Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : GUNKUL เปิดศักราชใหม่ บุ๊คกำไรพิเศษขายโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น 1,091 ลบ.

4,039

HotNews : GUNKUL เปิดศักราชใหม่ บุ๊คกำไรพิเศษขายโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น 1,091 ลบ.

 


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (4 มกราคม 2564 ) บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) เฮรับทรัพย์จากการจำหน่ายโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม Iwakuni ในประเทศญี่ปุ่น มูลค่าขายรวม 2,864 ล้านบาท ส่งผลให้ได้รับกำไรจากการลงทุนเข้ามาในไตรมาส 4/63 กว่า 1,091 ล้านบาท หนุนกำไรปี 63 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ “โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ระบุสามารถนำกำไรที่ได้มาลงทุนโครงการใหม่ได้มากกว่า 150 เมกะวัตต์ โดยไม่ต้องใช้เงินส่วนทุนของบริษัทฯ เพื่อเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิต1,000 เมกะวัตต์ และสร้างผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นได้มากขึ้น

 

 

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อทราบถึงสารสนเทศในการจำหน่ายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Iwakuni ในประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตตามการซื้อขายไฟฟ้า 75 เมกกะวัตต์ และตามการผลิตติดตั้ง 98 เมกะวัตต์ โดยดำเนินการการขายเงินลงทุน100% ของ East Japan Solar 13 Godo Kaisha (EJS 13) ที่ถือโดย Future Asset Management KK (FAM) และ Gunkul International (Mauritius) (GIM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL ด้วยมูลค่า 9,943 ล้านเยน หรือคิดเป็นมูลค่าขายรวม 2,864 ล้านบาท และก่อให้เกิดกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในงบการเงินไตรมาส 4/2563 เป็นมูลค่า 1,091 ล้านบาท (อัตรา 0.287419 เยนต่อบาท) โดยบริษัทได้รับชำระราคาเรียบร้อยแล้ว

 

 


สำหรับประโยชน์จากการจำหน่ายเงินลงทุนในโครงการโซลาร์ฟาร์ม Iwakuni ทำให้บริษัทฯ สามารถบันทึกกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนได้ทันที และนำกำไรที่ได้มาลงทุนสำหรับโครงการใหม่ได้มากกว่า 150 เมกะวัตต์ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินส่วนทุนของบริษัทฯเพิ่ม อันจะนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกำลังการผลิตสู่ 1,000 เมกะวัตต์ในอนาคต ซึ่งในแต่ละปีบริษัทฯ ใช้งบลงทุนประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท อีกทั้งยังสามารถได้รับผลตอบแทนจากเงินลงทุนที่รวดเร็วจากการลงทุนโครงการใหม่ ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Iwakuni ต้องใช้เวลาเกือบ 3 ปี จึงจะสามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้

 

 

 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวต่อถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2563 คาดว่า กำไรจะเติบโตเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการเติบโตในธุรกิจทุกด้าน และทยอยรับรู้รายได้จากมูลค่างานก่อสร้างที่ได้รับไว้แล้วกว่า 8,000 ล้านบาท ประกอบกับการจำหน่ายเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น ทำให้บริษัทฯ มีสถานะทางการเงินที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปี 2564 ที่บริษัทฯ มีความพร้อมในการลงทุนประมาณ 8,000-10,000 ล้านบาท เนื่องจากมีกระแสเงินสดในมือ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการลงทุนได้มากขึ้น และจะเป็นหลักประกันสำคัญในด้านความเติบโตของ GUNKUL ต่อไป

 

 


“ฝ่ายบริหารบริษัทฯ เห็นว่าการจำหน่ายโครงการดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของการสร้างกระแสเงินสด เสริมความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุน ทำให้บริษัทฯ มีโอกาส ได้รับผลตอบแทนเงินลงทุนเร็วขึ้นและมากกว่า ดังนั้นกำไรจากการจำหน่ายในโครงการดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ ไม่ต้องใช้ส่วนทุนเพิ่มในการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในอนาคต ที่สำคัญสร้างผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นและบริษัทฯ สูงกว่า”นางสาวโศภชากล่าว

 

 

 

อนึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563ได้มีมติอนุมัติการมอบอํานาจให้คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ดําเนินการเรื่องการจําหน่ายไปซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Iwakuni ประเทศญี่ปุ่น (“โครงการ Iwakuni”) ขนาดกําลังการผลิตของโครงการฯ ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 75เมกะวัตต์และตามการผลิตติดตั้ง 98เมกะวัตต์โดยดําเนินการการขายเงินลงทุนร้อยละ100ของ East Japan Solar 13 Godo Kaisha (“EJS 13”) ที่ถือโดย (ก) Future Asset Management KK (“FAM”)

 

 

(ข) Gunkul International (Mauritius) (“GIM”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯดังนั้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ครั้งที่ 29/2563 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ได้มีมติอนุมัติให้ GIM และ FAM ลงนามสัญญาซื้อขายเงินลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 100 ของ EJS 13 ให้กับผู้ประสงค์ที่จะซื้อ โดย EJS 13เป็นบริษัทที่ดําเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์Iwakuni ประเทศญี่ปุ่นด้วยมูลค่าการขายโครงการฯ ที่ตกลงระหว่างกันในจํานวน 9,942,653,495.00เยน หรือคิดเป็น 2,863,842,142.09 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 23ธันวาคม 2563 เท่ากับ 1 เยน : 0.288036 บาท)

 

 

โดยคิดเป็นขนาดของรายการคํานวณตามหลักเกณฑ์ของประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามวิธีการคํานวณในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน พ.ศ.2547เท่ากับร้ อยละ 6.875ของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ ตามงบการเงินสําหรับงวด 9 เดือน สิ ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563ที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ซึ่งจัดเป็นรายการตามวิธีการคํานวณขนาดรายการโดยใช้เกณฑ์มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน

 

 


ทั้งนี้ ไม่มีขนาดรายการย้อนหลังในรอบระยะเวลา 6 เดือน จึงถือเป็นอัตราร้อยละ 6.875และเข้าเกณฑ์ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้รับมติจากคณะกรรมการบริษัทให้จําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์พร้อมทั้งมอบอํานาจให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการในรายการดังกล่าวได้ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวข้างต้น

 

 


การเข้าทํารายการดังกล่าวเข้าข่ายเป็นรายการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์พ.ศ. 2547 บริษัทฯจึงขอแจ้งสารสนเทศของรายการดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

 

บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะขายโครงการฯ โดยเสนอเงินลงทุนทั้งหมดของ EJS 13 ซึ่งมี FAM และ GIM เป็นผู้ถือผลประโยชน์ของโครงการฯ ด้วยมูลค่าการขายรวม 9,942,653,495.00 เยน หรือคิดเป็น 2,863,842,142.09 บาท(อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 1 เยน : 0.288036 บาท) โดยคิดเป็นขนาดของรายการคํานวณตามหลักเกณฑ์ของประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามวิธีการคํานวณในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน พ.ศ.2547เท่ากับร้ อยละ 6.875ของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ ตามงบการเงินสําหรับงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563ที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ซึ่งจัดเป็นรายการตามวิธีการคํานวณขนาดรายการโดยใช้เกณฑ์มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน

 

 


ทั้งนี้ไม่มีขนาดรายการย้อนหลังในรอบระยะเวลา 6 เดือน จึงถือเป็นอัตราร้ อยละ 6.875และเข้าเกณฑ์ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบอํานาจให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการในการจําหน่ายโครงการดังกล่าว

 

 


ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


- บริษัทฯ จะบันทึกกําไรจากการจําหน่ายเงินลงทุนมูลค่าประมาณ 1,090,935,316.71 บาท (คํานวณจากอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 1 เยน : 0.287419 บาท) สําหรับงวดสิ้นสุดวันที่31ธันวาคม 2563

- บริษัทฯ มีสภาพคล่องและความสามารถในการก่อหนี้เพื่อใช้สําหรับการหมุนเวียนและการลงทุนใหม่ตามมูลค่าการจัดจําหน่ายจํานวน 9,942,653,495.00 เยน หรือ คิดเป็น 2,857,707,524.87 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2563เท่ากับ 1 เยน : 0.287419 บาท)

- ส่งผลให้บริษัทฯ มีความสามารถในการจัดหาโครงการใหม่ด้านพลังงานทดแทนและอื่นๆ เพื่อสร้างอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

โดย วันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีการเเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นรายเดิมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่แล้ว

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SET ตีตื้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยตีตื้น ติดเครื่องวิ่งต่อ แรงซื้อหลักมาจากกลุ่มไอซีที นำโดย ADVANC ...

มัลติมีเดีย

มารู้จักหุ้น SNPS ก่อน IPO - สายตรงอินไซด์

มารู้จักหุ้น SNPS ก่อน IPO - สายตรงอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้