Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews:GUNKUL ตั้งโฮลดิ้งลุยกัญชงครบวงจร /ALT ชูโมเดลใหม่เพิ่มธุรกิจดิจิทัล-พลังงานทดแทน

5,744

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(7 เมษายน 2564)------- ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ซีอีโอ แห่ง GUNKUL เผยมติบอร์ด จัดตั้งบริษัทในรูปแบบของ Holding Company จํานวน 1 บริษัท ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น50,000,000.00 บาท และบริษัทย่อย จํานวน 2 บริษัท เพื่อศึกษาการลงทุนในโครงการกัญชง ระบุมุ่งมั่นดําเนินธุรกิจครบวงจร

 

ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) GUNKUL ขอแจ้งให้ทราบว่า เมื่อวันที่5เมษายน 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติแผนธุรกิจกัญชง พร้อมทั้งอนุมัติจัดตั้งบริษัทเพื่อรองรับการดําเนินธุรกิจดังกล่าวโดยการจัดตั้งบริษัทจะจัดขึ้นในรูปแบบของ Holding Company จํานวน 1 บริษัท ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น50,000,000.00 บาท และบริษัทย่อย จํานวน 2 บริษัท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลงทุนในโครงการกัญชง


ทั้งนี้ ได้มีการกําหนดแผนงานเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้เฉพาะสําหรับการดําเนินธุรกิจดังกล่าว โดยบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจอย่างครบวงจร พร้อมทั้งแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อดําเนินโครงการในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามแผน


อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่าภาพรวมธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ทุกภาคส่วนขยายตัวและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องทุกปี เห็นได้จากฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีสินทรัพย์รวม จำนวน 46,032.16 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อน 39,041.54 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิเท่ากับ 3,425 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อน 2,222 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมเท่ากับ 10,975 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 7,195 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.39 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 0.24 บาทต่อหุ้น


ทั้งนี้ในปี 2564 บริษัทฯ ยังคงมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า รับเหมาก่อสร้าง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้งโซลาร์และพลังงานลมทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจงานรับเหมาและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) ยังมีงานประมูลใหม่ๆ เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ จากปัจจุบันมีงาน EPC ในมือ (Backlog) ประมาณ 8,500 ล้านบาท โดยปีนี้ตั้งเป้างาน EPC ในมือไว้ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท


พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งเป้ารายได้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20 % ซึ่งเป็นการเติบโตในธุรกิจทุกด้าน ทั้งในส่วนของธุรกิจเทรดดิ้ง และธุรกิจ EPC โดยปีนี้ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เมกะวัตต์ ส่งผลทำให้ปี 2566 กำลังการผลิตจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1,000 เมกะวัตต์ ภายใต้งบลงทุน (3 ปี) 2564-2566 ที่ 20,000 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท


ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวต่อว่า เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทฯ GUNKUL จึงได้ ปรับองค์กรครั้งใหญ่ โดยแต่งตั้งทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อดูแลบริหารงานเชิงกลยุทธ์และด้านปฏิบัติการของธุรกิจต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจแต่ละด้าน แบ่งเป็น 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพลังงานทั้งในและต่างประเทศ ,ธุรกิจพาณิชย์ ธุรกิจรีเทล ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ดิจิทัลโซลูชั่นส์ และธุรกิจการบริหารจัดการด้านพลังงาน สําหรับ Smart Community และ Smart City ,ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างระบบสายส่ง สถานีไฟฟ้าแรงสูง ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า และ ระบบไฟฟ้าใต้ดิน ระบบไฟฟ้าเหนือดิน และธุรกิจด้านผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า แรงดันกลาง และแรงดันสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้ไฟและการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ


นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังสนใจและอยู่ระหว่างศึกษาเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจ กัญชง หรือ กัญชา เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างจุดแข็งให้กลุ่มบริษัทฯ และสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันทางธุรกิจ จากข้อได้เปรียบด้วยพื้นที่กว่า 5,000 ไร่ ที่พร้อมสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีไว้สำหรับการเพาะปลูกรวมถึงนวัตกรรมในระบบการเกษตร โดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีต้นทุนต่ำ สำหรับใช้ในระบบควบคุมแสงและอุณหภูมิในโรงเรือนปิด ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ รวมถึงวางแผนลงทุนทำโรงสกัด CBD บริสุทธิ์ 99% ที่มีกำลังผลิต 1 ตัน ต่อวันอีกด้วย โดยวางแผนจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศต่อไป การทำงานร่วมกันในการดำเนินงานจากการจัดหาพลังงานหมุนเวียนของบริษัทสำหรับการทำสวนในโรงเรือนพร้อมที่จะเติมเชื้อเพลิง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องพร้อมให้บริการ


ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ มีการวางพื้นฐานธุรกิจแต่ละภาคส่วนได้เป็นอย่างดี และมีความชัดเจน ขณะเดียวกันก็มองถึงธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างฐานรายได้ และกำไรให้เติบโตอย่างมีศักยภาพในระยะยาว จึงทำให้เกิดการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยผนึกกำลังกันในแต่ละภาคธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตอย่างยั่นยื่นของกลุ่มบริษัทฯ ดร.สมบูรณ์ กล่าวในที่สุด


"เอแอลที เทเลคอม"โชว์วิสัยทัศน์ปี 64 พร้อมชูโมเดลธุรกิจใหม่ ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อธุรกิจดิจิทัลและผู้ให้บริการพลังงานทดแทน ต่อยอดโทรคมนาคม ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสสร้างกำไร บริหารความเสี่ยงธุรกิจดีขึ้น

นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอแอลที เทเลคอม (ALT) เปิดเผยว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม อาทิ โครงข่ายใยแก้วนำแสง เสาสัญญาณสื่อสาร ช่องสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่สำคัญครบแล้ว ปัจจุบันบริษัทมีความพร้อมในการต่อยอดการเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อธุรกิจดิจิทัลและพลังงานทดแทน พัฒนาระบบสำหรับพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และแฟลตฟอร์มอัจฉริยะ (Smart ePlatform) เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีประสิทธิภาพในการดำเนินงานหรือบริการที่ดีขึ้น ด้วยต้นทุนที่ลดลง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนในการเข้าสู่ยุคดิจิทัล และสอดรับกับความต้องการของโลกในอนาคตด้วย

สำหรับธุรกิจพลังงานอัจฉริยะ บริษัทผลิตสมาร์ทมิเตอร์ที่สามารถนำไปต่อยอดการให้บริการแก่การไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเมื่อติดตั้งระบบของ ALT แล้ว การไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปจดมิเตอร์ตามบ้านอย่างเดิม โดยระบบจะส่งยอดการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าแต่ละบ้านเข้าระบบส่วนกลาง ซึ่งเมืองพัทยาได้นำไปใช้แล้วจำนวน 1 .2 แสนหลังคา นอกจากการให้บริการจะดีขึ้น ระบบยังสามารถป้องกันการเกิดไฟไหม้ ไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย ซึ่งหากบ้านหลังไหนเกิดปัญหาเรื่องสายไฟหรืออุปกรณ์ชำรุด ส่งผลให้ไฟฟ้าเกิดลัดดวงจร ระบบของบริษัทจะแจ้งเตือนไปยังส่วนกลางเชื่อมเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะสมาร์ทกริด (Smart Grid) สามารถตัดไฟได้ทันท่วงที ลดการเกิดความเสียหายทั้งด้านทรัพย์สินและชีวิต

นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้ให้บริการติดตั้งระบบพลังงานทดแทนและสถานีชาร์จไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งการให้บริการติดตั้งพลังงานทดแทน หรือโซลาร์รูฟท็อป ให้กับผู้ประกอบการโรงงาน หรือธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีการใช้ไฟฟ้ามากจะช่วยให้เกิดการประหยัดค่าไฟฟ้าได้จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนสูงเกิน 1 แสนบาทต่อเดือนขึ้นไป และหากไฟฟ้าเหลือจากการใช้ ในอนาคตก็ยังสามารถขายไฟฟ้าให้กับคนอื่นได้อีกด้วย

ทั้งบริษัทได้ทดลองติดตั้งระบบพลังงานทดแทนของโรงงานได้ผลลัพธ์ที่ดี จากเดิมที่เคยจ่ายค่าไฟเดือนละ 1 แสนบาท ปัจจุบันลดลงเหลือเพียงเดือนละ 5 หมื่นบาท คุ้มค่าสำหรับการลงทุน 2 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี 3 เดือนเท่านั้น

ในส่วนธุรกิจเมืองอัจฉริยะ Smart City บริษัทมีโครงการที่ดำเนินการร่วมกับภาครัฐในจังหวัดและเมืองต่างๆที่สนใจในตัวโมเดลธุรกิจนี้ สามารถสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเมืองต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน

"การเปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้ เพื่อธุรกิจดิจิทัลและพลังงานทดแทน มุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน พร้อมร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและเครือข่ายธุรกิจ พบว่าได้รับความสนใจเข้ามาจำนวนมาก เราจับกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง เป็นกลุ่มโรงงาน และภาครัฐ มั่นใจว่าจะสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว กำไรเติบโต และกระจายความเสี่ยงได้ด้วย สามารถพลิกธุรกิจจากที่พึ่งพาด้านโทรคมนาคมเป็นหลักเหมือนที่ผ่านมา" นาง ปรีญาภรณ์กล่าว


-----จบ----

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

แนวรบเก็งกำไร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ แม้สภาพตลาดหุ้นไทย นักลงทุน ยังไม่กลับมา แต่สำหรับแนวรบ หุ้นเก็งกำไร ......

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing Series 2024

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing..

มัลติมีเดีย

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้