Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : เจาะกลุ่มแบงก์ กำไร Q3/63 ดิ่งเหว 44.85% โบรกฯ คาดโค้งสุดท้ายทรุดต่อ

2,929

HotNews : เจาะกลุ่มแบงก์ กำไร Q3/63 ดิ่งเหว 44.85% โบรกฯ คาดโค้งสุดท้ายทรุดต่อ

 


พึ่งผ่านไปสดๆร้อนๆกับการผลประกาศผลประกอบการไตรมาส3/2563ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง 10 แห่ง ได้แก่ KBANK , SCB , BAY , BBL , TISCO , CIMBT , TMB , KTB , KKP และ LHFG โดยทั้งกลุ่มมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 29,686.58 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวลดลง 24,142.55 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44.85% เมื่อเทียบกับไตรมาส3/2562ที่มีกำไรสุทธิโดยรวมอยู่ที่ 53,829.13 ล้านบาท CIMBT เป็นแบงก์ที่มีกำไรลดลงมากที่สุดถึงถึง 341.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามด้วย SCB กำไรทรุด 218.85% ขณะที่ BBL กำไรหดตัว 134.95% ส่วน KTB กำไรวูบ 107.85% ฟาก KBANK กำไรหล่นหาย 49.01% ด้าน BAY มีกำไรใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสาเหตุที่กำไรกลุ่มแบงก์ดิ่งเหวในไตรมาส3นี้ มาจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นหลังโดนพิษโควิด-19เล่นงานอย่างอ่วม

 

 

 

 


- SCB เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 4.64 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 1.47 หมื่นล้านบาท

- BBL เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 4.01 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 9.43 พันล้านบาท

- KBANK เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 6.67 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 9.95 พันล้านบาท

- BAY เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 6.11 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 6.56 พันล้านบาท

- KTB เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 3.05 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 6.35 พันล้านบาท

- TMB เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 1.61 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 2.11 พันล้านบาท

-  TISCO เผยงบรวม Q3/63 กำไร 1.61 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไร 1.87 พันล้านบาท

- CIMBT เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 81.65 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 360.19 ล้านบาท

- KKP เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 1.34 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 1.6 พันล้านบาท

- LHFG เผยงบรวมไตรมาส 3/63 กำไร 522.93 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน กำไร 766.94 ล้านบาท

 

 

 


นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 16,229 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 13,695 ล้านบาท หรือ 45.77% ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ธนาคารและบริษัทย่อยใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss) เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 17,692 ล้านบาท หรือ 70.24% โดยการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบจากความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประกอบกับมาตรการของทางการที่ให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

 

 

ทำให้ยังคงต้องมีการติดตามดูแลคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิด แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 5,301 ล้านบาท หรือ 6.87% ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9 ประกอบกับการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง และการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากเงินรับฝาก เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ลดลง

 

 

ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34% นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 8,085 ล้านบาท หรือ 19.41% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อลดลงจากการเปลี่ยนไปแสดงเป็นรายได้ดอกเบี้ย และรายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ลดลงจำนวน 1,829 ล้านบาท หรือ 3.55% ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.87%

 

 

 

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ (งบการเงินรวมก่อนสอบทาน) ในไตรมาส 3 ของปี 2563 จำนวน 4,641 ล้านบาท ลดลง 69% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการตั้งเงินสำรองปกติที่สูงขึ้นในไตรมาสนี้ และการเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีรายการกำไรพิเศษครั้งเดียวจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว กำไรสุทธิลดลง 56% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงานยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 22,252 ล้านบาท ลดลง 36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY เปิดเผยว่า กำไรสุทธิในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่จำนวน19,655 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.3 หรือจำนวน 6,656 ล้านบาท จากช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562เนื่องจากไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นจำนวนร้อยละ 50 ของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับประมาณการหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากการชดเชยกรณีพนักงานเกษียณและเลิกจ้างตามการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562

 

 

หากไม่รวมรายการพิเศษในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 ดังกล่าวข้างต้น กำไรสุทธิในช่วงเก้าเดือนแรกของปี2563 ลดลงร้อยละ 4.1 หรือจำนวน 848 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเก้าเดือนแรกของปี 2562 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองเพื่อรองรับการด้อยลงของคุณภาพของสินเชื่อ ซึ่งสะท้อนการบริหารจัดการคุณภาพของสินทรัพย์ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและการลดลงของกำไรจากการดำเนินงาน

 

 


ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า และบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือนของปี 2563 จำนวน 14,783 ล้านบาท ซึ่งได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตา ตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 โดยกำไรสุทธิลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักเนื่องจากการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลกระทบของสถานการณ์ โควิด-19 ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง

 

 

 

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 เป็นผลจากการรวมรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพอร์มาตา โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.28 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงสาเหตุหลักจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้จากเงินลงทุน สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เป็นผลจากการรวมค่าใช้จ่ายของธนาคารเพอร์มาตา และประมาณการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการควบรวมสาขาในประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 52.0

 

 

 


บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TISCO เปิดเผยว่า สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 มีจำนวน 4,427.01 ล้านบาท ลดลง 978.48 ล้านบาท (ร้อยละ18.1) เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2562 เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น จกต้นทุนทาการงินที่ปรับลดลง ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากธุรกิจหลักอ่อนตัวลงจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ตามกิจกรรมทางศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี รยได้คำธรรมเนียมของธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นทั้งจากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น และการออกกองทุนที่เพิ่มขึ้นในสภาวะที่ตลาดทุนผันผวน ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คดว่าจะเกิดขึ้ (ECL) ปรับตัวเพิ่มขึ้ ตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

 

 

 


ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) CIMBT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารฯ สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 มีกำไรสุทธิจำนวน 1,467.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 464.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.3 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2562สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 7.6 ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 0.4 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของสำรองหนี้สงสัยจะสูญร้อยละ 20.2

 

 


ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ปี 2563 ธนาคารยังคงเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงักอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทีเอ็มบียังคงปรับปรุงพอร์ตสินเชื่อและเน้นสินเชื่อที่มีคุณภาพมากขึ้นเพื่อรับมือกับควำมท้าทายทำงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่เงินฝากเพื่อออมหลักสำหรับลูกค้ารายย่อยเติบโตได้ตามเป้าหมายเสริมสร้างฐานเงินฝากอย่างแข็งแกร่ง ในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลงและสินเชื่อชะลอตัว รายได้ดอกเบี้ยและส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยมีสัญญาณฟื้นตัวเล็กน้อยจากมาตรการล็อคดาวน์ ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยยังคงชะลอตัวจากรายได้ที่มิใช่รายได้หลักของธนาคาร จากความท้าทายในการเติบโตด้านรายได้ การรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุน (Cost Synergy realization) ยังคงทำได้ตามแผน สะท้อนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง ธนาคารคงความรอบคอบและตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับภาพรวมที่อาจเกิดควำมไม่แน่นอนในอนาคต ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.33

 

 

หลังหักสำรองฯ และภาษี ทีเอ็มบีมีกำไรสุทธิ 1,619 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.7 QoQ และร้อยละ 23.3 YoY ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 6.0

 

 


ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3/2563 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่มาจากการได้รับเงินบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง (“รายได้ดอกเบี้ยพิเศษ”)นอกเหนือจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกปรับลดลงจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ0.50 นอกจากนี้ การขยายตัวของสินเชื่อซึ่งส่งผลให้สัดส่วนของสินเชื่อเปลี่ยนแปลงทำให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เท่ากับร้อยละ 2.82 ลดลงจากร้อยละ 3.08 ในไตรมาส 3/2562

 

 


สำหรับไตรมาส ไตรมาส 3/2563 ธนาคารและบริษัทย่อยได้พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ในการประมาณการถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนและชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ จึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำ นวน 12,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.6 จากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ลดลงร้อยละ 15.6

 

 

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) KKP เปิดเผยว่าธนาคารเกียรตินาคินภทัรและบริษัทยอยมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 1,347ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2/2563 แต่หากเทียบกับ ไตรมาส 3/2562 กำไรสุทธิลดลงร้อยละ 16.3 โดยหลักจากการที่ธนาคารได้มีการพิจารณาตั้งผลขาดทุนดานเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมตามหลักความระมัดระวังเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่ยังคงมีอยู่จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

 

 

สำหรับกำไรเบ็ดเสร็จรวมของไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 1,458 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.4จากไตรมาส3/2562 สำหรับงวดเก้าเดือนปี2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 4,015 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรเบ็ดเสร็จรวมเท่ากับ 3,886 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกนัของปีก่อน

 

 


บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)LHFG เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงำนของบริษัทและบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3ของปี 2563 มีกำไรสุทธิจำนวน 522.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3ของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 766.9 ล้านบาทโดยเป็นผลจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.8

 


ผลการดำเนินงำนของบริษัทและบริษัทย่อย งวด 9 เดือนของปี2563 มีกำไรสุทธิจำนวน1,852.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับงวด 9 เดือนของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 2,334.7ล้านบาทโดยเป็นผลจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.1

 

 


อย่างไรก็ตามกลุ่มแบงก์ยังคงเผชิญความเสี่ยงในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้โดยบริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ เนื่องจากมีการตั้งสำรองเพิ่มรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ หลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ภาครัฐ

 


นายธนภัทร ฉัตรเสถียร ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มผลดำเนินงานของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในงวดไตรมาส 4 ปี 2563 จะอ่อนตัวลงอีกจากไตรมาส 3 ที่ได้ทยอยประกาศกันออกมาเกือบทั้งหมดแล้ว เพราะจะได้รับผลจากค่าใช้จ่ายและการตั้งสำรองหนี้ที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้มีความเสี่ยงด้านคุณภาพหนี้สูงขึ้น ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 1 ของภาครัฐ ในส่วนพักชำระเงินต้นระยะเวลา 6 เดือนครบกำหนด ขณะที่ลูกหนี้บางส่วนที่พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลา 3 เดือนซึ่งได้พ้นระยะเวลาการพักชำระไปแล้วและได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ต่อก็มีความเสี่ยงในเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไหลย้อนกลับมาได้

 


จากรายงานผลประกอบการงวด 9 เดือน ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ที่ทางทรีนีตี้ทำการศึกษา ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารทหารไทย (TMB) และทิสโก้ (TISCO) พบว่า มีการตั้งสำรองหนี้ (ECL) งวด 9 เดือน อยู่ที่ 154,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 63% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากแต่ละธนาคาร ได้มีการปรับแบบจำลองการตั้งสำรองหนี้ เพื่อสะท้อนภาพเศรษฐกิจในอนาคตและมีการตั้งสำรองส่วนเกิน เพิ่มเติม เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ส่งผลให้กำไรกลุ่มฯ งวด 9 เดือน อยู่ที่ 79,129 ล้านบาท ลดลง 37% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

 


“หากดูตัวเลข NPLของ 6 ธนาคาร พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เพราะยังได้รับผลจากการที่ลูกหนี้บางส่วนในปัจจุบันยังอยู่ในมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 1 จึงยังสามารถคุม NPL ได้แต่อนาคตก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงเมื่อมาตรการสิ้นสุดลง” นายธนภัทร กล่าว

 


สำหรับคำแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร ยังคงให้น้ำหนักเท่ากับตลาด โดยแนะนำหุ้นเด่นในกลุ่ม ได้แก่ TISCO ราคาเป้าหมายที่ 89 บาท ขณะที่ยังแนะนำซื้อสำหรับธนาคารขนาดใหญ่เช่นกัน อาทิ BBL ให้ราคาเป้าหมายที่ 119 บาท SCB ให้ราคาเป้าหมายที่ 83 บาท และ KBANK ให้ราคาเป้าหมายที่ 95 บาท

 

  

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

สถานบันเทิงครบวงจร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ยินดี สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ลงมติ รายงานผลการศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร...

รอดเท่ากับไม่เทรด By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง มองไม่ค่อยเห็น ผู้ชนะในเกมหุ้น แต่นักลงทุนที่รอด ชัวร์ๆ นั่นคือ หยุดเทรด ไม่เทรด ไม่ซื้อขาย ...

มัลติมีเดีย

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้