Today’s NEWS FEED

News Feed

แบงก์กสิกรไทย คาดเงินบาท สัปดาห์นี้(18-22 มี.ค.)มองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 35.30-36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ

295


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(16 มีนาคม 2567)-----------สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

• เงินบาทพลิกอ่อนค่า สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นตามแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด

เงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ประกอบกับมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (+3.2% YoY ในเดือนก.พ. สูงกว่าตลาดคาดที่ 3.1% YoY) ดัชนีราคาผู้ผลิต (+1.6% YoY ในเดือนก.พ. สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.1% YoY) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (ลดลง 1,000 ราย มาที่ 209,000 ราย ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 218,000 ราย)
ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ลดทอนโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเห็นเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุม FOMC ใกล้ๆ นี้ลง

• ในวันศุกร์ที่ 15 มี.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.81 บาทต่อดอลลาร์ฯ (หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 35.86 บาทต่อดอลลาร์ฯ) เทียบกับระดับ 35.42 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (8 มี.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 11-15 มี.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 4.9 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 11,670 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 11,170 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 500 ล้านบาท)

• สัปดาห์ถัดไป (18-22 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 35.30-36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินลงทุนต่างชาติ ผลการประชุมนโยบายการเงิน Dot Plot และตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ทบทวนใหม่ของเฟด (19-20 มี.ค.) รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (18-19 มี.ค.) และธนาคารกลางอังกฤษ (21 มี.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย และข้อมูลเบื้องต้นของ PMI สำหรับเดือนมี.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมี.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR และตัวเลขเศรษฐกิจของจีน อาทิ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และอัตราการว่างงานด้วยเช่นกัน

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

Microsoft ลงทุนไทย By: แม่มดน้อย

ภาพรวมหุ้นไทยในภาคเช้าที่ผ่านมา แกว่งตัวซิกแซกขึ้น สงสัยตอบรับข่าวดี Microsoft ลงทุนไทย....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้