
HotNews: ส่อง SET พ.ค. Sell in May?
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (2 พฤษภาคม 2562) ส่องมุมมองตลาดหุ้น เดือน พ.ค. 62 กูรูกรุงศรี เปิดสถิติบ่งชี้ ตลาดหุ้นไทยมักเกิด Sell in May มอง SET index เดือน พ.ค. พักตัวในกรอบ 1,650 - 1,690 จุด ชี้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสปรับฐานหลังจากที่ปรับขึ้นตอบรับข่าว Trade war คลี่คลาย และ Fed ชะลอขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
ด้านกูรูทิสโก้มองต่างคาดหุ้นไทย เดือน พ.ค. มีแนวโน้มขึ้นต่อ เหตุจากแรงขับเคลื่อนสภาพคล่อง แต่จะผันผวนรอความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนกูรูทรีนีตี้ ประเมิน SET Index เดือน พ.ค.62 แกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,720 จุด แนะจับตาเม็ดเงินจาก Passive fund ทั่วโลกไหลเข้าราว 6 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายเดือน แนะถือหุ้นกลุ่มที่เตรียมได้ประโยชน์จากการปรับตะกร้าดัชนีสำคัญ และหาจังหวะเก็บหุ้นยานยนต์และหุ้น Turnaround ผลงานโตเกินกว่า 100% แถมยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง

บริษัท หลักทรัพย์กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์
เปิดเผยว่า คาด SET index เดือน พ.ค. พักตัวในกรอบ 1,650 - 1,690 จุด ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสปรับฐานหลังจากที่ปรับขึ้นตอบรับข่าว Trade war คลี่คลาย และ Fed ชะลอขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วหุ้นหลายกลุ่มมีโอกาสเกิดแรงขาย sell on fact หลังราคาปรับขึ้นสะท้อนผลกำไรที่ดีขึ้น QoQ ไปแล้วอย่างไรก็ตามคาด SET Index จะลดลงในกรอบจ้ากัดเพราะยังมีแรงเก็งกำไรจาก MSCI ปรับเพิ่มน้าหนักการลงทุนในหุ้นไทย (เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 พ.ค.19)กลยุทธ์ยังเป็น Selective Buy เน้นหุ้นที่ราคายัง Laggard มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ หุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนักในดัชนี MSCI และ ทยอยซื้อหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลก่อนเข้าสู่ช่วง High season ในช่วงหน้าฝน Top pick เดือน พ.ค. ADVANC, BEM, BCH, BDMS และ CK
Sell in May เป็นปรากฏการณ์ที่ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวลงในเดือน พ.ค.และลดลงต่อเนื่องไปอีก 1-2 เดือนแล้วค่อยฟื้นตัว ทั้งนี้เป็นเพราะตลาดหมดข่าวดีและนักลงทุนเทขายทากาไรหลังจากประกาศงบไตรมาส 1 รวมถึงได้รับสิทธิได้เงินปันผลจากการขึ้นเครื่องหมาย XD ของบริษัทจดทะเบียนไปแล้ว สำหรับตลาดหุ้นไทยหากอิงจากสถิติย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า Set index ให้ผลตอบแทนติดลบในเดือน พ.ค. สูงถึง 7 ปี หรือคิดเป็นโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนเป็นลบ 70% ส่วนในปีนี้มีโอกาสที่จะเกิด Sell in May หรือเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้เช่นกันเนื่องจากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา SET Index ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 7.1% ตอบรับข่าวการเลือกตั้งในประเทศและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะออกมาดีขึ้น qoq ใน 1Q19 ไปแล้วจึงเป็นไปได้สูงที่นักลงทุนจะเทขายทำกำไรหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนประกาศงบ 1Q19 ออกมาทั้งหมดในช่วงกลางเดือน พ.ค.(กำหนดส่งงบวันสุดท้ายของ 1Q19 ในวันที่ 15 พ.ค.)
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3 พ.ค. สหรัฐรายงานตัวเลขจากงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือน เม.ย.
8 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย, ญี่ปุ่น (BOT & BoJ meeting)
15 พ.ค. วันสุดท้ายของการส่งงบการเงิน 1Q19 ของบริษัทจดทะเบียนของไทย
21 พ.ค. สภาพัฒน์ฯประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 1/19
23 พ.ค. เฟดเปิดเผยรายงานการประชุม (Fed minute)
24-26 พ.ค. สหภาพยุโรปจัดการเลือกตั้ง (European Elections)
29 พ.ค. ดัชนี MSCI ซึ่งปรับน้ำหน้กการลงทุนในหุ้นไทยรอบใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้
ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นร้อนแรงตอบรับปัญหา Trade war คลี่คลาย และเฟดชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว : ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นหลักๆของโลกปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วโดยมีปัจจัยสนับสนุน จาก 1) ตลาดมีความคาดหวังเชิงบวกว่าจีนและสหรัฐจะสามารถยุติข้อพิพาททางการค้าได้ในเร็วๆนี้, 2)ตลาดคลายกังวลเรื่องสภาพคล่องตึงตัวในตลาดหลังเฟดส่งสัญญาชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ยและจะยุติการลดขนาดงบดุล(Balance Sheet) ในเดือน ก.ย. และ 3)ตลาดหุ้นจีนมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ MSCI ประกาศเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น A-Share ของจีนขึ้นเป็น 20% จากปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 5% ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจีนประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามเรามองว่าทั้ง 3 ปัจจัยบวกข้างต้นตลาดได้ตอบรับไปแล้ว ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงของดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ นำโดยดัชนีตลาดหุ้นเชี่ยงไฮ้คอมโพสิตของจีน YTD (ม.ค. - เม.ย.) ปรับตัวขึ้น 23.4%, ดัชนี CAC ของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 17.5%, DAX เยอรมนีเพิ่มขึ้น16.7% และดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 13.8% ทำให้ Upside ที่ตลาดจะปรับขึ้นต่อในระยะสั้นค่อนข้างจำกัด และมีโอกาสที่จะถูกขายปรับฐานกดดัน Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ระวังแรงขาย Sell on fact หลังราคาหุ้นปรับขึ้นสะท้อนผลประกอบการ 1Q19 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น QoQ ไปแล้ว :
บริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะกลุ่ม Real sector จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการ 1Q19 ตั้งแต่วันนี้เรื่อยไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค.19 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายสำหรับการส่งงบการเงิน เบื้องต้นเราคาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบ QoQ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันที่ไตรมาสนี้จะกลับมามีกำไรจากสต๊อกน้ำมันดิบจำนวนมากตรงข้ามกับ 4Q18 ที่มีผลขาดทุนจากรายการดังกล่าว ขณะที่กลุ่มอื่นๆคาดว่าจะมีผลกำไรออกมาดีเช่นกัน อาทิ กลุ่มโรงไฟฟ์า (ไม่มี Shutdown plan เหมือน 4Q18), กลุ่มอสังหาฯได้อานิสงส์จากการเร่งขายและเร่งโอน ก่อนที่มาตรการ LTV จะเริ่มบังคับใช้ในช่วงวันที่ 1 ของเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา, กลุ่มไฟแนนซ์ ความต้องการสินเชื่อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง, และกลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งได้ผลบวกจากราคา ไก่ และหมู ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามด้วย SET Index ที่ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 2.1% ในเดือน เม.ย. และ YTD (ม.ค.- เม.ย.) ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 7% ตามภาพด้านบน ขณะที่บริษัทใน SET100 กว่า 40 บริษัทให้ผลตอบแทนร้อนแรงเกิน 10% และมีอีก 25 บริษัทให้ผลตอบแทนเกิน 20% เรามองว่าการปรับขึ้นดังกล่าวได้สะท้อนคาดการณ์ผลกำไรที่คาดว่าจะออกมาดีใน 1Q19 ไปแล้ว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่นักลงทุนจะทยอยขายทำกำไร หรือ Sell on fact หลังจากที่บริษัทจดทะเบียนประกาศงบ 1Q19 ออกมาทั้งหมดในช่วงวันที่ 15 พ.ค.19
GDP ไตรมาส 1/19 ของไทยมีโอกาสโตน้อยกว่า 4% ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นมาตรการช่วงสั้นคาดหนุน GDP เพิ่มได้ในกรอบจำกัด :
สภาพัฒน์มีกำหนดประกาศ GDP ไตรมาส 1/19 ในวันที่ 21 พ.ค.19 เรามีความกังวลว่า GDP ในช่วงไตรมาส 1/19 อาจจะขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับทางแบงก์ชาติที่ล่าสุดออกมาระบุว่า GDP ของไทยในไตรมาส 1/19 อาจจะขยายตัวต่ำกว่า 3.4% เป็นผลจากการส่งออกที่ชะลอตัว โดยเดือน มี.ค.การส่งออกไทยพลิกเป็นหดตัว 4.88%yoy กดดันให้ยอดส่งออกในไตรมาส 1/19 หดตัว 3.6% ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยจะขยายตัวในอัตรา 3-8% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดจะปรับลดคาดการณ์การส่งออกและ GDP ของไทยในปีนี้ลง
ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐประกาศออกมาในช่วงท้ายของเดือน เม.ย. มูลค่ารวมกว่า 13,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นมาตรการระยะสั้น มุ่งเน้นช่วยเหลือและกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน (ไม่ใช่ยาแรง) ทาให้ผลบวกจากมาตรการดังกล่าวจะหนุนให้ GDP เพิ่มได้แค่ในกรอบจำกัดเท่านั้น โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประกอบด้วย 1) ภาคอสังหาฯ ให้สิทธิลดหย่อนภาษีสาหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ตั้งแต่ 30 เม.ย.- 31 ธ.ค.19 ,2) ภาคการท่องเที่ยว ให้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการท่องเที่ยวเมืองหลัก และไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับท่องเที่ยวเมืองรอง โดยทั้ง 2 รายการรวมแล้วให้สิทธิได้ไม่เกิน 20,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 30 เม.ย.-30 มิ.ย.19 และ 3)ภาคค้าปลีกและการเกษตร ประกอบด้วย ให้สิทธิลดหย่อนภาษี สำหรับการซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับการศึกษา กีฬา และ สิ้นค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท ตั้งแต่ 30 เม.ย.- 30 มิ.ย. 19 นอกจากนี้ยังมีเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการ ผู้พิการ และ เกษตรกร อาทิ เพิ่มเงินซื้อสินค้าร้านธงฟ้าจาก 300 บาทต่อเดือนเป็น 500 บาทต่อเดือนในช่วง 1 พ.ค.- 30 มิ.ย.19 เป็นต้น
คาดแบงก์ชาติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.75%ตามเดิม เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นยังไม่น่ากังวล :
คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีกาหนดจัดประชุมเพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 8 พ.ค. 19 เราคงมุมมองเดิม โดยคาดว่าแบงก์ชาติจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.75% ตามเดิม แม้ว่าทิศทางของอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาจะเร่งตัวขึ้นจาก 0.27% ในเดือน ม.ค.เป็น 0.73% ในเดือน ก.พ. และเพิ่มขึ้นเป็น 1.24% ในเดือน มี.ค. แต่ก็ไม่ได้น่ากังวลเพราะอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวยังอยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ 2.5% ? 1.5% หรือกรอบ 1%-4% และเป็นเพียงแค่กรอบล่างเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนและหากอัตราเงินเฟ้อยังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจนใกล้ระดับ 2% อาจจะกดดันให้ กนง.อาจจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อคลุมอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว
แรงเก็งกำไรก่อน MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนของหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนจะช่วยประคองดัชนีในเดือนนี้ หลังจากที่ MSCI ประกาศอนุมัติให้รวมการลงทุนของต่างชาติใน NVDR เพื่อคำนวนน้ำหนักการลงทุนได้ ส่งผลให้น้ำหนักการลงทุนของตลาดหุ้นไทยในดัชนี MSCI EM จะเพิ่มขึ้นจาก 2.3% เป็น 2.8% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.4 พันล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค.19 เราคาดว่าการปรับเพิ่มน้ำหนักดังกล่าวจะยังหนุนให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะถูกเพิ่มน้ำหนักการลงทุนก่อนที่การคำนวณดัชนีรอบใหม่จะมีผลบังใช้ประกอบด้วย 1) หุ้นที่จะถูกปรับเพิ่มในการคำนวณรอบใหม่ คือ CENTEL INTUCH DTAC และ RATCH, 2)หุ้นที่อยู่ในดัชนี MSCI อยู่แล้วและถูกเพิ่มน้ำหนัการลงทุนอีกกว่า 20 หลักทรัพย์ อาทิ SCC BDMS EGCO CPN LH KBANK BANPU PTT TU ADVANC CPF HMPRO MINT EA BH BTS GULF TRUE และ IRPC และ 3) หุ้นในกลุ่ม Mid - Small Cap ที่จะถูกรวมเข้าคำนวณรอบใหม่ด้วยเช่นกัน อาทิ BLA AEONTS LHFG TASCO EASTW COL และ TIP
สรุปพอร์ตการลงทุนเดือน เม.ย. พอร์ตหุ้น Growth stock ให้ผลตอบแทนดีสุด 9.8% และ พอร์ตรายเดือนให้ผลตอบแทน 4% ชนะตลาดที่ให้ผลตอบแทน 2.1% หุ้นในพอร์ตการลงทุนทั้งหมด 5 หลักทรัพย์ของเดือน เม.ย.ให้ ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ชนะตลาดที่ให้ผลตอบแทน 2% โดย EA ให้ผลตอบแทนมากที่สุด +16.1% ตามด้วย CPN และ BDMS ให้ผลตอบแทน +3.1% และ +2.8% ส่วน TOP และ TWPC ให้ผลตอบแทน น่าผิดหวัง -0.4% และ -1.8% ตามลำดับ
ส่งผลให้พอร์ตการลงทุนตั้งแต่เดือน ม.ค., ก.พ., มี.ค. และ เม.ย. (YTD) ให้ผลตอบแทนรวมทั้งหมด 9.7% ชนะตลาดที่ YTD ให้ผลตอบแทน 7% ส่วนพอร์ตการลงทุนอื่นๆ พบว่า พอร์ตการลงทุนที่เน้นหุ้น Growth stock (G.Stock) ซึ่งมีหุ้นลงทุนทั้งหมด 4 หลักทรัพย์ คือ BEM BGRIM EA และ SPA ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดที่ 9.8% ตามด้วยพอร์ตลงทุนแบบ DCA (DCA Stock) ให้ผลตอบแทน 4.2% ส่วนพอร์ตลงทุนที่เน้นหุ้นปันผล (D.Stock) ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดที่ 1.9%
กลยุทธ์การลงทุนเดือน พ.ค. ยังเป็น Selective buy เน้นหุ้นที่ราคายัง Laggard งบ มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ กลุ่มหุ้นที่ MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนัก :
กลยุทธ์เดือน พ.ค.เรายังเลือกเป็น Selective Buy เน้น
1) หุ้นรายตัวที่ราคายัง Laggard เมื่อเทียบกับกลุ่มและกับตลาดและทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ราคาขึ้นมาร้อนแรง อาทิ CBG TKN KTC และ AP,
2) หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ถูกปรับเข้าคำนวณและเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI รอบใหม่ซึ่งคาดว่าจะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากการเข้าซื้อของกองทุน Active fund รวมไปถึงนักลงทุนในประเทศ เพื่อดักเก็งกำไรก่อนที่จะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 29 พ.ค.19 แบ่งเป็นหุ้นที่ได้รับเข้าคำนวณรอบใหม่ 4 หลักทรัพย์ คือ INTUCH DTAC CENTEL และ RATCH ส่วนอีกกลุ่มเป็นหุ้นที่ได้รับการปรับเพิ่มน้ำหนักในการลงทุน อาทิ SCC BDMS EGCO CPN และ ADVANC รวมถึงหุ้น Mid-small Cap ที่จะถูกรวมไว้ในดัชนีรอบใหม่ อาทิ TASCO และ AEONTS,
3)ทยอยซื้อหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลที่กำลังจะเข้าสู่ช่วง High season ในฤดูฝนและจากสถิติในอดีตหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดในช่วงที่เกิดแรงขายจาก Sell in may
4)กลุ่มสื่อสารคาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรกลับมาอีกครั้งหลังจากที่ผู้ประกอบการจะยื่นใช้สิทธิเพื่อยืดเวลาจ่ายชำระค่าไลเซนส์คลื่น 900MHz (กสทช.กำหนดให้วันที่ 10 พ.ค.เป็นวันสุดท้ายในการยื่นใช้สิทธิ) ซึ่งเราคาดว่า ADVANC TRUE และ DTAC จะยื่นใช้สิทธิ์ซึ่งเป็นบวกต่อผลประกอบการในระยะกลางถึงยาว
TOP Pick เดือน พ.ค. : ADVANC, BEM, BCH, BDMS และ CK :
พอร์ตการลงทุนเดือน พ.ค. เราปรับหุ้นที่เคยแนะนำใน เดือน เม.ย. คือ CPN, EA, TOP และ TWPC ออกเนื่องจากระยะสั้นยังไม่มีปัจจัยกระตุ้นราคา ขณะที่ EA ราคาปรับขึ้นมามากแล้วทำให้เหลือ Upside ค่อนข้างจำกัด ทั้งนี้เราแทนหุ้นทั้ง 4 หลักทรัพย์ ด้วยหุ้น ADVANC BEM BCH และ CK โดย ADVANC คาดว่าจะยื่นใช้สิทธิเพื่อยืดเวลาจ่ายค่าไลเซนส์คลื่น 900MHz ในวันที่ 10 พ.ค. ส่งผลบวกต่อ Cash flow รวมถึงอาจพิจารณาเพิ่มอัตราการจ่ายปันผล, BDMS และ BCH เป็น Top picks หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ส่วน BEM และ CK ได้อานิสงส์จากงานภาครัฐที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นหลังจากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ (ADVANC และ BDMS ยังเป็นหุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น MSCI รอบใหม่)
ADVANC (ซื้อ/เป้า 213) Top pick กลุ่ม ICT
- ADVANC เป็นผู้ประกอบการในกลุ่ม ICT ที่ผลประกอบการมั่นคงสุดทั้งฐานะการเงิน ผลกำไรและ มีปันผลจ่ายสม่ำเสมอ ตรงข้ามกับ TRUE และ DTAC ทีผลกำไรยังผันผวน
- คาด ADVANC จะยื่นใช้สิทธิยืดเวลาจ่ายค่าไลเซนต์คลื่น 900MHz งวดสุดท้าย (10 พ.ค.19) ส่งผลบวกต่อการบริหาร Cash flow ของบริษัท และอาจหนุนให้ ADVANC เพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้น
- ประมูลคลื่น 700MHz มอง ADVANC ได้ผลบวกมากสุด เนื่องจากมีคลื่นเมื่อเทียบกับฐานผู้ใช้น้อยกว่าคู่แข่ง (ดูจากสัดส่วน bandwidth/จำนวนผู้ใช้) หาก ADVANC มีจำนวนคลื่นเพิ่มจะส่งผลบวกในระยะกลาง - ยาว
BEM (ซื้อ/เป้า 11.8) รายได้มั่นคงยาวนานจากสัญญาสัมปทานที่ยาวถึงปี 2050 -2057
- ปลดล็อก Overhang สัญญาสัมปทานทางด่วนที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี 2020 เนื่องจากเชื่อมั่นว่าการทางพิเศษ (กทพ.) จะอนุมัติต่อสัญญาสัมปทานให้ BEM (+30 ปี)
- ธุรกิจรถไฟฟ์าไต้ดินเข้าสู่ช่วงเติบโต จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น เพราะ BEM จะเพิ่มจำนวนตู้โดยสารรองรับ รถไฟฟ์าใต้ดินอีก 2 เส้นทาง ที่จะเริ่มเปิดดำเนินการในเดือน ก.ย. 2019 และ เม.ย. 2020
- คาดกำไรปกติของ BEM จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4,000 ล้านบาทในปีนี้และ 5,000 ล้านบาท ในปี 2019 เติบโต 34%yoy และ 33% ตามลำดับ
BCH (ซื้อ/เป้า 21 บาท): Turnaround ของ WMC จะปลดล๊อค ราคาหุ้น
- BCH เป็นหุ้นที่มีการเติบโตโดดเด่นนำโดยรายได้จากประกันสังคม โดยเป็นกลุ่มโรงพยาบาลที่มีจำนวนผู้ประกันตนสูงสุดคือประมาณ 8 แสนคน
- WMC ที่เคยเป็นตัวฉุดจะกลับมา break even จากผู้ป่วยต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวจีน และอาหรับ เข้ามารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
- ปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 35 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 38 เท่า ขณะที่ BCH มีอัตราการเติบโต เฉลี่ยที่ 17% CAGR ใน 3 ปีข้างหน้า จึงเป็นไปได้ที่ราคาหุ้นจะปรับขึ้นไปซื้อขายที่ระดับ P/E เฉลี่ยของกลุ่ม
BDMS (ซื้อ/เป้า 30): เข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลกำไร
- ผ่านพ้นช่วงการลงทุนใหญ่มาแล้ว จากที่ปี 2016 ซื้อปาร์คนายเลิศ ทำ BDMS Wellness clinic หรือ ศูนย์สุขภาพใหญ่สุดในเอเชีย ต่อจากนี้จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลกำไร
- มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต จาก Mega trend ของผู้สูงวัย หรือ ก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (aging society)
- BDMS มีศักยภาพเติบโตมากกว่า BH และมีความพร้อมมากที่สุดของเมืองไทย จากจำนวนสาขาที่กระจายทั่วทุกภูมิภาค ทำให้ BDMS เติบโตได้ทั้งในเชิงของ Volume และ ราคา ขณะที่ BH เติบโตจาก ราคา เพียงอย่างเดียว

สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัว (PMI ภาคผลิตของจีนในเดือน เม.ย. กลับมาสู่ภาวะขยายตัว ขณะที่สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มเกิดใหม่ (EM) ปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นสหภาพยุโรปเท่านั้นที่แย่ลง), การขยายเส้นตาย Brexit ออกไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. และความคืบหน้าต่อเนื่องในการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการประชุมธนาคารกลางสำคัญ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED), ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ล่าสุด ยังตอกย้ำการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน (Dovish) อย่างชัดเจน หนุนกระแสเงินทุนต่างประเทศทยอยไหลเข้าสู่ EM มากขึ้น
ผสาน MSCI Rebalancing รอบนี้ คาดจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจาก MSCI จะนำใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) เข้ามาคำนวณในข้อจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ (Foreign Ownership Limit - FOL) ส่งผลให้หุ้นไทยได้ปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยเราคาดว่าจะมีเม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้าราว 2.4 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ MSCI จะประกาศผลทบทวนดัชนีรอบนี้ในวันที่ 13 พ.ค.
ถึงแม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คาดว่าจะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พ.ค. แต่เรามองการรับรองผลการเลือกตั้งมีโอกาสเกิดความล่าช้ากว่าวันที่ 9 พ.ค. เนื่องจาก กกต.มีเรื่องร้องเรียนที่ต้องพิจารณาใบเหลือง-ใบแดงเป็นจำนวนมาก และวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อยังคลุมเครือ นอกจากนี้ เรามองวันสุดท้ายที่ กกต.จะต้องรับรองผลการเลือกตั้ง คือ วันที่ 23 พ.ค. ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 85 ในรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดกรอบเวลาให้ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งภายใน 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นนักลงทุนต้องระวังความผันผวนในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี เรามองสุดท้ายแล้วการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความชัดเจนอย่างช้าสุดไม่เกินต้นเดือน มิ.ย. เนื่องจากมาตรา 121 กำหนดให้ต้องเรียกประชุมรัฐสภาภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. หรือภายในวันที่ 7 มิ.ย. และเรายังให้น้ำหนักว่าพรรคพลังประชารัฐจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่น่าจะเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพน้อย เนื่องจากต้องพึ่งพึงจำนวน ส.ส.จากหลายพรรคการเมือง
โดยสรุป เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า หลัก ๆ จากแรงขับเคลื่อนด้านสภาพคล่องจากการผ่อนปรนนโยบายการเงินของธนาคารกลางสำคัญของโลกและการทบทวนดัชนีของ MSCI รอบนี้ที่หุ้นไทยได้รับการเพิ่มน้ำหนัก อย่างไรก็ดี ต้องระวังความผันผวนจากโอกาสรับรองผลการเลือกตั้งล่าช้ากว่าวันที่ 9 พ.ค. และแนวโน้มงบไตรมาสนี้โดยรวมที่คาดว่าจะลดลง YoY เรามอง 2 ประเด็นหุ้นน่าลงทุนในเดือนนี้ คือ (1) หุ้นที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าจากการทบทวนดัชนีของ MSCI ชอบ BANPU, BDMS, CPN (2) หุ้นที่คาดว่างบจะออกมาดี BPP, HMPRO, STEC, TASCO, TRUE เพราะฉะนั้น หุ้นแนะนำในเดือน พ.ค. คือ BANPU, BDMS, BPP, CPN, HMPRO, STEC, TASCO และ TRUE ด้านแนวรับ และแนวต้านสำคัญของ SET Index เดือนนี้อยู่ที่ 1650, 1630-35 และ 1680-85, 1700, 1720-30 จุด ตามลำดับ

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
เปิดเผยว่า SET Index ในเดือนพฤษาคม 2562 มีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 1,620-1,720 จุด ทั้งนี้มีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การถูกเพิ่มน้ำหนักของหุ้นไทยในตะกร้าดัชนี MSCI EM ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินจาก Passive fund ทั่วโลกไหลเข้ามาราว 6 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายเดือน ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยประตับประคองกลุ่มพลังงานรวมถึงดัชนีได้ โดยหลังจากวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ สหรัฐฯ ได้กระตุ้นให้ 8 ประเทศสำคัญ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ตุรกี อิตาลี และกรีซ ยุติการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอิหร่านอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยจำกัด Supply น้ำมันให้ไหลเข้าสู่ตลาดน้อยลง
ส่วนปัจจัยจำกัด Upside ของดัชนีฯ ที่สำคัญยังคงได้แก่ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ที่ยังคงถูก Downgrade อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามที่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบของการที่บริษัทต่างๆ ต้องตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพนักงานตามพรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ในช่วงไตรมาส 1-2 นี้ โดยในเชิงกลยุทธ์การลงทุน หลังจากที่แนะนำขายทำกำไรไปแล้วที่บริเวณดัชนีฯ 1,680 จุด ประเมินว่านักลงทุนสามารถรอจังหวะการเข้าลงทุนใหม่ได้ที่บริเวณดัชนีต่ำกว่าระดับ 1,650 จุด ลงมา โดยให้แนวรับแรกไว้ที่ 1,640 จุด และแนวรับสำคัญที่ 1,620 จุด
นายณัฐชาต กล่าวต่อไปว่า ประเมินธีมการลงทุนที่น่าสนใจประจำเดือนพฤษภาคม ประกอบไปด้วย 1. หุ้นที่คาดว่ามีโอกาสจะถูกนำเข้าดัชนี MSCI Standard Index ในการประกาศรอบเดือนพฤษภาคม ได้แก่ KTC 2.หุ้นที่คาดว่ามีโอกาสจะถูกนำเข้าดัชนี SET50 Index ในการประกาศรอบเดือนมิถุนายน ได้แก่ OSP และ SAWAD 3. หุ้นที่คาดว่ามีโอกาสจะถูกนำเข้าดัชนี SET100 Index ในการประกาศรอบเดือนมิถุนายน ได้แก่ BEC 4. หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2562 ในเกณฑ์ดี และจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณของทรีนีตี้พบว่า มักเป็นกลุ่มที่ปรับตัวได้ดีในเดือนพฤษภาคมของทุกปี มอง STANLY มีความน่าสนใจมากที่สุด เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีความเชื่อมั่นทางสถิติสูงกว่า 83% ว่าจะให้ผลตอบแทน Total return ในเดือนพฤษภาคมเป็นบวก และยังไม่เคยให้ผลตอบแทนติดลบในเดือนดังกล่าว และ 5. หุ้นกลุ่ม Turnaround ซึ่งคาดว่าจะมีผลการดำเนินงานปีนี้เติบโตเกินกว่า 100% และยังมีการเติบโตต่อในปี 2563-64 พร้อมทั้งมี PBV ปัจจุบันต่ำกว่า 1 เท่า ได้แก่ THRE
“ในเดือนพฤษภาคม เราประเมิน SET Index ว่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,720 จุด โดยหลังจากที่ผ่านมาแนะนักลงทุนขายทำกำไรไปแล้วที่ดัชนีบริเวณ 1,680 จุด มองว่าสามารถรอจังหวะการเข้าลงทุนใหม่ได้ที่บริเวณดัชนีฯ ต่ำกว่า 1,650 จุดลงมา ให้แนวรับแรกที่ 1,640 จุด และแนวรับสำคัญที่ 1,620 จุด แนะนำถือหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับตะกร้าดัชนี และหาจังหวะเข้าลงทุนหุ้นกลุ่มยานยนต์และหุ้น Turnaround” นายณัฐชาต กล่าวในที่สุด