฟฟ้ากังหันลม 3 โครงการ รวม 170 MW พร้อมแจกปันผลเป็นหุ้น  5 : 1  ควบจ่ายเป็นเงินสด 0.06 บ.  ด้าน WP กำไรปี 61 โต 143.63%  รับ อานิสงส์บริหารต้นทุนได้ดีเยี่ยม-ฐานลูกค้าแข็งแกร่ง ขณะที่  BIZ ฟอร์มแกร่ง โชว์กำไรปี 61 พุ่ง 105.94% รายได้ทะลักบอร์ดใจดี ปันผล 0.16 บ./หุ้น จ่าย 9 พ.ค.นี้   ส่วนNER กำไรปี 61 ติดปีกโต 117.05%

 

 

 

GUNKUL อวดกำไรปี 61โต 133% พร้อมแจกปันผลเป็นหุ้น ควบจ่ายเป็นเงินสด 0.06 บ.

นางสาวโศภชา ดํารงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) GUNKUL เปิดเผยว่าผลการดําเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยตามงบการเงินรวม สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 บริษัทมีรายได้รวม 6,460.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 4,913.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,547.41 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.49 และมีกําไรสําหรับงวด (ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) จํานวน 1,085.17 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 638.59 ล้านบาท (แสดงเป็น กําไรส่วนที่เป็นของบริษัทที่นํามาเปรียบเทียบ465.79 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมจากการปรับโครงสร้ างธุรกิจจํานวน 172.80 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจํานวน446.58 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้ อยละ 69.93 และเมื่อเปรียบเทียบโดยนับรวมผลกระทบส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมจากการปรับโครงสร้างธุรกิจจะแสดงผลกําไรส่วนที่เป็นของบริษัทสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และ 2560 แสดงจํานวน 1,085.17 ล้านบาทและ 465.79 ล้านบาทตามลําดับ ซึ่งเพิ่มขี้นจํานวน 619.38 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 132.97 เนื่องจากบริษัทฯ มีรายได้ที่เติบโตขึ้นในทุกภาคส่วนดังนี้

 


1.1 รายได้จากการขายไฟฟ้าและส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า แสดงในงบการเงินรวม สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2561แสดงจํานวน 2,929.75 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 1,535.56 ล้านบาทเพิ่มขึ้น จํานวน 1,394.19 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.79 โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสําคัญเกิดจากการจําหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ากังหังลมครบทั้ง 3 โครงการ รวม 170 MW ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนที่จําหน่ายไฟฟ้าเพียง 60 MW

 


1.2 บริษัทมีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง แสดงในงบการเงินรวม สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561จํานวน 2,028.24 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 2,045.04 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามียอดรายได้ในสัดส่วนคงเดิม

 


1.3 รายได้จากการขาย แสดงในงบการเงินรวม สําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 แสดงจํานวน1,344.96 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 1,159.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จํานวน 184.98ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ15.95เติบโตจากการได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนจําหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น

 


1.4 บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและต้นทุนทางการเงิน ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปกติและผันแปรตามยอดรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น

 


1.5 บริษัทมีค่าธรรมเนียมในการบอกเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดของเงินตราต่างประเทศ เป็นจํานวน588.10 ล้านบาท และขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ จํานวน 146.81 ล้านบาท แสดงในงบการเงินรวมสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561โดยผลกระทบดังกล่าวได้สิ้นสุดลงและแสดงผลขาดทุนเป็นค่าใช้จ่ายไว้เรียบร้อยทั้งจํานวนแล้วในปี 2561 อันเนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินบาท ต่อ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในระหว่างการบริหารการติดตั้งโครงการกังหันลมทั้ง 3 โครงการของบริษัท ดังที่ได้ชี้แจงโดยละเอียดเพื่อทราบแล้วในงวดงบการเงินสําหรับไตรมาส 1/ 2561 ที่ผ่านมา

 

1.6 บริษัทมีต้นทุนทางการเงิน สําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 แสดงจํานวน 800.45 ล้านบาทเปรียบเทียบงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงจํานวน 570.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 230.17 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ40.36 เนื่องจากบริษัทมีสัญญาสินเชื่อโครงการเพิ่มขึ ้นจากการจําหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในโครงการลมเพิ่มขึ้นครบ170 MWบริษัทยังคงความสามารถการจัดหากําไรของบริษัทในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพจากกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ในอัตรา 0.15 บาทต่อหุ้น เปรียบเทียบกับปีก่อน แสดงอัตรา 0.06 บาทต่อหุ้นหรือคิดเป็นเติบโตขึ้นร้อยละ 150
ขณะที่บริษัทมีเป้าหมายการเติบโตทั้งด้านธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจผลิตและจําหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ธุรกิจด้านการบริการก่อสร้างครบวงจร จึงกําหนดนโยบายให้มีการจัดจําหน่ายหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่จะหมดอายุลงในเดือนตุลาคม 2562 นี้ และบริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตในปี 2562ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องกว่า8 ปีของบริษัท (นับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ฝ่ายจัดการของบริษัทจึงเห็นว่าหนี้สินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นจากการจัดประเภทรายการใหม่ "ส่วนของหุ้นกู้ที่ถึงกําหนดชําระภายใน 1 ปี" ไม่มีผลกระทบต่อการดํารงสภาพคล่องของบริษัทแต่ประการใด ด้วยบริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 2,500ล้านบาท สําหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยบริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้ น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 และ 2560 แสดงจํานวน 9,500.05 ล้ านบาท และ10,183.86 ล้านบาท ตามลําดับ

 

โดยส่วนของผู้ถือหุ้นได้นับรวมกําไร (ขาดทุน) สําหรับปีไว้แล้ว โดยปรากฎรายการที่มีผลกระทบทําให้ส่วนผู้ถือหุ้นลดลงดังนี้

- Treasury stock จากโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน จํานวน 304.67 ล้านบาท


- ผลกระทบจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน (การเข้าซื้อบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง บริษัท ฟิวเจอร์อีเล็คทริคอล คอนโทรล จํากัด "FEC") จํานวน 558.37 ล้านบาท


- บริษัทสั่งจ่ายปันผลสําหรับผลประกอบการปี 2560จํานวน 333.84 ล้านบาท 
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติจ่ายเงินปันผลปี 61 อัตรา 0.06 บาท/หุ้น แบ่งเป็นหุ้นปันผลในอัตรา 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล เป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้นไม่เกิน 1,483,724,299 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท คิดเป็นการจ่ายหุ้นปันผลในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท และจ่ายเป็นเงินสดปันผลในอัตราหุ้นละ 0.01 บาท กำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 25 เมษายน 62 และกำหนดจ่ายเงินสดปันผลในวันที่ 15 พฤษภาคม 62

 

 

 

 

WP กำไรปี 61 โต 143.63%


นางสาวชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ WP เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวดปี 2561 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561) ของบริษัทและบริษัทย่อยว่า มีกำไรสุทธิ 321.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189.53 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 143.63% จากงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 131.96 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 14,978.08 ล้านบาท และรายได้จากการขายและให้บริการเท่ากับ 14,726.87 ล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 2.15% จากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 0.84% และมี EBITDA อยู่ที่ 674.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.01% จากปีก่อนอยู่ที่ 421.80 ล้านบาท สาเหตุที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เนื่องจากความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าตลาดในกลุ่มสถานีบริการจะเป็นช่วงขาลงและกระทบกับยอดขายรวมของกลุ่มบริษัท แต่กลุ่มบริษัทยังคงสามารถรักษาการเติบโตของลูกค้ากลุ่มอื่นที่มีอัตราการทำกำไรที่ดีกว่าไว้ได้ และยังได้ขยายฐานลูกค้าเหล่านี้ได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

 

"กำไรงวดปี 61 ที่ออกมานั้นถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะบริษัทฯ มีความสามารถในการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับผลิตภัณฑ์และการบริการสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและทันเวลา ทำให้ WP สามารถรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ขยายฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทำให้กำไรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนับต่อจากนี้ WP จะเดินหน้าดำเนินธุรกิจตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และบรรลุถึงเป้าหมายการสร้างรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานอย่างครบวงจร ”คุณชมกมลกล่าวในที่สุด

 


ด้านนายนพวงศ์ โอมาธิกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงินและบริหารองค์กร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)WP เปิดเผยว่า ในปี2561 กลุ่มบริษทั มีกำไรสุทธิ 321.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189.53 ล้านบาท หรือร้อยละ143.63 โดยในปี2560กลุ่มบริษัท มีกำ ไรสุทธิอยู่ที่ 131.96 ล้านบาท แม้ว่า ปริมาณการขายรวมของก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะลดลงจาก 886,246 ตัน เป็ น 817,657 ตัน เนื่องจากการลดลงของตลาดก๊าซปิโตรเลียมเหลวในกลุ่มสถานีบริการแต่กลุ่มบริษัท สามารถมีกำ ไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก131.96 ล้านบาทเป็น 321.48 ล้านบำท หรือคิดเป็นร้อยละ 143.63 เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2560 และอัตรากำไรสุทธิกำไรสุทธิต่อรายได้รวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ0.84 เป็นร้อยละ 2.15โดยมีกำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้นจาก649.69 ล้านบาท เป็น 830.43 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.82 และมีอัตรากำ ไรขั่นต้นกำไรขั้นต้นต่อรายได้รวมซึ่งไม่รวมรายได้อื่นอยู่ที่่ร้อยละ5.64 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.19 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 นอกจากนั้น กลุ่มบริษัท มีEBITDA อยู่ที 674.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.01 จากปี 2560 ซึ่งมี EBITDA อยู่ที่ 421.80 ล้านบาท สาเหตุหลักเป็นผลมาจากความสามารถในการดำ เนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทในการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยถึงแม้ว่า แนวโน้มตลาดขาลงในกลุ่มสถานีบริการส่งผลกระทบกับยอดขายรวมของกลุ่มบริษัท ทำ ให้มีปริมาณการขายรวมลดลงแต่กลุ่มบริษัทยังคงสามารถรักษาการเติบโตของกลุ่มลูกค้ากลุ่มอื่นที่มีอัตราการทำกำไรที่ดีกว่า ไว้ได้และยังได้ขยายฐานลูกค้าเหล่านี้อย่างต่อเนื่องอันส่งผลสนับสนุนให้กำ ไรขั้นต้น และกำไรสุทธิของกลุ่มบริษทเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 


ขณะที่ในปี 2561กลุ่มบริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 14,978.08 ล้านบาท ลดลง 769.26 ล้ำนบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.89 จากปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 15,747.34 ล้านบาท และกลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีกำไรสุทธิอยู่ที่321.48ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 143.63 โดยในปี 2560 มีกำ ไรสุทธิอยู่ที่ 131.96 ล้านบาท และมี EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.01 จากปี 2560

 

 

 

BIZ ฟอร์มแกร่ง โชว์กำไรปี 61 พุ่ง 105.94% 

 

นายสมพงษ์ ชื่นกิติญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสซิเนสอะไลเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (BIZ) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 665.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.72% จากปีก่อนที่มีรายได้ 623.43 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 84.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105.94% จากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 41.15 ล้านบาท โดยสาเหตุการเติบโตมาจากรายได้จากการขาย และการบริการเพิ่มขึ้น ดังนี้


บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 464.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.42% จากปีก่อน เนื่องจากมีการส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าและรับรู้รายได้จากงานโครงการขนาดใหญ่จำนวน 3 โครงการ ขณะที่รายได้จากการบริการอยู่ที่ 129.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.22% เนื่องจากบริษัทฯ มีการรับรู้รายได้จากงานให้บริการตรวจยีน ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการในไตรมาส 4 ที่ผ่านมานอกจากนี้ รายได้จากการก่อสร้าง เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาโครงการจัดตั้งศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งบริษัทฯ ได้รับงานดังกล่าวและเริ่มก่อสร้างในไตรมาส 2/2560 ที่ผ่านมา โดยมีรายได้ค่าก่อสร้างอยู่ที่ 63.94 ล้านบาท ซึ่งการรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างตามอัตราส่วนของต้นทุนงานตามสัญญาที่ทำเสร็จกับประมาณการต้นทุนงานตามสัญญา ซึ่งรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างคิดเป็น 83.44% ของรายได้ค่าก่อสร้างทั้งหมด

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.16 บาท/หุ้น กำหนดจ่ายวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ โดยจะมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 18 เมษายน 2562 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BIZ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนธุรกิจในปี 2562 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อน ปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,600 ล้านบาท ทั้งนี้มูลค่างานในมือดังกล่าวจะเริ่มทยอยรับรู้ในปีนี้จนถึงปี 2563 นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างยื่นประมูลงานใหม่ คาดว่าจะทราบผลภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้

 

 

 

 

NER กำไรปี 61 ติดปีกโต 117.05% ลั่นปี 62 รายได้โต 20%

 

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางพาราธรรมชาติแปรรูป เปิดเผยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2562 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.13 บาท/หุ้น รวมเป็นเงิน 202.2 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของงบการเงินปี 2561 ที่บริษัทมีรายได้ปี 2561 อยู่ที่ 10,084.01 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิ 486.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.14% และ 117.05% ตามลำดับจากงวดเดียวกันปี 2560 ที่มีรายได้รวม 9,872.70 ล้านบาท กำไรสุทธิ 224.12 ล้านบาท โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record date) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และกำหนดจ่ายปันผลวันที่ 16 พฤษภาคม 2562

 

โดยสาเหตุที่บริษัทฯมีผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนยอดขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนคงที่ ในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทพบว่าสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อรายได้จากการขายของบริษัทมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 เนื่องจากราคาซื้อวัตถุดิบเฉลี่ยลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายเฉลี่ยของบริษัท ส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น ประกอบกับเมื่อพิจารณาอัตรากำไรแยกตามประเภทสินค้าพบว่าอัตรากำไรขั้นต้นของยางแท่งและยางผสมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 จากต้นทุนขายที่ลดลง ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายยางผสมได้มากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต นอกจากนี้บริษัทมีสัดส่วนต้นทุนทางการเงินลดลง ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะยาว เนื่องจากบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนจากการระดมทุนมาใช้ในการบริหารจัดการสภาพคล่องมากขึ้น

 


สำหรับแผนงานปี 2562 บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ที่ 20% ภายใต้คาดการณ์ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 แสนตัน จากปีนี้ 2.2 แสนตัน ตามความต้องการยางในตลาดโลกจะเติบโตตามปกติในแต่ละปีราว 2-5% โดยบริษัทเดินหน้าขยายตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเจรจากับลูกค้าจีน 3 รายที่คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อรวมกันราว 1.5 หมื่นตัน/ปี และวางแผนขยายตลาดลูกค้าสิงคโปร์เพิ่ม โดยปัจจุบันบริษัทมีการทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contact) กับลูกค้าไปแล้วกว่า 11 ราย จากที่มีอยู่ 8 ราย ทำให้บริษัทมีลูกค้าที่รอรับรู้รายได้ที่แน่นอนส่วนหนึ่งแล้ว
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างยื่นขอให้ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป 3 ราย เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของโรงงานและผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นใบเบิกทางสำหรับการรุกเปิดตลาดส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผ่านมาบริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากบริดจสโตนทำให้บริษัทสามารถส่งออกสินค้าไปขายในจีนและภูมิภาคเอเชียได้ดี คาดว่าการตรวจสอบและขั้นตอนต่าง ๆ น่าจะใช้เวลาราว 1 ปี หรือรู้ผลในปี 63 ซึ่งทันเวลารองรับปริมาณผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 63

 


บริษัทจะมีกำลังการผลิตยางเพิ่มขึ้นอีก 60,000 ตัน/ปี เป็นยางแผ่นผสม (RSS Mixtures Rubber) จาก 232,000 ตัน/ปี ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดย ส่วนสิ้นปี2562 ก็จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอีก 172,800 ตันต่อปี หลังจากโรงงานใหม่ผลิตยางแท่ง (STR20) และยางผสม (Mixtures Rubber) แล้วเสร็จ เมื่อรวมทั้งสองส่วนจะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 465,600 ตันต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ปี 2563 รับรู้รายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทเน้นการสร้างเสถียรภาพของผลการดำเนินงานไม่ให้ผันผวนตามธรรมชาติของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยการซื้อสินค้าจริงมาทำมาผลิตเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อ ไม่มีนโยบายเก็งกำไรจากสต็อก พร้อมทั้งรักษาสมดุลของฐานลูกค้าเพื่อบริหารความเสี่ยง

 


ด้านนายศักดิ์ชัย จงสถาพงษ์พันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีการเงิน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จํากัด (มหาชน) NER เปิดเผยว่า บริษัทมีรายได้รวมสําหรับปี 2560 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และรายได้รวมสําหรับปี 2561 สิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2561 เท่ากับ 9,872.70 ล้านบาท และ 10,084.01 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายเท่ากับ 9,805.07ล้านบาท และ 10,056.20 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.31 และร้อยละ 99.72 ของรายได้รวมตามลําดับ
รายได้แยกตามภูมิศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ รายได้จากการขายในประเทศ และรายได้จากการขายต่างประเทศ สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายในประเทศ 6,647.49 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 65.92ของรายได้รวม และรายได้จากการขายต่างประเทศ 3,408.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.80 ของรายได้รวม
สําหรับปี 2561 พบว่ารายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 จํานวน 251.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.56เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายในประเทศร้อยละ 12.80แต่เนื่องจากรายได้จากการขายต่างประเทศที่ลดลงคิดเป็นร้อยละ12.86 เป็นผลจากการจํากัดปริมาณการส่งออกในปี 2561


สินค้าของบริษัทสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยางผสม โดยมีสรุปรายละเอียดรายได้แยกตามประเภทสินค้าดังนี้


1) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางแผ่นรมควัน 3,483.31 ล้านบาท ลดลง 121.58 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.37 เมื่อเทียบกับปี 2560 แม้ว่าปริมาณการขายยางแผ่นรมควันจะเพิ่มขึ้นจํานวน 17.41 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.01อย่างไรก็ตามราคาขายเฉลี่ยลดลง ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

 


2) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (Standard Thai Rubber: STR)
สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางแท่ง 3,201.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.63 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25เมื่อเทียบกับปี 2560เป็นผลจากปริมาณการขายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 อย่างมีนัยสําคัญ จากปริมาณสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้น 14.31 ล้านตัน เป็นเงิน 429.68ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดีราคาขายเฉลี่ยของยางแท่งในช่วงปี 2561 ลดลงซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆในขณะที่ปริมาณขายต่างประเทศในปี 2561 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาขายเฉลี่ยลดลงจึงส่งผลให้ยอดขายต่างประเทศ ลดลง 142.23 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.29 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้น

 


3) รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางผสม (Mixture Rubber)

สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขายยางผสม 3,371.34 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 333.04 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.96 เมื่อเทียบกับปี 2560 เป็นผลจากปริมาณการขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากปริมาณสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ผ่านมา ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตยางผสมได้มากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Dry Process เป็น Wet Process ทําให้สามารถลดขั้นตอนการผลิตสั้นลงและผลิตสินค้าได้เร็วขึ้นส่งผลให้มีปริมาณขายเพิ่มขึ้น 14.88 ล้านตัน เป็นเงิน 421.37 ล้านบาท อย่างไรก็ตามราคาขายยางผสมทั้งในและต่างประเทศเฉลี่ยของปี 2561 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบปี 2560 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาตลาดในช่วงเวลานั้นๆ

 


รายได้อื่นของบริษัทประกอบด้วย รายได้จากการรับจ้าง รายได้จากค่าเช่า รายได้ดอกเบี้ยรับ และรายได้ดูแลจัดเก็บสินค้า เป็นต้น สําหรับปี 2561 บริษัทมีรายได้อื่นเท่ากับ 18.18 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของรายได้รวมโดยหลักๆ เป็นรายได้จากการบริการรับจ้างจํานวน 4.28 ล้านบาท รายได้ดูแลจัดเก็บสินค้าจํานวน 8.34 ล้านบาทดอกเบี้ยรับ 0.88 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ จํานวน 4.68 ล้านบาท

 


สําหรับปี 2561 บริษัทมีกําไรขั้นต้นเท่ากับ 1,039.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จํานวน 351.39 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.04 โดยมีอัตรากําไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 11.56 เพิ่มขึ้นจากร้ อยละ 5.17 ของรายได้จากการขายปี 2560 เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนยอดขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนคงที่ ในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทพบว่าสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อรายได้จากการขายของบริษัทมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560เนื่องจากราคาซื้อวัตถุดิบเฉลี่ยลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายเฉลี่ยของบริษัท ส่งผลให้กําไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้น

 

ประกอบกับเมื่อพิจารณาอัตรา กําไรขั้นต้นแยกตามประเภทสินค้าพบว่าอัตรากําไรขั้นต้นของยางแท่งและยางผสมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 เนื่องจากต้นทุนขายที่ลดลง ประกอบกับบริษัทสามารถผลิตและจําหน่ายยางผสมได้มากขึ้นจากการเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Dry Process เป็น Wet Process และสําหรับปี 2561 บริษัทมีกําไรสุทธิเท่ากับ 486.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 262.34 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 117.05 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีกําไรสุทธิเท่ากับ 224.12 ล้านบาท เกิดจากกําไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการผลิตได้ดีขึ้น และราคาซื้อวัตถุดิบยางลดลงฃ

 

ซึ่งเป็นไปตามราคาตลาดเมื่อเทียบกับช่วงปี 2560 โดยในปี 2561 บริษัทมีต้นทุนผลิตที่ลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าราคาขายที่ลดลงซึ่งเป็นไปตามราคาตลาด นอกจากนี้บริษัทมีสัดส่วนต้นทุนทางการเงินลดลง ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ระยะยาว เนื่องจากบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนจากการระดมทุนมาใช้ในการบริหารจัดการสภาพคล่องมากขึ้น

 

GUNKUL - NER - WP - BIZ

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

HotNews: IND เตรียมศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานสะอาด

IND เตรียมศึกษาธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานสะอาด ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ไม่ต่ำกว่า 15%

สถานบันเทิงครบวงจร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ยินดี สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ลงมติ รายงานผลการศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร...

มัลติมีเดีย

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้