Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: IRPC งบ Q1/63 ขาดทุนอ่วม 8.9 พันลบ. COVID-19 เล่นงาน-ขาดทุนสต๊อกน้ำมัน 6.8 พันลบ.

2,492

HotNews:IRPC งบ Q1/63 ขาดทุนอ่วม 8.9 พันลบ.  COVID-19 เล่นงาน-ขาดทุนสต๊อกน้ำมัน 6.8 พันลบ.

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (7 พฤษภาคม 2563)-----บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) IRPC รายงาน ไตรมาส 1/63 ขาดทุนสุทธิ 8.9 พันล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาทเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 152.91 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.01 บาท

 



IRPC ระบุว่าในไตรมาส 1/2563 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ43,617 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากราคาขายลดลงร้อยละ 11 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง และปริมาณขายลดลงร้อยละ 2 โดยโรงกลั่นน้ำมันใช้อัตราการกลั่น ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ 188,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 2,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ หน่วยกำจัดกำมะถัน (Hyvahl) ของโรงงานRDCC หยุดผลิตตามแผนเพื่อเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) เป็นเวลา 27 วัน

 

 

บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 3,665 ล้านบาท (6.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล)เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากส่วนต่าง ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลงช้ากว่าราคาวัตถุดิบแนฟทาซึ่งปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วตามราคาน้ำมันดิบ สำหรับส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับตัวลดลงอย่างมากเกอืบทุกผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในไตรมาส 1/2563 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยช่วงต้นไตรมาส ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่67.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับสิ้นไตรมาสที่ 23.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงถึง 43.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เป็นผลจากสภาวะอุปทานล้นตลาด เนื่องจากกลุ่มโอเปกและพันธมิตรไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในกำรปรับลดกำลังการผลิตได้ประกอบกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่าง
ต่อเนื่องนำไปสู่การหยุดทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมาตรการปิดเมือง (Lockdown)

 

 

ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวลดลงอย่างมาก ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม 6,811 ล้านบาท หรือ 12.66เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ประกอบด้วยขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 4,461 ล้านบาท ขาดทุนจากการบันทึกค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือ (LCM) 2,673 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรจาก Oil Hedging 323 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส ก่อนที่มีกำไรจำกสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม 736 ล้านบาท ส่งผลให้ บริษัทฯ มีผลขาดทุนขั้นต้นจำกกำรผลิตทางบัญชี(Accounting GIM) จำนวน 3,146 ล้านบาท หรือ 5.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชีจำนวน 4,341 ล้านบาท

 

 


รายได้อื่นๆ มีจำนวน 439 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15 ค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีจำนวน 3,395 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14 ส่วนใหญ่ลดลงจากค่าใช้จ่ายพนักงงานและค่าเช่า ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) จำนวน 6,436 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีEBITDA จำนวน 543 ล้านบาท

 


บริษัทฯ มีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 464 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้วที่ 466 ล้านบาท และมีขาดทุนจากการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินจำนวน 558 ล้านบาท ในขณะที่มีกำไร 382 ล้านบาทในไตรมาสที่ผ่านมา จากค่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 4/2562 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการบันทึกขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริงของสัญญาแลกเปลี่ยนเงินต้นสกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (CCS) จำนวน 346 ล้านบาท และบันทึกขาดทุนจากการทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (IRS) จำนวน 217 ล้านบาท ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563กำหนดให้รายการที่มีการป้องกันความเสี่ยงต้องวัดมูลค่า สัญญาที่ยังไม่ครบกำหนดตามมูลค่ายุติธรรม

 

 

นอกจากนี้บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 500 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีกำไร88 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่า โดยบริษัทฯ มีเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯณ สิ้น ไตรมาส 1/2563 และบันทึกขาดทุนจาก Oil Hedging ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (ตาม TFRS 9) จำนวน 993 ล้านบาทบริษัทฯ มีเครดิตภาษีเงินได้ 2,246 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนมีเครดิตภาษีเงินได้445 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากผลการดำเนินงานปรับตัวลดลง สงผลให้ ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2563 มีผลขาดทุนสุทธิ 8,905 ล้านบาทเทียบกับไตรมาสก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ513 ล้านบาท

 

 

 

ไตรมาส 1/2563 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2562 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิลดลง10,657 ล้านบาท หรือร้อยละ 20 เนื่องจากราคาขายลดลงร้อยละ 14 และปริมาณลดลงร้อยละ 6 โดยโรงกลั่นน้ำมันใช้อัตราการกลั่นอยู่ที่ 188,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงร้อยละ 6 Market GIM ลดลง 1,293 ล้านบาท หรือร้อยละ26 (ลดลง 1.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) เนื่องจากส่วน ต่างราคาผลิตภัณฑทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับตัวลดลง จากผลกระทบต่อเนื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงผลกระทบจาก COVID-19 โดยบริษัทฯ มีผลขาดทุนจำกสต๊อกน้ำมันสุทธิ6,811 ล้านบาท กำไรลดลง 7,531 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไร 720 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้Accounting GIM ลดลง 8,824 ล้านบาท และ EBITDA ลดลง 8,791 ล้านบาท ขณะที่ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 211 ล้านบาท หรือร้อละ 10 จากโครงการปรับปรุงและขยายงานที่แล้วเสร็จในปี2562 เช่น โครงการ Catalyst Cooler เป็นต้น

 

 


บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน จำนวน 558 ล้านบาท ในขณะที่มีกำไร 86 ล้านบาทในไตรมาส 1/2562 และบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 500 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส1/2562 มีกำไร 127 ล้านบาท จากค่าเงินบาทอ่อนค่า บริษัทฯ มีเครดิตภำษีเงินได้เพิ่มขึ้น 2,237 ล้านบาทจากผลการดำเนินงำนที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/2563 มีผลขาดทุนสุทธิ8,905 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 1/2562 มีกำไรสุทธิ 153 ล้านบาท

 

 

----จบ---

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้