Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

263

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดต Momentum Tracker และแนวโน้มตลาดหุ้นโลก
“Highlight”
1 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลายๆสินทรัพย์เผชิญกับแรงขาย โดยตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง 0.5%, US 10Y Treasury -1.7%, ทองคำ -1.1% ในขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ขึ้นสวนสินทรัพย์อื่นปิดบวกได้ถึง 4.0%
2 สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐที่เป็นกลุ่ม leader ในปีนี้ก็เผชิญกับแรงขายในสัปดาห์ที่แล้วเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน แต่ไม่รุนแรงนักเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ทำได้มากกว่า 7% YTD โดยสองสัปดาห์ย่อตัวลงเพียง -0.39% อย่างไรก็ตามยังมีเซคเตอร์ที่ขึ้นสวนตลาดได้ในเดือน มี.ค. โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัฏจักร เช่น Energy +6.3% MTD และ Materials +3.7% กระตุ้นจากสัญญาณของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากการรีบาวด์ของตัวเลข S&P Global US Manufacturing PMI กลับเข้าสู่โซนขยายตัวที่ 52.2 ในเดือน ก.พ. สอดคล้องกับมุมมองเรื่อง restocking cycle ที่เราอัพเดตมุมมองให้ในช่วงต้นปี.


“สำหรับปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: (1) China Industrial Production เดือน ม.ค.-ก.พ. (Consensus คาดขยายตัว 5% YoY) และ (2) China Retail Sales เดือน ม.ค.-ก.พ. (Consensus คาดขยายตัว 5.2% YoY)
วันอังคาร: ผลการประชุมนโยบายดอกเบี้ยญี่ปุ่น
วันพุธ: ผลประชุมเฟด (Consensus คาดเฟดจะคง policy rate ไว้ที่ 5.5%)
คาดว่า highlight ของสัปดาห์นี้จะอยู่ที่มุมมองด้านเศรษฐกิจและแนวโน้มนโยบายดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งเราคิดว่าจะมีโทนออกมาดังนี้
(1) ประธานเฟดคงไม่ได้ให้สัมภาษณ์ไปในทาง hawkish มากขึ้น โดยเราสังเกตว่า ประธานเฟดมักจะให้ guidance ในเชิง tone down ตลาดมากขึ้นก็ต่อเมื่อ ตลาดมีความคาดหวังเรื่องการลดดอกเบี้ยสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ตลาดได้ปรับความคาดหวังลงมาแล้ว ดังนั้น message ในลักษณะ hawkish guidance ของประธานพาวเวลล์จึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ในครั้งนี้
(2) median dot plot ของการลดดอกเบี้ยในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3 ครั้งเหมือนกับมุมมองรอบก่อน ซึ่งแม้ว่าล่าสุดจะมีสมาชิกเฟด 2 รายที่เปลี่ยนความเห็นเรื่องการลดดอกเบี้ยในปีนี้ลงจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง แต่เราคิดว่ามุมมองของเสียงส่วนใหญ่จะยังคงเดิม
(3) ประธานพาวเวลล์เคยแถลงต่อคองเกรสว่า เฟดไม่จำเป็นต้องรอเห็นเงินเฟ้อปรับลงเหลือ 2% แล้วจึงค่อยลดดอกเบี้ย เพียงแต่ต้องการรอความชัดเจนเรื่องตัวเลข ซึ่งล่าสุด Core PCE เดือน ม.ค. ได้ปรับตัวลงสู่ 2.8% YoY แล้ว และมีแนวโน้มปรับตัวลงต่อ โดยเราคาดว่าตัวเลขของเดือน มี.ค. หรืออย่างช้าไม่เกินเดือน เม.ย. จะปรับตัวลงแตะระดับ 2.5% ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการทำให้เฟด ลดความกังวลลง ดังนั้น first rate cut จึงมีโอกาสเกิดขึ้นภายในเดือน มิ.ย. เหมือนเดิม


“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆในสัปดาห์นี้”
1 เราคาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐและญี่ปุ่นจะผันผวนต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ฉุดโดย Momentum Tracker ที่อ่อนแรงลงจากภาวะ overbought
2 ตลาดหุ้นเวียดนามและจีนมีโอกาสซิกแซกขึ้นต่อ เนื่องจากจาก Momentum Tracker ยังเป็น uptrend และไม่ได้ตึงตัวมากเหมือนกับตลาด DM
3 US 10Y Treasury คาดจะมีแรงซื้อกลับภายหลังการประชุมเฟด ที่บริเวณ yield โซน 4.3%-4.4% ส่วนทองคำน่าจะยังอยู่ในวงจรการพักฐานระยะสั้นต่อไปคล้ายสัปดาห์ที่แล้วจากภาวะ technical overbought อย่างไรก็ตามหลังการพักฐานเสร็จ ราคามีโอกาสที่ปรับตัวขึ้นใหม่ไปทดสอบเป้าหมายของเราที่ 2,300 เหรียญในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลงพอดี

สรุปภาพตลาดวานนี้
ศุกร์ที่ผ่านมา SET ย่อลงทดสอบแนวรับ กดดันจากแรงขายหุ้นใหญ่ทั้ง DELTA คอมเมิร์ช CPALL CPAXT CPN สื่อสาร ADVANC TRUE ธนาคาร BBL SCB และหุ้น SMID Cap. หลายตัวถูกขายทำกำไร เช่น STA PROEN BYD JTS-BROOK (บิทคอยย่อ) JMART เป็นต้น ขณะที่ด้านบวกมีการเก็งกำไรดัก พรบ. งบประมาณผ่านเร็วกว่ากำหนดเดิม เช่น KTB GLOBAL DOHOME STEC CK CIVIL TASCO TOA นอกจากนี้ พบหุ้น Alpha บางตัวยังบวกดี เช่น TPOLY MGC YGG ALPHAX CNT

แนวโน้มตลาดวันนี้
Covered short (Cont.)
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทย สร้างรูปแบบการฟื้นตัวจากโซนแนวรับ ที่ยกสูงขึ้น และทดสอบกรอบแนวต้าน 1,395 จุด ตามที่เราคาด
แม้ในสัปดาห์ที่แล้ว ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯจะสูงเกินคาด กดดันภาพรวมตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่นักลงทุนเองก็ลดความคาดหวังเชิงบวก กับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐระหว่าง วันที่ 19-20 มี.ค.นี้...

กลายเป็นการเปิดโอกาสที่ เฟดอาจสร้างความประหลาดใจเชิงบวก ให้กับตลาด ขณะที่ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ ทยอยลดความคาดหวังลงว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยเดือน มิย.นี้ จาก 60% ช่วงก่อนหน้า เหลือ 50% แต่ตลาดหุ้นไทย ก็ไม่ได้ตอบรับ เชิงลบ...

เช่นเดียวกับความคาดหวังกับงบการเงินไตรมาสแรกของปีนี้ จากการสำรวจ Management Guidance พบว่า ผู้บริหาร บจ.ส่วนใหญ่ 51% เริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการปี 2024 (เติบโตดี หรือ ฟื้นตัว) เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนหน้าที่มองบวกเพียง 45% แต่ก็ไม่ได้มองบวกมากเกินไปกว่าศักยภาพที่มี เพราะปกติต้นปีมักจะมองโลกสวยก่อน อย่างปี 2023 เริ่มต้นปีด้วยการมองเชิงบวกถึง 60%

นอกจากนี้ เมื่อมองประกอบกับตัวเลข Management guidance realistic index (MGRI) ที่เก็บจากสถิติช่วงที่ผ่านมา ยังมีบริษัทมองแบบ Realistic ในสัดส่วนที่น้อย (Index ต่ำกว่า 50) ทำให้รอบนี้นักวิเคราะห์ของเราและ Consensus ยังไม่กล้าใส่ความคาดหวังเต็มที่ อาจจะเพราะผิดหวังกับงบไตรมาสที่ 4/66 มาหมาดๆ จึงเพิ่มความระมัดระวัง เท่ากับว่ามีโอกาสที่ ไตรมาส 1/67 จะสร้างความประหลาดใจเชิงบวกให้กับตลาดหุ้นไทย ได้เช่นกัน
สำหรับกรอบตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดเดินหน้าสร้างฐานใหม่ยกสูงขึ้นต่อเนื่อง คาดกรอบ 1,378-1,405 จุด ส่วนหุ้นเด่น คาดว่าจะวนเล่นอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ 1.) หุ้นที่มีโอกาสถูกซื้อคืน Covered short 2.) หุ้นเก็งกำไรสูงตามสัญญาณทางเทคนิค (ซึ่ง1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราสังเกตุเห็นราคาหุ้นนอกเรดาห์ หลายตัวขยับบวกแรง น่าจะเป็นการสะท้อน Risk appetite ของนักลงทุน) 3.) หุ้นที่มีข่าวสนับสนุนหรือการเก็งกำไรตามราคา Spot เช่น น้ำมัน โรงกลั่น ปิโตรฯ สินค้าเกษตร

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกเล่นหุ้นตาม ธีมลงทุน Earnings play / หุ้นปันผล / ธีมการลงทุนจากปัจจัยหนุนการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร เช่น เอลนีโญ ทำอุณหภูมิประเทศไทยเฉลี่ย สูงขึ้น มีผลต่ออุตสาหกรรมเชื่อมโยง เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น, ยอดขายสินค้าฤดูร้อนมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล เป็นต้น

วิเคราะห์ทางเทคนิค SET week ปิดกลางๆ แนวโน้มไปในทิศทางบวก เนื่องจากดัชนีทะลุกรอบสามเหลี่ยมบน...breakout สำเร็จ จับตา RSI ยกฐาน ยก low & high เงื่อนไขทะลุ level 50 จะบ่งชี้พละกำลังความแข็งแกร่ง ส่วนโครงสร้างหลัก price pattern “Triple bottom.... บ่งชี้จุดต่ำสุดใน 4Q23 ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันภาพเริ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ สรุป: ตลาดรอบนี้ต้องมีหุ้นติดไม้ติดมือบ้างครับ…ส่วนบทวิเคราะห์ “World Asset Class” หัวข้อ โครงสร้างน้ำมันดิบเบรนท์ & US bond yield ดีดขึ้น…ชั่วคราว!


What to watch
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ระหว่าง 19-20 มี.ค.นี้
สภาฯไทยพิจารณางบประมาณปี 2567
BOJ อาจจะยังคงนโยบายคุมดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางญี่ปุ่น ในการประชุม 18-19 มี.ค.นี้
อาจจะมีการแถลงความคืบหน้า โครงการเงินดิจิตอล: การประชุมคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 67นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษารายงานความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยให้กรอบเวลาไว้ 30 วัน ซึ่งครบกำหนด 30 วัน แล้วเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 67
แรงซื้อสัญญาล่วงหน้าจากฝั่ง นลท. ต่างชาติ ยังคงเพิ่มขึ้นสะสมเดือน มี.ค. อยู่ที่ 8 หมื่นสัญญา เกือบจะ Cover short สัญญาเดือน ม.ค.ที่ ขายสะสมกว่า 9.4 หมื่นสัญญา ขณะที่ OI สัญญาเดือน มี.ค.ทรงๆ แค่ 5 หมื่นกว่า เทียบ OI เดือน มิ.ย. เกือบ แสน (สะท้อนแรงซื้อ ของเดือน มี.ค. เป็นมุมมองบวกของไตรมาส 2)

หุ้นแนนำวันนี้
TAN เอกชนทวงมาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งช้อปปิ้ง(S 15.5 R 17 SL 15)
CRC (S 36 R 38 SL 35)

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

BH
(Idea Call)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ภาพรวมดีขึ้นในหลายมิติ
วันนี้เราออก IDEA CALL BH ปรับคำแนะนำเป็นซื้อ (จาก ถือ) และกำหนดราคาเป้าหมายใหม่ที่ 310 บาท จากหลักๆ ด้วยกัน 3 เรื่อง
1) ผู้ป่วยตะวันออกกลาง ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ หากดูจากตังเลขการเดินทางเข้ามาของชาวตะวันออกกลาง เดือนมกราคม อยู่ที่ 4.4 หมื่นคน เพิ่มขึ้น 45% YoY ลดลง 8% MoM ลดลงน้อยกว่าช่วงปีปกติ ที่ราว 15-20% จากฐานที่ใหญ่ขึ้นของชาวซาอุดิอาระเบียที่เติบโตแข็งแกร่งมาก และคิดเป็นถึง 32% ของจำนวนชาวตะวันออกกลางทั้งหมด
2) เข้าสู่โหมดการขยายตัว ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มเตียง การเพิ่มสาขาในต่างประเทศ และการปรับเพิ่มขึ้นของราคา พร้อมกับ Utilization rate ที่สูงถึง 84% จะนำไปสู่ Economies of scale ของการดำเนินการ
3) แนวโน้มกำไร 1Q24 น่าจะออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม จากตัวเลขชาวตะวันออกกลางดังกล่าว และจำนวนเตียงที่เพิ่มขึ้น พร้อมราคาค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นถึง 6% YoY ทำให้เราคาด 1Q24
จากทั้งสามข้อ ทำให้เราปรับกำไรในปี 2024-25 ของ BH ขึ้น 4% และ 8% ตามลำดับ เรามองว่าจะเป็น low season ที่บริษัทยังสามารถเติบโตได้ และสูงกว่ามุมมองเดิมและที่ตลาดคาดว่าจะลดลง อีกทั้งความต่อเนื่องคาดยาวไปถึง 3Q24 จึงน่าจะเห็นการทยอยปรับเพิ่มกำไรจากตลาดราว 3-7%
ทั้งนี้ ปัจจุบัน BH ซื้อขายบน PER เพียง 23 เท่า ถูกที่สุดในกลุ่มโรงพยาบาลระดับบน

Food Sector
ชอบ ITC และ GFPT มากที่สุด
เราเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของกลุ่มเกษตรอาหาร โดยที่เร็วสุด คือ ITC และ GFPT จากรายได้และ GM
ITC หลังจากเราได้เชิญบริษัทมางาน Roadshow และมีสารฯ ที่ดีกว่าคาด ยอดขายที่เติบโต MoM และอาจทำให้ทั้ง 1Q24 รายได้โต 13% YoY เป็นอย่างน้อย (จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตไม่ถึง double digit) นอกจากนี้ GM คาเน่าจะอยู่ 21% เพราะได้ประโยชน์จากต้นทุนปลาทูน่าที่ลง
GFPT แนวโน้มยอดขายดีจากการส่งออกจะดีกว่าคาดเดิม โดย Guidance ที่เราเพิ่งอัปเดทล่าสุด เห็นปริมาณส่งออกเติบโต 19% YoY (เดิมเราคาดไม่ถึง 15%) และราคาไก่ในประเทศก็ปรับตัวขึ้นมาจาก 40 บาท ปลายปี 2023 เป็น 42-43 บาท ปัจจุบัน ขณะที่ต้นทุนข้าวโพดมีแนวโน้มลงต่อ และยังคาดกำไรจาก GFN, McKey จะเติบโต YoY อีกด้วย
ส่วนในด้านลบ คือ กลุ่มหมู ที่นอกจากราคาจะไม่ขึ้นแล้ว ยังสวนทางลง จากปัญหาหมูเถื่อน (ที่น่าจะยังไม่จบ) ทำให้การจะพลิกกลับมาเป็นกำไรของผู้ผลิตหมูใน 1Q24 นั้นเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เรายังรอโอกาสที่ราคาหมูอาจจะกลับมาปรับตัวดรขึ้นช่วงเมษายน (สงกรานต์) ทั้งนี้ เราได้ปรับสมมติฐานราคาหมูลงจาก 80 บาท เป็น 67 บาท สำหรับปี 2024 ตามราคาต้นปีที่ไม่ขึ้นตามคาด
Fundamental views: เราให้คำแนะนำ ซื้อ ITC GFPT และ TU, คำแนะนำซื้อเก็งกำไร TFG CPF และ BTG เพราะราคาหุ้นอยู่ในแดนล่างแล้ว รอการฟื้นตัว โดยเฉพาะเมษายน


Utilities Sector
ต้นทุนแก๊สกำลังกลับสู่ปกติ และได้อานิสงค์จาก Single Pool Gas
รายงานกลุ่มโรงไฟฟ้าวันนี้ เราได้แบ่งประเด็นสำคัญออกเป็น 3 เรื่อง
1) ต้นทุนแก๊ส: กลุ่มโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากการนโยบาย Single Pool Gas (โดยเฉพาะกลุ่ม SPP) ซึ่งผลลัพธ์ของนโยบายนี้ ต้นทุนแก๊สกลุ่มโรงไฟฟ้าจะลดลง (แต่กลุ่มเคมีฯ จะเพิ่มขึ้น) นอกจากนี้ การผลิตแก๊สของแหล่งเอราวัณที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาแก๊สเฉลี่ยลดลงไปด้วย
เราได้ปรับสมมติฐานราคาแก๊สสำหรับปี 2024 ลง 8.5% บวกต่อกำไร BGRIM 11%, GPSC 13%, GULF 1% และ WHAUP 3%
2) การปรับราคาค่าไฟฟ้า: มองว่ารอบถัดไป (พ.ค.-ก.ย.) โอกาสเป็นไปได้จากแนวทางที่มีการนำเสนอ คือที่ 4.18 บาท/หน่วย ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของเรา ขณะที่ต้นทุนแก๊สที่จะลดลง ทำให้มอง GM เพิ่ม
3) Upside จากการนำเข้า LNG: กล่าวคือ กกพ. พิจารณากฏเกณฑ์การนำเข้า LNG หากโรงไฟฟ้านำเข้าเอง เรามองว่ามีโอกาสลดต้นทุนจาก Trading fees ของผู้นำเข้า และหาก BGRIM และ GULF นำเข้าอย่างมีนัยสำคัญ คาด Upside ช่วง 4-30% และ 1-10% โดยมองว่า GULF น่าจะกลับตัวเร็วกว่า
Fundamental views: เราชอบ GULF มากที่สุดในกลุ่ม


SEAFCO
(Visit Note)
ซีฟโก้
ยังไม่แนะนำให้เล่นแซงคิวรับเหมาฯ ใหญ่
เรายังคงมอง SEAFCO เป็นหุ้นรับเหมาฯ สำหรับการเล่นตาม/Catch-up play หลังจากที่รับเหมาใหญ่เข้าสู่ Wave ของขาขึ้นรอบใหม่แบบชัดขึ้น เพื่อไม่ให้เสียรอบในการเก็งกำไร ซึ่งน่าจะต้องรอหลังงบประมาณ และเห็นข่าวการประมูล เพราะ
1) ผลประกอบการ SEAFCO ยังมองเพียงประคองตัว และปี 2024 เป้าหมายไม่ค่อยน่าตื่นเต้นนัก ผู้บริหารตั้งเป้าหมายรายได้ ทรงตัว YoY (สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.6 พันล้านบาท) แต่หากเทียบกับ Backlog ที่ 1.1 พันล้านบาท (รวมงานที่เพิ่งได้เข้ามาใหม่) ยังถือว่าท้าทาย เพราะช่วง 1H24 คาดจะยังไม่ค่อยมีงานใหม่ๆ เข้ามา ตามการชะลอเบิกจ่ายงบประมาณ
2) Consensus ก็คาดกำไรปีนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 33% YoY และเป็นการปรับลงจากไตรมาสก่อนหน้า (อิงตาม Visit note ไตรมาสก่อน) ถึง 26% และ GM แนวโน้มชะลอตัว เพราะ Project Mixed
3) ระยะสั้นยังไม่หวือหวา โดย 1Q24 แนวโน้มจะใกล้เคียงกับ 4Q23 ถัดไป โครงการใหญ่อย่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใกล้จบ แต่โครงการใหม่เติม Growth ไม่ทัน ขณะที่ฝั่งตลาดคอนโดก็ยังไม่กลับมาคึกคัก
ดังนั้น จึงแนะนำ wait-and-see ต่อก่อน หรือ Switching ไปรับเหมารายใหญ่อย่าง STEC และ CK ก่อน เพราะจะเป็นกลุ่มที่เล่นดักการออกโครงการใหญ่ของรัฐฯ ได้แน่นอนกว่า

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

FORTH
ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น
ประเด็นสำคัญจากงาน Opportunity day
เราเข้าร่วมงาน Opportunity day ของ FORTH โดยมีมุมมองเป็นกลาง
View From Fundamental: เราคาดกำไรของ FORTH ในครึ่งแรกของปียังคงโดนกดดัน YoY จากธุรกิจ ems และ ยังคงต้องรอความชัดเจนสำหรับงานประมูลของ enterprise solution สำหรับ 1Q24 เราคาดกำไรจะมีการฟื้นตัวได้ QoQ จาก ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะลดลงและการขยายยอดตู้เต่าบินที่มีการเปิดทำงานอยู่ เรายังคงแนะนำ ถือ

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้