ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ อัปเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
Key Takeaways:
ยอดขายสุทธิในตลาดหุ้น 5 ประเทศเอเชียอยู่ที่ 1,537 ล้านเหรียญ โดยเกาหลีใต้และไต้หวันมี net outflow ขณะที่ตลาด TIP (ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) มี net inflow
เซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจาก Volume Index ในสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ Technology (อินโดนีเซีย), Bank (ไทย), Communication (เกาหลีใต้) และ Chemical (ไต้หวัน)
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาระยะสั้น คือ Commerce, Property, Petrochemical และ Transportation
อัปเดตกระแสเงินลงทุน:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา มียอดขายสุทธิ 1,537 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องจากยอดขายสุทธิ 4,775 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมี net outflow ในสองประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ 2,170 ล้านเหรียญ และไต้หวัน 1,020 ล้านเหรียญ ในขณะที่ตลาด TIP มี net inflow มูลค่า 1,654 ล้านเหรียญ โดยแบ่งเป็น ฟิลิปปินส์ 47 ล้านเหรียญ อินโดนีเซีย 1,325 ล้านเหรียญ และไทย 281 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index มีดังนี้ (1) Technology (อินโดนีเซีย) (2) Bank (ไทย) และ (3) Communication (เกาหลีใต้) และ (4) Chemical (ไต้หวัน)
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่
Tier 1: กลุ่มที่ Volume Index มีแนวโน้มฟื้นตัวจากระดับสูงกว่า mid-point ได้แก่ Commerce และ Property
Tier 2: กลุ่มที่ Volume Index มีโอกาสฟื้นตัวจากระดับต่ำกว่า mid-point ได้แก่ Petrochemical และ Transportation
ส่วนกลุ่มที่ให้ระมัดระวังกับแรงขายทำกำไรในระยะสั้น ได้แก่ ICT เนื่องจาก Volume Index ได้ปรับตัวเข้าสู่โซน overbought แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่กลุ่ม ICT ก็ยังมีจุดแข็งที่น่าสนใจ โดย Earnings Revision Breadth ของหุ้นกลุ่มนี้เป็นบวก และความผันผวนของกำไรมักจะน้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยบวกเหล่านี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าแรงขายในกลุ่ม ICT อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น
อัพเดต Market-timing Indicator (เฉพาะตลาดหุ้นไทย):
ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้น 5.9% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ฟื้นตัวขึ้น หลังจากมีข่าวดีในประเทศเข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อไปได้ในเดือน ก.ย. ถึง ต.ค. แม้ว่าอาจมีการปรับฐานบ้าง เนื่องจากดัชนี Composite Short-term เข้าสู่ระดับตึงตัว แต่การ pullback นี้คาดว่าจะไม่รุนแรง โดยมีสัญญาณสนับสนุนจาก ดัชนี Composite Medium-term Indicator ที่แข็งแกร่งโดยปรับตัวขึ้นเหนือระดับ Mid-point ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2023 หนุนโดยแนวโน้มที่ดีขึ้นขององค์ประกอบทั้งสาม ได้แก่ ดัชนี Medium-term Bull-to-Bear ดัชนี Medium-term Momentum Strength และดัชนี Volume Flow
นอกจากนี้ดัชนี Medium-term Market Breadth ยังส่งสัญญาณ Bullish Signal อีกด้วย โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับ 50% ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2024
จากภาพที่ดีของ Medium-term Market-timing Indicator ที่กล่าวมา จึงทำให้ดัชนี SET มีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบระดับใกล้ 1500 จุด ในเดือน ต.ค. นี้
สรุปภาพตลาดวานนี้
วานนี้ SET เขียวต่อ โดยพบการเล่นหุ้นที่กระจายตัวมากขึ้น โดยในกลุ่มหุ้นใหญ่เห็นการขยับตัวแรงของกลุ่มปิโตรเคมี IVL SCC PTTGC การเงิน MTC SAWAD KTC SCAP SGC TIDLOR การขยับของคอมเมิร์ช CPAXT CPALL ส่วนหุ้นบวกแรงๆ กลุ่มที่มีข่าวอย่าง EA พา BYD NEX ขึ้นมาด้วย และกลุ่มยางฯ STGT STA NER และหุ้นคืนชีพ เช่น YGG AS MONO SKY NRF NUSA SC SABUY SHR TTCL (การกระจายกลุ่มนี้ สะท้อนผ่าน Market Breadth ที่ดีขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ)
แนวโน้มตลาดวันนี้
แทงสูง (หมดหน้าตัก)
คงมุมมองตามที่เราคาดว่าหุ้นไทยสัปดาห์นี้ มีโอกาสเล่นเหนือแนวรับ 1,410 จุด ขึ้นไปทดสอบ แนวต้าน 1,450 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณยืนยันการทำลายแนวโน้ม “Down trend” และกรอบ “Sideways” ลูกใหญ่ที่ติดมานานร่วมปี อย่างไรก็ตาม อาจจะมีช่วงที่ตลาดหุ้นไทยพักบ้างระหว่างสัปดาห์ แต่เราคาดว่ายังไม่มีข่าวลบที่จะมีนัยยะพอ กดหุ้นไทยให้ลงไปเล่นด้านล่างแบบช่วงก่อนหน้านี้
ปัจจัยลบ เช่น FTSE rebalance คาดช่วงท้ายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะมีหุ้นไทยหลายตัวถูกลดชั้นลงไปเป็นกลุ่ม Small to Medium Cap. แต่เราก็เห็นแล้วว่า ตอนที่ MSCI ถอดหุ้นไทยออกหลายตัวตอนสิ้นเดือน ส.ค.ก็ไม่ได้ทำให้หุ้นไทยร่วงในเดือน ก.ย. เป็นต้น
ส่วนการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นโลก จากประเด็นลบเศรษฐกิจ (ข้อยกเว้นคือเกิดสงคราม) เราก็เห็นแล้วเช่นกันว่า กดหุ้นไทยไม่ลงเหมือนเมื่อก่อน สมมุติฐานหนึ่งที่เราให้น้ำหนักช่วยหนุนหุ้นไทย คือ หุ้นไทยที่ถูกต่างชาติเทขายมาอย่างยาวนาน (หุ้นไทย Under-owned) การเร่ง Cover Short หุ้นที่ยังไม่ปิดสถานะ ซึ่งการปิดงวดบัญชีรอบนี้ (Window dressing) คาดว่าจะมีการปิดสถานะ Short เพื่อทำกำไรออกมาเพิ่ม, การมีมาตรการที่ ตลท.ใช้เพื่อลดแรงจูงใจในการขายกดหุ้น...ที่เหลือเป็นประเด็นเพิ่มเติมที่ นลท.น่าจะพอรู้อยู่แล้ว เช่น กองทุนพยุงหุ้น, Earning Upward Revision, แจกเงินหมื่น ฯลฯ
ส่วนประเด็นอื่นๆที่ตลาด จับตา 1-2 วันนี้ เช่น เฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% หรือ 0.5% เรามองว่าการลด 0.5% นั้นเป็นยาแรงเกินไป และอาจส่งผลลัพธ์ตรงข้ามจากที่ทุกคนคิดว่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นโดยรวม แต่ถ้าลด 0.25% น่าจะเห็นหุ้นไทยถูก Buy on fact มากกว่าที่จะโดนขาย Sell on fact. ด้านข่าวบวกในประเทศ เช่น เริ่มเบิกจ่ายค่า K กลุ่มรับเหมา-ได้ถ้วนหน้า น่าจะกลบความกังวลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะหลายจังหวัดไม่ได้ขอขึ้น 400, เวรคืนรถไฟฟ้า, เดินหน้าประมูลโรงไฟฟ้า ฯลฯ คาดจะมีผลต่อราคาหุ้นไทยมากกว่าปัจจัยมหภาคต่างประเทศ
กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์แนะนำ
เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET week จ่อทะลุโซนต้านบริเวณ 1435 จุด (Fibo 38.2%) ซึ่งดัชนีเคยขึ้นทดสอบเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน หากผ่านได้จะขึ้นเป้าฯถัดไปที่ 50% บริเวณ 1,480 จุด ขณะที่โมเมนตัม RSI (week) level 65 ขึ้น แต่!ยังไม่เข้าเขต overbought…แนะ จับตา วอลุ่มตลาดปัจจุบันหนาแน่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 5 หมื่นล้านบาท....
สรุป: Fund flow ดันดัชนีไปต่อ!
Note: เพิ่มเติม update กราฟราคายาง โครงสร้าง “Ascending triangle” & US กำลังจะเริ่มซีรี่ย์.... ดอกเบี้ยขาลง! ติดตามในบทวิเคราะห์ world asset class เช้านี้ครับ
What to watch
พาณิชย์หารือผู้ว่าแบงก์ชาติ ประเด็น 1. บาทแข็งกระทบส่งออก 2. แนวทางลดดอกเบี้ย 3. มาตรการเติมสภาพคล่องให้ตลาดฯ
คลังเล็งออกกองทุน Infra fund 3 แสนล้านบาท สำหรับเวรคืนสัมปทานรถไฟฟ้าเพื่อกำหนดราคา 20 บาทตลอดสายตามนโยบาย
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 5.25% แต่ผลสำรวจ 61% คาดลด 0.50% ด้าน BOE คาดตรึงดอกเบี้ยในเดือนนี้ หลังทยอยลดไปก่อนหน้านี้
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
FTSE Rebalance: FTSE All World หุ้นออก BLA, และกลุ่มขยับจาก Large-Cap ไปเป็น Mid-Cap ได้แก่ OR MINT PTTGC EA CRC สำหรับกลุ่ม Small-Cap หุ้นเข้า BLA CPNREIT และหุ้นออก ITD NER ORI TPIPL (คาดมีผล 20 ก.ย.นี้)
ชง ครม. แจกเงินหมื่น กลุ่มปราะบาง 14.5 ล้านคน ทยอยโดนเงิน 25 ถึง 30 ก.ย.นี้
โกล์ดแมน แซค และซิตี้ กรุ๊ป ปรับลดคาดการณ์ GDP 67 จีน ลงเหลือ 4.7% และปีหน้า 68 ซิตี้คาดโตเหลือ 4.2% จาก 4.5%
หุ้นแนะนำวันนี้
CK กลุ่มรับเหมาจะได้ค่า K ชดเชยถ้วนหน้า ส่วนต้นทุนค่าแรงขึ้นเราเห็นว่าราคาหุ้นลงสะท้อนไปมากแล้ว และการขึ้นค่าแรงก็ไม่ได้ ขึ้นถ้วนหน้า
(S 20 R 21 SL 19.5)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Thai Market Strategy
ทอดสมอในช่วงคลื่นลมแรง
กลยุทธ์การลงทุนเชิงปัจจัยพื้นฐานรอบนี้สำหรับ 4Q24 แบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงต้น 4Q24 คาดตลาดหุ้นโดยรวมยังได้แรงหนุนจาก Fed ลดดอกเบี้ย โดยเฉพาะตลาดหุ้น Laggard อย่างตลาดหุ้นไทยที่คาดว่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของปี จาก 1) Fund flow ต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง หลังบาทแข็ง, 2) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ/ตลาดหุ้นที่น่าจะเห็นในเดือนก.ย.-ต.ค. ทั้งแจกเงิน digital wallet และกองวายุภักษ์ และ 3) จากสถิติในอดีต หลัง Fed ลดดอกเบี้ย 1 เดือน SET มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 3%
ช่วงกลางถึงปลายไตรมาส 4Q24 คาดประเด็นกังวลเศรษฐกิจถดถอย (Recession fear) จะกลบความหวัง Fed ลดดอกเบี้ย กดดันสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงไทย หากตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐฯ อ่อนแอต่อเนื่อง จากทั้งการจ้างงานและการบริโภค โดย Economic surprise index ของโลกต่ำสุดในรอบ 25 เดือน, สหรัฐฯ 24 เดือน, ยุโรป 11 เดือน และจีน 12 เดือน นอกจากนี้ จากสถิติในอดีต หลัง Fed ลดดอกเบี้ย 3 เดือน SET มักให้ผลตอบแทนพลิกมาเป็นลบเฉลี่ย 3%
BLS Recession-Tracking Indicators ประเมินความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จาก 4 ด้านหลักทั้ง 1) แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมจาก Leading economic index YoY, 2) การจ้างงาน จาก Non-farm payroll YoY, Sahm rule, 3) การบริโภค จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค,และ 4) ความเสี่ยงด้านเครดิต จาก Leading credit index พบว่า 3 ใน 4 ด้านหลัก ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการบริโภค ลงมาสู่ระดับก่อนเกิด recession ในอดีตแล้ว ทำให้เราเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่จะเห็น recession ในสหรัฐฯ ในไตรมาส 4Q24 ไม่เหมือนกับที่ตลาดมองว่าเป็นแค่ soft landing
อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขภาคเครดิตที่ยังแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติในอดีต ทำให้เชื่อว่าสหรัฐฯ รอบนี้จะเป็น mild recession ซี่งคาดกินเวลาราว 6-9 เดือน, และมีการลงเฉลี่ยของ S&P500 ที่ -20%, มอง Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ เหลือ 4.75% ปลายปี 2024
สำหรับ Theme หลักใน 4Q24 แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1
1) Core theme: ยังเน้น Quality และ Defensive จากความเสี่ยงเศรษฐกิจ/กำไรต่ำคาดใน Global late cycle ชอบกลุ่มคอมเมิร์ชสินค้าจำเป็น (Staples), ICT, Utility, Healthcare ได้แก่ CPALL, CPAXT, BDMS, BH, GULF, ADVANC
2) Satellite theme ในการเล่นเก็งกำไร แบ่งย่อยเป็น
#1: การลดดอกเบี้ย / นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ / วายุภักษ์ เน้นเก็งกำไรในกลุ่มการเงิน อุปโภคบริโภค สินค้าจำเป็น และขนส่ง หุ้นแนะนำ CPN, AOT, MTC
#2: Earnings play และ High season ท่องเที่ยว เก็งกำไรอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ CBG, ERW, BEM
#3: สงครามการค้า เก็งกำไรนิคม-โรงไฟฟ้าในนิคมฯ หุ้นแนะนำ WHA, AMATA, WHAUP
แล้วจะเล่นธีมใน ในช่วงไหน?
เดือน ต.ค. คาดโมเมนตั้มตลาดยังบวก เน้น Barbell strategy ระหว่าง Core theme กับ Satellite theme
เดือน พ.ย.-ธ.ค. ที่มีความไม่แน่นอน ค่อกลับมาเน้นหุ้นกลุ่ม Quality และ Defensive เป็นหลัก (Core Theme)
Fundamental View: ประเมินกรอบบนดัชนีอยู่ที่ SET target ปี 2025 ของเราที่ 1485 (อิง 25E EPS ที่ 95, PER 15.7x, -0.5SD)
Tactical Stock
SCGP: ยกฐาน เพื่อไปต่อ? ... วัดใจ บ่ายวันนี้
การกระจายตัวในการปรับขึ้นของหุ้นระยะกลาง (Medium-term Market Breadth) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ 55% (จาก 31%) เชื่อว่าตลาดกำลังมองหาหุ้นเล่นตัวถัดไป และ SCGP เป็นหนึ่งในหุ้นที่เข้าหลายธีมการลงทุนช่วงนี้ และราคายัง Laggard ตลาดมาก
แม้จะยกฐานขึ้นมาหลัง นวค. ออก Idea Call ไปเมื่อ 5 ก.ย. แต่สัญญาณ Technic-Quant. ยังชี้ว่าหุ้นกำลังรอประเด็นบวก และ/หรือ ปลดล็อคความกังวล
โดยการวิเคราะห์เชิงเทคนิค พบว่าราคาหุ้นที่พักตัวลงมาแตะเส้นค่าเฉลี่ย EMA 25 วัน หากไม่หลุด เทรนด์ยังเป็นการยก Low ขึ้น มีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบ EMA 200 วัน ที่ 31.50 บาท ส่วนด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือระยะสั้น Overbought/Oversold meter บ่งชี้ถึงการตึงตัวระยะสั้นที่ระดับ 80 ขณะที่ Medium-term (Positioning tracker) ยังอยู่ในระดับ Weak Zone บ่งชี้ถึง Momentum การฟื้นตัวที่ยังอยู่ในโซนล่าง รอการพลิกตัว
ส่วนในมุมมองกลยุทธ์ มองราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นช้ากว่าตลาดรวม ทั้งในแง่ YTD -24% (เทียบ SET YTD +1.2%) สวนทางกับธีมหลักตลาดที่เน้น ESG Rating ซึ่ง SCGP อยู่ระดับ AAA น่าจะอยู่ในกลุ่มเป้าหมายการลงทุนทั้งของกองทุนวายุภักษ์ (ยังไม่มีหุ้นนี้) และ TESG ที่จะมีเม็ดเงินใหม่มาถัว โดยเรามองว่าตลาดยังกังวลเรื่องตลาดจีนที่เศรษฐกิจอ่อนแอ และการฟื้นตัวของ Fajar หากคลายกังวล หรือ พอจะทำให้ตลาดเห็นภาพแนวโน้มที่ชัดขึ้นได้ ราคาหุ้นน่าจะมีโอกาสเล่น Catch-up play ได้
ซึ่งวันนี้ช่วงเวลา 13.30-14.30 น. เราจะมี Virtual Conference กับผู้บริหาร SCGP เชื่อว่านักลงทุนจะได้รับข้อมูลในประเด็นเหล่านี้
Commodities
สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าการกลั่นปรับตัวขึ้นดีสุด
ในสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับตัวลงต่อ $2.70 WoW เป็น $71.96/บาร์เรล (ลบต่อ PTTEP)
ค่าการกลั่น (อิงสิงคโปร์) ปรับตัวขึ้น $0.75 WoW เป็น $2.17/บาร์เรล แต่เกิดจากกลุ่มน้ำมันเตา (ในภาพรวมบวกต่อ SPRC และ TOP)
ส่วนต่างราคา (Spread) ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น WoW จากต้นทุน Naphtha ลดลงมากตามราคาน้ำมัน ขณะที่ราคาสินค้าเคมีภัณฑ์ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ (โดยรวมบวกต่อ PTTGC มากสุด)
ราคาถ่านหิน ลดลง 4% WoW อยู่ที่ $138.73/ตัน กดดดันจากฝั่งเอเชีย (ลบต่อ BANPU)
ค่าระวางเรือเทกอง (BDI) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1% WoW เป็น 1,936 จุด (Sentiment บวกต่อ PSL และ TTA) จากกลุ่ม Panamax เป็นหลักที่เพิ่มขึ้น 5% WoW ขณะที่กลุ่มที่เหลือลดลง
ส่วนค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) ลดลง 13% WoW เป็น 4,168 จุด (ลบต่อ RCL)
Fundamental View: เชิงพื้นฐานเราชอบ PTTEP และ TOP มากสุด และโอกาสเก็งกำไรเรือเทกองอย่าง PSL TTA
Residential Property
การเปิดตัวโครงการเดือน ส.ค. แกร่งขึ้น และมีลุ้นต่อในเดือน ก.ย.
AREA รายงานการเปิดตัวโครงการใหม่เดือน ส.ค. ที่ 3,900 ยูนิต เพิ่มขึ้น 77% MoM จากทุกกลุ่ม โดยกลุ่มคอนโดเพิ่มขึ้น 32% MoM กระจุกอยู่ใน Segment ระดับบน (Highlight มี ANAN เปิด Porsche Design Tower Bangkok) บ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 51% MoM โดยมี AP และ SPALI เปิดโครงการใหม่ ส่วนทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 145% MoM (จากฐานต่ำ) ภาพรวมราคาเปิดตัวเฉลี่ยสูงขึ้น 5% MoM จากคอนโด
สำหรับยอดจองซื้อ (Take-up rate) เฉลี่ยที่ 10% ฟื้นตัวจากเดือนก่อนที่ 8% เล็กน้อย
แนวโน้มเดือน ก.ย. คาดว่าจะเห็นการเปิดตัวที่เพิ่มขึ้นต่อ เนื่องจาก High Season ที่จะเป็นเดือนสูงสุดในไตรมาส 3 รวมทั้งยอดจองก็คาดเพิ่มขึ้น และเรามองว่า SPALI จะกลับมาน่าสนใจสำหรับการเติบโตในช่วง 2H24 จากการเปิดตัวที่สูง อีกทั้งด้วย Backlog ที่มีกว่า 1.26 หมื่นล้านบาท จะหนุนผลประกอบการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
Fundamental View: เราเปลี่ยนมาชอบ SPALI มากที่สุดในกลุ่ม จากการเปิดตัวโครงการที่มากขึ้น Backlog ที่สูง อีกทั้งใกล้ปิดดีลโครงการในออสเตรเลีย
Quantitative Strategy
คาดตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นได้ต่อในเดือน ก.ย.-ต.ค. แม้ว่าอาจย่อตัวในระยะสั้น
ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อในเดือน ก.ย.- ต.ค. แม้ว่าอาจมีการปรับฐานเล็กน้อยบ้าง เนื่องจากดัชนี Composite Short-term เข้าสู่ระดับตึงตัว แต่การปรับฐานนี้คาดว่าจะไม่รุนแรง เนื่องจาก 1) ดัชนีระยะกลางแสดงสัญญาณแข็งแกร่งโดยปรับตัวขึ้นเหนือระดับ Mid-point ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย.2023 2) Medium-term Market Breadth ได้ส่งสัญญาณ Bullish Signal เนื่องจากปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับ 50% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2024 3) ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยได้ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 11.3% เป็น 12.6% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เราคาดว่าค่าความผันผวนจะยังคงอยู่ในกรอบ 12-15% ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี
สรุปประเด็นจาก Quick take
OR
ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก ยุติการดำเนินธุรกิจ Texas Chicken
FB page: Texas Chicken Thailand แจ้งว่าทุกสาขาจะปิดตัวลงในวันที่ 30 ก.ย. 2024 นี้ สำหรับผลกระทบทางด้านการเงิน การยุติการดำเนินธุรกิจดังล่าวคาดว่าจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่าย one-time ประมาณ 500-700 ล้านบาทในงบการเงินงวด 3Q24
View From Fundamental: การบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าวอาจกดดันผลประกอบการ 3Q24 แต่จะส่งผลเชิงบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาว นอกจากนั้นอาจมีอัพไซต์ต่อประมาณการกำไรของเราจากการลงทุนใหม่ๆ เราจึงคงคำแนะนำ “ถือ”
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน