เป็นแรงซื้อใหม่ ไม่ใช่COVER SHORT นะ
สภาพตลาดวานนี้ ต้องถือว่าดูดีกว่าที่คิดไว้มาก เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของมูลค่าการซื้อขายที่เดิมคาดว่าจะเบาบาง กลับขึ้นมาสูงถึง 4.84 หมื่นล้านบาทและที่สำคัญพบว่านักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นแรงซื้อเข้ามาเพิ่มเติม ไม่ได้เป็นการซื้อ COVER SHORT SELL ทั้งนี้ประเมินจากตัวเลข OUTSTANDING SHORT SELL ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง, เงินบาทที่กลับมาแข็งค่า ขณะที่หุ้น SET50 OUTPERFORM SET INDEX นอกจากนี้ในส่วนของFUTURE พบว่ามีการเปิด LONG และ OI เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามสถานการณ์ว่าแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติจะมีความต่อเนื่องเพียงใด แต่หากประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจบ้านเราที่เริ่มเห็นแรงกระตุ้น กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q67 ที่น่าจะฟื้นตัว QOQ และทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ที่อยู่ในขาลง โดยอาจปรับลดลงในการประชุมวันนี้ หริออย่างช้า 12 มิ.ย.เป็นไปได้ที่จะเห็นแรงซื้อที่ต่อเนื่องการปรับขึ้นมายืนเหนือ 1400 จุด ถือเป็นสัญญาณบวกที่ดีกว่าที่คาด โดยน่าจะมีMOMENTUM ต่อเนื่องได้ แต่ยังคงแนวต้านสำคัญไว้ที่ 1405 จุด แนวรับอยู่ที่1384 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CENTEL, CBG และ JMART
ปัจจัยในประเทศดูดีขึ้น หนุน SET มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อได้
วานนี้SET INDEX ปรับตัวขึ้นแรง 25.53 จุด(มากสุดตั้งแต่ต้นปี) ปิดที่ระดับ 1401.11จุด ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากนโยบายการเงิน-การคลังที่มีแนวโน้มดูดีขึ้นในอนาคต บวกกับมาตราการของ ตลท.ที่ช่วยเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน จึงทำฝ่ายวิจัยฯคาดว่าSET INDEX จะมีความผันผวนน้อยลง และแข็งแกร่งกว่าตลาดฯหุ้นอื่นๆได้ในระยะถัดไปโดยมีรายละเอียด ดังนี้
• นโยบายการเงิน BLOOMBERG CENSENSUS คาดการณ์ผลการประชุมกนง.รอบ เม.ย.67 นี้จากนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 24 คน ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยระดับเดิมที่ 2.50% มีเพียง 7 คนเท่านั้นที่เห็นต่างว่าควรลดดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.25% หรือ คิดเป็นสัดส่วน 30%(เป็นนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศทั้งหมด) ประเด็นดังกล่าว ทำให้BOND YIELD ไทยตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา SHIFT ขึ้นยกเส้นเล็กน้อย โดย BY 1 ปี อยู่ที่ 2.26%และ BY 10 ปีอยู่ที่ 2.62%อย่างไรก็ตามในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าหากกนง.ไม่ลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน เม.ย.67 ก็คงต้องลดดอกเบี้ยรอบถัดไปพร้อมกับ FED ในการประชุมรอบ มิ.ย.67 เนื่องด้วยตัวเลขเชิงเศรษฐกิจของไทยดูไม่ดี และส่งสัญญาณชะลอตัวในหลายภาคส่วน ซึ่งการลดดอกเบี้ยจะเป็นการเพิ่ม UPSIDE ของ TARGET SET ราว 60-70 จุด(ขึ้นอยู่กับประมาณการ EPS67F) และช่วยเพิ่มปริมาณการซื้อขายราว 3-4พันล้านบาท/วัน ดีต่อหุ้นกลุ่ม เช่าซื้อ,ธพ.ขนาดเล็ก, อสังหาฯ เป็นต้น
• นโยบายการคลัง วันนี้ติดตามการประชุม DIGITAL WALLET 10,000 บาทคาดทำให้รู้แนวทางของนโยบายดังกล่าวมากขึ้น ทั้งในส่วนของแหล่งที่มาของเงิน, มูลค่าเม็ดเงินโครงการ, กดเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับสิทธิ ซึ่งหลายสำนักเศรษฐกิจคาดการณ์ไว้ว่านโยบายดังกล่าว จะช่วยทำให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจช่วงสั้น หรือ คิดเป็นสัดส่วนราว 0.6%-1% ของมูลค่า GDP และหนุน GDP GROWTH ทั้งปี2567 โตแตะระดับ 4% (หากไม่มี DIGITAL WALLET คาด GDP ปีนี้โตในกรอบ 2.8%-3.5%) ดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก,อาหาร-เครื่องดื่ม,ธพ., ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
• การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนลงทุน ผ่านการเปิดเผยข้อมูลOUTSTANDING SHORT SELL POSITION หรือ สถานะคงค้างจากการSHORT หุ้นนั้นๆ โดยจากข้อมูล พบว่า มีหุ้นที่ถูกมีสถานะ SHORT SELLคงค้าง ณ 5 เม.ย. 67 อยู่ 278 บริษัท มีมูลค่ารวม 8.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 0.5% ของ MAKET CAP ตลาดฯ เท่านั้น (รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในบทวิเคราะห์ MARKET TALK ประจำวันที่ 9 เม.ย.67)โดยสรุป นโยบายการเงิน-การคลังที่ดูดีขึ้นในอนาคต บวกกับมาตราการของ ตลท.ที่ช่วยเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน หนุน SET INDEX กลับมาน่าสนใจมากขึ้น และเป็นหนึ่งในปัจจัยให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาสไหลกลับได้ สังเกตได้จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าแรงวานนี้ ซึ่งระยะถัดไป หากนโยบายการเงิน-การคลังชัดเจนขึ้นดังที่หวังไว้ ยิ่งเป็นส่วนเสริมให้ SET INDEX สามารถ OUTPERFORM ตลาดหุ้นอื่นๆ ได้ไม่ยาก
คาดหวัง MOMENTUM FUND FLOW ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อวานนี้ SET INDEX ปรับตัวขึ้นได้แรงสุดในเอเชียและแรงสุดในปีนี้+1.86% หรือ25.53 จุด มาปิดเหนือ 1400 จุดอีกครั้ง ด้วยมูลค่าซื้อขายที่หนาแน่นขึ้น 4.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่น้ำหนักการลงทุนเอนเอียงไปที่หุ้นใหญ่ เพราะดัชนี SET50OUTPERFORM +2.2% และหุ้นเล็ก อย่าง ดัชนี MAI และ SSET บวกน้อยกว่า+0.8% และ +0.7% ตามลำดับ
แรงผลักดันหลักๆ มาจาก FUND FLOW ที่ไหลเข้ามาแรง และน่าจะเป็นการซื้อสุทธิเพิ่มเติมมากกว่าเกิดจากการ COVER SHORT SELLING ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 6.0 พันล้านบาท และเชื่อว่าส่วนใหญ่เกิดจากเม็ดเงินใหม่ไม่ใช่จากการ COVER SHORT SELL สะท้อนได้จากข้อมูล
หุ้นที่มีระดับ OUTSTANDING SHORT SELL สูงตามที่ตลาดฯ เปิดเผยวานนี้มีสัดส่วนลดลงเล็กน้อยเท่านั้น แต่กลับมีเม็ดเงินใหม่จาก NVDR ซื้อสุทธิสวนขึ้นมาอย่างหนาแน่นในหุ้นที่มีสถานะคงค้าง SHOT SELL สูงเกิน 1พันล้านบาท อาทิPTTEP, BDMS, BBL, AOT, KBANK, PTT, DELTA,EA, AWC, SCC, KTB, BANPU เป็นต้น ประเด็นดังกล่าวแสดงว่า ยังไม่เห็นการ COVER SHORT ที่ชัดเจนในวานนี้ แต่กลับมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาหนุนหุ้นขนาดใหญ่ พร้อมกับคาดหวังอาจเห็นการเกิด COVER SHORT SELL เข้ามาหนุนราคาให้ขยับขึ้นต่อในอนาคต
• ต่างชาติซื้อสุทธิสัญญา SET50 FUTURES เพิ่มสูงถึง 76,647 สัญญา(เทียบเท่าเม็ดเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท) ขณะที่ OI (สัญญาสถานะคงค้าง) มีการขยับขึ้นจาก 565,690 สัญญา เป็น 665,369 สัญญา หรือเพิ่มขึ้นกว่า1 แสนสัญญา แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติน่าจะไม่ได้ COVER SHORTSELL แต่เป็นการเพิ่มสถานะการลงทุนในตลาด TFEX เพิ่มขึ้นมากกว่า
ทั้ง 2 ส่วนแสดงให้เห็นว่า ต่างชาติเริ่มกลับมาสนใจเพิ่มน้ำหนักการลงทุน ทั้งในตลาดหุ้น และตลาด TFEX ไทย มากขึ้น ส่วน MOMENTUM ผลักดันให้ FUND FLOW ไหลเข้าเพิ่มเติมในเดือน เม.ย. มีอยู่หลายอย่าง ทั้งความคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านนโยบายการคลังและการเงิน ความเชื่อมั่นในเสถียรภาพตลาดหลักทรัพย์ และแนวโน้มผลประกอบการที่ทยอยดีมากขึ้น หนุนให้ SET INDEX น่าจะค่อยกลับมา OUTPERFORM ได้
ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ชอบAP SPALI SC ORI SIRI LH
วานนี้ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ 2 รายการ คือ ลดค่าธรรมเนียมโอนฯ จากเดิม 2% และค่าจดจำนองจากเดิม 1% เหลืออย่างละ 0.01%สำหรับบ้านมือ 1 และมือ 2 ที่มีราคาที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยมีผลถึงวันที่31 ธ.ค. 2567 และ การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาสำหรับสร้างบ้านใหม่สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท คาดช่วยหนุนต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งทางกระทรวงการคลังคาดผลักดัน GDP ปีนี้โตอีก 1.7-1.8% สู่เป้าหมายทั้งปีโตเกิน 4%ภายใต้ 2 มาตรการข้างต้น ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักไปที่การขยายเพดานมาตรการลดค่าโอนฯ-จดจำนองเพิ่มสู่ระดับราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เนื่องจากครอบคลุมสินค้าในวงกว้างมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดสิทธิให้เฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทนั้น เพราะในระดับบ้านกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนน้อยระดับ 15-20% ของมูลค่าทั้งตลาดอสังหาฯ ทำให้กลุ่มที่ได้รับประโยชน์มีไม่มากนัก ขณะที่บ้านระดับ 7 ล้านบาท ซึ่งเจาะกลุ่มระดับกลาง คิดเป็นประมาณ 50-70% ของตลาดรวม โดยภายใต้การลดค่าธรรมเนียมโอนฯ-จดจำนอง เหลืออย่างละ0.01% ทำให้คนซื้อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 19,850 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (ปกติค่าธรรมเนียมโอนฯ อยู่ในอัตรา 2% หรือ 2 หมื่นบาท โดยแบ่งคนละครึ่ง หรือ 1 หมื่นบาทสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายเมื่อมีการปรับลดเหลือ 0.01% หรือฝั่งละ 0.005% ทำให้ผู้ซื้อประหยัดไป 9,950 บาทส่วนค่าจดจำนองปกติเป็นภาระของผู้ซื้ออย่างเดียว หากลดเหลือ 0.01% จากเดิม1% ของวงเงินกู้ ดังนั้นหากกู้เต็ม 100% ทำให้เกิดการประหยัดไปอีก 9,900 บาท)ดังนั้นกรณีซื้อบ้านมูลค่าราคา 5 ล้านบาท และกู้เต็ม 100% (บ้านหลังแรก) จะทำให้ผู้ซื้อประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 99,250 บาท และประหยัดเพิ่มเป็น 138,950 บาทสำหรับบ้านราคา 7 ล้านบาท จากปกติต้องเสีย 140,000 บาท
ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET จะได้อานิสงค์มากขึ้น เมื่อมีการขยายเพดานบ้านเป็น 7 ล้านบาทเช่นกัน เนื่องจากพอร์ตสินค้าส่วนใหญ่มีราคาครอบคลุมระดับดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งนี้การมีมาตรการดังกล่าว จะช่วยให้BACKLOGรวมสิ้น 4Q66ระดับ 2.05 แสนล้านบาท (รวม JV 7.3 หมื่นล้านบาท) เป็นส่วนที่พร้อมส่งมอบปีนี้ราว 1.13 แสนล้านบาท และ ที่เข้าข่ายเกณฑ์ราคาตามมาตรการสามารถโอนฯ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการระบายสต๊อกคงค้างของผู้ประกอบการที่มีอยู่รวมเกือบ 8 แสนล้านบาท (เป็นสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จ 1.26 แสนล้านบาท)
อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามต่อไปว่าภาครัฐจะมีนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมในอนาคตหรือไม่ เนื่องจากมาตรการข้างต้น ถือเป็น 2 ข้อเสนอจากทั้งหมด 8 ข้อเสนอที่ภาคเอกชนยื่นต่อนายกรัฐมนตรี โดยยังคงมีข้อเสนอสำคัญ เช่น ยกเลิก LTV (การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ธปท. ซึ่งล่าสุดมีท่าทีปฏิเสธการผ่อนคลาย), ลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง50% เป็นเวลา 1 ปี และทบทวนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ โดยขยายเวลาเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี ฯลฯ รวมถึงการแก้ไขปัญหาในเรื่องกำลังซื้อและการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของแบงค์ นำสู่การถูกปฎิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นตอสำคัญที่สร้างแรงกดดันต่อภาคอสังหาฯ
คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่มฯ เลือกหุ้นเด่นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว, มีพอร์ตสินค้าหลากหลาย, และปันผลเกิน 6% ได้แก่ AP (FV@16.00),SPALI (FV@B27.30), SC (FV@4.8), ORI( FV@B9.60), SIRI (FV@2.20) และ LH(FV@B10.00)
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์