ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดตภาคการเงินของสหรัฐ
1 สถานการณ์สินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์สหรัฐ (Commercial Real Estate) โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ดำเนินกิจการของตนเอง (Non-Owner Occupied หรือ NOO) มีการหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 13 ปี โดยลดลง 1.91 พันล้านเหรียญใน 2Q24 ในขณะเดียวกัน NPL ของ NOO กลับเพิ่มขึ้น 2.03 พันล้านเหรียญ ส่งผลให้อัตราส่วน NPL เร่งตัวสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปเนื่องในระยะอันใกล้
ในส่วนของสินเชื่อที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใช้เป็นสถานที่ดำเนินกิจการของตนเอง (Owner Occupied) แม้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ NPL กลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่า ทำให้หากการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้หดตัวลงในอนาคต อัตราส่วน NPL ก็จะพุ่งสูงขึ้น
2 สำหรับการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารขนาดใหญ่ 15 แห่งในตลาด NOO นั้น แสดงให้เห็นว่า มีเพียง 3 ธนาคารเท่านั้นที่มีการเติบโตในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่อีก 12 แห่งประสบภาวะหดตัว ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความระมัดระวังที่เพิ่มขึ้นของภาคธนาคารในการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์
ความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของหนี้เสียที่อาจเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดความระมัดระวังนี้ ผลที่ตามมาอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยอาจนำไปสู่ภาวะชะลอตัวในระยะถัดไป
3 จากข้อมูลทางการเงินของธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเผยให้เห็นกลยุทธ์การบริหารเงินฝากที่น่าสนใจ ธนาคารแห่งนี้ถือครองเงินฝากที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 1.11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 45% ของเงินฝากทั้งหมด โดยนำเงินก้อนนี้ไปฝากไว้กับธนาคารกลางสหรัฐ
กลยุทธ์นี้สร้างผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ข้อมูลจาก BankRegData ชี้ว่ารายได้จากดอกเบี้ยส่วนนี้คิดเป็นเฉลี่ยมากกว่า 30% ของกำไรก่อนหักภาษีใน 7 ไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าการถือครองเงินสดในระดับสูงส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ปรับตัวลดลง ย่อมส่งผลให้รายได้จากแหล่งนี้ลดลงตามไปด้วย เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารอื่นๆ จะใช้กลยุทธ์คล้ายคลึงกัน จึงอาจคาดการณ์ได้ว่าผลประกอบการของภาคธนาคารสหรัฐในไตรมาสต่อๆ ไปอาจมีแนวโน้มชะลอตัวลง ดังนั้นหุ้นกลุ่มนี้จึงมีโอกาสเผชิญกับแรงขาย จากความเสี่ยงข้างต้น
สรุปภาพตลาดวานนี้ SET กลับมารีบาวน์ หลักๆ จากหุ้น DELTA และธนาคาร KBANK KTB BBL SCB รพ. BH BDMS (เหมือนกับว่าฝรั่งจะเทรดกลุ่มเหล่านี้วนไปมา) สำหรับแรงขายออกไปโผล่ที่ SCGP SCC HMPRO BJC TOP และกองฯ ต่างๆ 3BBIF DIF เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้ ศุกร์ 13…
คาด SETเด้ง! สุดท้ายยังรักษาฐานไว้ได้สำเร็จ และวันนี้คาดหุ้นกลุ่มธนาคารบวกดีต่อเนื่องหนุนดัชนี จากโอกาสในการแก้ กม. เกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟู อาจนำไปสู่การ เดินหน้าลดดอกเบี้ย FIDF บวกกับมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนที่ กระทรวงการคลังกำลังออกเครดิตสกอร์ใหม่ “อารีย์สกอร์” พร้อมใช้งานและแก้ปัญหาหนี้ได้ตรงจุดมากกว่า เครดิตสกอร์แบบเดิม
ด้านปัจจัยหนุนในระดับมหภาคทุกอย่างยังคงอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นเราคาดว่าหุ้นไทยยังคงอยู่ในภาวะ Risk on ต่อไป... (1) ความหวังวายุฯ (2) โมเมนตั้มเศรษฐกิจไทยดีขึ้นตามลำดับ (3) การลดดอกเบี้ยของ FED ECB และปัจจัยอื่นๆที่ เราเคยระบุ ซึ่งเรายังมองไม่เห็นประเด็นลบที่จะกลับมาเป็นอุปสรรคขวางหุ้นไทยในระยะนี้
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET week บ่งชี้สัญญาณพักตัว “Tweezer top” หากปิดบริเวณนี้ดัชนีจะ test โซนต้าน 1,440 จุด (Fibo 38.2%) เป็นสัปดาห์ที่ 2 ขณะที่โมเมนตัม RSI(week) ย่อนิดๆ มุมมองระยะสั้นคาดว่าตลาดกำลังปรับจูนกรอบการเคลื่อนที่ใหม่ ลักษณะยก low ยก high ขณะที่เส้น EMA “Golden cross” บ่งชี้ภาวะกระทิง ทรงกราฟดูคล้ายปลายปี 2020 หลังผ่าน covid บ่งชี้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
สรุป: ภาพ SET พักตัวชั่วคราว ไม่น่ากังวล ส่วนหุ้นแนะนำสายซิ่ง! มีอะไรบ้าง….ติดตามรายละเอียด (อ่านต่อหน้า 10)
What to watch
แถลงนโยบาย 10 เรื่องด่วนเมื่อวาน รมว.คลังย้ำชัด เริ่มแจกเงินสด 10,000 บาท 25 ก.ย.นี้ สำหรับผู้ลงทะเบียนกลุ่มเปราะบาง / เล็งออกกฎหมายนำเงิน สมทบกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน มาเป็นแหล่งเงินรัฐบาล พร้อมขายหุ้นบริษัทที่คลังถือที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
เปิดขายกองทุนวายุภักษ์ 16-20 ก.ย.นี้, คลังปรับเป้า GDP ปีนี้ 3%
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 5.25% ธนาคารกลางยุโรป 12 ก.ย. ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 3.50% ตามคาด ด้าน BOE คาดตรึงดอกเบี้ยในเดือนนี้ หลังทยอยลดไปก่อนหน้านี้
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
FTSE Rebalance: FTSE All World หุ้นออก BLA, และกลุ่มขยับจาก Large-Cap ไปเป็น Mid-Cap ได้แก่ OR MINT PTTGC EA CRC สำหรับกลุ่ม Small-Cap หุ้นเข้า BLA CPNREIT และหุ้นออก ITD NER ORI TPIPL (คาดมีผล 20 ก.ย.นี้)
UBS คาดการณ์ว่าอิทธิพลของพายุเฮอร์ริเคน ฟรานซีน จะส่งผลให้การผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกลดลงประมาณ 50,000 บาร์เรล/วันในเดือนนี้
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายมองว่าผลกระทบจากพายุฟรานซีนอาจเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น เนื่องจากพายุได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วหลังจากพัดขึ้นฝั่งในรัฐลุยเซียนาเมื่อช่วงเย็นวันพุธ โดยอเล็กซ์ โฮดส์ นักวิเคราะห์จาก StoneX คาดการณ์ว่า การอ่อนกำลังลงของพายุลูกนี้อาจจะทำให้ตลาดกลับไปให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่ชะลอตัวลง
หอการค้าไทย คาดอุทกภัยภาคเหนือกระทบเศรษฐกิจไทยหมื่นล้านบาท แต่มาตรการแจกเงินหมื่นจะช่วยกระตุ้นชดเชยเงินสะพัด ราว 5 หมื่นล้านบาท
กระทรวง DE เตรียมออกประกาศ อี มาร์เก็ตเพลส เพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มค้าปลีกต่างชาติให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกับสินค้าของผู้ประกอบการไทย เริ่มรับฟังความคิดเห็น เดือน ตค.นี้
หุ้นแนะนำวันนี้
KTB จับตาการแก้ กม. ดึงเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินมาเป็นแหล่งเงินรัฐบาล (อาจนำไปสู่การลดดอก FDIF) (S 20 R 22 SL 19.5)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Energy Sector
คู่มือลงทุน 4Q24 เน้นกลยุทธ์เลือกเป็นรายตัว
วันนี้เราออกรายงานคู่มือการลงทุนกลุ่มพลังงานสำหรับ 4Q24 ภาพรวมมองด้านพลังงานอุปสงค์ ไม่แน่นอน ขณะที่แนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น โดยมองประเด็นสำคัญของแต่ละกลุ่มย่อย ดังนี้
น้ำมันดิบ: คาดว่าราคาจะถูกกดดันจาก 1) อุปสงค์จะฟื้นตัวแบบช้าลง โดยมีปัจจัยฤดูหนาวเป็นตัวหนุน ตามเศรษฐกิจโลก แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้ากดดันอยู่ ในขณะที่ฝั่ง 2) อุปทานจะมีของใหม่จาก Non-OPEC+ เพิ่มเข้ามา แม้ OPEC+ จะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตก็ตาม
โรงกลั่น: 4Q24 เป็น High Season ของค่าการกลั่น จากความต้องการตามฤดูกาล สต็อคลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี บวกกับจะมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น หนุน GRM เพิ่มขึ้น QoQ อย่างไรก็ตาม ด้าน YoY ยังถูกกดดันจากปริมาณโรงกลั่นใหม่ที่เข้ามาก่อนหน้านี้
ถ่านหิน: ราคาถ่านหินจะยังลดลงทั้ง YoY และ QoQ เกิดจากอุปทานในตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากอินเดีย (ที่เป็นลูกค้าหลัก และมีปริมาณสต็อคไว้มากแล้ว) การผลิตเพิ่มของอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย
ภาพระยะยาว: การเติบโตรอบใหม่ของบริษัทพลังงานไทยจะเกิดจาก 1) การสำรวจแหล่งผลิตใหม่ 2) การลงทุนเพื่อเข้าสู่ธุรกิจเชื่อมโยงโลกยุคใหม่ เช่น การดักจับคาร์บอน หรือธุรกิจด้านไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการขยับไปทำธุรกิจอื่นๆ เช่น Virtual Banking (ร่วมกับพาร์ทเนอร์)
Fundamental View: เรายังคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากันตลาด” โดยให้ PTT และ TOP เป็น Top Picks
Agro, Food & Beverage Sector
Sugar: ราคาน้ำตาลทรงตัว ลดแรงกดดันต้นทุนกลุ่มเครื่องดื่ม
จากรายงานของ USDA เมื่อ พ.ค. ปริมาณน้ำตาลโลกอยู่ในภาวะเกินดุล (surplus) แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำตาลโลกจะลดลงจากบราซิล เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ไฟไหม้ พื้นที่เพาะปลูกเสียหาย แต่เรามองว่าระดับน้ำตาลยังอยู่ในฝั่ง surplus ต่อ
นอกจากนี้ แนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลง ยังกดดันราคาเอทานอลที่ต่ำ ทำให้โรงงานนำอ้อยไปทำน้ำตาล มากกว่าที่จะไปทำเอทานอล ทำให้ปริมาณน้ำตาลยังคงออกมาต่อเนื่อง ซึ่งหลายสำนักวิจัย ให้ความเห็นตรงกันว่า ราคาน้ำตาลน่าจะซื้อขายในกรอบ 18-20 cents/lb (ดูจาก demand/supply, ราคา future, สถานะเก็งกำไร ยังเป็น short sell)
ดังนั้น จึงมองเป็นบวกต่อกลุ่มเครื่องดื่ม ซึ่งมีต้นทุนน้ำตาลคิดเป็น 5-10% ของต้นทุนผลิตเครื่องดื่ม
Fundamental View: เราชอบ CBG มากสุด จากปัจจัยบวกรอบด้านกว่าทั้ง การขยาย market share, ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, เทศกาลเฉลิมฉลอง, และราคาต้นทุนสำคัญๆ คงที่)
นอกจากนี้ ในกลุ่มเครื่องดื่มยังมีผู้ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำตาลต่ำ คือ OSP, SAPPE, ICHI
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน