Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : COCOCO ราคาพื้นฐาน ที่ 11.60 บ.

279


บริษัท ไทยโคโคนัท จำกัด (มหาชน) COCOCO
มุ่งสู่ผู้นำธุรกิจน้ำมะพร้าวไทย กับอนาคตอันสดใส ที่ไม่ใช่แค่ฝัน

Executive summary เราประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2024 ของ COCOCO ที่ 17,052 ล้านบาท หรือเทียบเป็นราคา 11.6 บาท/หุ้น โดยอิงวิธีการประเมินมูลค่ากิจการแบบเป้าหมาย PER ที่ค่าเฉลี่ยระยะยาว (5 ปี) ของกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องดื่มในไทย (ที่มองว่ามีสภาพคล่องการซื้อขาย) อยู่ที่ 24.7 เท่า และ EPS ปี 2024 ที่ 0.47 บาท/หุ้น PER ที่ใช้ ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ของกลุ่มดังกล่าวบนราคาซื้อขายปัจจุบันที่ 27.2 เท่า อยู่ราว 9% และผู้ประกอบการเครื่องดื่มระดับโลกที่นำมาใช้เปรียบเทียบเฉลี่ยที่ 28.7 เท่า อยู่ 14%

ผลประกอบการที่ผ่านมา และคาดการณ์การเติบโตของกำไรหลัก
เราใช้งบการเงินเสมือน (รวมผลการดำเนินงานของ TAS เข้ามาตั้งแต่ปี 2021) ในการวิเคราะห์และจัดทำประมาณการกำไร โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา COCOCO รายงานกำไรสุทธิ 302 ล้านบาท หักรายการพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรหลัก) จะอยู่ที่ 299 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.5% YoY แม้รำยได้จากการขายและบริการจะลดลง แต่อัตรากำไรขั้นต้น (GM) ที่ปรับตัวดีขึ้นมามากจากการปรับสัดส่วนสินค้า GM สูง และใช้นวัตกรรมในการบริการต้นทุน ทั้งนี้ ใน 1Q23 กำไรหลัก (หักขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน) อยู่ที่ 67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% YoY หนุนโดย GM ปรับตัวขึ้นต่อ
ส่วนปี 2023 เราคาดกำไรหลักที่ 470 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57.2% YoY หนุนโดยรายได้จากการขายและให้บริการเพิ่มขึ้น 30.2% YoY จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวมากขึ้น และเนื่องจากเป็นสินค้า GM สูงทำให้ GM เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 23.8% ในปี 2022 เป็น 25.3% ในปี 2023 จากนั้น เราคาดกำไรหลักเติบโตเฉลี่ย 25.2% ต่อปี CAGR ปี 2024-26 หนุนโดยรายได้ขยายตัว 22.3% ต่อปี CAGR


สรุป 5 ประเด็นสำคัญในการลงทุนในหุ้น COCOCO
Positive #1— อุตสาหกรรมมะพร้าวไทย ยังไปได้อีกไกล โดยมีการประเมินมูลค่าตลาดน้ำมะพร้าวระดับโลกจากหลากสถาบันวิจัยอยู่ในช่วงราว 5-6.4 พันล้านเหรียฐสหรัฐ หรือราว 1.7-2.2 แสนล้านบาท และในช่วง 5-10 ปี จะมีการเติบโตระดับเฉลี่ย 14.8-16.5% ต่อปี CAGR ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้แปรรูปและส่งออกผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้มะพร้าวสู่ตลาดโลก และไทยมีจุดเด่นทั้งพันธุ์มะพร้าวแกงที่ใช้แปรรูปเป็นสินค้า เช่น กะทิ และพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม (มีปลูกได้แค่ที่ไทย) ที่เริ่มนิยมใช้ดื่มแทนเครื่องดื่มให้พลังงานและเกลือแร่ต่างๆ อีกทั้งไทยยังเป็นแหล่งแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอีกหลายอย่าง


Positive #2— COCOCO มาถูกที่ ถูกเวลา กับกระแสการเติบโต แม้จะยังเน้นธุรกิจรับจ้างผลิต หรือ OEM (มีการขายในแบรนด์ของตัวเองบ้าง) แต่ก็มีลูกค้าจำนวนมาก กระจายอยู่ 90 ประเทศ และมีสายการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มจากมะพร้าวค่อนข้างครบวงจร โดยบริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำการส่งออกทั้งน้ำกะทิและน้ำมะพร้าวของไทย โดยล่ำสุด ม.ค.-พ.ค. 2023 เป็นเบอร์ 1 การส่งออกน้ำมะพร้าวไปจีนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชาวจีนกำลังนิยมดื่มน้ำมะพร้าวแบบใส (โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมที่รสชาดและกลิ่นดี) มากขึ้น เช่นเดียวกับที่เคยนิยมทุเรียนไทย โดยมองว่าเป็นผลไม้กลุ่มเย็น ทานคู่กับทุเรียนที่เป็นกลุ่มร้อน เสมือนคู่สร้าง-คู่สม (A Perfect Pairing) และช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาได้เกิดกระแสความนิยมตามความเชื่อเรื่องสรรพคุณ โภชนำการ และแร่ธาตุต่างๆ ของน้ำมะพร้าวด้วย โดย COCOCO เน้นการขยายธุรกิจน้ำมะพร้าวนี้มากขึ้น และกำลังจะระดมทุน IPO ไปลงทุนขยำยเครื่องจักร เพิ่มกำลังการผลิตเกือบเท่าตัว (จากปี 2023 ที่เพิ่มมาแล้วราวเกือบ 3 เท่าตัว) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายได้ในปีหน้า เข้ามาสอดรับการเติบโตของอุปสงค์ได้พอดี


Positive #3—สยายปีกธุรกิจด้านอาหารมีอนาคต รองรับการเติบโตแบบมี New S-Curve โดยภาพระยะยาว บริษัทไม่ได้หวังพึ่งแค่การเติบโตจากน้ำมะพร้าว แต่ยังมองถึงการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และเชื่อมโยงกับอาหาร ได้แก่ 1) ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง (TAS) โดยเฉพาะอาหารสำหรับสุนัขและแมวแบบเปียกที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตกว่า 10% ต่อปี CAGR ปี 2021-26, 2) อาหารเพื่อสุขภาพจากโปรตีนพืช หรือ Plant based food (TPF) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มะพร้าว โดยมีทั้งการผลิตเองผ่านแบรนด์ CHIMCHIM และรับจ้างผลิตเช่นกัน สินค้าหลักๆ ได้แก่ ติ่มซำ เกี๊ยวซ่า ฮาเก๊า ขนมจีบ นักเก็ต ไก่ทอดไม่มีกระดูก ไก่ป๊อป กุ้งทอด ปลำหมึกทอด เป็นต้น และ 3) ชีสและเนยที่ทำจากพืช (JLM) เป็นการต่อยอดธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นทำงเลือกสำหรับผู้บริโภค


Positive#4—มีทีเด็ด-เคล็ดลับ ในการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย เริ่มจากการจัดหาวัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจหลัก เพื่อรักษาอัตรากำไรและความน่าเชื่อถือ ซึ่งเรามองว่า COCOCO อยู่ในตำแหน่งที่ “ถูกเลือก” จากทั้งฝั่งผู้ซื้อสินค้า และผู้ขำยวัตถุดิบ โดยมีจุดเด่นทั้งดานทำเล การวางแผนกับตัวกลำงในการจัดหา และการนำเข้าวัตถุดิบมะพร้าวจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 27-44% ของการจัดหามะพร้าวช่วงปี 2020-22 ซึ่งช่วยเกลี่ยผลกระทบด้านปริมาณและราคาจากฤดูกาล เพราะประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวรายใหญ่ และมีฤดูกาลเก็บเกี่ยวไม่ตรงกับประเทศไทยพอดี นอกจากนี้ ในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา บริษัทยังมีทีเด็ดสำคัญ คือ ได้คิดค้นกรรมวิธีลดความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบผ่านการเลือกใช้วัตถุดิบสำคัญที่มีอายุยาวกว่า ควบคู่กับพัฒนากระบวนการผลิตให้สอดรับ เป็นผลบวกกับการบริหารต้นทุนและ GM โดยตรง เห็นได้จากตัวเลขปี 2022 เป็นต้นมา ส่วนด้านประหยัดภาษี ได้รับสิทธประโยชน์จาก BOI มาอย่างสม่ำเสมอ


ความเสี่ยงที่สำคัญ: การจัดหาวัตถุดิบ และราคามะพร้าว, สินค้าทดแทน, การแข่งขัน, การดำเนินงาน-บริหารสต็อค, ข้อกฏหมาย-มาตรการต่างๆ, การละเมิดสิทธิ และอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น


 วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ (+662 618 1336),
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/
ปัจจัยทางเทคนิค
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA (+662 618 1338)
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

ณภัค ภัทรสุปรีดิ์

: เรียบเรียง โทร : 02-276-5976 อีเมล์ : reporter@hooninside.com ที่มา : สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ไม่แตกต่าง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ หุ้นไทย เช้านี้ แกว่งตัว บ่ายวันนี้ ก็เช่นกัน แม้GDP ไตรมาส 1/67 ของไทยที่ออกมาวันนี้ 1.5% ...

ลุ้นกันต่อ By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ วันจันทร์ คงต้องมาลุ้นหุ้นกันต่อไป หลังจาก บริษัทจดทะเบียน ประกาศงบไตรมาสแรกปีนี้ออกมา ..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้