Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : SET โค้งแรกปีหมู SCBS ทำนายพุ่งทะยาน / MBKET เล็งหุ้นไทยยังผันผวน / IAA มองเป้า SET ที่ 1,682 จุด

2,929

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (3 มกราคม 2562)

"SET โค้งแรกปีหมู"  ผ่านมุมมองเทพหุ้น บล.ไทยพาณิชย์   เชื่อหุ้นไทยทะยานตั้งแต่ไตรมาสแรก หลัง GDP ขยายตัวสูงกว่าค่าเฉลี่ย- กำไรบจ.หนุน  - Valuation น่าสนใจ คงเป้า SET  ปี 62 ที่ 2000 จุด ด้าน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง มอง SET ไตรมาสแรกผันผวน  ในกรอบแนวต้าน 1750 จุด และแนวรับ 1550 จุด  ส่วน  IAA  มอง SET ไตรมาสแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 1,682 จุด  มอบหุ้นเด่น BBL - BEM - CPALL - STEC - WHA 

 

--------------------------------------------

 

บล.ไทยพาณิชย์  เชื่อหุ้นไทยทะยานตั้งแต่ไตรมาสแรก คงเป้า SET  ปี 62 ที่ 2000 จุด

 

บล.ไทยพาณิชย์เห็นสัญญาณเศรษฐกิจโลกพลิกกลับมาหนุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงจากฐานสูงในปี 2561 ตามแรงส่งจากมาตรการลดภาษีที่ค่อยๆ หมดไป แต่ภาพรวมยังแกร่งพอจะหนุนบรรยากาศ risk – on ให้เกิดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เชื่อหุ้นไทยทะยานตั้งแต่ไตรมาสแรก SET จะปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงสนับสนุนจาก GDP ที่ขยายตัวสูงกว่าค่าเฉลี่ย กำไรที่เพิ่มขึ้นของบริษัทจดทะเบียน และ Valuation ที่น่าสนใจ โดยอิง fwd PE ที่ 15.5 เท่า สำหรับธีมการลงทุนผู้ชนะในไตรมาสแรกปี 2562 มองไปที่วัฎจักรการลงทุนในประเทศ ส่งผลดีต่อนิคมอุตสาหกรรม การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. หนุนกลุ่มธนาคารและแนวโน้มราคาหมูและปลาทูน่าที่จะส่งผลดีต่อกลุ่มอาหาร

 

นายพรเทพ ชูพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า กระแสการลงทุนเปลี่ยนทิศ แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่โดดเด่นในปี 2561 จะลดความร้อนแรงลง คาดนักลงทุนเปลี่ยนมาสนใจตลาดเกิดใหม่แทน หลังความเสี่ยงฟองสบู่ลดลง คาดสัญญาณชะลอขึ้นดอกเบี้ยของเฟดส่งผลดอลลาร์หยุดแข็งค่า ซึ่งดีต่อหุ้นตลาดเกิดใหม่ด้วย ส่วนช่องว่างการเติบโตที่แคบลงระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐฯ กับตลาดเกิดใหม่จะดึงดูดให้กระแสเงินทุนเปลี่ยนทิศมาทางภูมิภาคนี้ด้วย ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจโลก แม้เติบโตในอัตราชะลอตัวลง แต่ก็เป็นการเข้าสู่ระดับค่าเฉลี่ยระยะยาว ไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนสงครามการค้า แม้มีผลให้คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกชะลอลงทั้งจีนและสหรัฐฯ แต่ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการทั้งหมดทั่วโลกยังอยู่สูงกว่าระดับ 50 จุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะชะลอตัวลงบ้าง

 

สถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกช่วงที่ผ่านมาเป็นการพักฐาน หรือ Correction ในระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและการเติบโตของกำไรบริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก โดยความกังวลหลักๆ มาจากเรื่องสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน, ความไม่แน่นอนของข้อตกลง Brexit, และการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่หลายฝ่ายมองว่าขึ้นมามากเกินไป อย่างไรก็ตาม ความกังวลเหล่านี้มีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยจีน-สหรัฐฯ จะมีการเจรจากันในต้นเดือน ม.ค. หลังจากสงบศึกการค้าไปก่อนหน้านี้ ส่วนสภาผู้แทนอังกฤษจะมีการลงมติเลือกแนวทาง Brexit ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ Fed ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2562 ทั้งหมดนี้จะช่วยลดความกังวลต่อความเสี่ยงหลังๆ ลงได้มาก ทำให้ปัจจัยภายนอกที่กดดันตลาดเกิดใหม่ค่อยๆ คลี่คลายลง

 

สำหรับประเทศไทย SCBS มองเศรษฐกิจรับอานิสงค์วัฏจักรการลงทุนขาขึ้น เห็นได้จากผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อจากธปท.ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น การลงทุนในประเทศฟื้นตัวดีมีแนวโน้มที่จะส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงกลุ่มธนาคาร มองไปข้างหน้า ภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อสำหรับไตรมาส 4 ปี 2561 เริ่มเห็นความต้องการสินเชื่อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกๆ ประเภท ทั้งสินเชื่อระยะยาว/ระยะสั้นสำหรับธุรกิจทุกขนาดและสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกประเภท ส่วนกรณีที่ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 1.75% ตามคาดไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค. ก็สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 เดือน ต.ค. และ พ.ย. ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ทั้งการบริโภคในประเทศ การลงทุน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกในเดือน พ.ย. จากนักท่องเที่ยวมาเลเซีย และอินเดียที่เติบโตดี และนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัว คาดดอกเบี้ยไทยยังมีโอกาสปรับขึ้นอีก 1-3 ครั้งในปี 2562 ตามมุมมองวัฏจักรการลงทุนและดอกเบี้ยขาขึ้น

 

ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนกลุ่มที่มีแนวโน้มสดใสในปี 2562 ไตรมาสแรกจะมาจาก 2 แนวโน้มหลัก ได้แก่ กลุ่มแรก แนวโน้มที่ดำเนินต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนหน้า ได้แก่ วัฎจักรการลงทุนรอบใหม่ (กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม) และวัฎจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ย (กลุ่มธนาคาร) ซึ่งได้รับการยืนยันจาก FDI ที่แข็งแกร่ง อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นทะลุ 70% ในเดือน พ.ย. และสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. และ กลุ่มที่สอง ตามแนวโน้มที่กำลังมาใหม่ คือวัฎจักรอุณภูมิน้ำทะเลซึ่ง NOAA ของสหรัฐฯ มองว่าโลกกำลังจะเข้าสู่ภาวะ El Nino อ่อนๆ ซึ่งมักส่งผลดีต่อต้นทุนปลาทูน่าจะมีราคาถูกลงขณะที่ส่งผลให้ราคาหมูเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธีมการลงทุนในไตรมาสแรกปี 2562 หุ้น top picks กลุ่มที่น่าจับตามองได้แก่ กลุ่มธุรกิจหมูและธุรกิจทูน่า (CPF TU) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม (ROJNA WHA) และ กลุ่มธนาคาร (BBL KTB)

 


• CPF: กำไรจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561 โดยได้รับการสนับสนุนจากราคาหมูที่สูงขึ้นในเวียดนามและไทย หุ้น CPF ซื้อขายในระดับต่ำที่มูลค่าตลาดของเงินลงทุนใน CPALL
• TU: กำไรจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2561 และปี 2562 จากต้นทุนทูน่าระดับต่ำ การปรับราคาผลิตภัณฑ์และเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐซึ่งยังไม่สะท้อนในราคาหุ้น
• ROJNA: บริษัทเร่งซื้อที่ดิน (โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ EEC) เพื่อสร้างรากฐานสำหรับรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต valuation (PBV) น่าสนใจและให้ตอบแทนจากเงินปันผลสูง
• WHA: แนวโน้มเป็นบวกโดยได้รับปัจจัยหนุนจากพอร์ตคลังสินค้าและโรงงานสำเร็จรูปขนาดใหญ่ ยอดขายรอรับรู้รายได้สูง กำไรใน 3 ปีข้างหน้าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ CAGR 16%
• BBL: สินเชื่อจะขยายตัวมากขึ้นและผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อจะดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากวัฎจักรการลงทุนมีโอกาสดีที่สุดที่ ROE จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับก่อนวัฎจักร NPL
• KTB: การปรับพอร์ตสินเชื่อจะเปิดโอกาสให้ตั้งสำรองลดลง ได้ประโยชน์จากวัฎจักรการลงทุนที่เร่งตัวขึ้นและกำไรพิเศษจาก AQ

 

--------------------------------------------

 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง มอง SET ไตรมาสแรกผันผวน

 

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาดการณ์ภาพรวมการลงทุนในช่วง 1Q61 คาดตลาดยังคงแกว่งผันผวนในกรอบแนวต้าน 1750 จุด และแนวรับ 1550 จุด โดยปัจจัยขับเคลื่อนมาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่

 

1.นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนจากภาครัฐฯ

2.ความคาดหวังก่อนการเลือกตั้ง 

3.โอกาสที่แนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะปรับขึ้นช้ากว่าคาด

 

ในขณะที่ประเด็นที่ยังคงเป็นปัจจัยกดดันหลัก ยังคงเป็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน (Trade war) ซึ่งหากยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีหน้ามี downside มากขึ้นจากคาดการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการยกเลิก QE ของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เม็ดเงินสภาพคล่องส่วนหนึ่งหายไป โดยสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ยังคงแนะทยอยสะสมหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Domestic Play อิงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายภาครัฐฯ เช่น กลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC, HMPRO), กลุ่มโรงไฟฟ้า (EGCO) เก็งแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่, กลุ่มท่องเที่ยว (AOT, ERW) เก็งการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวไทย, กลุ่มธนาคาร (BBL) รับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่ รวมถึงหุ้นที่แนวโน้มกำไรยังเติบโตก้าวกระโดดในปี 62 (SAWAD, JMT, VGI)
สำหรับปัจจัยที่น่าติดตาม

 


- ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังคงเป็นสาเหตุหลักที่กดดันทิศทางการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงโลก โดยแม้ว่าประเด็นการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีน วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญ จาก 10% ขึ้นสู่ 25% จะเลื่อนการพิจารณาออกไป 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดราว 1 มีค. 2019 แต่ในระยะสั้นเรายังคงเห็นท่าทีอันแข็งกร้าวของ Donald Trump ดังนั้นเราเชื่อว่าปัญหานี้คงยังไม่สามารถคลี่คลายได้ในระยะสั้น ซึ่งจะเป็นจุดที่กดดันการลงทุนต่อเนื่องในปีนี้


- ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กดดันการลงทุนเข้าสู่โหมด Risk off : จากประเด็นสงครามการค้าโลก ซึ่งหากยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง คาดจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงถัดไปมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ โดยล่าสุดหากพิจารณาในเชิงตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศสำคัญ เช่น GDP, PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการ ล้วนพบการชะลอตัวลงอย่างเห็นชัด โดยในระยะสั้นจุดที่น่าติดตามคือ PMI ภาคการผลิต ของจีน ที่ล่าสุดเดือน พฤศจิกายน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50 จุด ถือเป็นจุด critical ซึ่งหากต่ำกว่านี้จะบ่งชี้การเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจหดตัว ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อการปรับฐานได้อีกครั้ง


- ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลก : เราประเมินทุกๆ ราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลง -1 เหรียญ มีโอกาสกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยรวม ลดลงราว 5,000 ล้านบาท (ไม่คิดรวมผลกระทบจาก Stock loss) หรือคิดเป็นแรงกดดันต่อ 2019 SET EPS ราว -0.5 จุด ต่อราคาน้ำมันดิบที่ลดลง 1 เหรียญ (เราประเมิน 2019 SET EPS ที่ 116 บาทต่อหุ้น อิงสมมติฐานน้ำมันดิบปี 2019 เฉลี่ยที่ 70เหรียญต่อบาร์เรล)


- นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากภาครัฐ: ระยะสั้นเริ่มเห็นนโยบายจากภาครัฐเร่งตัวขึ้น ทั้งการกระตุ้นภาคการบริโภคผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ หรือนโยบายช๊อปช่วยชาติ อีกทั้งงานประมูลโครงสร้างพื้นฐานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 อีกกว่า 9 แสนล้านบาท น่าจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ ซึ่งคาดจะออกมาช่วงเดือน มค. 2562 ล้วนเป็นปัจจัยที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้น


- การเลือกตั้งไทย 2562 สัญญาณการเลือกตั้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น คาดเป็นแรงส่งต่อภาพรวมการลงทุนในช่วงแรก แต่อย่างไรก็ดีการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงการดำเนินนโยบายต่างๆ ในช่วงถัดไปจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังหลังเลือกตั้งอาจเห็นสัญญาณการปรับฐานลงได้

 

--------------------------------------------

 

IAA มอง SET ไตรมาสแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 1,682 จุด  มอบหุ้นเด่น BBL - BEM - CPALL - STEC - WHA 

 

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการและกรรมการ ผู้อำนวยการสมาคมนักวิเคราะหก์ารลงทุน (IAA) แถลงผลการสำรวจ ความเห็นของนักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุนต่อมุมมองในด้าน การลงทุนและคาดการณ์ทิศทางดัชนีราคาหุ้นไทย (SET Index) ในปี 2562 นี้โดยมีตัวแทนทีมวิเคราะห์การลงทุน ทงั้หมด 27 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 21 บริษัท บริษัท หลักทรัพย์จดัการกองทุนจำนวน 4 บริษัท บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน 1 บรษิทัและธุรกจิโกลด์ ฟิวส์เจอรส์ 2 บริษัท ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

 

ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และผู้จัดการ กองทุนร้อยละ 55.56 มองว่าดัชนีราคาหุ้นไทยในระยะสั้นช่วง ไตรมาสแรก มีแนวโน้มในทิศทางบวก ในขณะที่ผู้ตอบ แบบสอบถามรอ้ยละ 33.33 มองไปในทศิทาง Sideways หรือไม่ เปลี่ยนแปลงไปมากจากสิ้นปี 2561 และร้อยละ 11.11 มองว่า ตลาดจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางลบ

 


ทั้งนี้นักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุนคาดว่าดัชนี ราคาหุ้นไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,682 จุด สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาหุ้นไทยในระยะสั้นนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า เรื่องการเลือกตั้งของไทย เป็นปัจจัยลำดับแรกที่มีอีทิธพิลต่อทศิทางราคาหุ้นไทยระยะสั้นรองลงมาคือสงครามการค้าและทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรฐัฯ ตามลำดับเมื่อมองภาพที่ยาวขึ้น ไปถึงสิ้นปี 2562 นักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุนคาดการณ์จุดต่ำสุดของดัชนีราคาหุ้นไทย (SET Index) ระหว่างปีมีค่าเฉลี่ยจุดต่ำสุดที่ 1,529 จุด




สำหรับจุดสูงสุดของ SET Index ปี 2562 เฉลี่ยที่ ระดับ 1,834 จุด ทั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 45.45 ที่คาด ว่าดัชนีจะทำจุดสูงสุด 1,801 – 1,900 จุด และมีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 40.91 ที่คาดว่าจุดสูงสุดจะอยู่ในช่วง 1,701 – 1,800 ตามลำดับ

 

สำหรับผลสำรวจความเห็นต่อเป้าหมายดัชนี ณ วัน สิ้นปีปี 2562 มีค่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 1,782จุด ซึ่งน้อยกว่าผลสำรวจของ เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยไม่มีผู้ตอบที่คาดว่าดัชนี ณ วันสิ้นปี 2562 จะอยู่ต่ำกว่า 1,600 จุด



สำหรับปัจจัยที่มีผลบวกต่อดัชนีราคาหุ้นไทยในปี 2562 ได้แก่ ปัจจยัทางด้านการเมืองในประเทศ เช่น แนวโน้ม การเลือกตั้ง และเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็น 2 ปัจจยัที่ผตู้อบ แบบสำรวจเทคะแนนให้อย่างชัดเจนว่าเป็นผลบวก ขณะที่ Fund Flows จากต่างประเทศสู่ตลาดทุนไทย ได้รับการโหวตมา เพียง 51.85% ซึ่งเป็นระดับประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ




ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลในด้านลบต่อตลาดทุนไทย ในระยะสั้นได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจต่างประเทศทั้ง อเมริกา ยุโรป เอเชีย รองลงมา คือปัจจัยด้านการเมืองใน ต่างประเทศ และทิศทางอัตราดอกเบ้ยีของสหรฐัอเมริกา (FED) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีเสียงโหวตมากถึง 50% ขึ้นไป เป็นที่น่าสังเกตุ ปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยใน ประเทศนั้นไม่มีผลมากนัก ต่อทิศทางราคาหุ้นในปีนี้ โดยมีผู้ตอบเพียง 11.11 % ที่มองว่าจะเป็นผลบวก และมีผู้ตอบอีก 40.74 % ที่มองแย้งว่าจะเป็นผลลบ

 

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้น 0.25% ร้อยละ 48.15 ของผู้ตอบ รองลงมา คือ คาดว่าปรับขึ้น 0.50% ร้อยละ 33.33 และคาดว่าไม่ปรับขึ้นในปี 2562 ร้อยละ 14.18




กำหนดการเลือกตั้งของไทย นักวิเคราะห์ส่วน ใหญ่คาดการณ์ว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นไม่เกิน ก.พ.2562 ร้อยละ 62.96 รองลงมา ร้อยละ 33.33 คาดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นมี.ค.-พ.ค.2562 ทั้งนี้มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียงร้อยละ 3.70 ที่คาดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น มิ.ย.-ส.ค.2562

 

คาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของตลาด เฉลี่ยที่ 115.12 บาท ผู้ตอบส่วนใหญ่คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 115 – 120 บาท โดย แยกตามกลุ่มมผีตู้อบดังนี้


• 110 – 114.99 บาท มีผู้ตอบร้อยละ 36.36

• 115 - 120 บาท มีผู้ตอบร้อยละ 63.64



EPS Growth ณ วันสิ้นปี 2562 เฉลยี่ 7.35 %


EPS Growth ณ สิ้นปี 2562 คาดว่า EPS Growth เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.35 ส่วนอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) แยกตามกลุ่มผู้ตอบ จะอย่รูะหว่างร้อยละ 1 – 4.99 มีผู้ตอบร้อยละ 4 5 – 9.99 มีผู้ตอบร้อยละ 88 10 – 14.99 มีผู้ตอบร้อยละ 8 



รายชื่อหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนําโดยมีจํานวนสํานักวิเคราะห์แนะนําตรงกันตั้งแต่ 5 สํานักขึ้นไป มีดังนี้


1. BBL โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ แนวโน้ม NIM สูงจากอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้น ขณะที่สินเชื่อยังเติบโตจากวงจรการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน และได้ประโยชน์จากการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
2. BEM โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ โอกาสการต่ออายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่สองออกไปถึงปี 2057 อิงตามมติล่าสุดของ กทพ. แต่ยังไม่รวมแนวโน้มการเป็นผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังกิจการร่วมค้าภายใต้การนําของกลุ่ม CP (ซึ่ง BEM ร่วมถือหุ้น)
มีแนวโน้มชนะประมูล
3. CPALL โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ รายได้มีศักยภาพเติบโตตามจํานวนสาขาและผลิตภัณฑ์ All Cafe ที่มีมาร์จิ้นสูง
4. STEC โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ แนวโน้มรายได้และกําไรเข้าสู่ขาขึ้นจากงานในมือ 1.2 แสนลบ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพียงพอรับรู้รายได้อย่างน้อย 3 ปีข้างหน้า, มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่ม
5. WHA โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การเดินหน้า EEC เป็นรูปธรรม ทําให้มูลค่าที่ดินที่มีกว่า 1 หมื่นไร่ ปรับสูงขึ้น

 

--------------------------------------------

 

(เพิ่มเติม) บล.เอเซีย พลัส  มองเป้า SET ปี 62 ที่ 1,795 จุด พร้อมแนะเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยเป็น 50% จากเดิม 40% 

 

บล.เอเซีย พลัส มองตลาดหุ้นไทยปี 2562 มีทิศทางดีขึ้น หลังตอบรับประเด็นสงครามการค้าไปแล้ว ขณะที่เชื่อว่า Fund Flow จะไหลกลับ และเศรษฐกิจไทยจะถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุน หลังผ่านการเลือกตั้งแล้ว มองเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปีหน้า 1,795 จุด พร้อมแนะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 50% เน้นหุ้นที่เติบโตตามเศรษฐกิจของประเทศ

 

นางภรณี ทองเย็น รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ขณะนี้ปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นไทยเริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีนที่เป็นปัจจัยหลัก มีทิศทางที่ดีขึ้น หลังผู้นำทั้งสองประเทศเจรจากันในการประชุม G20 เมื่อต้นเดือน ธ.ค. 2561 ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีท่าทีประนีประนอม

 

โดยสหรัฐฯ ยอมเลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนวงเงิน 2 แสนล้านเหรียญฯ ออกไป 90 วัน ขณะที่จีนยินยอมซื้อสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนรอบที่ 4 วงเงินอีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ คาดว่าจะไปพูดคุยกันอีกครั้งในเดือน เม.ย. 2562

 

“เชื่อว่าผลกระทบจากสงครามการค้า สะท้อนผ่านการปรับฐานของตลาดหุ้นโลกหลายแห่งไปมากพอควรแล้ว โดยเฉพาะฝั่งเอเซียที่ปรับฐานลงแรง โดยรวมจึงเชื่อว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปี 2562 น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าว

 

นางภรณี กล่าวว่า ในปีหน้าเชื่อว่า Fund Flow จะไหลกลับตลาดหุ้นเอเซีย โดยนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จากการที่สหรัฐฯ ส่งสัญญาณปรับลดมาตรการ QE ถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยมูลค่ารวมสูงถึง 6.12 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติ ล่าสุดลดลงมาเหลือเพียง 29.57% แบ่งเป็นการถือครองที่ปิดโอนชื่อต่างชาติ 22.86% และถือครองผ่าน NVDR 6.71% จะเห็นได้ว่าแรงขายที่มีมาต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนการถือครองอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติมาก

 

ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มชะลอลง จากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงตั้งแต่เดือน เม.ย.2561 บวกกับผลกระทบจากสงครามทางการค้าโลกกดดันกำลังซื้อ และราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงรวดเร็ว ทำให้เชื่อว่าใกล้สิ้นสุดวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น และส่งผลสืบเนื่องไปยังผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Bond yield) ของสหรัฐฯ เริ่มลดลง สวนทางเอเชียบางประเทศ ที่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพราะยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลออก

 

แม้ว่าสงครามการค้าจะกระทบ ทำให้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะขยายตัว 3.5% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2561 โดยภาคการส่งออกจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้น้อยลงนับจากนี้ แต่จะเห็นการลงทุนและการบริโภคครัวเรือนขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทน โดยในส่วนการลงทุนภาคเอกชนนั้น คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะยังเน้นไปที่ EEC ส่วนการลงทุนภาครัฐ น่าจะสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่รัฐบาลชุดเก่าได้วางแผนระยะยาวไว้แล้ว

 

โดยคาดว่าในปี 2562-2565 จะมีเม็ดเงินจากการลงทุนในโครงการที่เหลืออยู่ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยอีกราว 2 ล้านล้านบาท หรือราว 83.4% ของวงเงินทั้งหมด หรือเฉลี่ยปีละ 5 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังคงเดินหน้ากระตุ้นการบริโภคครัวเรือน จากการวางนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่ยังมีอยู่ จึงน่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

 

ขณะที่การเมืองไทย หลังเห็นกำหนดการนำไปสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในวันที่ 24 ก.พ.2562 แม้การเลือกตั้งครั้งนี้ มีโอกาสได้รัฐบาลผสมหลายพรรคการเมือง ทำให้มีเสถียรภาพน้อย แต่การได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง น่าจะได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจมากขึ้น

 

นางภรณี กล่าวด้วยว่า แม้เศรษฐกิจไทยปี 2562 จะเติบโตชะลอลงจากปี 2561 แต่ไทยยังมีจุดแข็งด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูง รองรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้นาน 11 เดือน และยังครอบคลุมหนี้สินต่างประเทศได้ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

 

ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการปี 2562 แม้ประเมินว่าจะเติบโตเพียง 3.3% เมื่อเทียบจากปีก่อน เพราะมีการปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันปี 2562 ลง 5 เหรียญสหรัฐฯ จาก 70 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล มาที่ 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับค่าเฉลี่ย 70.9 เหรียญฯ ในปี 2561 ส่งผลให้มีการปรับลดกำไรกลุ่มพลังงานลงกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังปรับลดกำไรกลุ่มปิโตรเคมี วัสดุก่อสร้าง และ ICT ลงเช่นกัน

 

โดยกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2562 จะลดลงเหลือ 112.2 บาทต่อหุ้น จากเดิม 115 บาทต่อหุ้น แต่ด้วยระดับ Expected P/E ปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ราว 14.4 เท่า เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นในภูมิภาค อีกทั้ง กระแส Fund Flow ที่น่าจะไหลกลับในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2562 จะช่วยหนุนให้ P/E ตลาดหุ้นไทยขึ้นไปแตะ P/E 16 เท่าได้

 

จึงมองดัชนีฯ เป้าหมายปี 2562 ไว้ที่ 1,795 จุด พร้อมกับแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 50% จากเดิม 40% โดยมองความเสี่ยงภายนอกยังมีอยู่ จึงเน้นเลือกลงทุนหุ้นรายตัว ที่มีการเติบโตตามเศรษฐกิจในประเทศ และเติบโตต่อเนื่อง ได้แก่

 

• หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น : KBANK
• หุ้นส่งออกที่ปรับตัวจากผลกระทบการค้าโลกได้ : HANA
• หุ้นสาธารณูปโภค : SCC, STEC, WHA
• หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภาคครัวเรือน : ADVANC, DTAC, BJC, CPALL, PLANB

 

--------------------------------------------

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

Microsoft ลงทุนไทย By: แม่มดน้อย

ภาพรวมหุ้นไทยในภาคเช้าที่ผ่านมา แกว่งตัวซิกแซกขึ้น สงสัยตอบรับข่าวดี Microsoft ลงทุนไทย....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้