Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : SET มี.ค. ไม่เด้ง

2,120

HotNews : SET มี.ค. ไม่เด้ง 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (4 มีนาคม  2562) SET มี.ค. ไม่เด้ง นำโดยเทพหุ้นทรีนีตี้ คาด SET Index เดือนมี.ค.62 แกว่งตัวในกรอบ 1,600-1,700 จุด จับตา 4 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการลงทุน “พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่-MSCI-เลือกตั้ง-ประชุม Fed”  แนะเลือกถือหุ้นปลอดภัย 3 กลุ่ม ประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ปันผลสูงที่ราคายังคง Laggard กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและกลุ่มที่ราคารับรู้ข่าวร้ายไปมากแล้ว 

 

 

ขณะที่ บล.แอพเพิลเวลธ์คาดดัชนีหุ้นไทยเดือน มี.ค.62 เคลื่อนไหวในกรอบระดับ 1,630 – 1,680 จุด ได้รับผลดีจากเฟดส่งสัญญาณการชะลอขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ ส่วนการเจรจาการค้าสหรัฐ – จีนเลื่อนเส้นตายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าออกไป ขณะที่คาดการณ์บจ.จ่ายปันผลรวม 5.19 แสนลบ.ประเมินผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ย 3.3% และสรุปเลือกตั้งส.ส. วันที่ 24 มี.ค.62 ช่วยหนุนบริโภคฟื้น เงินทุนต่างชาติไหลเข้า แนะลงทุนกลุ่มค้าปลีก ท่องเที่ยว เน้นหุ้นใหญ่ปันผลดี TISCO , KKP , PSH , QH , PTTGC , ASEFA , WHAUP

 

 

ด้านกูรูหุ้น ASP มอง Fund flow มักจะไหลเข้ามาตลาดหุ้นไทยในเดือน มี.ค. สูงถึง 9 ใน 10 ปี ด้วยปริมาณเฉลี่ยที่สูงถึง 1.42 หมื่นล้านบาท (มากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ) หนุนให้ SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.21% เพิ่มขึ้น 7 ใน 10 ปี เทพหุ้นเสือเหลือง ทำนาย SET ในเดือนมี.ค.ที่ 1,620-1,680 จุด คงแนะนักลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนใน Domestic play นำโดย CPALL, BEM, EGCO และเลือก PTTEP เป็นนตัวแทน Global play พร้อมคงสัดส่วนเงินสด 40%

 

 

ด้านเซียนหุ้น KGI มองตลาดหุ้นเดือนมีนาคมเป็น 'กลาง' แนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตให้มีลักษณะ defensive มากขึ้น หลังผลประกอบการ 4Q62 ออกมาน่าผิดหวัง - ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจมหภาคของโลกส่วนใหญ่ (การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน, Brexit และการตัดสินใจของ FOMC) จะชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่สามของเดือนมีนาคม ทำนักลงทุนขายหุ้นแบบ 'sell on fact' -ผลการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 256 ยังเดายาก

 

 

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ประเมิน SET Index ในเดือนมีนาคม 2562 ว่ามีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 1,600-1,700 จุด โดยดัชนีฯ ที่อยู่สูงกว่าระดับ 1,660 จุด ขึ้นไปเป็นดัชนีฯ ที่ซื้อขายอิงบนพื้นฐานของกำไรปีหน้าแล้ว เนื่องจากหากอิงบนกำไรปีนี้จะเทียบเท่าระดับ Forward PE เกินกว่า 15 เท่าไปแล้ว ทั้งนี้หากดัชนีฯ จะไปซื้อขายบน Valuation ของปีหน้านั้น ในเบื้องต้นฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ขอใช้ระดับ Forward PE เพียง 14 เท่าเสียก่อน ซึ่งจากการคำนวณจะได้ระดับดัชนีฯเหมาะสมที่ 1,690 จุด และเป็นที่มาของแนวต้าน 1,700 จุด ในเดือนมีนาคมนี้ ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำชะลอการลงทุนใหม่และเลือกถือหุ้นปลอดภัย 3 กลุ่ม จนกว่าดัชนีฯ จะมีการย่อตัวลงมาเสียก่อน

 


ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญประจำเดือนนี้ได้แก่

1.ความเป็นไปได้ที่นักวิเคราะห์จะปรับลดประมาณการกำไรลงต่อ จากการที่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) จะต้องตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น สืบเนื่องมาจากการบังคับใช้พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ ซึ่งมีในส่วนของเงินชดเชยเลิกจ้างเพิ่มขึ้น

2.ดัชนีภาคการผลิตทั่วโลกที่ยังคงปรับตัวลงต่อ ซึ่งสะท้อนว่าตลาดนั้นได้รับรู้ปัจจัยบวกจากการเลื่อนเส้นตายการเจรจาการค้าไปพอสมควรแล้ว

3.การส่งออกของไทยที่หดตัวมากสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยเป็นผลมาจากเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่า และผลพวงจากสงครามการค้า โดยกลุ่มที่ได้รับปลกระทบสำคัญยังคงได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

 


สำหรับปัจจัยประคับประคองที่สำคัญ ได้แก่ การส่งสัญญาณผ่อนคลายต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยประเมินว่าการประชุม FOMC ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ มีโอกาส 50:50 ที่ Fed จะปรับลดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ลงจาก 2 ครั้งเหลือ 1 ครั้ง และมีความเป็นไปได้ที่ Fed จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับกำหนดเวลาการยุติโครงการลดขนาดงบดุลในช่วงถัดไป

 


ในส่วนของปัจจัยที่ต้องติดตามและเป็นได้ทั้งบวกและลบได้แก่

1.ผลการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศวันที่ 24 มีนาคม รวมถึงหน้าตาของรัฐบาลชุดใหม่และนายกฯ คนใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อไปยังเสถียรภาพของรัฐบาลและการออกกฎหมายต่างๆในช่วงถัดไป

2.การประกาศผลการพิจารณาของ MSCI ว่าจะมีการนำข้อมูล NVDR เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นหรือไม่ ซึ่งหากมีการบังคับใช้จริง จะเป็นผลลบต่อกลุ่มสถาบันการเงิน เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้มีการจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติผ่าน NVDR แต่จะเป็นผลบวกต่อตัวหุ้นที่ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าวที่อาจถูกนำเข้าสู่การคำนวณดัชนีใหม่ ได้แก่ INTUCH, DTAC, RATCH, CENTEL โดยการบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้น้ำหนักของหุ้นไทยในดัชนี MSCI EM ปรับตัวเพิ่มขึ้นสุทธิราว 0.5%

3.พัฒนาการของประเด็น Brexit ว่าจะมีการเลื่อนเส้นตายวันที่ 29 มีนาคมออกไปหรือไม่ หากไม่เลื่อน คาดจะเป็นปัจจัยสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลกได้ ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มหุ้นปลอดภัย

 

 

3 กลุ่มที่แนะนำให้ถือต่อไปได้ ได้แก่

1.หุ้นขนาดใหญ่ปันผลสูงที่ราคายังคง Laggard ได้แก่ BBL

2.กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ERW, CENTEL

3.กลุ่มที่ราคารับรู้ข่าวร้ายไปมากแล้ว ได้แก่ BDMS

 


ด้านนายอภิชัย เรามานะชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ แอพเพิล เวลธ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือนมีนาคม 2562 ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินดัชนีหุ้นไทย (SET) น่าจะมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 1,630 – 1,680 จุด โดยมีปัจจัยสนับสนุนในเชิงบวกทั้งในและต่างประเทศ โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ได้ส่งสัญญาณการชะลอขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ ซึ่งจาก Fed Fund Rate Futures มีโอกาสปรับขึ้นเพียง 1.7 % พร้อมทั้งเตรียมประกาศยุติการปรับลดงบดุลของเฟดปัจจุบันอยู่ที่ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นปัจจัยบวกต่อสภาพคล่องในระบบและลดแรงกดดันต่อการขึ้นดอกเบี้ย

 

 

ขณะที่การเจรจาการค้าสหรัฐ – จีนนั้นประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศเลื่อนเส้นตายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนออกไปจากกำหนดวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา น่าจะสะท้อนสัญญาณบวกของการยุติสงครามการค้า โดยคาดจะมีการหารือระหว่างผู้นำสหรัฐ – จีน ในเดือน มี.ค. นี้ เพื่อสรุปข้อตกลงสุดท้าย หากสงครามการค้ายุติลงก็ส่งผลบวกต่อการค้าโลกรวมถึงภาคการผลิตที่ปัจจุบันเริ่มส่งสัญญาณถดถอย สำหรับประเด็น Brexit นั้น นายกฯ เมย์เตรียมโหวตข้อตกลง Brexit ในวันที่ 12 มี.ค. หากสภาฯ ไม่เห็นชอบข้อตกลงของนายกฯ เมย์ ก็จะต้องเลือกระหว่างการออกแบบไม่มีข้อตกลง หรือ ขอเลื่อนเส้นตายออกไปจากวันที่ 29 มี.ค. นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์น่าจะออกเลื่อนการตัดสินใจออกไปอีก 3 เดือน

 

 

สำหรับผลประกอบการ บจ. ไทย งวดไตรมาส 4/61 มีกำไรสุทธิรวม 1.62 แสน ลบ. ลดลง -38 % QoQ และลดลง -36 % YoY เนื่องจากกำไรบริษัทใน กลุ่มพลังงาน , ปิโตรเคมี , สื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ต่ำกว่าคาดการณ์ แต่ภาพรวมตลาดประมาณการณ์การจ่ายเงินปันผล 534 บริษัท ในงวดปี 61 มีมูลค่ารวม 5.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.70 % จากงวดปีก่อน และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) เฉลี่ยที่ 3.30 % ซึ่งจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี ดัชนี SET ในช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. จะให้ ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 2.45 % และ 1.10 % ซึ่งคาดเป็นผลบวกฤดูกาลจ่ายเงินปันผล

 

 

"กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ซื้อลงทุน BBL , KBANK , AMATA , WHA , CK , STEC ที่ได้ผลบวกการลงทุนภาครัฐและเอกชน ขณะที่กลุ่มค้าปลีก CPALL , ROBINS คาดการณ์บริโภคจะฟื้นตัวในช่วงหลังเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มท่องเที่ยว AOT , AA , ERW จากมาตรการฟรีค่าธรรมเนียม VOA จนถึง เม.ย. และกลุ่มที่จ่ายเงินปันผลสูง เช่น TISCO , KKP , PSH , QH , PTTGC , ASEFA , WHAUP" นายอภิชัย กล่าว

 

 

รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวอีกว่า ในส่วน Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ตลาดแถบอาเซียน ( TIP ) ในช่วง 2 เดือนแรก มียอด ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 543 ล้านดอลลาร์ , ซื้อหุ้นอินโด ฯ 726 ล้านดอลลาร์ และซื้อหุ้นไทย 108 ล้านดอลลาร์ จะเห็นได้ชัดว่าน้ำหนักการลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยช่วง 2 เดือนแรกยังต่ำกว่า เมื่อเทียบตลาดหุ้นอื่นในกลุ่ม TIP สาเหตุน่าจะมาจากประเด็นการเมืองที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. นี้ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติอาจจะยังรอดูผลการเลือกตั้งและเสถียรภาพ รัฐบาลใหม่ ซึ่งจากสถิติผลตอบแทนดัชนี SET หลังจากมีรัฐบาลใหม่บริหารประเทศในช่วง 1 ปี แรก ( Honey Moon Period ) จะให้ผลตอบแทนราว 4 - 6 %

 

 

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,620-1,680 จุด อีกซักระยะเพื่อรอดูปัจจัย

 

1.) สงครามการค้าที่จะเป็นตัวกำหนดสมมติฐานในกลุ่ม Global play เช่น ราคาน้ำมัน, Spread ปิโตรเคมี และราคาโภคภัณฑ์ต่างๆ ล่าสุด WSJ รายงานผู้นำทั้ง 2 ประเทศเตรียมพบปะกันในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เพื่อเจรจายุติปัญหาต่างๆ

 

2.) ผลการเลือกตั้งไทย ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญกำหนดทิศทางการลงทุนจากทั้งต่างชาติและนักลงทุนสถาบัน

 

 

ทั้งนี้ประเมินกรอบการแกว่งตัว SET ในเดือนมี.ค.ที่ 1,620-1,680 จุด คงแนะนักลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนใน Domestic play นำโดย CPALL, BEM, EGCO และเลือก PTTEP เป็นนตัวแทน Global play พร้อมคงสัดส่วนเงินสด 40%

 

 

ส่วนบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัสออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์เรื่องสงครามการค้ามีแนวโน้มไปในทางบวก แต่เชื่อว่าได้สะท้อนในราคาหุ้นระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ปัจจัยที่มีน้ำหนักมากกว่าในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งปรากฎตัวเลข 4Q61 ต่ำเพียง 1.56 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2562 เริ่มเห็นหลายปัจจัยเข้ามาสร้างแรงกดดัน คาดจะทำให้เกิดการปรับลดประมาณการ EPS ลงจากเดิม 112.2 บาท/หุ้น เหลือไม่เกิน 110 บาท/หุ้น กลยุทธ์การลงทุนในช่วงเวลานี้ จึงเน้นความปลอดภัยโดยเลือกหุ้นที่เติบโต และราคายัง Laggard ได้แก่ BJC(FV@B61) และ BBL (FV@B227)

 



สหรัฐเลื่อนวันครบกำหนด (Dead line 1 มี.ค. 2562) ของการผ่อนคลายสงครามการค้าสหรัฐ-จีน (ต้นเดือน 1 ธ.ค.2561 - 1 มี.ค.2562) กล่าวคือ เลื่อนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้ารอบที่ 3 วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญฯ จากจีน จาก 10% เป็น 25% ออกไปแต่ยังไม่ระบุระยะเวลา ซึ่งรอประกาศทางการวันอังคาร 5 มี.ค. (รอบ 1และ 2 วงเงินรวม 5 หมื่นล้านเหรียญ ภาษีนำเข้า 25% ยังถูกจัดเก็บอยู่) โดยสหรัฐขอให้จีนยกเลิกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรทั้งหมด จากปัจจุบันเก็บ 25% หลังจากช่วงต้นปี ได้ลดภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนจากสหรัฐเหลือ 15% จากเดิม 40% ไปก่อน และขอให้เพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐตามคำเรียกร้องของสหรัฐ หลังต้นปีได้กลับมานำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐอีกครั้ง ราว 1.5 - 2 ล้านตัน และนำเข้าก๊าซธรรมชาติราว 5.99 ล้านตัน

 

 

โดยเชื่อว่าทั้ง 2 ฝั่งมีท่าทีที่ผ่อนคลายเพราะน่าจะได้รับรู้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะจีน หลังจากประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยให้น้ำหนักการประชุมสภาประชาชนจีนที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. ตลาดคาดว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการลดภาษี อาทิ คาดจะลดภาษีนิติบุคคล, ภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงจากเดิมอย่างละ 2% จากปัจจุบันจัดเก็บภาษีนิติบุคคล 25%, ภาษีบุคคลธรรมดา 7 ช่วงระหว่าง 3-45% และ VAT 17% หลังจากต้นปีได้ใช้นโยบายการเงิน คือ ลดอัตราเงินสดสำรองทางกฎหมาย (RRR) ไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 1% เหลือ 13.5% โดยรวมสงครามการค้าที่ผ่อนคลายถือเป็นประเด็นบวกต่อตลาดหุ้นโลก

 

 

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. ขยายตัว 0.73%yoy ฟื้นตัวจากเดือน ม.ค. ที่ 0.27% เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือน ม.ค. 2562 อยู่ที่ระดับ 64.32 เหรียญ เพิ่มขึ้น 1.6%yoy รวมไปถึงราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ข้าว-แป้งขยายตัว 5.15%, เนื้อสัตว์ 4.5%, เคหสถาน 0.68% เป็นต้น รวมถึงบางสินค้าหดตัวน้อยลง เช่นผักผลไม้หดตัว 1.52% เทียบกับเดือนก่อนที่หดตัว 4.36%

 

 

จากเงินเฟ้อที่ยังไม่สูงมากนัก และยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่ชะลอ จากผลกระทบสงครามการค้า และสภาพคล่องในระบบยังสูง ล่าสุด ธ.ค. 2561 อยู่ที่ราว 2.48 แสนล้านบาท จึงคาดว่า กนง. อาจไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 1H62 และเชื่อว่าการประชุม กนง. วันที่ 20 มี.ค. นี้ น่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย โดยจะต้องติดตามเรื่องเงินเฟ้อในช่วง 2H62 ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์น้ำมันเป็นหลัก CIMBT นำร่องปรับขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านใหม่และรีไฟแนนซ์

 

 


ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เคลื่อนเข้าสู่ทิศทางขาขึ้น หลังจากที่ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบกว่า 7 ปี สู่ 1.75% ในการประชุมเมื่อ 19 ธ.ค. 2561 ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมาธนาคารต่างๆ อาทิ SCB และ KBANK ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท (3, 6, 12, 24 และ 36 เดือน) ซึ่งมีผลแล้วในวันที่ 4 และ 5 ม.ค. โดยยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นและล่าสุด ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT) การประกาศนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งบ้านใหม่และรีไฟแนนซ์ประมาณ 0.1-0.15% ทำให้ภาพรวมไม่มีดอกเบี้ยบ้านที่ต่ำกว่า 3% แล้วในช่วง 3 ปีแรก (ในช่วงที่ผ่านมา CIMBT ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี(MRR) และเงินฝากประจำ 3, 6, 9 เดือน มีผลวันที่ 1 ก.พ. 62 แล้ว)

 

 

ประเด็นดังกล่าว ถือว่าเป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ก่อนหน้า ว่าจะเห็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามมาในไม่ช้า เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง ธ.พ. ขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบในเรื่องต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายมากกว่า ธ.พ. ขนาดใหญ่ จึงทำให้ CIMBT ต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น

 


ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะช่วยให้ NIM ปรับเพิ่มขึ้น แต่ผลประกอบการของกลุ่มธ.พ. ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น การเติบโตของสินเชื่อสุทธิ, ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ แม้จะเร่งตัวขึ้น แต่เชื่อว่า ธ.พ.ส่วนใหญ่ยังบริหารคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ยังค่อนข้างทรงตัว หรือลดลงในบางธนาคาร

 

เพื่อให้สะท้อนผลการดำเนินงานปี 2561 ที่ประกาศ และเป้าหมายธุรกิจปี 2562 อย่างเป็นทางการในรายธนาคาร ฝ่ายวิจัยจึงคาดกำไรสุทธิกลุ่มฯปี 2562 เติบโตเพียง 0.9% yoy แต่หากหักรายการพิเศษออกไป จะพบว่ากำไรปกติยังเติบโตได้ราว 5% โดยปัจจัยขับเคลื่อนของกลุ่ม ธ.พ.ในปี 2562 นอกจากสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการ NIM แล้ว การเติบโตของสินเชื่อสุทธิในปี 2562 ที่ประเมินไว้ 5.3% yoy เป็นอีกปัจจัยบวกที่มีน้ำหนัก

 

โดยเน้นไปที่สินเชื่อรายใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้น เลือก BBL(FV@B227) และ KBANK (FV@B246) เป็น Top pick กลุ่มฯ เด่นทั้งพื้นฐาน valuation ที่ระดับต่ำ ปันผลเฉลี่ย 4-5% p.a. นอกจากนี้ ที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับฐาน สะท้อนปัจจัยกระทบต่างๆ ไปมากแล้ว BJC รายงบ 4Q61 ดีกว่าคาด และหุ้น Laggard

 


ผลการดำเนินงานงวด 4Q61 ของ BJC ดีกว่าคาด เป็นผลมาจากกาปรับโครงสร้างภาษีภายในทำให้อัตราภาษีจ่ายต่ำกว่าคาดมาอยู่ที่ 15.4% เทียบกับที่คาด 20% (ในงวด 3Q61 ได้มีการรับรู้ไปส่วนหนึ่งแล้วโดยอัตราภาษีลดลงมาอยู่ที่ 9.6%) ส่วนผลการดำเนินอื่นๆ สอดคล้องกับประมาณการเช่น SSSG 1.5% ลดลงจาก 2.5% ใน 3Q61 สอดคล้องกับอุตสาหกรรม Hypermarket หนุนกำไรจากการดำเนินงานที่พลิกกลับมาเป็นบวก 2.8% yoy ใน 4Q61 (จากลดลง 2.3%yoy ใน 3Q61)

 

 

สำหรับปี 2562 แนวโน้มกำไรเติบโต 9.5% จากธุรกิจหลัก Big C คาดกลับมาเติบโตดีขึ้น หลังได้รับอานิสงส์เม็ดเงินสะพัดช่วงก่อนหลังเลือกตั้ง เชื่อว่า SSSG เติบโต 1.8% ในปี 2562 (เพิ่มจากปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 1%) และการขยายสาขาใหม่ 8 แห่ง เพิ่มจากเดิมที่มี 148 สาขา (ในประเทศ 7 สาขา , ต่างประเทศ 1 สาขา) บวกกับ จากธุรกิจดั้งเดิม BJC ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจบรรจุภัณฑ์ จะรับรู้รายได้โรงงานใหม่ SB5 เต็มปี (เริ่มเปิด พ.ย. 61) รวมถึงธุรกิจเวชภัณฑ์ (มาร์จิ้นสูง) ยังขยายตัวต่อเนื่อง ช่วยหนุนประสิทธิภาพทำกำไรของกลุ่ม

 

 

Valuation ปัจจุบันของ BJC ยัง Laggard เมื่อเทียบกลุ่ม สะท้อนจากค่า P/E ปี 2562 ราว 27 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 29 เท่า ขณะที่ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีลดลง 2% เทียบกับกลุ่มค้าปลีกที่ขึ้นมาแล้ว 7.5% และยังสามารถรับปันผล 0.55 บาท/หุ้น ณ 30 เม.ย. 2562 เชื่อเดือน มี.ค. ต่างชาติมีโอกาสสลับมาซื้อหุ้นไทย

 

 

หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปี 62 เคยปรับตัวขึ้นไปสูงสุด 7.07% ที่ 1674.54 จุด (ณ วันที่ 25 ก.พ. 62) แล้วย่อตัวลง จนปัจจุบันเหลือผลตอบแทน 4.96% (ytd) แต่เชื่อว่าแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน มี.ค. มีโอกาสไหลกลับเข้ามา และผลักดันให้ SET Index เดินหน้าต่อ จากประเด็นสงครามการค้าที่ผ่อนคลายลง บวกกับจีนส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และที่สำคัญยังมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง การเลือกตั้ง ช่วยหนุน Fund Flow ไหลกลับอีกแรง สอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า Fund flow มักจะไหลเข้ามาตลาดหุ้นไทยในเดือน มี.ค. สูงถึง 9 ใน 10 ปี ด้วยปริมาณเฉลี่ยที่สูงถึง 1.42 หมื่นล้านบาท (มากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ) หนุนให้ SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.21% เพิ่มขึ้น 7 ใน 10 ปี

 



กำไรฯ ปี 2561 ต่ำคาด ..... ส่วนปี 2562 มีโอกาสปรับลดแต่ไม่มาก


ผลประกอบการงวด 4Q61 ของบริษัทจดทะเบียน มีกำไรสุทธิรวม 1.56 แสนล้านบาท ลดลง 39.1%yoy และ 40.5%qoq นับเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าคาด ทำให้ภาพรวมกำไรสุทธิทั้งปี 2561 (ปรับงวดให้ตรงตามปีปฎิทิน อาทิ AOT) เหลือเพียง 9.7 แสนล้านบาท ลดลง 1.2% YoY และเมื่อพิจารณาแนวโน้มของผลประกอบการปี 2562 ซึ่งกำไรสุทธิรวมถูกคาดการณ์ไว้ที่ 1.11 ล้านล้านบาท หรือ 112.2 บาท/หุ้น พบว่ามีความเสี่ยงที่จะต้องปรับลดลง โดยหนึ่งในแรงกดดันเป็นเรื่องรายการสำรองผลประโยชน์พนักงานตาม พ.ร.บ.แรงงานฉบับแก้ไข ทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องบันทึกรายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2562 ทั้งนี้หากปรับลดเพื่อสะท้อนเรื่องดังกล่าวก็น่าจะทำให้ EPS ปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ราว 110 บาทต่อหุ้น เติบโตราว 12.0%YOY

 


หากเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ (EPS Growth) ปี 2562 ของตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค พบว่า SET Index ที่มี EPS Growth เติบโต 12%yoy ถือเป็นอัตราที่สูงใกล้เคียงกับหลายประเทศ อาทิ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เติบโต 11.0%yoy ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เติบโต 11.0%yoy ตลาดหุ้นจีน เติบโต 10.1%yoy ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดียที่เติบโตสูงถึง 28.3%yoy และมาเลเซียเติบโตต่ำเพียง 1.4%yoy นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น มีการเติบโตที่ด้อยกว่าตลาดหุ้นไทย

 

 

บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ระมัดระวังมากขึ้นกับทิศทางของ SET ในเดือนมีนาคมเนื่องจาก i) ผลประกอบการที่อ่อนแอใน 4Q61 ทำให้มีการปรับลดประมาณการ EPS และทำให้ราคาหุ้นกลายเป็นแพงขึ้นค่อนข้างเร็ว ii) มีโอกาสที่นักลงทุนจะขายหุ้นรับข่าวหรือ 'sell on fact' เมื่อประเด็นด้านเศรษฐกิจโลกชัดเจนมากขึ้นในเดือนนี้ เช่นการเจรจาการค้า เรื่อง Brexit รวมทั้งผลประชุม ธ.กลางสหรัฐฯ

 

หลังจากที่ความคาดหวังในประเด็นเหล่านี้หนุนตลาดหุ้นโลกมาสองสามสัปดาห์แล้วiii) นักลงทุนยังรอดูสถานการณ์ก่อนจะทราบผลการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ดังนั้น เราจึงเลือกธีมการคัดหุ้นโดยอิงจากปัจจัยเฉพาะตัว (bottom-up drivers) และเน้นที่หุ้นขนาดกลาง และหุ้นปันผลเด่น โดยหุ้นเด่นของเราในเดือน มี.ค.ได้แก่ AAV*, ERW*, BTS*, PLANB*, RS*,PSH* และ NYT

 


พอร์ตหุ้นเดือนกุมภาพันธ์ขยับขึ้น 3.5% ดีกว่าผลตอบแทนของตลาด

 


พอร์ตหุ้นของเราขยับสูงขึ้น 3.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ดีกว่าดัชนี SET Index ที่เพิ่มขึ้นแค่ 0.7% โดยในรายการหุ้นเด่นของเรา หุ้นที่วิ่งดีได้แก่ COM7

 

ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 17.8% จากผลประกอบการ 4Q61 ที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวของราคาหุ้นหลังจากที่ร่วงแรงในเดือนธันวาคม และ RS* ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 12.6%จากแนวโน้มที่สดใสของธุรกิจด้านสุขภาพและความงามในปี 2562 ส่วนหุ้นเด่นของเราที่ผลตอบแทนน่าผิดหวังได้แก่ LH* และ BGRIM* ถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลของ LH* จะน่าสนใจ แต่นักลงทุนก็มองข้ามหุ้น LH ไปในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ราคาหุ้น BGRIM* ถูกกระทบจากผลประกอบการ 4Q61 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการอย่างมีนัยสำคัญ

 


มุมมองตลาดเดือนมีนาคม: ตลาดมีโอกาสปรับฐาน แนะนำปรับพอร์ตเน้นหุ้นเสี่ยงไม่มาก หลังจากที่เรามอง 'บวก' กับ SET มาสองเดือนติดต่อกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์) เราก็ได้ปรับมุมมองตลาดเดือนมีนาคมเป็น 'กลาง' และแนะนำให้นักลงทุนปรับพอร์ตให้มีลักษณะ defensive มากขึ้นเนื่องจากเหตุผลสามข้อได้แก่ i) ผลประกอบการ 4Q62 ออกมาน่าผิดหวัง และทำให้มีการปรับลดประมาณการกำไรลงอย่างมีนัยสำคัญส่งผลให้หุ้นไทยกลายเป็นหุ้นแพงและไม่น่าสนใจ ii) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจมหภาคของโลกส่วนใหญ่ (การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน, Brexit และการตัดสินใจของ FOMC) จะชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่สามของเดือนมีนาคม และน่าจะทำให้นักลงทุนขายหุ้นแบบ 'sell on fact' หลังจากที่ปัจจัยเหล่านี้หนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา iii)

 

ผลการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งยังเดายาก และเมื่อบวกกับกระแสข่าวการเมืองในช่วงนี้เราคิดว่านักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะเลือกรอดูสถานการณ์ไปก่อนจนกว่าผลการเลือกตั้งจะชัดเจนหุ้นเด่นเดือนมีนาคม: เน้นหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่มีปัจจัยเฉพาะตัว

 


เนื่องจากเรามีมุมมองที่ระมัดระวังกับ SET Index มากขึ้นในเดือนมีนาคม เราจึงแนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงหุ้น big caps ประเภท conventional และ เน้นที่หุ้นขนาดกลางที่มี bottom-up price driversโดยธีมการลงทุนของเราได้แก่ i) ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งขึ้นอีก (หุ้นเด่นกลุ่มนี้คือ AAV* และ ERW*) ii) หุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

 

ซึ่งยังมีโอกาสที่รัฐบาลจะเปลี่ยนไปหากลุ่ม BSR ถ้าหากว่าการเจรจากับ CPconsortium ล้มเหลว (หุ้นเด่นกลุ่มนี้คือ BTS*) iii) ความคาดหวังด้านบวกต่อการเลือกตั้งซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น กลุ่มสื่อ (หุ้นเด่นกลุ่มนี้คือ PLANB* และ RS* ซึ่งคาดว่ากำไรของทั้งสองบริษัทจะโตดี YoY ใน 1Q62) iv) หุ้นที่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลดี ซึ่งในกลุ่มนี้เราเลือก PSH*เพราะประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 1.0 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 5.2% และNYT ที่ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.3 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ 5.8%

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้