Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : 4 บจ.อดรนทนไม่ไหว!! ทุ่มกว่า 1 หมื่นลบ.ซื้อหุ้นคืน

3,949

HotNews : 4 บจ.อดรนทนไม่ไหว!! ทุ่มกว่า 1 หมื่นลบ.ซื้อหุ้นคืน

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (31 มกราคม 2563 ) ผู้สื่อข่าวหุ้นอินไซด์ สำรวจช่วงเดือน มกราคม 2563  บริษัทจดทะเบียน (บจ.) แห่ซื้อหุ้นคืนคึกคักพบ 4  บจ. อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน ใช้เงินรวม 10,400  ล้านบาท ได้แก่ KBANK แจ้งบอร์ดซื้อหุ้นคืนวงเงิน 4.6 พันลบ. จำนวนไม่เกิน  23.93 ล้านหุ้น (1% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด) ระหว่างวันที่  14-27 กพ. 63 - SPALI เคาะซื้อหุ้นคืนวงเงิน 2 พันลบ.จำนวนไม่เกิน 120 ล้านหุ้น (5.6% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด)ระหว่างวันทึ่ 12 ก.พ.-11 ส.ค.63  -CK แจ้งมติบอร์ดซื้อหุ้นคืนวงเงิน ไม่เกิน 3 พันลบ.จำนวนไม่เกิน 169,389,000 หุ้น (10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด) ระยะเวลา 2 มี.ค.-1 ก.ย.63  และTPIPLประกาศทุ่ม 800 ลบ.ซื้อหุ้นคืน 383,610,000 หุ้น เริ่มซื้อ 14 ก.พ. - 13 ส.ค.63

 

 

KBANK ทุ่ม 4.6 พันลบ. ซื้อหุ้นคืน 23.93 ล้านหุ้น พร้อมแจกปันผลหุ้นละ 4.50 บ. ขึ้น XD 9 เม.ย. 63

 

ราคาหุ้นแบงก์อ่อนตัว กสิกรไทยเตรียมนำสภาพคล่องส่วนเกินซื้อหุ้นคืน 23.93 ล้านหุ้น ไม่เกิน 4,600 ล้านบาท ชี้เงินกองทุนแข็งแกร่ง สภาพคล่องเพียงพอรองรับทำธุรกิจระยะยาว และประกาศเห็นชอบการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานปี 2562 อัตราหุ้นละ 5.00 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่จ่ายในอัตราหุ้นละ 4.00 บาท

 

 

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารมีมติอนุมัติให้ธนาคารดำเนินโครงการซื้อหุ้นคืน เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธนาคารและผู้ถือหุ้น โดยจะซื้อหุ้นของธนาคารคืนในกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ฯ สูงสุดไม่เกิน 23.93 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 1% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในวงเงินไม่เกิน 4,600 ล้านบาท ช่วงระยะเวลาในการซื้อหุ้นคืน 10 วันทำการ ระหว่างวันที่ 14-27 กุมภาพันธ์ 2563 ราคาเสนอซื้อจะไม่เกินราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนวันซื้อหุ้นคืน บวกด้วยจำนวน 15% ของราคาปิดเฉลี่ย โดยเงินที่ใช้ซื้อหุ้นคืนจะเป็นเงินสดจากสภาพคล่องภายในของธนาคาร

 

 


ในช่วงนี้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงหุ้นของกลุ่มธนาคารพาณิชย์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ธนาคารกสิกรไทยก็มีเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) สูงถึง 19.62% ซึ่งมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสามารถรองรับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และธุรกิจของธนาคาร มาตรฐาน BASEL 4 และปัจจัยที่อาจจะเป็นผลกระทบในอนาคต รวมทั้งธนาคารยังคงมีสภาพคล่องทางการเงินอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะมีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรของธนาคารสูงถึง 299,217 ล้านบาท โดยโครงการซื้อหุ้นคืนจากตลาดหลักทรัพย์จะส่งผลให้ธนาคารมีสินทรัพย์สภาพคล่อง และมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และสามารถบริหารสภาพคล่องส่วนเกินและเงินกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากธนาคารสามารถซื้อหุ้นคืนได้ครบตามวงเงินที่ตั้งไว้ จะทำให้ธนาคารมีสินทรัพย์สภาพคล่องและมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเป็นจำนวนเท่ากับวงเงินซื้อหุ้นคืนดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) สูงขึ้น

 

 


ทั้งนี้ หลังจากมีการซื้อหุ้นคืนแล้ว ในอนาคตคณะกรรมการธนาคารอาจพิจารณาขายหุ้นที่ซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ภาวการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงเวลานั้น โดยจะพิจารณาวิธีการจำหน่ายหุ้นและแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาการขายหุ้นคืนจะทำหลังจากที่ซื้อหุ้นมาแล้ว 6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

 


นอกจากนั้น คณะกรรมการธนาคาร ยังมีมติเห็นชอบการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2562 แก่ ผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราหุ้นละ 5.00 บาท และเนื่องจากธนาคารได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท จึงจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายอีกในอัตราหุ้นละ 4.50 บาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 10 เมษายน 2563 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2563 โดยจะเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ต่อไป ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ธนาคารจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 4.00 บาท

 

 

 


CK จะซื้อหุ้นคืน 10% วงเงินไม่เกิน 3 พันลบ. เริ่ม 2 มี.ค.-1 ก.ย.63

 

ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) CK เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

โครงการซื้อหุ้นคืนวงเงินสูงสุดที่ใช้ในการซื้อหุ้นคืน: ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท


จำนวนหุ้นที่จะซื้อคืน: ไม่เกิน 169,389,000 หุ้น (คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด)


วิธีการในการซื้อหุ้นคืน: ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


กำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืน: ภายในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2563


สำหรับ เหตุผลในการซื้อหุ้นคืนเพื่อเป็นการบริหารสภพคล่องส่วนเกินของบริษัทฯ ให้กิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรทำไรสุทธิ (EPS) และบริษัทมีความเชื่อมั่นในศักยภาพในการดำนินธุรกิจ และการสร้งรายได้ของบริษัทในอนาคต

--------------------- 

 

 

SPALI ทุ่ม 2 พันลบ. ซื้อหุ้นคืน120ล้านหุ้น หลังราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เริ่มซื้อคืน 12ก.พ.-11ส.ค.63

 

นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) SPALI เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stocks) ภายในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 2 พันล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นคืนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จำนวน 120 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็น 5.6% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด กำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.-11 ส.ค.63

 

 

สำหรับเหตุผลในการซื้อหุ้นคืน เนื่องจากราคาตลาดที่เป็นอยู่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมาก , เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น และเพื่อสะท้อนถึงสถานะทางการของบริษัทที่มั่นคง ทั้งนี้ข้อมูลกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัท โดยข้อมูลจากงบการเงินสอบทานตรวจสอบงวดล่สุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 กำไรสะสมของบริษัท เท่ากับ 29,911 ล้านบาท หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน เท่ากับ 4,700 ล้านบาท ความสามารกในการชำระหนี้ของบริษัที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน โดยระบุแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการการชำระหนี้คืนบริษัทตำระคืนหนี้จากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท และเงินรับจากการโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้า

 

จำนวนผู้ถือหุ้นสมัญรายย่อย (Free Float) ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นหรือวันที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 เท่ากับร้อยละ 70.00 ของทุนชำระแล้วของบริษัท

 

 

TPIPL ประกาศทุ่ม 800 ลบ.ซื้อหุ้นคืน 383,610,000 หุ้น เริ่มซื้อ14ก.พ.-13ส.ค.63 เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทฯ



นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) TPIPL เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2563 เมื่อ 30 มกราคม 2563 มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อการบริหารทางการเงิน (Treasury Stock)ของบริษัท จำนวน 383,610,000 หุ้น คิดเป็น 2% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ภายในวงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืนจำนวนไม่เกิน 800 ล้านบาท โดยมีกำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืน นับต้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 13 สิงหาคม 2563

 



สำหรับเหตุผลในการซื้อหุ้นคืน เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ(EPS) รวมทั้งบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และการสร้างรายได้ของบริษัทฯ ในอนาคต ทั้งนี้ ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน ต่อผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นมีโอกาสจะได้รับเงินปันผลสูงขึ้นเนื่องจากหุ้นที่บริษัทจะซื้อดีนไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล ส่วนต่อบริษัทฯการซื้อหุ้นคืนจะส่งผลให้งินสด และมูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง

 

 

อย่างไรก็ตามบริษัทฯเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทั้งบริษัทๆ และผู้ถือหุ้นต่อไป TPIPL ระบุว่า ข้อมูลกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทฯ จากงบการเงินสอบทานงวดล่าสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 บริษัทฯ มีกำไรสะสมของงบเฉพาะกิจการบริษัทฯ เท่ากับ 12,281 ล้านบาท มีหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน เท่ากับ 9,513 ล้านบาท บริษัทฯ มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยมีดวามสามารถในการชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จะริ่มซื้อหุ้นคืน

 

 

ทั้งนี้บริษัท มีภระนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน (นับแต่วันซื้อหุ้นคืน) จำนวน 9,513 ล้านบาทโดยณวันที่29 มกราคม 2563 บริษัทฯ มีเงินสด และเงินลงทุนจำนวน 2,664 ล้านบาท (บริษัทฯและบริษัทย่อย มีงินสด และงินลงทุน จำนวน 6,406 ล้านบาท) และมีกระแสงินสดสุทธิจากการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมทางการเงินจำนวน 1,105 ล้านบาท (สุทธิภายหลังการชำระหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน จำนวน 9,513 ล้านบาท) ส่งผลให้บริษัทฯ มีเงินสดและวงเงินรวมทั้งสิ้น 3,769 สันบท ดังนั้น บริษัทจึงมีสภาพคล่องส่วนเกินเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการซื้อหุ้นคืน

 


ด้านบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส ออกบทวิเเคราะห์ เปิดเผยว่า การประกาศซื้อหุ้นคืนมักส่งผลดีต่อราคาหุ้นในช่วงระยะสั้น (ดีสุด 1 เดือนหลังประกาศ) ทั้งนี้ สภาวะตลาดที่ผันผวนและราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรง สร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนหลายๆ บริษัทที่มีความพร้อมทางการเงิน ขณะที่ผู้บริหารต้องการส่งสัญญาณว่าราคาหุ้นของบริษัทต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน กลับมาเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยการประกาศซื้อหุ้นคืน (Tresury Stock) โดยในสัปดาห์นี้ มีบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืนถึง 4 บริษัท คือ CK, KBANK, SPALI และ TPIPL ซึ่งราคาหุ้นหลังประกาศถึงปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดี 5.3%, 5.9%, 1.8% และ 3.3% ตามลำดับ หากไปดูข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 10 ปี ในกลุ่มตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศซื้อหุ้นคืนเกือบทั้งหมดราว 42 บริษัท และส่วนใหญ่จะประกาศซื้อหุ้นคืนในปีที่ตลาดฯปรับฐานแรงเสมอ เช่น

 


•ปี 2558 SET Index ปรับฐาน 14% (ลดลงมากสุดใน 10 ปี ที่ผ่านมา) มีบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืน 5 บริษัท และมีมาต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2559 อีก 4 บริษัท ซึ่งในปี 2559 SET Index ฟื้นตัวกว่า 19.8%
•ปี 2561 SET Index ลดลง 10.8% (ลดลงมากสุดเป็นอันดับ 2 ใน 10 ปี ที่ผ่านมา) มีการประกาศซื้อหุ้นคืนถึง 13 บริษัท หลังจากนั้น 6 เดือน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.6% (ช่วง 1H62)
•ปี 2562 ส่วนใหญ่มีการประกาศหุ้นคืนในช่วงครึ่งหลังของปีราว 15 บริษัท หลังจาก SET Index มีการปรับฐานลงมาเยอะ
•ปี 2563 มีการประกาศซื้อหุ้นคืน 4 บริษัท หลังจากที่ SET Index ปรับตัวลงกว่า 3.5% (ตั้งแต่ต้นปี)

 

---เปรียบเทียบจำนวนหุ้นที่ประกาศซื้อหุ้นคืน กับผลตอบแทนตลาดในแต่ละปี---

 



หากพิจารณาโดยภาพรวมของ SET Index สังเกตได้ว่าหลังจากบริษัทจดทะเบียนออกมาประกาศซื้อหุ้นคืนเป็นจำนวนมาก SET Index มักจะตอบสนองในเชิงบวกและมีโอกาสรีบาวด์กลับในระยะถัดไปเสมอ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะนักลงทุน ตอบรับสัญญาณที่ผู้บริหารส่งออกมาว่าราคาหุ้นมี Valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่อย่างไรก็ตามความต่อเนื่องในการปรับขึ้นของราคาหุ้นยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ด้วย เฉพาะอย่างยิ่งแรงหนุนจาก Fund Flow ถัดมาฝ่ายวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ค้นหาช่วงเวลาในการลงทุนหุ้นที่ถูกซื้อหุ้นคืน

 

 

จากข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ "ซื้อหุ้นดังกล่าวในวันที่ประกาศ และขายทำกำไรใน 1 เดือนถัดมา" มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกราว 2.6% (บางบริษัทให้ผลตอบแทนเกิน 10%) เนื่องจากการซื้อหุ้นคืนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงราคาหุ้น บวกกับความคาดหวัง EPS เพิ่มขึ้น จากจำนวนหุ้นที่ลดลงตามจำนวนที่ซื้อคืน รวมถึงเป็นการส่งสัญญาณของผู้บริหารว่าหุ้นบริษัทตัวเองถูกเกินไป อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นราคาส่วนใหญ่จะย่อตัวลงตามลำดับ โดยเฉพาะหลังจากประกาศซื้อหุ้นคืนเกิน 6 เดือน ผลตอบแทนที่ได้มีโอกาสย่อตัวจนติดลบ เนื่องจากบริษัทมีระยะเวลาในการซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันราคาและยังสอดคล้อกับสถิติในอดีต ดังตารางทางด้านล่าง

 

 

--ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นที่ประกาศซื้อหุ้นคืน (ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี)--

 

 


สรุปจากข้อมูลในอดีต ในช่วงเวลาที่มีบริษัทประกาศซื้อหุ้นคืนจำนวนมาก ภาพรวมตลาดมีโอกาสฟื้นในระยะถัดไปเสมอ ส่วนราคาหุ้นบริษัทที่ถูกประกาศซื้อหุ้นคืน มักปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีในระยะสั้น (ดีสุด 1เดือนหลังประกาศ) ส่วนระยะยาวตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ราคามักย่อตัวลง และหลายๆบริษัทให้ผลตอบแทนติดลบ สวนทางตลาดที่เริ่มฟื้นขึ้น

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

GUNKUL ลุยขยายพอร์ตพลังงานทดแทน

GUNKUL ลุยขยายพอร์ตพลังงานทดแทน

ติดตาม By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ หลังจาก นายกฯคุยกับนายแบงก์ วันนี้ สมาคมธนาคารไทย ก็ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้