Today’s NEWS FEED

News Feed

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปี 2567 คาดไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น 5.2% และนำเข้าจากประเทศ CLM เกือบทั้งหมด

169


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(28 มีนาคม 2567)---------• ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในปี 2567 จะขยายตัวราว 5.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเกือบ 100% เป็นการนำเข้าจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา (CLM)

• การลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศ CLM ยังเป็นเรื่องยากจากปริมาณผลผลิตในประเทศที่ยังไม่เพียงพอ

ไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ยังคงเติบโตตามภาคปศุสัตว์ ไทยมีความต้องการใช้อาหารสัตว์เฉลี่ยปีละ 20 ล้านตัน ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงไก่และสุกร ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบที่มีสัดส่วนความต้องการสูงเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับพืชอาหารสัตว์อื่นๆ (รูปที่ 1) โดยปัจจุบันไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยปีละ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เองราว 4-5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (รูปที่ 2)

 

ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คิดเป็นสัดส่วนราว 25% ของปริมาณการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด และเป็นการนำเข้าจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา (CLM) เกือบ 100% โดยเฉพาะเมียนมาที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูงถึง 93% (รูปที่ 3) แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าหดตัวเนื่องจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยประสบปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ประกอบกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการเลี้ยงจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น และบางส่วนหันไปนำเข้าพืชทดแทนอย่างข้าวสาลีเพิ่มขึ้นจากราคาที่ปรับลดลง (รูปที่ 4)

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัน ขยายตัวที่ราว 5.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่หดตัว 9.8% (รูปที่ 5) โดยเหตุผลที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจาก

 

-ความต้องการใช้อาหารสัตว์ของไทยคาดว่าจะขยายตัวตามภาคปศุสัตว์ สะท้อนจากปริมาณการผลิตสินค้าหมวดปศุสัตว์อย่างสุกรและไก่เนื้อในปี 2567 ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (รูปที่ 6)

 


-พืชทดแทนอย่างข้าวสาลียังมีราคาแพงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แม้ในปี 2566 ราคานำเข้าจะปรับลดลงมาใกล้เคียงกัน (รูปที่ 7) แต่คาดว่าในปีนี้ ราคานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะปรับลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมียนมาที่ คาดว่าผลผลิตในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 8% (USDA) ขณะที่ปริมาณการนำเข้าข้าวสาลีอาจมีข้อจำกัดตามมาตรการ 3:1 จากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศที่ลดลง
-การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศ CLM อยู่ภายใต้ความตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA) ทำให้ผู้นำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งต่ำ จึงมีความได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ

การลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศ CLM อาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ขณะที่การมองหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนการนำเข้าจากประเทศดังกล่าว หรือแม้แต่การหันไปใช้พืชอื่นทดแทน อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของต้นทุน รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละประเภทที่แตกต่างกัน

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

ชมงบ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ช่วงนี้ คงต้องรอชมนก ชมไม้ เอ้ย รอชม ผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ของบริษัทจดทะเบียน เริ่มทยอย...

CFARM จับมือ APM UOBKH และ BYD ประเดิมโรดโชว์ให้ข้อมูลนักลงทุน จ.ชลบุรี

CFARM จับมือ APM UOBKH และ BYD ประเดิมโรดโชว์ให้ข้อมูลนักลงทุน จ.ชลบุรี

ผถห. SSP ผ่านฉลุยจ่ายปันผล 0.10 บาท/หุ้น

ผถห. SSP ผ่านฉลุยจ่ายปันผล 0.10 บาท/หุ้น

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้