Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

156

 

BOND YIELD 10 ปี ต่ำกว่า ดอกเบี้ยนโยบาย
ดูเหมือนว่าพัฒนาการที่จะเปิดโอกาสให้เห็นการปรับลดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบ 10 เม.ย.67 มีมากขึ้น เริ่มจาก BOND YIELD 10 ปีที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 2.493% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่2.5% สะทั้อนมุมมองความเชื่อของตลาดถึงทิศทางดอกเบี้ยขาลง ในส่วนของกลไกในตลาดการเงินโลก พบว่าค่าเงิน USD อ่อนค่าลงโดยที่สาเหตุเพิ่มเติมเข้ามาล่าสุดนอกจากทิศทางดอกเบี้ยของ FED ที่รอปรับลดลงแล้ว คือท่าทีการเดินนโยบายการเงินของญี่ปุ่นที่กำลังผ่านช่วงดอกเบี้ยติดลบ อีกทั้งความเสี่ยงที่จะเข้าสู่TECHNICAL RECESSION ลดลงหลัง GDP 4Q66 เป็นบวก องค์ประกอบดังกล่าวทำให้เงินเยนแข็งค่า กดดัน USD เพิ่ม ส่วนเงินบาทเทียบกับ USD ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน โดยเงินบาทที่แข็งค่าอาจเปิดทางให้ กนง. ลดดอกเบี้ยนโยจบายได้ง่ายขึ้น สภาพแวดล้อมดังกล่าวถือว่าเอื้อต่อตลาดหุ้นไทยภายใต้ปัจจัยบวกที่รออยู่ข้างหน้า เชื่อว่าจะทำให้DOWNSIDE ของ SET INDEXจำกัด และอยู่ในช่วงที่รอปรับตัวขึ้น วันนี้ประเมินกรอบ SET INDEX ช่วง 1376 –1387 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BJC, IVLและ JMART


ถ้า BOJ ยุติดอกเบี้ยติดลบ คาดเห็นเม็ดเงินกระเซ็นเข้าเอเชีย
วานนี้ทางญี่ปุ่นรายงาน GDP 4Q66 ซึ่งออกมาขยายตัว 0.4%YOY จากคาดว่าจะหดตัว -0.4% และเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสพบว่าขยายตัว 0.1%QOQ ดีกว่า 3Q66ที่หดตัว -0.7% ส่งผลให้ญี่ปุ่นเลี่ยงความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สำเร็จ ซึ่งกลุ่มที่เติบโตเด่น คือ การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ตัวเลข CPI (รายงาน 5 มี.ค.67) ก็ทยอยเพิ่มขึ้น ล่าสุดเดือน ก.พ.67 +2.6%YOY เพิ่มขึ้นจากระดับ +1.6%YOY ในเดือน ม.ค.67 ดังนั้นการประชุม BOJวันที่ 19 มี.ค.67 ที่จะถึงนี้จึงอาจเห็นการยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ และอาจเห็นดอกเบี้ยนโยบายกลับมาเป็นบวก ด้วยประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่า และ หนุนให้DOLLAR INDEXอ่อนค่าลง เนื่องจาก สัดส่วนตะกร้าเงินดอลลาร์ประกอบไปด้วยค่าเงินของประเทศต่างๆ ซึ่ง JPY มีสัดส่วนกว่า 14%

ดังนั้น หาก BOJ ดำเนินนโยบายทางการเงินเชิงรุกในอนาคต คาดทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับฐานแรง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นในปีที่ผ่านมา และหนุนให้ตลาดหุ้นในโซนเอเชียอย่างจีน-ไทย มีโอกาสกลับมา OUTPERFORM อีกครั้ง ด้วยการโยกย้าย FUND FLOW ต่างชาติ ที่ในปี 2023-2024 ซื้อสุทธิตลาดหุ้นญี่ปุ่นไปถึง 2.9หมื่นล้านเหรียญฯ และ 2.6 หมื่นล้านเหรียญฯ ตามลำดับ บวกกับราคาดัชนีที่ยังLAGGARD ตลาดหุ้นอื่นๆอยู่มาก กล่าวคือ ผลตอบแทนตลาดหุ้นปี 2023ของทั้งจีนและ ไทย ปรับตัวลง 13.6% และ 14.8% ตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาในเชิง VALUATION ทั้ง PE PBV และ EPS GROWTH ก็ถือว่าดูดีในเชิงเปรียบเทียบ

ถ้า BOJ ยุติดอกเบี้ยติดลบในการประชุม 19 มี.ค นี้ จะหนุนให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น และส่งผลให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าลงตามสัดส่วนตระกร้าดอลลาร์ ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดจะเห็นเม็ดเงินกระเซ็นเข้าตลาดหุ้นโซนเอเชียที่ LAGGARD ทั้งจีนและไทยเนื่องจาก VALUATION ดูดีในเชิงเปรียบเทียบ ส่วนวันนี้วางกรอบการเคลื่อนไหวของSET INDEX 1376-1387 จุดสัญญาณโหยหาการเร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยGDP GROWTH ของไทยขยายตัวต่ำในช่วงที่ผ่านมา (โดยเฉพาะ 4Q66 โตพียง1.7%YOY และหดตัว -0.6%QOQ) ส่งผลให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการคลังมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่แรงหนุนให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ยในงวด 10 เม.ย. นี้ มีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้น สะท้อนจากหลายสัญญาณ อาทิ

1. BOND YIELD 10 ปีไทยลงมาต่ำกว่า POLICY RATE แล้ว โดย BONDYIELD 10 ปีของไทยล่าสุดวานนี้ยู่ที่ 2.49% ลงมาต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่2.5% เป็นครั้งแรก (ส่งผลให้ BOND YIELD 1 - 10 ปีต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายทั้งหมด) บ่งบอกมุมมองตลาดการเงินที่คาดหวังว่า ดอกเบี้ยไทยเข้าใกล้ขาลง

2. เงินบาทแข็งค่าขึ้น ราว 1.36%MTD หลังดอลลาร์อ่อนค่าลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกหนุนให้ FUND FLOW ชะลอการไหลออก และเชื่อว่าจะทำให้
กนง.พิจารณาตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยได้ง่ายขึ้น


3. อัตราดอกเบี้ยไทยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวตามอัตราดอกเบี้ยโลก ซึ่งจากข้อมูลในอดีต พบว่า แต่ละประเทศจะเน้นปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ มากกว่าที่จะปรับไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา อาทิ ช่วง ก.ค. 2553 - ส.ค. 2554 กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะอัตราเงินเฟ้อ ของไทยขยายตัวสูง จาก 2.8% ใน พ.ย. 2553มาเป็น 4.3% ใน ส.ค. 2554 หากแต่สหรัฐยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจาก SUBPRIME

นอกจากนี้"หนี้สาธารณะไทยต่อ GDP “ ในเดือน ม.ค. 67 พุ่งขึ้นราว 62.23% แม้จะยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง แต่หากว่า GDP GROWTH ของไทยปรับลดลง ก็มีแนวโน้มที่ระดับหนี้สาธารณะจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงคาดหวังว่าการเดินกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังจะมีความเข้มขึ้นในช่วง 2Q67 หลังการเบิกจ่ายงบประมาณได้รับการอนุมัติ

 

สรุป GDP GROWTH ของไทยขยายตัวต่ำในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและการคลังแบบเข้มข้น มีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

รอพัฒนาการต่างๆ ทยอยพัดเข้ามาสนับสนุนหุ้นไทย
เห็นพัฒนาการต่างๆ ทยอยเข้ามาสนับสนุนหุ้นไทย ตามรายละเอียดในหัวข้อก่อนหน้า ทั้งทิศทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ และทิศทาง FUND FLOW โดยมีข้อสรุปดังนี้ทิศทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างเสถียรภาพตลาดหุ้น
- มีคาดหวังการลดดอกเบี้ยในช่วงเดือน เม.ย. มากขึ้น หลังจาก BONDYIELD ไทย 1 ปี – 10 ปี ปรับตัวลงมาต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเริ่มเห็นปัญหาจากตราสารหนี้ หรือการขาดสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น
- มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่อยู่ในระดับสูง รวมถึง GDP4Q66 พลิกกลับมาติดลบQOQ เป็นไตรมาสแรก พร้อมกับงบประมาณปี 2567 จะเริ่มเบิกจ่ายได้ใกล้เข้ามาทุกที

- ตลาดหลักทรัพย์และกลต.เร่งออกเกณฑ์สร้างเถียรภาพให้ตลาดหุ้น ทั้งจากควบคุม SHORT SELL (คาดเริ่มใช้ช่วง 3Q67) และเพิ่มระยะเวลาในการซื้อขายหุ้นในช่วงบ่ายขึ้น 30 นาที(เริ่ม 25 มี.ค. 67)ทิศทาง FUND FLOW ม่โอกาสไหลเข้ามากขึ้น
- หากญี่ปุ่นมีการลดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย น่าจะกดดดันค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ถือเป็นการจูงใจเล็กๆ ให้ต่างชาติ
ลงทุนหุ้นไทยเพิ่ม เพราะจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
- แรงกดดันจากการลดน้ำหนักหุ้นไทยของดัชนี MSCI น่าจะลดลง เพราะปัจจุบันตลาดหุ้นญี่ปุ่นขึ้นแรงจนถูกเพิ่มน้ำหนัก และมีสัดส่วนใน MSCI ASIAถึง 39% หากตลาดหุ้นญี่ปุ่นย่อตัวก็จะถูกลดน้ำหนักตามมา และไปเพิ่มน้ำหนักให้หุ้นประเทศอื่นๆ แทน อย่าง ตลาดหุ้นไทยที่ปัจจุบันมีสัดส่วนราว 1–1.5% และจีน 18% เป็นต้น
- ต่างชาติน่าจะมีการ ROTATE กลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยบ้าง เพราะตลาดหุ้นไทยปีที่แล้ว 2023 ย่อตัวลงแรง -15% ลงลึกเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชีย ใกล้ๆ กับตลาดหุ้นจีน และต่างกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ขึ้น 28%

ปัจจัยทั้งหมดเป็นพัฒนาการที่มีทิศทางที่ดีขึ้น น่าจะช่วยหนุนเศรษฐกิจและ FUNDFLOW ค่อยๆ ทยอยเข้าหนุนตลาดหุ้นไทยในช่วงต่อจากนี้ พร้อมๆ กับช่วยพยุงให้SET มี DOWNSIDE ที่จำกัดมากขึ้น กลยุทธ์ในการเลือกหุ้นช่วงนี้ยังคงแนะนำ

• หุ้นอิงเศรษฐกิจจีน ที่มีแนวโน้มฟื้นชัดขึ้น คือ กลุ่ม ETRON (KCE, HANA),PKG (SCGP), PETRO (PTTGC, IVL), AGRI (STA, NER)

• หุ้นอิงนโยบายการเงิน,การคลัง ที่อาจส่งผลต่อธุรกิจในอนาคต อาทิ การลดดอกเบี้ย, การลดการกดค่าไฟฟ้า, งบประมาณเบิกจ่ายปี 67 ใกล้เข้ามา,การกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ดีต่อกลุ่ม FIN (SAWAD, TIDLOR),โรงไฟฟ้า (BGRIM, GPSC, GULF), CONS (CK, STEC), TOURISM(CENTEL, ERW)


Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เก็งกำไรงบ บจ. By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม มองห้วงการเก็งกำไร ประเด็นงบไตรมาสแรกปีนี้ น่าจะเป็นสตอรี่ที่นักลงทุน ให้น้ำหนักการเก็งกำไร หรือ แม้งบอาจ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้