ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Market Reaction และวงจรจิตวิทยาตลาด
Key Takeaways:
ตลาดหุ้นโลกกำลังอยู่ในวงจร Complacency โดยนักลงทุนละเลยความเสี่ยงและคาดว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จาก การที่ตลาดหุ้นทั้งกลุ่มนำและกลุ่มตาม (laggard) ปรับตัวขึ้นพร้อมกัน สะท้อนอารมณ์ Complacency ชัดเจน
สภาวะนี้คาดว่าจะดำเนินต่อไปอีกประมาณ 1-2 เดือน จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูประกาศงบใหม่หรือ Greed & Fear Index เข้าสู่โซน Extreme Greed
คาดว่าอารมณ์ตลาดจะเปลี่ยนจาก rate cut euphoria เป็น recession fear ในอีก 2 เดือนข้างหน้า เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทออกมาแย่กว่าคาด
รายละเอียด:
ดูเหมือนว่าจิตวิทยาตลาดหุ้นโลกจะกำลังอยู่ในวงจร Complacency กล่าวคือ สถานการณ์ที่นักลงทุนมีความรู้สึกเพิกเฉยหรือประมาทต่อความเสี่ยงในตลาด โดยมีลักษณะสำคัญคือ นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมักนำไปสู่การละเลยสัญญาณเตือนหรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยพื้นฐาน
เราคาดว่าวงจรจิตวิทยาตลาดลักษณะนี้จะดำเนินต่อไปอีกราว 1-2 เดือน จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูการประกาศงบรอบใหม่ในกลางเดือน ต.ค. หรือจนกว่าดัชนี Greed & Fear Index จะเข้าสู่โซน Extreme Greed ที่มักมาพร้อมกับภาวะซื้อมากเกินไป โดยปัจจุบันดัชนีความโลภและความกลัวของสหรัฐและไทยอยู่ในโซน Greed ที่ระดับ 66 และ 62 จุดตามลำดับ
นอกจาก Greed & Fear Index แล้ว การพิจารณารีแอคชั่นทางด้านราคาก็ให้ภาพไปในทางเดียวกัน พิจารณาได้จากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นโลกที่กระจายตัวไปในหลายดัชนี โดยทั้งตลาดหุ้นกลุ่มนำเดิมอย่างสหรัฐ และตลาด laggard อย่าง EM ต่างปรับตัวขึ้นด้วยกันทั้งคู่ ไม่ได้เกิดภาพ Decoupling หรือ Rotation จากกลุ่มนำมาหากลุ่มตามแต่อย่างใด สะท้อนอารมณ์ตลาด Complacency ชัดขึ้นไปอีก
กลุ่มตลาดและหุ้นที่เป็น laggard หรือ catch-up trade จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนไปอีกราว 1-2 เดือน แต่หลังจากนั้นอารมณ์ตลาดจะค่อยๆชิฟต์จาก rate cut euphoria ไปสู่ recession fear ในช่วงเวลาที่ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาดบ่อยขึ้น รวมถึงผลประกอบการไตรมาสถัดไปที่คาดว่าจะมีสัดส่วน earnings beat to miss ที่ลดลง ดังนั้นเมื่อเข้าสู่เดือน พ.ย. ที่จะมีทั้งตัวเลขเศรษฐกิจเดือนแรกของไตรมาส 4 รายงาน รวมทั้งการเป็นช่วงแอคทีฟของฤดูประกาศงบ ก็น่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั้งในกลุ่ม leader และ laggard มีแรงขายคล้ายคลึงกัน และอาจรุนแรงกว่าช่วงครึ่งแรกของเดือน ส.ค. เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 4 มีแนวโน้มแย่กว่าคาดมากกว่าช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา พิจารณาได้จาก Recession-Tracking Indicator ที่เราได้รายงานไปในวันก่อน
นอกจากนี้ เรายังประเมินว่าโอกาสที่ตลาดหุ้นกลุ่ม EM จะ decouple ออกจากวงจรการปรับฐานของ DM ในช่วงเวลาข้างต้นนั้นมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากหลายๆประเทศพึ่งพาการส่งออกสูง จึงทำให้มักได้รับผลกระทบในวัฏจักรเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นอกจากนี้การบริโภคของหลายๆประเทศก็มีความเปราะบาง จาก ภาระหนี้สินระดับสูง รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างอีกหลายๆเรื่องที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข
สรุป ตลาดหุ้นโลกทั้ง DM และ EM มีโอกาสแรลลี่ต่อไปอีกราว 1 เดือน แต่ราวกลางไตรมาส 4 จะเป็น turning point ที่ต้องระมัดระวังจากปัจจัยเซอร์ไพร้ส์ เชิงลบ (negative surprises) เข้ามากระทบตลาด
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET บวกแรงทะลุต้าน 1450 โดยใส้ในพบว่าได้ DELTA ช่วยดันไป 4.5 จุด (จาก +19 จุด) ผสมแรงกับ GULF ADVANC INTUCH TRUE ร่วมกับ CPN CPALL SCGP OR IVL ถือได้ว่าหุ้นใหญ่บลูชิปมากันเกือบยกแผง ยกเว้นกลุ่มแบงค์ที่มีแรงขายออกมาทั้ง SCB KTB TTB BAY ขณะที่หุ้นขายแรงกว่าตลาด เช่น COCOCO (กังวลค่าเงิน) EA – BYD YGG เป็นต้น ในอีกด้านก็พบหุ้นบวกแรงกลุ่มคืนชีพเพิ่มเติม เช่น NCL ECF KOOL UREKA (เหตุการณ์เดจาวู เหมือนช่วงตลาด Bullish รอบก่อน)
แนวโน้มตลาดวันนี้
#แบนใครก็แบนไป แต่แบน SET ไม่ลงแน่
“คงมุมมองตามที่เราคาดว่าหุ้นไทยสัปดาห์นี้ มีโอกาสเล่นเหนือแนวรับ 1,410 จุด ขึ้นไปทดสอบ แนวต้าน 1,450 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการทำลายแนวโน้ม “Down trend” และกรอบ “Sideways” ลูกใหญ่ที่ติดมานานร่วมปี อย่างไร ก็ตาม อาจจะมีช่วงที่ตลาดหุ้นไทยพักบ้างระหว่างสัปดาห์ แต่เราคาดว่ายังไม่มีข่าวลบที่จะมีนัยยะพอ กดหุ้นไทยให้ลงไปเล่นด้านล่างแบบช่วงก่อนหน้านี้”
ในส่วนของเฟดที่ลดดอกเบี้ย 0.5% รอบนี้ น่าจะเป็นไปตามผลโพลส่วนใหญ่ เกินครึ่งในตลาด (เหนือกว่าที่เราคาด) และ Dot plot คาดปีลงอีก 0.5% ปีหน้าลงอีก 1% ส่งผลดอกเบี้ยเฟดปีหน้าจะเหลือ 3.25-3.5%
สำหรับราคาหุ้นไทย เช่น สินเชื่อจำนำฯ, หุ้นเล่นตรงข้ามดอกเบี้ย โดยเฉพาะเมื่อวาน ล้วนบวกดีกว่าตลาด และหลายคนเริ่มมองว่าดอกเบี้ยบ้านเราก็จะปรับลงตามเฟดในไม่ช้า แต่เรากลับไม่ห่วงว่าจะลบต่อกลุ่มธนาคาร ขณะที่ราคาหุ้นแบงก์ที่ร่วงหล่นเป็นโอกาสในการช้อนซื้อเล่นรอบ เพราะเราเห็นว่าอีกสักพักตลาดจะกลับมาพูดถึงการปรับเพิ่มเครดิตประเทศไทย และส่งผลดีต่อต้นทุนกลุ่มธนาคาร
ดังนั้นเราเดินหน้าเล่นหุ้นไทยต่อ โดยวันนี้ยังคงแนะเลือกย้ำหุ้นเดิมที่แนะนำเล่นไปก่อนหน้า...
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET week ทะลุโซนต้านบริเวณ 1435 จุด…..สำเร็จ! ใส่เกียร์เดินหน้าเพื่อขึ้นสู่เป้าฯถัดไปที่ 1,480 จุด (Fibo 50%) จับตาโมเมนตัม RSI (week) level 68 เข้าใกล้เขตแดน overbought…อาจส่งผลให้ดัชนีมีความผันผวนมากขึ้น (ไม่ใช่สัญญาณขาย) ส่วนแผนเทรดระยะกลาง & ยาว แนะถือหุ้นต่อ กรณีย่อปรับฐานจะเป็นโอกาสในการซื้อสะสมเพิ่ม มองโซนรับดัชนีบริเวณ 1430 จุด (EMA 10 วัน) สำหรับสายเก็งกำไร เล่นรอบ แนะ switching ขายหุ้นขึ้นแรง แล้วหมุดมาสู่หุ้นแถวสอง ซึ่งราคายังไม่ขึ้นมากนัก (Laggard play) เช่น LH (ถูกทางแนะซื้อเพิ่ม) BE8 และ BJC (ติดตามแผนเทรดด้านล่าง)
Note: เพิ่มเติมมุมมองกราฟราคาน้ำตาล & Foreign ซื้อดุดัน! ติดตามในบทวิเคราะห์ World Asset Class เช้านี้ครับ (อ่านต่อหน้า 11)
What to watch
"CNBC Fed Survey" เมื่อ 17 ก.ย. เผยโพล ผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ประกอบด้วยนักกลยุทธ์ด้านการลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ และผู้จัดการกองทุนจำนวน 27 ราย โดยการสำรวจจัดทำขึ้นในระหว่างวันที่ 12-14 ก.ย. เพียงไม่กี่วันหลังจากการประชันวิสัยทัศน์ครั้งแรกและอาจจะเป็นครั้งเดียวระหว่างแฮร์ริสและทรัมป์
ผลสำรวจบ่งชี้ว่า 48% ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่า แฮร์ริสมีโอกาสมากที่สุดที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ขณะที่ 41% เชื่อว่าทรัมป์จะได้รับชัยชนะ
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของแฮร์ริสนั้น มุ่งเน้นไปที่การขยายกลุ่มชนชั้นกลาง และปรับลดต้นทุนการอุปโภคบริโภค ซึ่งรวมถึงการให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ซื้อบ้าน และขยายระยะเวลาการให้เครดิตภาษีและการปรับลดภาษี
ขณะที่ทรัมป์มุ่งเน้นไปที่การขยายระยะเวลาการปรับลดภาษีที่เขาริเริ่มไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก รวมทั้งการใช้นโยบายเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภท และยกเลิกการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานบางส่วนที่ริเริ่มโดยคณะบริหารของประธานาธิบดีไบเดน
ทั้งนี้ ผลสำรวจระบุว่า 56% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์จะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นมากกว่าแฮร์ริส
เฟด มีมติ 11 ต่อ 1 ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันนี้ ตามการคาดการณ์ของตลาด (หากไม่นับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งสุดท้ายที่เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% เกิดขึ้นในปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลก)
ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 1.00% ในปี 2568 และลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในปี 2569
โดยรวมแล้ว Dot Plot บ่งชี้ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 2.00% หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้
คาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ: เฟดคาดการณ์การขยายตัวในปี 2567, 2568, 2569 และ 2570 อยู่ที่ระดับ 2.0% ทุกปี หลังจากคาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ว่าจะมีการขยายตัว 2.1%, 2.0% และ 2.0% ในปี 2567, 2568 และ 2569 ตามลำดับ ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวยังคงอยู่ที่ระดับ 1.8%
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
FTSE Rebalance: FTSE All World หุ้นออก BLA, และกลุ่มขยับจาก Large-Cap ไปเป็น Mid-Cap ได้แก่ OR MINT PTTGC EA CRC สำหรับกลุ่ม Small-Cap หุ้นเข้า BLA CPNREIT และหุ้นออก ITD NER ORI TPIPL (คาดมีผล 20 ก.ย.นี้)
แบงก์ชาติอินโดนีเซียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6% ในการประชุมวันนี้ (18 ก.ย.) ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี เหนือความคาดหมายของตลาด
ติดตามการบริหารจัดการน้ำ ว่าจะรับมือกับพายุลูกที่ 2 ได้ดีแค่ไหน เพราะตอนปี 54 ที่น้ำท่วมใหญ่ ไทยเจอมรสุมพายุเข้าไป 5 ลูกจึงเกิดน้ำท่วมใหญ่ สุดสัปดาห์นี้พายุซูริก เข้าไทย นับเป็นลูก 2 ในฤดูนี้
รมว.คลังลุ้นไทยไต่อันดับความน่าเชื่อถือเป็น A- นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยถึงอันดับความน่าเชื่อถือไทย (Credit Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ ว่า เชื่อว่าอันดับความน่าเชื่อถือไทย สามารถปรับดีกว่านี้ได้ โดยปัจจุบัน ภาระการชำระดอกเบี้ยของรัฐบาลไทย อยู่ที่เพียง 9% ของรายได้ของรัฐบาล ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำหนดไว้ที่กรอบ 12% ดังนั้นตนคิดอันดับความน่าเชื่อถือไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งส่วนตัวคิดว่าควรจะอยู่ที่ A-
หุ้นแนะนำวันนี้
OR โออาร์ ร่วมกับ AIS และ ธ.กรุงไทย ยื่นขอใบอนุญาตแบงก์ชาติ ทำ Virtual Banking แล้ว (S 17 R 18 SL 16.7)
Tactical port ถอด AAV JMART เพิ่ม SCGP OR
รายงานพื้นฐานวันนี้
Chemical Sector
อุปสงค์ฟื้นตัวช้า และเข้าสู่ Low season
แม้ว่าอุปสงค์ของกลุ่มเคมีภัณฑ์จะฟื้นตัวมาตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) แต่พบว่าอัตราการฟื้นตัวชะลอตัวลง และปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่ Low Season กลุ่มปิโตรเครมี ในไตรมาส 4 (ปกติจะ Peak ช่วง ก.ย.-ต.ค. แล้วลดลงหลังจากนั้น) อย่างไรก็ตาม เรามองว่า Spread ของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ใน 4Q24 จะเพิ่มขึ้น YoY ขณะที่ด้าน QoQ กลุ่ม olefins และ aromatics คาดทรงตัว QoQ แต่กลุ่ม PET ลดลง QoQ
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่กำลังก่อตัวขึ้น ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด เพราะจะมีผลต่ออุปสงค์ตรง โดย Correlation ระหว่าง GDP โลก/จีน กับ Spread เป็นทิศทางบวกอย่างชัดเจน โดยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเหล่านี้ จะเกิดขึ้นช่วง 4Q24 เป็นต้นไป
Fundamental View: เรายังคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” และให้ PTTGC เป็นหุ้นแนะนำของกลุ่ม
AMC Sector
ต้องล็อคกำไรไว้บ้าง
ตั้งแต่ 9 ส.ค. หลังจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากว่า 90% สำหรับ JMT และ 61% สำหรับ BAM เรามองเป็นโอกาสล็อคกำไรสำหรับนักลงทุนสายเก็งกำไรขึ้นมา เพราะเราประเมินว่าธุรกิจบริหารสินทรัพย์ แม้จะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่การยังฟื้นตัวค่อนข้างช้าอยู่ เนื่องจากต้องรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่เป็นจุดเปลี่ยน
ซึ่งเรามองว่าจุดกลับตัวของอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ คือ เศรษฐกิจต้องฟื้นตัวดีขึ้นในวงกว้างและฟื้นตัวดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะหนุนให้ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น นอกจากนี้ ก็จะทำให้ธนาคารกล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย หนุนธุรกิจบริหารหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันฟื้นตัว
Fundamental View: เรายังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Asset management เท่ากับ Underweight และมีการขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2025 และยังแนะนำ ขาย ทั้ง BAM และ JMT
โดยในกลุ่ม Finance เราชอบทาง MTC มากกว่า จากทิศทางคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวต่อเนื่อง
MGC
มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย)
ฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง
อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวและความระมัดระวังในการให้สินเชื่อกดดันภาพ MGC ในช่วง 1H24 โดยผลประกอบการใน 1Q24 ขาดทุนก่อนจะพลิกเป็นกำไรได้ใน 2Q24 เราคาดจะเห็นการฟื้นตัวใน 3Q24 ต่อเนื่องจากยอด Backlog ที่แข็งแกร่ง และเติบโตแรงใน 4Q24 หนุนโดยการส่งมอบรถไฟฟ้าทั้ง Zeekr และ Xpeng ซึ่ง ครึ่งปีมียอดส่งมอบรวมกันราว 800 คัน จะทยอยส่งในเดือน ก.ย.
สำหรับภาพปี 2025 เราคาดธุรกิจหลักจะเห็นการฟื้นตัวตามภาพเศรษฐกิจ ในขณะที่ผลการดำเนินงานของ Neo Mobility (Asia) จะเข้ามาเต็มปี (ปีหน้า XPeng X9 น่าจะเข้ามา) และการพลิกกลับมาทำกำไรของ AlphaX ในภาพระยะยาว การเซ็น MOU กับ City Auto Corp ในเวียดนามน่าจะมีโอกาสเข้ามาหนุน เนื่องจากตลาดในเวียดนามยังมีโอกาสโตอีกมาก
Fundamental View: โดยภาพรวม เราเริ่มเห็น Downside จำกัดลงบ้างแล้ว
Quant Portfolio
อัพเดทพอร์ตการลงทุน
พอร์ตการลงทุนของเราให้ผลตอบแทน 0.2% นับจากวันที่เราออกบทวิเคราะห์ฉบับล่าสุดในวันที่ 17 ก.ย. ซึ่งต่ำกว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยซึ่งอยู่ที่ 0.8% ในบทวิเคราะห์ฉบับนี้เรามีการปรับหุ้นในพอร์ตการลงทุน โดยถอดหุ้น COCOCO ออกจากพอร์ตการลงทุน เพิ่ม ERW เข้ามาในพอร์ตการลงทุน และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น BDMS STA และ STGT
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน