Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.กรุงศรี พัฒนสิน : KCS Daily Strategy

226

 


"China Plays"

KCS Daily Strategy : คาด SET วันนี้ "Sideways/Up" ต้าน 1393/1396 จุด รับ 1382/1378 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐฯลงต่อเป็นวันที่ 2 โดยหุ้นภาคบริการ Adobe, Ulta Beauty ดิ่งแรง หลังให้ภาพยอดขาย 2Q24F ชะลอกว่าคาด สอดคล้องดัชนีชี้นำภาคบริการ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) มี.ค. 24 ต่ำคาดที่ 75.6 จุด ลดลง 2 เดือนติด vs ฝั่ง EU, Asia ที่เร่งขึ้น ส่วนภาคผลิตสหรัฐมีสัญญาณผ่านจุดต่ำสุดและฟื้นตัวคล้ายภูมิภาคอื่นๆ ผลผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐฯ บวก m-m ครั้งแรกใน 2 เดือน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจฝั่ง EU, Asia เริ่มเด่นกว่าสหรัฐฯ และสัปดาห์นี้ตามประชุม BOJ หากยุตินโยบายผ่อนคลาย คาดเม็ดเงินมีโอกาสสลับเข้าตลาดหุ้นเอเชียในกลุ่มที่เศรษฐกิจฟื้นและ Laggard อาทิ จีน ไทย และภายในลุ้นเม็ดเงินใหม่จากกองทุนประกันสังคมพิจารณาเพิ่มการจ่ายเงินสมทบ 17%-33% หนุนเงินใหม่เข้าตลาดหุ้นไทยอย่างน้อย 3-7.5พันล้านบาท คาด SET แกว่งขึ้น หุ้นอิงภาคบริการ หุ้นอิงจีน (ลุ้นรายงานเศรษฐกิจวันนี้) วันนี้แนะนำ BCP, IVL, SCGP (หนุนจาก Shanghai Container Index สัปดาห์นี้ -5%w-w ลงต่อเนื่อง 6 สัปดาห์)

 

 

Daily outlook: "Sideways/Up" ต้าน 1393/1396 จุด รับ 1382/1378 จุด

What happened around the world ?

• (*) US Stocks : ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลงต่อ Dow Jones -0.49%, S&p500 -0.65% Nasdaq -0.96% โดย Sector ในดัชนี S&P500 กลุ่มที่ปรับขึ้นมีเพียง Energy,Utilies, Industrials ฯลฯ กลุ่มที่ปรับลง คือ IT, ICT ฯลฯ โดยหุ้นที่เคลื่อนไหวโดดเด่นคือ Adobe -13.6% หลังคาดการณ์ยอดขายงวด 2Q24 ลดลง จาก Demand ที่ลดลงจาก Software ภาพถ่ายและ Video ของ AI, และหุ้น Microsoft -2.1% และUlta beauty-7% คาดยอดขายเครื่องสำอางงวด 2Q24 ชะลอลงฯลฯ

•(*) US Econ : ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผสมผสาน คือ ฝั่งภาคการผลิตยังมีสัญญาณบวกต่อเนื่องแต่ฝั่งภาคบริโภคยังมีสัญญาณชะลอบ่งชี้กำลังซื้อสหรัฐเริ่มอ่อนแอลง สนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยจาก Fed รายละเอียดดังน้ คือ 1.)ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนก.พ. +0.1%m-m ดีกว่าคาดเล็กน้อย prev. -0.5%m-m แรงหนุนหลักมาจาก 1.)Manufacturing Production(+0.84%m-m และ 2.)Mining +2.2%m-m ส่วนรายงานตัวฝั่งการบริโภคออกมาในโทน Soft คือ 2.) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ(CCI) เดือน มี.ค. ปรับตัวลงติดต่อกัน 2 เดือนและต่ำกว่าตลาดคาดมาอยู่ที่ 76.5 จุด และผู้บริโภคคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วง 1 ปีข้างหน้า +3.0%ทรงตัวจากเดือนก่อนแต่ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.1% เช่นเดียวกับคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าทรงตัวที่ 2.9% และตามคาด

• (*/+) Container Index : ค่าระวางเรือโลก World Container Index แนวโน้มปรับลงต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ ข้อมูลล่าสุด ปลายสัปดาห์ที่แล้ว 15 มี.ค. -4%w-w อยู่ที่ 3,162 เหรียญ และปรับลดลงทุกเส้นทาง (อาทิ เส้น Shanghai- Rotterdum -5%w-w ที่ 3473 เหรียญ) ประเมินจิตวิทยาบวกต่อหุ้นที่มีต้นทุนค่าขนส่งอาทิ SCGP (5% ของต้นทุน) TU, GFPT, STA ,NER STGT, KCE, DELTA, HANA, SVI (3-5% ของต้นทุน) ที่ระยะหลัง Underperform ตั้งแต่มีประเด็นความเสี่ยงค่าระวางเรือ ช่วยจำกัด Downside ที่อาจเกิดขึ้นต่อประมาณการ ในทางตรงข้ามจะลบต่อหุ้นเรือ Container อาทิ RCL แนะนำชะลอลงทุน

•(*) China CSRC : เมื่อวันศุกร์มีข่าวบวกต่อตลาดหุ้น 2 ประเด็นคือ 1.) รายงานตัวเลข New yuan loan เเดือน ก.พ. อยู่ที่ 6.37 พันล้านเหรียญ ดีกว่าตลาดคาดและเร่งขึ้นจาก เดือน ม.ค.ที่ 4.92 พันล้านเหรียญ 2.) นายหลี่ เฉา รองประธาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จีน (CSRC) เผยได้ 1.) ออกร่างแนวปฏิบัติสำหรับการคุมเข้มการกำกับดูแลของบริษัทจดทะเบียน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทกองทุนสาธารณะ 2.) เร่งการก่อสร้างธนาคารเพื่อการลงทุน 3.)คุมเข้มการตรวจสอบการซื้อขายเชิงปริมาณ (quantitative trading) 4.) เสนอมาตรการใหม่เพื่อควบคุมการขายชอร์ต (short selling)

ฝ่าายวิจัย KCS มองทิศทางการใช้มาตรการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของทางการจีนดังกล่าวเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้นอิงจีน แนะนำหุ้น IVL, SCGP, PTTGC และกองทุน แนะนำการลงทุนผ่าน KCS iFund แนะนำกองทุน KF-CHINA และ KFACHINA-A (A-shares)

• (*) Japan & BOJ Meeting : สมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่น(Rengo) เผยว่าพนักงานในบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ราว 7 ล้านคน หรือ 5.6% ของประชากรญี่ปุ่นจะได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างมากที่สุดในรอบกว่า 30 ปี หรือ + 5.3%จากเดิมในปี 2024 นำร่องโดย Toyota KCS ประเมินเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น หนุนแนวโน้มกำลังซื้อและการอุปโภคและบริโภค มองบวกต่อ 1.)Upside ต่อ GDP ญี่ปุ่นปี 2024 และแนวโน้มเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสนับสนุน BOJ เปลี่ยนมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวในช่วง 2Q24 โดย MUFG ประเมิน BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุม 19 มี.ค.2024 หรือขึ้นอย่างช้าคือการประชุมรอบ เม.ย.24 KCS แนะนำ Switch เงินลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นมายังตลาดหุ้นจีน 2.) บวกต่อหุ้นที่มีฐานรายได้ในญี่ปุ่น เน้น GFPT

• (*) US Bond & Dollar : แนวโน้มยังเป็นขาขึ้นปรับขึ้นติดต่อกัน 5 วันเมื่อวาน +2 bps และปิดที่ 4.31% สูงสุดในรอบ 1 เดือน เช่นเดียวกับ 2 ปี ปรับขึ้นติดต่อ 5 วัน + 5 bps อยู่ที่ 4.72% บวกต่อกลุ่มประกันชีวิต และธนาคาร มองเก็งกำไรระยะสั้น ขณะที่ Dollar Index แข็งค่าแรงขึ้นมา 103.4 +/- จุด

• (*) To monitor : ฝั่งสหรัฐ ยอดขายบ้านใหม่ ก.พ. คาด +7.4%m-m 21 มี.ค. ยอดขายบ้านมือสอง ก.พ. คาด -2.0%m-m 21 มี.ค. (เช้า 22 มี.ค. ไทย) ผลการประชุม Fed เดือน มี.ค. ตลาดให้โอกาส 99% Fed คงดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดตลาดให้ความสำคัญต่อ Dotplot ใหม่ ฝั่งจีนติดตามรายงายดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจจีนเดือน ก.พ. 1) ยอดผลิตภาคอุตสาหกรรม คาด 5.2%ytd y-y, 2) ยอดค้าปลีก คาด +5.0%y-y, 3) การลงทุนในสินทรัพย์คงทน คาด +3.2%ytd y-y, 4) การลงทุนภาคอสังหา คาด -8%y-y

•(*/+) Oil : น้ำมันดิบ Brent +0.08%d-d ปิดที่ US$ 85.41/barrelน้ำมันดิบ West Texas +0.11%d-d ปิดที่ US$ 81.13/barrel

 

What happened in Thailand ?

• (*) SET: SET Index ปิดลบตามต่างประเทศ -0.64% ปิดที่ 1386.04 จุด กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มชิ้นส่วนฯ (DELTA) กดดันจาก US Bond Yield เร่งขึ้น หลังรายงานเงินเฟ้อ PPI ออกมาสูงกว่าคาด และ y-y บวกเร่งขึ้นครั้งแรกนับจาก พ.ย. 23 กลุ่มสื่อสาร (ADVANC, TRUE) ถูกขายทำกำไรหลังเป็นกลุ่มที่ Outperform ในปี 2024 กลุ่มหนุน คือ กลุ่มเหล็ก (GJS, TSTH) มองเก็งกำไรงบประมาณภาครัฐฯ ใกล้เบิกจ่ายได้ ต้น เม.ย. 24 ผสาน ลุ้นเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว หนุนราคาเหล็ก กลุ่มรับเหมา+วัสดุก่อสร้าง (TOA) มองเก็งกำไรงบประมาณภาครัฐฯ ใกล้เบิกจ่ายได้ ต้น เม.ย. 24

• (*) Flow : เงินทุนต่างชาติไหลเข้า ขายหุ้น -60.8 ล้านเหรียญฯ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเม็ดเงิน Rebalance ของ FTSE หากไม่รวมยังน่าจะเป็นการซื้อหุ้นราว 1.0-2.0 พันล้านบาท ขายพันธบัตร -104.4 ล้านเหรียญฯ TFEX สถานะ Net Short -18,216 สัญญา เงินบาทอ่อนค่า 35.9 +/-บาท

• (*/+) SSO: ประกันสังคม เตรียมขยายเพดานการจ่ายเงินสมทบ เป็น 17,500-20,000 บาท (ปัจจุบัน 15,000 บาท) พร้อมขยายอายุการเกษียณผู้ประกันตน เป็น 65 ปี ควบคู่บริหารการลงทุน ตั้งเป้าผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 เรามองบวกต่อ SET ที่มีโอกาสเห็นเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ เข้ามาหนุน ทั้งนี้ อิงฐานจำนวนผู้ประกันตนในระบบราว 25 +/- ล้านคน ทุกๆเพดานการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่ม 2.5 พันบาท จะหนุนเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มปีละ 3.75 หมื่นล้านบาท หากอิงเม็ดเงินที่กองทุนประกันสังคมมีสัดส่วนหุ้นไทยราว 10% คาดหนุนเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ตลาดปีละ 3.75-7.5 พันล้านบาท โดยยังไม่รวม Upside เพิ่มเติมจากการขยายช่วงอายุจ่ายเงินสมทบ โดยหากมองหุ้นในพอร์ตลงทุนประกันสังคมล่าสุด เรามองหุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มน้ำหนัก คือ กลุ่มที่มีแรงหนุนทางพื้นฐานในปัจจุบัน BEM BJC HMPRO GPSC IVL CPALL GLOBAL PTTGC SCGP AOT ส่วนกลุ่ม ร.พ. ประกันสังคมมองบวกต่อความมั่นคงของรายได้ระยะกลาง-ยาวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังต้องรอติดตามแนวทางรัฐฯต่อ

• (*/+) Honda x Nissan: นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor) และฮอนด้า มอเตอร์ (Honda Motor) ประกาศว่า ทั้งสองบริษัทตกลงที่จะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้สำหรับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เรามองจิตวิทยาบวกต่อหุ้นกลุ่มยานยนต์ไทยที่ส่วนใหญ่ยังพึ่งพาค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น และมีความเสี่ยงกระทบช่วงเปลี่ยนผ่านรถยนต์สันดาปสู่ EV ที่รถยนต์ค่ายจีนขยายตัวได้ค่อนข้างเร็ว

• (*/+) 2nd Car Price: ความเคลื่อนไหว 1) รถยนต์ EV จีนที่เริ่มมีกระแสข่าวอาจะเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดจากเดิมที่ใช้สงครามราคาในการทำตลาด มาเป็นการลดราคาในรูปแบบอื่นๆ เช่น แถมประกันภัยระยะเวลายาวขึ้นเป็น 4-5 ปี (เดิม 1ปี) โดยน่าจะเริ่มเห็นทิศทางชัดเจนขึ้นช่วงงานมอเตอร์ โชว์ 27 มี.ค. – 7 เม.ย. 2) Tesla เตรียมขึ้นราคารถยนต์รุ่น Model Y ทั้งหมดเพิ่มอีก 1,000 ดอลลาร์ (35,840 บาท) ในสหรัฐฯ เริ่มวันที่ 1 เม.ย. มองมีโอกาสเป็นสัญญาณราคารถยนต์มือ 2 ที่ดิ่งลงเร็ว ค่อยๆเสถียรขึ้นในระยะถัดไป หากเป็นไปตามที่เราประเมิน จะหนุนหุ้นที่กระทบสูงช่วงที่ผ่านมา อาทิ KKP, TISCO, THANI

• (*) Digital Wallet: รมช.คลัง กล่าวถึง ความคืบหน้าโครงการ Digital Wallet ซึ่งรอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านอนุกรรมการศึกษาข้อเสนอแนะและความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังเหลือการประชุมอีก 2 นัด โดยส่วนหนึ่งน่าจะมีการพิจารณาความเห็น ป.ป.ช. ในลักษณะบัตรสวัสดิการรัฐ โดยใช้งบประมาณ แบ่งเป็นงวด ๆ เน้นจ่ายให้กลุ่มเปราะบาง ายใต้ความคาดหวังตลาดปัจจุบันที่ไม่รวม Upside จากนโยบายดังกล่าว เรามองกรณีเดินหน้าไม่ได้ จะส่งผลเพียงจิตวิทยาลบระยะสั้น และเชื่อว่าหุ้นจะฟื้นตัวหลังจากนั้น จากความคาดหวังการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคอื่นๆ ทดแทน ยังมองบวกต่อหุ้นอิงบริโภค เน้น CPALL, BJC

• (*/+) To Monitor: 20-21 มี.ค. ติดตามขั้นตอน ส.ส. พิจารณาร่างงบประมาณ 2024 วาระ2 และ 3 มองหนุนมีภาพแรงเก็งกำไรกลุ่มได้ประโยชน์ต่อเนื่อง อาทิ รับเหมาก่อสร้าง+ICT เน้น STEC, BE8 หุ้นในกลุ่มเหล็ก และค้าปลีกที่จำหน่ายเหล็ก อาทิ GLOBAL, DOHOME

 

 

Daily Strategy : BCP, IVL, SCGP

ระยะสั้น วันนี้มองภาพตลาด "Sideways/Up" แม้หุ้นสหรัฐยังปรับลงต่อ เรามองเกิดจากทั้งภาพรอประชุม Fed ส่วนอีกด้านเศรษฐกิจเริ่มอ่อนลงฝั่งภาคบริการ ซึ่งสวนทาง EU Asia ส่วนฝั่งภาคผลิตส่งสัญญาณ Bottom Out เช่นเดียวกับทั่วโลก แต่โดยรวมหนุน EU Asia เด่นขึ้น โดยฝั่ง Asia เช้านี้ลุ้นรายงานเศรษฐกิจจีน หนุนมองหุ้นกลุ่มนำตลาดวันนี้ 1) หุ้นอิงภาคบริการ เน้น AOT, MINT, BJC, CPALL 2) หุ้นอิงจีน เน้น BCP, TOP, IVL, SCGP

 

หุ้นได้ประโยชน์ภาคผลิตโลกผ่านจุดต่ำสุด (IVL, PTTGC, HANA, SJWD, MENA, WICE)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรการภาครัฐฯ บริโภค ท่องเที่ยว (CPALL, CPAXT, BJC, AOT, AAV, MINT, TKN)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, GPSC, CPALL, TRUE, MINT, BBIK, BE8, PLANB)
กลุ่ม Dividend Plays (AP, MC, SC, SIRI)
กลุ่มได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ฤดูร้อน (ICHI, CPALL, CPAXT, AOT, AAV, MINT)
กลุ่มได้ประโยชน์ค่าระวางเรือ Container เริ่มปรับตัวลดลง (TU, GFPT, STA ,NER STGT, HANA)
หุ้นอิงกระแสจีนแถลงเป้าหมาย GDP > ตลาดคาด และลุ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (IVL, PTTGC, DOHOME, GLOBAL)

• MAR24 Best Picks: CPALL, BJC, IVL, ICHI, MINT, MTC, OSP

• 1Q24/2024 Stock Picks : GPSC, IVL, PTTGC, CPALL, AOT, AMATA, SCGP, SCC, MINT Mid-Small Cap Play : SJWD, DOHOME, BE8, SPA, PLANB

 

 

Tactical & Investment Idea

 

Research Highlight

 

• Strategy Update : ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน KCS ได้เข้าร่วมงานสัมมนา "Understanding China's 2024 "Two Sessions: Target & Implication" "

ทางการจีนตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ปีนี้ระดับ 5% เท่ากับปีก่อน โดยมีการเปิดเผยตัวเลขเป้าหมายเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆประกอบได้แก่ การขาดดุลงบประมาณระดับ 3% ของ GDP เท่ากับปีก่อน, การออกพันธบัตรพิเศษสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นมูลค่ารวม 3.9 ล้านล้านหยวน สูงกว่าปีก่อนที่ 3.8 ล้านล้านหยวน, ออกพันธบัตรอายุยาวพิเศษ (Ultra-long-term special treasury bonds) มูลค่า 1 ล้านล้านหยวน, เป้าหมายเงินเฟ้อระดับ 3%, งบประมาณการลงทุนส่วนกลาง 7 แสนล้านหยวน เพิ่มจากปีก่อนระดับ 6.8 แสนล้านหยวน, และตั้งเป้าอัตราการว่างงานเขตเมืองไม่เกินระดับ 5.5% ด้วยการสร้างงานใหม่ 12 ล้านตำแหน่ง
จากการคำนวณของ MUFG ตัวเลขเป้าหมายการเติบโตของแต่ละเมืองและมณฑลในปี 2024 นี้ Implied เป็นเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยรวมระดับ 5.3% ต่ำกว่าปีก่อนที่การคำนวณดังกล่าวสะท้อนเป้าการเติบโตรวม 5.6% แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายที่ระดับเป้าหมายของชาติ 5.0%
ในเชิงรายละเอียด MUFG พบประเด็นที่น่าสนใจจากการแถลงของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ดังนี้ 1) ทางการจีนตั้งเป้าไปที่การปรับโครงสร้างมากกว่ากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเดียว 2) จีนให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี 3) สนับสนุนกิจการของภาคเอกชน 4) พยายามสร้างสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ 5) สร้างความร่วมมือและการสื่อสารกับภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6) สนับสนุนการพัฒนาอสังริมทรัพย์ในรูปแบบใหม่ (New Model) และ 7) เร่งแก้ปัญหาหนี้ระดับรัฐบาลท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ของจีนมีหลักการคือยังเน้นไปที่การมองบ้านเป็นที่อยู่อาศัย มิใช่เครื่องมือที่ใช้ในการเก็งกำไร
ปัจจัยที่ MUFG มองเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน 1) ภาวะอุปสงค์อ่อนแอ 2) ภาคเอกชนอ่อนแอ 3) หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ในระดับสูง 4) กิจกรรมของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังชะลอ 5) ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์กับสหรัฐ และ 6) ความเชื่อมั่นต่ำ
MUFG มองเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐมีนแนวโน้มอ่อนแอลงในช่วงครึ่งหลังจะทำให้ค่าเงิน USDCNY มีแนวโน้มแข็งค่าสู่ระดับ 6.8 ช่วงสิ้นปีนี้
Strategy: ฝ่ายวิจัย KCS มองบวกต่อโอกาสการเติบโตของจีนที่น่าจะมี นโยบายการเงินและการคลังทยอยออกมามากขึ้น (MUFG คาดราว มิ.ย. 2024) โดยแนะนำลงทุนกองทุนหุ้นจีน ผ่าน KCS iFund แนะนำกองทุนดังนี้ KFACHINA-A (A-shares), TMBCOF(H-Shares), K-CHINA-A(A) (All shares) และ หุ้นไทยที่อิงจีน IVL(TP@26.5), PTTGC (TP@39.0), SCGP(TP@38.5), DOHOME(TP@12.8)

• FTSE Rebalance : FTSE ประกาศทบทวนดัชนีรายไตรมาส มีผลบังคับใช้ ราคาปิดวันที่ 15 มี.ค.24

Large Cap หุ้นเข้า : ไม่มี หุ้นออก: CPF, HMPRO, IVL, SCGP

Mid Cap หุ้นเข้า CPF, HMPRO, IVL, SCGP หุ้นออก : ไม่มี

ทั้งนี้ หุ้นที่หลุดจากFTSE large cap เข้า Mid cap เนื่องจาก FTSE ALL World คือ Large Cap & Mid Cap ฉะนั้น จะไม่มีเงินเข้า-ออก แต่จะเป็นการปรับระหว่างทาง (ยกเว้นกรณีที่หลุดออกจาก Mid Cap)

Small Cap หุ้นเข้า : ไม่มี หุ้นออก : KEX, RABBIT, RAM, SAMART, WORK

Micro Cap หุ้นเข้า : BOFFIC, BTSGIF, CIMBT, COCOCO, IMPACT, KCG, KEX, LHFG, MALEE, PIN, PSP, RABBIT, SAMART, SAV, SEAOIL, SKY, SCAP, WPH, WORK หุ้นออก : AKS, B, BIG, BKD, CEN, CMR, CWT, DDD, ECL, FSX, GGC, GRAND, HYDROGEN, IRC, IT, KBSPIF, LPH, MSC, MST, NWR, PAP, PEACE, RBF, SCM, SO, SQ, SVT, TEGH, TFM, TH, TK, TRITN, TRUBB, VNG, WICE

 

• Strategy Update : Summer Play

Fact : กรมอุตุนิยมวิทยาเปิดเผยว่า ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนในปี 2024 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 เดือน ก.พ. 24 โดยคาดหมายว่าอุณหภูมิจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติและปี 2023 ราว 1 องศา ทีมกลยุทธ์ KCS ประเมินเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอากาศร้อน อาทิ กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มค้าปลีก กลุ่มห้างสรรพสินค้า กลุ่มโรงแรม

Key Ideas : อิงผลการศึกษา 8 ปีย้อนหลัง หากซื้อก่อนเข้าสู่หน้าร้อน 1 เดือน หุ้นกลุ่มโรงแรม เครื่องดื่ม กลุ่มค้าปลีก มักให้ผลตอบแทนเด่น เฉลี่ย +2.5% +2.2% และ +1.6% vs SET +0.5%

ทั้งนี้ หากซื้อวันที่เข้าสู่ฤดูร้อน และขายหลังจากนั้น 1 เดือน หุ้นโรงแรม เครื่องดื่ม และค้าปลีกจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเด่น +3.5% +3.9% และ 1.9% vs SET +1.5%

Strategy : การลงทุนที่ดีที่สุดในการลงทุนก่อนเข้าสู่หน้าร้อน คือ แนะนำซื้อหุ้นในธีม Summer Play ก่อน 1 เดือน และถือจนเข้าสู่หน้าร้อน คาดจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกสูงที่สุด โดยอิงภาพทางพื้นฐานปี 2024F ประกอบ เราแนะนำ เครื่องดื่ม เน้น ICHI ค้าปลีก เน้น CPALL CPAXT ท่องเที่ยว+โรงแรม เน้น AOT AAV MINT

 

• Strategy Update: Dividend Plays

Fact : ช่วงปลายเดือน ก.พ. - พ.ค.2024 จะเข้าสู่เทศกาลจ่ายปันผลประจำปี 2023 ของบริษัทจดทะเบียน ทีมกลยุทธ์ KCS จึงได้รวบรวมหุ้นที่คาดจะจ่ายปันผลช่วง 2023F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลครั้งเดียว) หรือ 2H23F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง) จากคาดการณ์ของ KCS และ Consensus เพื่อนำมาคัดสรรหุ้นปันผลสูง (High Dividend) คือ Dividend Yield มากกว่า 2.0% สำหรับกลยุทธ์การลงทุนระยะ 1-2 เดือนแรกของปี ใน "Theme 2H23F Dividend Play"

Key Ideas:

· KCS ได้ทำการศึกษาสถิติผลตอบแทนหุ้นปันผล(SETHD) ย้อนหลัง 10 ปี พบว่า SETHD ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. ของทุกปี ผลตอบแทนมักเป็นบวก เดือน ม.ค. ผลตอบแทนบวก 7 ใน 10 ปี เฉลี่ย +0.97%, เดือน ก.พ. บวก 8 ใน 10 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.91%

· SETHD ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของทุกปี (งวด 1Q) ผลตอบแทนเป็นบวก 8 ใน 10 ปี เฉลี่ย +1.47%)

Strategy: ในเชิงกลยุทธ์ KCS แนะนำซื้อหุ้นปันผลสูงก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD 2 สัปดาห์แล้วขายวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (dividend capture) มักจะให้ผลตอบแทนที่ดี ทีมกลยุทธ์ KCS ได้ทำการคัดกรองหุ้นปันผลเด่น 2H23F ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1) เป็นหุ้นที่จะจ่ายเงินปันผล 2023F/2H23F สูงกว่า 2% 2) เป็นหุ้นพื้นฐานที่มีแนวโน้มการเติบโตหรือกระแสเงินสดมั่นคง หรืออยู่ใน Theme การลงทุนหลักของ KCS ปี 2024 อาทิ Theme ดอกเบี้ยผ่านจุดพีคไปแล้ว กลุ่มหุ้นที่หนุนเศรษฐกิจไทยปี 2024F ฟื้นตัวมากกว่าศักยภาพ 3.0% ฯลฯ โดยเรียงตามอัตราตอบแทนเงินปันผลจากสูงไปต่ำ พบว่ามีหุ้นปันผลเด่น 11 บริษัท คือ

 

หุ้น Big Cap ได้แก่ AP(TP-15.5,Yield 2H23F-5.7%) LH(TP-9.5,Yield 2H23F-4.9%) SAWAD (TP-53,Yield 2H23F-4.3%) TIDLOR(TP-30,Yield 2H23F-2.8%) WHA(TP-6.4,Yield 2H23F-2.4%)INTUCH(TP-85, Yield 2H23F-2.4%) ADVANC(TP-264, Yield 2H23F-2.0%)

 

หุ้น Mid Cap ได้แก่ MC(TP-16,Yield 2H23F-6.3%) NER(TP Con-6.1,Yield 2H23F-4.5%) SC (TP-4.5, 2H23F-4.34%) SIRI(TP-2.2,Yield 2H23F-3.8%)

 

โดยทีมกลยุทธ์ KCS ได้ทำการศึกษาสถิติหุ้นปันผลเด่น 11 บริษัทดังกล่าวข้างต้น ย้อนหลัง 8 ปั พบว่าหากลงทุนซื้อหุ้นก่อน 2 สัปดาห์และขายวันที่ขึ้น XD พบว่า ผลตอบแทนเป็นบวก โดยหุ้นที่ให้ Return มากที่สุด คือ TIDLOR +5.4%, ADVANC +3.7%, INTUCH +2.2%, ส่วน WHA, AP,SIRI, MC, NER ผลตอบแทนอยู่ในช่วง + 1.2 -1.5% เท่ากับว่า การลงทุนหุ้นกลุ่ม High Dividend ในช่วงเวลาดังกล่าว หลายๆครั้งนักลงทุนจะได้รับเงินปันผลฟรี

 

 


1Q24/2024F Equity Outlook : Between Clouds & Fog or Silver Lining, Our Base Case is Soft Landing of DMs, 2024Year of EM Asia

Stock Best Picks : GPSC, IVL, PTTGC, CPALL, AOT, AMATA, SCGP, SCC, MINT
Mid-Small Cap Play : SJWD, DOHOME, BE8, SPA, PLANB

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้