Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : 4 เซียนหุ้น ส่อง SET พ.ย. หวนคืน 1700 จุด?

2,538

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 5 พฤศจิกายน 2561)

4 เซียนหุ้น ส่อง SET พ.ย. หวนคืน 1700 จุด? เริ่มที่บล.ไอร่า คาด SET พ.ย. เป็นขาขึ้น ให้กรอบ 1,590 – 1,770 จุด หากสามารถผ่านแนวต้านแรกที่ระดับ 1,702 จุดได้ ชู ITD-CK-STEC–UNIQ-AMATA-WHA–BBL-KTB ขณะที่ บล.แอพเพิล เวลธ์ มอง ดัชนีฯ พ.ย.แกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,710 จุด แต่หากดัชนีหลุด 1,600 จุดอีกครั้ง แนวโน้มตลาดเป็นขาลง ขณะที่เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ Fund Flow ยังคงไหลออกต่อเนื่อง ด้านบล.ทรีนีตี้ ประเมินหุ้นไทยเดือน พ.ย. แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,600-1,700 จุด มีปัจจัยหนุนจากทิศทางราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวดีขึ้นส่งผลดีต่อกลุ่มพลังงานและหวังผลเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯน่าจะช่วยให้ความตรึงเครียดสงครามการค้าลดลง ส่วนบล.กรุงศรี คาด SET พ.ย. ฟื้นตัว ทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,700 - 1,730 จุด ชี้ Valuation ของ SET เริ่มน่าสนใจ หลังที่ร่วงแรงกว่า 87 จุด ในเดือนที่ผ่านมา

บล.ไอร่า มองดัชนีหุ้นไทยเดือน พ.ย. แกว่งตัวในกรอบ 1,590 – 1,770 จุด 

 

บล.ไอร่า ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนพ.ย. เป็นขาขึ้น ให้กรอบ 1,590 – 1,770 จุด จากแนวโน้มข้อพิพาทสหรัฐ-จีนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น แม้ความไม่นอนการการเจรจานอกรอบ G20 ในช่วงปลายเดือนพ.ย.จะกดดันอยู่บ้าง แต่ปัจจัยในประเทศการเริ่งประมูลโครงการรถไฟฯ เชื่อม 3 สนามบิน แนะกลยุทธ์ลงทุนหุ้นอานิสงส์โครงการ EEC หุ้ชู ITD-CK-STEC-UNIQ-AMATA-WHA - BBL - KTB

 

นางจิตรลดา เลขาพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) หรือ AS กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีแนวโน้มขาขึ้น โดยให้กรอบดัชนีไว้ที่ระดับ 1,590-1,770 จุด หากสามารถผ่านแนวต้านแรกที่ระดับ 1,702 จุดได้ จากประเด็นบวกจากต่างประเทศ อาทิ สถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน คาดมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามคาดยังคงมีความไม่แน่นอนหากการเจรจานอกรอบในการประชุม G20 ระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ ไม่สามารถต่อรอง ตกลงกันได้ คาดว่าปัจจัยลบดังกล่าวจะกลับมากดดันภาพรวมตลาดอีกครั้ง และคาดว่ามีโอกาสที่สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้า วงเงินรอบใหม่ อีก 267,000 ล้านบาท

 

นอกจากนี้คาดยังได้รับปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ภายใต้ความกังวลปริมาณผลิตน้ำมันจากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น รัสเซีย สหรัฐฯ และกลุ่มโอเปก ที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ผ่านมา

 

ส่วนประเด็นในประเทศจับตาการขายทำกำไร หลังประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2561 แล้วเสร็จในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง โดยยอดขายรวมสูงกว่า 274,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดได้รับการชดเชยเข้ามาบ้างจากเม็ดเงิน LTF คาดทยอยเข้ามามูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท ในไตรมาสา 4/2561 และการยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฯ เชื่อม 3 สนามบิน วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 คาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

 

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล. ไอร่า (AS) กล่าวเพิ่มว่า นอกจากนี้ยังคงต้องจับตาการประชุม กนง. ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 หลังมติล่าสุดเสียงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มจาก 1 เสียง เป็น 2 เสียงส่วนเศรษฐกิจในประเทศคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ฟื้นตัวจากช่วง High Season ของทุกๆ ปี

 

ส่วนสถานการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เองก็มีท่าทีที่จะเร่งพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อ และ Bond Yield สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฟดจะมีการประชุมในช่วงที่เหลือของปีนี้อีก 2 ครั้งคือ วันที่ 7 – 8 พ.ย. และ 18 – 19 ธ.ค. นี้ และมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่ออิหร่าน ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา อาจส่งผลต่อการขึ้น-ลงของราคาน้ำมัน

 

ดังนั้นจังแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC ได้แก่ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านบาท กำหนดยื่นซอง 12 พฤศจิกายน นี้ เช่น ITD, CK, STEC และ UNIQ เป็นต้น รวมทั้วหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ที่ได้ประโยชน์ภายใต้ความคืบหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ EEC คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนจากต่างชาติ และคาดความต้องการที่ดินในนิคมฯ มีแนวโน้มดีขึ้น หุ้นที่น่าสนใจ เช่น AMATA และ WHA เป็นต้น

 

นอกจากนี้หุ้นกลุ่มธนาคาร ก็ได้ประโยชน์จากการปล่อยสินเชื่อ และภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อ Net Interest Margin ปรับเพิ่มขึ้น หุ้นที่น่าสนใจ เช่น BBL และ KTB ซึ่งสินเชื่ออิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สัดส่วนสูงถึง 88% และ 85% ตามลำดับ รวมไปถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มกลับมาเติบโตต่อเนื่องในปี 2562 ได้แก่ BBL, CHG, DTAC, PTTEP, SCC และ SUN เป็นต้น

 

--------------------------------------------

 

 

 

 

บล. แอพเพิล เวลธ์ แจกดาวเด่น AMATA, CPF, GULF, SAWAD,STA, STEC

 

แอพเพิล เวลธ์ มอง ดัชนีพ.ย.แกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,710 จุด หลังสงครามการค้าสหรัฐ – จีน ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดัน แนะเกาะติดโค้งสุดท้ายปีหากดัชนีหลุด 1,600 จุดอีกครั้ง แนวโน้มตลาดเป็นขาลง ขณะที่เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ Fund Flowยังคงไหลออกต่อเนื่อง ลุ้นผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3/61 แจ่ม แนะเก็งกําไรสั้นในหุ้นเด่น AMATA, CPF, GULF, SAWAD,STA, STEC

 

นายอภิชัย เรามานะชัย รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ แอพเพิล เวลธ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ย.นี้ ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,710 จุด โดยมีแนวรับสําคัญที่บริเวณ 1,600 จุด ส่วนแนวต้านที่ 1,680 – 1,710 จุดหลังจากหุ้นไทยในช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงจากปัจจัยลบความเสี่ยงสงครามการค้าสหรัฐ – จีน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้กระแสเงินทุนต่างชาติ ยังไหลออกจากตลาดหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2562 ชะลอตัวลง " เดือน ต.ค. ที่ผ่านมาหุ้นไทยถูกกดดันหลังจากไอเอ็มเอฟ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงสู่ระดับ 3.70% ขณะที่การส่งออกไทย ก.ย. ที่ผ่านลดลง 5.20% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

 

เนื่องจากเริ่มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และคาดว่าในเดือน พ.ย.นี้ หุ้นไทยยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,710 จุด" นายอภิชัยกล่าว

 


สำหรับประเด็นสําคัญที่ต้องติดตามใน เดือน พ.ย.นี้ คือ ผลการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐในวันที่ 6 พ.ย. และการเจรจาการค้าสหรัฐ – จีน ในการประชุม G-20 วันที่ 30 พ.ย. ขณะที่แรงหนุนตลาดหุ้นไทยจะมาจากผลประกอบการไตรมาส 3/61 ของบริษัทจดทะเบียนไทยที่คาดออกมาดีเบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัว 6%เมื่อเทียบกับงวดไตรมาส 2/2561และเพิ่มขึ้น 30%จากงวดเดียวกันปีก่อน กลยุทธ์การลงทุน แนะนำซื้อเก็งกําไรระยะสั้นในกรอบแนวรับ แนวต้านดังกล่าวในข้างต้น ในหุ้นที่มีสัญญาณบวกเชิงเทคนิค เช่น AMATA, CPF, GULF, SAWAD,STA, STEC

 

--------------------------------------------

 

 

 

บล.ทรีนีตี้ ประเมินหุ้นไทยเดือนพ.ย .แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,600-1,700 จุด

 

ทรีนีตี้ ประเมินหุ้นไทยเดือน พ.ย. แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,600-1,700 จุด มีปัจจัยหนุนจากทิศทางราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวดีขึ้นส่งผลดีต่อกลุ่มพลังงานและหวังผลเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯน่าจะช่วยให้ความตรึงเครียดสงครามการค้าลดลง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศที่ต้องติดตาม แนะกลยุทธ์เลือกหุ้นใหญ่ใน SET50 ที่คาดว่าจะปรับขึ้นได้ดีกว่าตลาด หลังราคาปรับฐานลงมามาก ไม่สอดคล้องกับประมาณการกำไรที่แข็งแกร่ง

 

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ประเมิน SET Index เดือนพฤศจิกายนแกว่งตัว Sideways โดยมีกรอบแนวรับที่ 1,600 จุด ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่าค่าเฉลี่ย Earning yield gap ส่วนกรอบแนวต้านจิตวิทยาประเมินที่ 1,700 จุด
สำหรับปัจจัยบวกที่อาจจะเป็นแรงสนับสนุนดัชนีหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายน ประกอบด้วย 2 ปัจจัยที่สำคัญได้แก่

1. คาดราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับตัว Sideways ถึง Sideways up ภายหลังจากสหรัฐฯเตรียมบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านเป็นรอบที่ 2 ในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันจากอิหร่านปรับลดลงอีก และทำให้ปริมาณอุปทานในตลาดโลกยังไม่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลบวกต่อกลุ่มพลังงานในตลาดหุ้นไทย


2.ประเมินผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯจะนำมาสู่บทสรุปที่ดี หากพรรคเดโมแครตสามารถกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาล่างได้ตามที่ผลโพลล์ประเมินไว้ เนื่องจากจะเป็นการถ่วงดุลอำนาจประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนทำให้จุดยืนที่แข็งกร้าวต่อการดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น สงครามการค้า มีโอกาสที่จะอ่อนโยนลงได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คาดว่าเงินดอลลาร์จะเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลง ส่งผลบวกต่อสกุลเงินของประเทศเกิดใหม่

 


ทั้งนี้จากการศึกษาของทรีนีตี้ในอดีตพบว่า เมื่อใดก็ตามที่การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเสียงข้างมากในสภาล่าง โดยที่อีกพรรคหนึ่งยังคงครองเสียงข้างมากในสภาสูงเช่นเดิม ตลาดหุ้นโลกมักปรับตัวเป็นบวกได้หลังจากนั้น
นายณัฐชาต ยังกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามใกล้ชิด ในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่


1.พัฒนาการของร่างกฎหมายงบประมาณอิตาลี ซึ่งล่าสุดได้ถูกตีกลับจากคณะกรรมาธิการยุโรปให้ไปแก้ไขใหม่ หากกระบวนการต่างๆยังคงมีความล่าช้า คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโรต่อไป ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้


2.ตัวเลขภาคการผลิตทั่วโลกที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นจากสงครามการค้า โดยจากการศึกษาสถิติข้อมูลของทรีนีตี้ในอดีตพบว่า ตราบใดก็ตามที่ตัวเลขภาคการผลิตทั่วโลกนี้ยังไม่ปรับขึ้น โอกาสที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่จะปรับตัวขึ้นแบบยั่งยืนก็ยังเป็นเรื่องที่ยากเช่นเดียวกัน
สำหรับปัจจัยที่อาจเป็นได้ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ นั่นก็คือการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) สหรัฐฯ โดยหาก Bond yield ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้ Upside ของตลาดหุ้นยังไม่เปิดกว้างมากนัก เนื่องจากพอดัชนีขึ้นไปถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะมีแรงขายปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างชาติออกมา ในทางกลับกัน หาก Bond yield ปรับลดลงมา จะเป็นผลบวกต่อหุ้น เนื่องจากทำให้หุ้นมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ

 


นายณัฐชาต ยังได้แนะนำกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจลงทุนในเดือนพฤศจิกายนอยู่ 4 กลุ่ม ที่คาดว่าจะปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาด ได้แก่

1) กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่ได้อานิสงส์หากราคาน้ำมันมีการปรับตัวขึ้นจริง เช่น PTT, PTTEP, PTTGC

2) หุ้นที่อยู่ในชุดหุ้นดีดกลับที่ทรีนีตี้คัดเลือก (Top Dog) และมีสัดส่วนการถือครองของนักลงทุนสถาบันในระดับหนึ่ง เช่น BEAUTY, GLOBAL, GPSC

3) กลุ่มหุ้นที่อาจมีแรงเก็งกำไรต่อการถูกคัดเลือกเข้าสู่ดัชนี MSCI ในรอบถัดไป เช่น GULF, MTC 

4) กลุ่มหุ้นที่อาจมีแรงเก็งกำไรต่อการถูกคัดเลือกเข้าสู่ดัชนี SET50 ในรอบถัดไป เช่น GULF, WHA

 

--------------------------------------------

 

 

 

กูรูกรุงศรี TOP Pick เดือน พ.ย. : ANAN, CENTEL, EPG, KTB และ STA

 

บล.กรุงศรีออกบทวิเเคราะห์เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นเดือน พ.ย. 2018 : คาดฟื้นตัวทดสอบระดับ 1,700-1,730 เดือน พ.ย. คาด SET มีโอกาสฟื้นตัวทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,700 -1,730 จุต จาก

1)เกิต Technical rebound หลังจากที่ SET ร่วงแรงกว่า 596 ในเดือนที่ผ่านมา,

2) valuation ของ SET ลดลงสู่ระดับที่น่าสนใจ โดย SET Index ที่ระดับ 1,669 จุต คิดเป็น Forward PE ปี 2018 ที่ 15 เท่า ไม่ถูกไม่แพง เพราะเท่ากับค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง,

3) เก็งกําไรผลประกอบการ 3Q18 ก่อน ประกาศงบวันสุดท้ายในวันที่ 15 พ.ย.

4)คาดหวังภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิการ ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ และ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ซตเขยตัวเลขส่งออกที่หดตัว,

5) ได้ แรงหนุนจากเงินลงทุนของกองทุน LTF ในช่วงปลายปี

6) คาดหวังรัฐบาลประกาศปลดล็อก พรรคการเมืองและกําหนดวันเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามคาตการฟื้นตัวของตัชนีจะเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากภาพใหญ่ยังถูกกดดันจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และความไม่แน่นอน ทางการเมืองของสหรัฐซึ่งจะมีการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงวันที่ 6 พ.ย. กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้น ที่ผลประกอบการ 3Q18 ดีและดีต่อเนื่องในปี 2019, หุ้นที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยนแต่ราคาลตลงแรงจน valuation เริ่มน่าสนใจ และ เก็งกําไรหุ้นที่คาดว่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจาก ภาครัฐ อาทิ ท่องเที่ยว, รับเหมา และ นิคมฯ โดยมีหุ้น Top pick คือ ANAN, CENTEL, EPG, KTB, และ STA1 Valuation ของ SET Index ลดลงสู่ระดับที่น่าสนใจ

 

SET Index ที่ร่วงแรงกว่า 87 จุด หรือลดลง -49796 ในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของ SET ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจโดย SET Index ที่ระดับ 1,669 จุด คิดเป็น Forward PE ปี 2018 ที่ 15.1 เท่า ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังซึ่ง SET Index ซื้อขาย บน P/E เฉลี่ยที่ 15 เท่า(ไม่ถูกและไม่แพง) ขณะที่ Dividend ield ของตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 3.16% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 3.096 และ เมื่อเทียบผลตอบแทนระหว่างการลงทุนในพันธบัตร รัฐบาลและผลตอบแทนในตลาดหุ้น (Earning yield Gap) จะเห็นส่วนต่างสูงขึ้นเป็น 3.356 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่ 2.79% บ่งชี้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้น ณ ปัจจุบันมีโอกาสที่จะได้รับ ผลตอบแทนสูงขึ้นและคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่มีอยู่

 


ปัจจัยที่ต้องติดตาม 14 พ.ย.สหรัฐคว่ําบาตรอิหร่านรอบใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 พ.ย.18 6 พ.ย. สหรัฐเลือกตั้งกลางเทรอม (Midterm election) ไทย ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) - 7-8 พ.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟต (Fed meeting) 20 พ.ย.ไทยประกาศ GDP ไตรมาส 3/18 22 พ.ย. ไทยรายงานยอดส่งออกนําเข้า เดือน ต.ศ. 28 พ.ย.สหรัฐประกาศ GDP ไตรมาส 3/18 (ครั้งที่ 2)

 


กลยุทธ์การลงทุนเดือน พ.ย. Selective buy : กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้นที่ผลประกอบการ 3Q18 ดีและตีต่อเนื่องในปี 2019, หุ้นที่ราคาลตลงแรงแต่ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ เปลี่ยน ทําให้ Valuation เริ่มน่าสนใจ ขณะที่ราคามี Upside มากขึ้น และ เก็งกําไรหุ้นที่คาด ว่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ อาทิ ท่องเที่ยว, รับเหมา และ นิคม ๆ โดยมีหุ้น Top pick เดือน พ.ย. คือ ANAN, CENTEL, EPG, KTB, และ STA



เดือน พ.ย. เราปรับหุ้นที่เคยแนะนําใน เดือน ต.ค. คือ IHL, ROBINS, SM, TKN และ VIBHA ออกจากพอร์ตเนื่องจากบางบริษัทได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและได้รับผลลบจากกลุ่ม ลูกค้าจีนที่ชะลอตัว โดยเดือนนี้เราจะมีหุ้นในพอร์ตซุตโหม่ประกอบด้วย ANAN, CENTEL, EPG, KTB และ STA โดย STA เป็นหุ้นที่แนวโน้มของผลกําไรใน 3Q18 จะออกมาดีและยังดี ต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า ANAN EPG เป็นหุ้นที่ราคาลดลงแรงในช่วงที่ผ่านมาแต่ ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลง CENTEL KTB เป็นหุ้นที่คาดว่าจะได้ผลบวกจากการออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดย CENTEL ได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นการ ท่องเที่ยว ส่วน KTB ได้ผลบวกจากการเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และทิศทางตอกเบี้ยเป็น ขาขึ้น

 

--------------------------------------------

 

 

 

FETCO  คาดดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ม.ค.62) ลดลงอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” 

 

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนกังวลผลกระทบนโยบายทางการค้าและนโยบายทางการเงินของสหรัฐ ขณะที่มองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนและภาวะเศรษฐกิจในประเทศหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน”

 


ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้


ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มกราคม 2562) ลดลงอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (Neutral) (ช่วงค่าดัชนี 120 - 160) โดยลดลง 7.23% อยู่ที่ระดับ 113.73
ดัชนีกลุ่มนักลงทุนรายบุคคลปรับตัวลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน มาอยู่ที่ Zone ทรงตัว
ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยยังคงอยู่ที่ Zone ร้อนแรง (Bullish)
ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)
หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG)
หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA)
ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ

 


“ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เดือนตุลาคม มีทิศทางปรับตัวลดลงตามการปรับตัวลดลงของดัชนีดาวน์โจนส์ที่มีการปรับฐานลดลงประมาณ 10% ขณะที่นักลงทุนกังวลผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ และ Bond Yield 10 ปี ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 3% รวมถึงการติดตามท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐต่อนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ โดยดัชนีฯลดลงต่ำสุดที่ 1596 จุด ก่อนฟื้นตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวบริเวณ 1640-1660 จุดในช่วงปลายเดือน

 

ผลสำรวจชี้ว่าทิศทางการลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และความเชื่อมั่นการเติบโตเศรษฐกิจของไทยที่สศค.คาดการณ์ว่า GDP Growth ยังคงอยู่ที่ระดับ 4.5% แม้ว่าตัวเลขการส่งออกเดือนกันยายนจะปรับตัวลดลง 5.2% เป็นเดือนแรกก็ตาม โดยนักลงทุนยังคงติดตามความคืบหน้าการเจรจานโยบายทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเป็นปัจจัยความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนติดตาม

 

นอกจากนี้ ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ ภาวะเศรษฐกิจของจีนที่ทยอยออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ นโยบายลดภาษีบุคคลธรรมดา การออกมาตรการกองทุนพยุงหุ้นของสมาคมหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องของจีน ภาวะเศรษฐกิจของยุโรปโดยเฉพาะกรณีคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ประกาศไม่เห็นชอบร่างงบประมาณของรัฐบาลอิตาลี ราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวลดลงแม้ว่ามาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ ซึ่งจะจำกัดการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านเข้าสู่ตลาดน้ำมันดิบโลกก็ตาม”

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้