Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : DTAC โชว์กำไรโค้งแรกโต 15.7%

1,932

HotNews : DTAC โชว์กำไรโค้งแรกโต 15.7%

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (24  เมษายน 2563) DTAC  โชว์ผลประกอบการไตรมาส 1/63 มีกำไรสุทธิ 1.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไร 1.3 พันล้านบาท  หลังบริหารค่าใช้จ่ายในการขายดีขึ้น   ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้น 3.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน  แม้ฐานลูกค้าลดลง จากผลกระทบจากสถานการณ์COVID-19  และเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น

 

 

 

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) DTAC เปิดเผยว่า ไตรมาส1/2563 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.1จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

 

 

EBITDA (ก่อนรายการอื่น ๆ) ในไตรมาสนี้เท่ากับ 7,669 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสก่อน และจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในไตรมาส 4/62 และการเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ส่งผลให้ EBITDA margin (ไม่รวมรายได้จาก CAT ภายใต้สัญญาเช่าสินทรัพย์สัมปทาน และ รายได้ค่าเช่าเครือข่าย 2300 MHz จาก TOT) ในไตรมาสนี้เท่ากับร้อยละ 43.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.8 ในไตรมาส 4/62 และร้อยละ 41.5 ในไตรมาส 1/62

 

 


รายได้รวม ในไตรมาส 1/63 เท่ากับ 20,075 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 จากไตรมาสก่อน จากการลดลงของรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานหลัก และค่าเช่าเครือข่าย 2300MHzจาก TOT โดยรายได้จากการให้บริการที่ไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่ายลดลงร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 15,326 ล้านบาท

 

 

 

 

 


รายได้จากการให้บริการหลัก (รายได้จากการให้บริการเสียงและข้อมูล) ในไตรมาสนี้เท่ากับ 14,680 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นและผลกระทบจากCOVID-19 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้จากลูกค้าระบบรายเดือน

 

 

รายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติในไตรมาสนี้เท่ากับ 188 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.1 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 32.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 และแนวโน้มและปริมาณการใช้บริการที่ลดลงรายได้จากการให้บริการอื่น ในไตรมาสนี้เท่ากับ 457 ล้านบาทลดลงร้อยละ 16.8 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 29.5 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากแนวโน้มที่ลดลงของรายได้จากบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศ

 

 


รายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย ในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,697 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.8 จากไตรมาสก่อนและลดลงร้อยละ 20.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปรับปรุงยอดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15รวมทั้ง การลดลงของปริมาณขายจากการปิดร้านตามมาตรการของทางการในการต่อสู้กับสถานการณ์ COVID-19

 

 

 

 

 


ในไตรมาส 1/63 ดีแทคได้มีการปรับปรุงวิธีการรายงานจำนวนผู้ใช้บริการในระบบรายเดือน โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/63 หลังการปรับปรุงดังกล่าวจำนวนผู้ใช้บริการรวมเท่ากับ 19.6 ล้านเลขหมาย ลดลง 1.0 ล้านเลขหมายจากสิ้นปีก่อน โดยเป็นผลหลักมาจากการลดลงของลูกค้าในระบบเติมเงินเนื่องมาจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น และผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงการลดลงของลูกค้าในระบบรายเดือนเนื่องจากการปรับปรุงวิธีการรายงานดังกล่าว ฐานลูกค้าระบบเติมเงินเท่ากับ 13.5 ล้านเลขหมายในไตรมาส 1.63 ลดลงประมาณ 744 พันเลขหมายจากไตรมาสก่อน

 

 

และลดลงประมาณ 1.0 ล้านเลขหมายจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ฐานลูกค้าระบบรายเดือนลดลงในไตรมาสนี้ประมาณ 272 พันเลขหมาย เป็น 6.2 ล้านเลขหมาย ทั้งนี้หากเปรยีบเทยีบบนฐานเดียวกัน ฐานลูกค้าระบบรายเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 47 พันเลขหมาย

 

 


รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย ไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (“ARPU”) สำหรับไตรมาส 1/63 เท่ากับ 251 บาทต่อเดือน ลดลงร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนเนื่องจากการปรับปรุงวิธีการรายงานข้างต้น แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลูกค้าในระบบรายเดือนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.4 ของจำนวนลูกค้ารวม ณ สิ้นไตรมาส 1/63 รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายของลูกค้าระบบรายเดือนในไตรมาส 1/63 เท่ากับ 529บาทต่อเดือน ลดลงร้อยละ 3.2 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายของลูกค้าระบบเติมเงินลดลงร้อยละ 5.9 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 130 บาทต่อเดือน เนื่องจากการลดลงของรายได้ในระบบเติมเงิน

 

 


ปริมาณการใช้งานบนเครือข่าย 4G-2300MHz ภายใต้ความร่วมมือกับ TOT ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลหลักมาจากการที่ผู้คนทำงานจากที่บ้านภายใต้สถานการณ์ COVID-19 จำนวนสถานีฐานบนเครือข่าย 2300MHz ณ สิ้นไตรมาส 1/63 ประมาณ 17,900 สถานีฐาน เพิ่มขึ้นประมาณ 500 สถานีฐานจากไตรมาสก่อน จำนวนผู้ใช้บริการบนระบบ 4G อยู่ที่ 11.4 ล้านเลขหมาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 58 ของฐานลูกค้ารวม ในขณะที่จำนวนเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งานในระบบ 4G และสัดส่วนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 และ 87 ของฐานลูกค้ารวมตามลำดับ

 

 

 

 


สำหรับแนวโน้มปี 2563 จากผลกระทบในช่วงต้นจากการระบาดเห็นได้ชัดในกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว การเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการใหม่ และการให้บริการข้ามแดนอัตโนมัติแก่ลูกค้าที่เดินทางไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามธุรกิจสื่อสารถูกมองว่าเป็นบริการที่สำคัญ และคาดว่าผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจสื่อสารในระยะยาวจะน้อย ทั้งนี้ดีแทคเห็นการเติบโตของปริมาณการใช้งานข้อมูลจากการที่ผู้คนเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันและวิธีการทำงาน ทำให้มีการพึ่งพาการใช้บริการสื่อสารเพิ่มขึ้น

 

 

นอกจากนี้ รายงานบางฉบับยังระบุว่าประเทศไทยซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวมีศักยภาพในการที่นักท่องเที่ยวจะกลับมาอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นแม้ในช่วงระยะเวลาอันใกล้จะมีความท้าทาย แต่เมื่อมองไปข้างหน้าดีแทคมองเห็นโอกาส ซึ่งรวมถึงการกลับมาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว การลดลงของการย้ายค่ายของลูกค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งแพ็คเกจที่ดีขึ้นและการขายที่คุณภาพไม่ดีโอกาสในการบริหารจัดการเงินชดเชยค่าเครื่องโทรศัพท์ที่เหมาะสมมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของการใช้งานผ่านช่องทางบริการตนเองและช่องทางดิจิทัล

 

 

อย่างไรก็ตาม ดีแทคไม่รู้ว่าผลกระทบในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงมุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินสด ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมดีแทคจะให้แนวโน้มใหม่สำหรับปี 2563 หลังจากที่สถานการณ์มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ความมมุ่งมั่น ในระยะกลางที่เคยสื่อสารในวัน Capital Markets Day ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

 


ดีแทคคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลโดยมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของบริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต โดยบริษัทมีเป้าหมายพิจารณาจ่ายเงินปันผลทุกครึ่งปีโดยจากผลกำไรสุทธิของบริษัทในปี 2562 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแทนเงินปันผลประจำปีในอัตราหุ้นละ 1.61 บาทเนื่องจากการเลื่อนการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ไปอย่างไม่มีกำหนด โดยได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในวันที่ 24 เมษายน 2563

 

 

 

DTAC

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เกาะเส้นกราฟ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ นักลงทุน คงต้องเกาะเส้นกราฟ เทรดตามกรอบแนวรับ แนวต้าน....

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

ตัดสินใจ By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม เชื่อว่า ความมั่นใจ ความเชื่อมั่น ของนักลงทุน ของรายย่อย ยังไม่กลับมา สะท้อนจากวอลุ่มซื้อขายหุ้น ดังนั้น ...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้