เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง สะท้อนภาวะเศรษฐกิจ
วันนี้จะมีรายงานเงินเฟ้อของบ้านเรางวดเดือน ม.ค.67 ซึ่ง Consensus คาดที่ -0.82% YoY ซึ่งหากเงินเฟ้อติดลบตามที่คาด มุมที่ถูกมองจะเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสัปดาห์ก่อนหน้ามี Sentimnet นำเสนอในแง่ของการชะลอตัวมากกว่าที่คาด สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวถือเป็นการตอกย้ำภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเพิ่มโอกาสของการที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงขึ้นส่วนในวันพุธนี้ (7 ก.พ.67) กนง. จะมีการประชุมเบื้องต้นคาดว่าจะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% แต่น่าจะส่งสัญญาณของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้เราประเมินว่าช่วงเวลาการปรับลดอกเบี้ยของ กนง. บ้านเรา น่าจะเกิดขึ้นหลังจาก Fed เริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกประมาณกลางปี 2567 และการปรับลดของ กนง. อาจเกิดขึ้นได้ 1-2 ครั้งในปีนี้ภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมเช้านี้ ยังไม่เห็นปัจจัยใหม่ที่มีน้ำหนักในการขับเคลื่อนSET Index แรงขับเคลื่อนหลักจึงเป็น Momentum ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาคาดอยู่ในกรอบ 1378 –1392 จุด หุ้น Top Pick เลือก AP, BJC และ MAJOR
ปัจจัยภายนอกมีทั้งดีและร้าย คาดทำให้ SET ผันผวนกรอบแคบ
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง 0.4%-1.7% จากการรายงานผลประกอบการช่วง 4Q66 ที่ดีกว่าคาดของหลายบริษัท อาทิ Meta Platform และAmazon.com บวกกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร(Nonfarmparroll)เพิ่มขึ้น 353,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค.67 สูงกว่าคาดที่ระดับ 187,000ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับเดิม 3.7% ต่ำกว่าที่คาดที่ระดับ 3.8%ประเด็นดังกล่าว ทำให้ลดความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ซึ่งล่าสุด FED WATCH TOOL ให้โอกาสคงดอกเบี้ยมากขึ้นในการประชุมเดือน มี.ค.67 ถึง79% อย่างไรก็ตามตั้งแต่การประชุมเดือน พ.ค.67FEDWATCH TOOL คาดว่าจะลดดอกเบี้ยด้วยความน่าจะเป็น 58% และทยอยปรับลดดอกเบี้ยลงเรื่อยๆจนถึงสิ้นปี รวมแล้วกว่า6 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวมแล้วกว่า 1.50%จน ณ สิ้นปี 2567 คาดดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.0%
ส่วนปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่มีคาดมีผลต่อทิศทางของ SET Index คือ
• (+)PBOC จะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ในวันนี้ โดย Bloomberg รายงานว่าวันนี้ PBOC จะปรับลด RRR ลง 0.5% และจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวให้กับตลาดได้ 1 ล้านล้านหยวน (1.39 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2566 PBOC ได้ดำเนินการปรับลดRRR จำนวน 2 ครั้งถ้วน ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลมากน้อยเพียงใดต่อเศรษฐกิจจีน และจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด
• (0)ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ วันที่ 2 ก.พ. กองทัพสหรัฐฯ ได้ใช้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศใส่เป้าหมายที่อยู่ในซีเรียกว่า 85 แห่ง หลังจากนั้น อิรักได้ส่งสารเตือนกลับไปว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของอิรัก และบ่อนทำลายความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลอิรัก จึงทำให้อาจมีการตอบโต้กลับจากฝั่งอิรัก และทำให้ความตึงเครียดในฝั่งตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นอีกระดับ และหนุนราคาน้ำมันดิบกลับมาฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป
สรุป ปัจจัยภายนอกที่มีทั้งเรื่องดีและร้าย ตามรายละเอียดข้างต้น คาดหนุนให้ SETindex แกว่งทรงตัวในกรอบแคบในระยะสั้น ส่วนวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของSET index ไว้ที่ระดับ 1378 -1392 จุดเศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตต่ำ คาดหวังนโยบายการเงิน-การคลังกระตุ้นเพิ่ม
เช้านี้ (5 ก.พ.) เวลา 10.30 น. รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน ม.ค. 67 โดยConsus ประเมินว่า Headline CPI จะอยู่ที่ -0.82%YoY หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดขณะที่ Core CPI คาด +0.6%YoY ซึ่งถ่อว่าอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เงินเฟ้อไทยที่หดตัวหลายเดือนติดต่อกันเช่นนี้ อาจสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจไทยเสี่ยงซบเซา ขณะที่ข้อมูลในอดีตนับตั้งแต่ปี 2010 – 2023 เผยช่วงที่เงินเฟ้อไทย ≤ 0มักจะบ่งชี้ถีงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดย GDPGrowth ของไทยเฉลี่ยจะอยู่ที่ -0.65% ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยเฉลี่ยจะอยู่ที่1.2% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสวนทางกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงถึง 2.5%
สำหรับทิศทางดอกเบี้ยไทย ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า ช่วงเวลาการลดดอกเบี้ยของ กนง.มีโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed ในช่วงกลางปี2024 เนื่องจากสถิติในอดีตFed มักตรึงดอกเบี้ยไว้ราว 12 เดือน ก่อนปรับลดดอกเบี้ย ส่วนในมุมของขนาดของการลดดอกเบี้ยอาจอยู่ที่ 1-2 ครั้ง โดยบ้านเราขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ 2% หรือคิดเป็นสัดส่วน 40%ของปการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed (5.25%) โดยมองว่า Fed ปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 3-6 ครั้ง หรือ 1% นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสขยายตัวได้น้อย อาจเป็นแรงหนุนให้ กนง. พิจารณาผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น
ในส่วนของนโยบายการคลัง คาดว่ารัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะในภาค Consumption เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในมุมของฝ่ายวิจัยฯหากมีนโยบายกระตุ้นที่มากพอ คาดสร้างความต่อเนื่องในการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากช่วงต้นปีมีมาตรการ Easy E-Receipt ก็น่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง เช่น
• กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL, ERW, MINT
• กลุ่มอุปโภค/บริโภค : CPN, CPAXT, HMPRO, ADVANC, COM7, CRCCPALL, BJC, CBG, OSP, JMART, COM7, DCC, M, AU, SCGP
• กลุ่มคาดหวังเศรษฐกิจฟื้น : KBANK, BBL, TISCO, TIDLOR, MTC,SAWAD, KTC, AEONTS, BAM
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงในเดือน ธ.ค.66 และและอาจลากยาวมาถึงปีนี้ มีโอกาสเป็นแรงหนุนให้ กนง. พิจารณาการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2567 และหนุนให่รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังเพิ่มเติม
ตลาดหุ้นไทยยังเฝ้ารอ Fund Flow ไหลเข้ามาต่อ
ในเดือน ก.พ. (mtd) ตลาดหุ้นไทยเปิดทำการมา 2 วัน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น19.56 จุด หรือ +1.43% พร้อมกับ Fund Flow ต่างชาติที่กลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย4.18 พันล้านบาท (mtd) โดยหวังว่า Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เริ่มกลับมาสนับสนุน คือ
SET Index เริ่มสร้างฐานที่แข็งแรงขึ้นได้ในบริเวณ 1350 – 1370 จุด และยังดูดีในเชิงพื้นฐาน คือ มี PE67F ที่ระดับ 14 เท่า และในเชิงเทคนิคเห็น RSI14 วัน ทำสัญญาณBullish Divergence ดัชนีมีโอกาสฟื้นต่อได้ รวมถึงเริ่มเห็นสัญญาณความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการคลังมากขึ้น ขณะที่แรงกระทบต่อดัชนีในวันนี้ คือ ความกังวลเงินเฟ้อไทย เดือน ม.ค. 67 ที่จะประกาศในวันนี้ จะติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินตลาดหุ้นไทยตอบรับประเด็นนี้ไปมากแล้ว หากเปรียบเทียบกับการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนที่แล้ว (5 ม.ค. 67) ที่ออกมา-0.83% (ต่ำสุดในรอบ 34 เดือน) กดดัน SET Index ปรับฐานรอบที่แล้วจาก 1434จุด จนปัจจุบันเหลือเพียง 1384 จุด (ลดลงมาแล้ว -50 จุด) รวมถึงนักลงทุนเริ่มมองว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้มากขึ้นสะท้อนได้จาก Bond Yield 10Y ช่วงประกาศเงินเฟ้อรอบที่แล้ว 2.79% สูงกว่าปัจจุบัน 2.63% จุด (ห่างกัน -16 bps.)ปัจจัยที่กล่าวมา ประเมินว่า Fund Flow ยังมีโอกาสทยอยไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อหลังจากขายสุทธิมากว่า 2.19 แสนล้านบาท (นับตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 ถึง 2 ก.พ. 67)
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์