Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เมย์แบงก์ : จับตาตลาดตราสารหนี้

312

 

Thai Market Compass
จับตาตลาดตราสารหนี้

ตลาดการเงินยังแข็งแกร่ง ด้วยสภาพคล่องเหลือเฟือ
เรามองว่าตลาดการเงินของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดตราสารหนี้ ยังคงทำงานได้ดี เนื่องจากตลาดมีผู้ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับสูงอยู่เป็นจำนวนมาก ประเด็นข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างตราสารหนี้ถือเป็นประเด็นเฉพาะราย ซึ่งเรามองว่าไม่มีความเสี่ยงเชิงระบบแต่อย่างใด โดยสภาพคล่องส่วนเกินที่สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท (วัดจากยอดคงค้างตราสารหนี้โดย ธปท.) และ LDR ของธนาคารที่ค่อนข้างต่ำ (91% ณ ปัจจุบัน เทียบกับ 98% ในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด) สะท้อนว่าตลาดมีสภาพคล่องมากเพียงพอที่จะรองรับการออกตราสารหนี้ใหม่และการโรลโอเวอร์ในปี 2567 และปีต่อๆ ไปได้

 

คาดความเสี่ยงจำกัดจากการรีไฟแนนซ์ตราสารหนี้
เมื่อพูดถึงตลาดตราสารหนี้และการรีไฟแนนซ์ตราสารหนี้ในประเทศไทย เราคาดว่าไม่น่าจะมีความเสี่ยงเชิงระบบแต่อย่างใด โดยยอดคงค้างตราสารหนี้ส่วนใหญ่ได้รับการจัดอันดับสูง (อันดับ A- และสูงกว่ามีสัดส่วนสูง 83% ของทั้งหมดและอีก 10% จัดอยู่ในอันดับ BBB- ถึง BBB+) โดยในปี 2567-68 ตราสารหนี้มูลค่า 8.9 แสนล้านบาทและ 8.21 แสนล้านบาทจะถึงกำหนดชำระ (คิดเป็น 20% และ 19% ของยอดคงค้างทั้งหมด) เรามองว่าเงินจำนวนนี้สามารถดูดซับด้วยการออกตราสารหนี้ใหม่ ซึ่งเกินปีละ 1 ล้านล้านบาทมาตั้งแต่ปี 2562 (ยกเว้นปี 2563 เท่านั้นเนื่องจากสถานการณ์โควิด) ในมุมมองของเรา ความเสี่ยงถือว่าจำกัด เนื่องจากบริษัทที่ออกตราสารหนี้ชั้นนำ 20 อันดับแรกมีสัดส่วน 50% ของตลาด ซึ่งคล้ายกับดัชนี SET

 

ต้นทุนทางการเงินจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่เราคาดว่าผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของบริษัท (COF) จะค่อยๆ ทยอยเพิ่มขึ้น อีกทั้งเราเชื่อว่าดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นในปี 2567-68 อาจจะต่ำเพียง 4bps ต่อปีสำหรับผู้ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับ A และเพียง 10bps ต่อปีสำหรับผู้ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับ BBB+ ทั้งนี้ เป็นผลจากอัตราการครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป (20% หรือน้อยกว่าต่อปี) และ Spread ของตราสารหนี้ที่ลดลงช่วยชดเชยผลกระทบของอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ยังได้ออกหุ้นกู้ระยะยาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ระยะเวลาครบกำหนดของการออกตราสารหนี้ใหม่สั้นลง (เช่น แทนที่พันธบัตรอายุ 7 ปีด้วยพันธบัตรอายุ 4 ปี) ซึ่งจะช่วยจำกัดผลกระทบของอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นได้อีก


คาดผลกระทบจำกัดจากโครงการ Digital Wallet
เราคาดว่าผลกระทบจากการอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาลผ่านนโยบาย Digital Wallet จะมีจำกัด โดยเราประเมินว่ายอดรวมการออกพันธบัตรของทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้น 28% YoY ในปี 67 แตะระดับ 1.79 ล้านล้านบาท ซึ่งรวมถึงการออก พรบ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทเพื่อสนับสนุนนโยบาย Digital Wallet ด้วย สมมติฐานของเราคือการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนอาจลดลงประมาณ 11% ในขณะที่เงินกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อใช้ในการขาดดุลงบประมาณปกติจะยังคงทรงตัว YoY แม้ว่าจะเพิ่มขึ้น YoY ที่ 1.79 ล้านล้านบาท แต่การออกหุ้นกู้ทั้งหมดจะยังคงต่ำกว่าระดับ 2.2 ล้านล้านบาทและ 2.8 ล้านล้านบาทในปี 64-65 อย่างมาก และถือว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 62-63 (ประมาณ 1.7 ล้านนล้านบาทต่อปี)

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ไต่เส้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองดูหุ้นไทยไต่เส้น แถว 1370 +/- แบบพยาบามฝ่าด่าน 1380 จุด โดยเช้านี้ พี่ DELTA..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้