Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

255


ต่างชาติ ขายไม่หยุด ฉุด SET ต่ำกว่าพื้นฐาน
แรงขายจากต่างชาติยังรุนแรงต่อเนื่อง โดยวานนี้ขายสุทธิอีก 4 พันล้านบาท ทำให้ยอด Net Sell สะสมจากต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบันสูงถึง 2.1 หมื่นล้านบาท เราได้ไปศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับต้นทุนการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นบ้านเรา พบว่าการขายที่ระดับ SET Index ปัจจุบันจะทำให้มีผลขาดทุนตั้งแต่ 10-18% การที่ยังมีแรงขายทั้งที่มีผลขาดทุนดังกล่าวทำให้การประเมินถึงจุดกลับตัวมาซื้อรอบใหม่ของนักลงทุนต่างชาติ ทำได้ยาก และน่าจะต้องถือเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันกับตลาดหุ้นบ้านเราต่อไป ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามนอกจากเป็นเรื่องDigital Wallet และ Land Bridgeซึ่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนแล้ว ในมุมของการเมืองก็มี 2 เรื่องที่อยู่ในความสนใจเริ่มจาก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการถือหุ้น ITV ของ คุณพิธา และกรณีที่ สว. จะเปิดอภิปรายรัฐบาล โดยไม่มีการลงมติประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ยังไม่เห็นแรงขับเคลื่อนที่มีน้ำหนักทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ จึงคาดว่า SET Index ยังต้องอยู่ในช่วงของการย่ำฐาน บริเวณ 1363 –1378 จุด หุ้น Top Pick เลือก BEM, PLANB และ PTTEP


Fed ลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด อาจกดเงินบาทอ่อนค่าชั่วคราว
ฤดูกาลประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งแรกในปี 2567 ได้เริ่มขึ้นช่วงปลายเดือน ม.ค. – ต้นเดือน ก.พ. โดย Consensus คาดว่าแบงค์ชาติส่วนใหญ่จะยังตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) ขณะที่ล่าสุดวานนี้PBOC มีมติคงดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) 1 ปี และ 5 ปี ไว้ที่ 3.45%และ 4.20%ตามลำดับ


สำหรับการประชุม Fed ในวันที่ 31 ม.ค. นี้ (1 ก.พ. เวลา 2.00 น. ตามประเทศไทย)
Fed Watch Tool ให้น้ำหนักเกือบ 100% ที่จะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% ทั้งนี้ แรงกระตุ้นเงินเฟ้อ ทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังดูดีหนุนการใช้จ่าย (Demand-PullInflation) รวมถึงความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาตร์ที่มักผลักให้ราคา Commodity พุ่งสูง(Cost-Push Inflation) ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การตรึงดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐยังมีโอกาสยืดเยื้อออกไปจนถึงช่วง 2Q66 โดย Fed อาจเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยไปเป็นเดือน พ.ค. ซึ่งช้ากว่าตลาดคาด สะท้อนจาก Bond Yield 10Y มีแนวโน้มสูงขึ้นนับแต่ต้นปี ทำให้ Dollar แข็งค่าราว 2%Ytd จึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าชั่วคราวขณะที่ Fund Flow มีโอกาสไหลออกในช่วงสั้นๆอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตลาดจะมีมุมมองการปรับลดดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไป แต่ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ยังอยู่ในวัฎจักรขาลง และเชื่อว่าจะทำให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าในอนาคต หนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งภาพดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีต่อทิศทาง Fund Flow ที่มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นบ้านเรามากขึ้นได้

 


สรุป การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ในยกที่ 1 ปี 2567 คาดว่าจะยังเห็นการตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ ขณะที่ Fed มีโอกาสเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วง 2Q66 ซึ่งช้ากว่าตลาดคาด (เดือน มี.ค.) ทำให้ Dollar แข็งค่าขึ้นราว 2%Ytd จึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าชั่วคราว ขณะที่ Fund Flow มีโอกาสไหลออกในช่วงสั้นๆ

ราคาน้ำมันดิบอยู่ในทิศขาขึ้นอาจเป็นตัวช่วย SET Index
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้น 1.9% จนอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญฯ/บาร์เรลจากแรงกดดันจากฝั่ง Supply ที่จะหายไป หลังกองทัพยูเครนได้ส่งโดรนโจมตีโรงงานน้ำมันของบริษัทโนวาเทก (Novatek) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของรัสเซียส่งผลให้ทางบริษัทตัดสินใจระงับการดำเนินงานที่สถานีส่งออกเชื้อเพลิงอุสต์-ลูกา (Ust-Luga) ในทะเลบอลติก จึงทำให้นักลงทุนคาดว่าสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและทะเลแดงยังมีแนวโน้มบานปลายเป็นวงกว้าง และมีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ Supply ในตลาดฯน้ำมันดิบหายไปได้ อีกทั้งนักลงทุนยังคงจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันพุธนี้คาดจะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมันดิบอีกแรง

 

ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง Sentiment เชิงลบต่อ SET Index ในวันนี้จากความผันผวนของสถานการณ์ทะเลแดง อย่างไรก็ตาม SET Index ไม่น่าจะผันผวนมากนักเนื่องจากได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น โดย SET Index มีสัดส่วนหุ้นน้ำมัน-โรงกลั่น เกือบ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตลาดฯ โดยหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ PTTPTTEP TOP SPRC เป็นต้น


สรุป ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา จากความกังวล Supply ในตลาดน้ำมันตึงตัวขึ้น และความไม่สงบในสงครามตะวันออกกลางและทะเลแดง คาดเป็นประเด็นหนุนให้ SET Index Outperform ตลาดหุ้นอื่นๆได้ในวันนี้ โดยคาดมาจากหุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรงกลั่น โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำ PTT PTTEP TOP SPRC เป็นต้นต่างชาติขายหุ้นไทยเยอะ จนยอดซื้อสะสมตั้งแต่ต้นปี 2022พลิกกลับมาติดลบต่างชาติเคยซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยในปี 2022 สูงถึง 2.02 แสนล้านบาท แต่ในปี 2023ถึงปัจจุบัน ต่างชาติขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง -2.13 แสนล้านบาท ทำให้ยอดช้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2022 ถึง ปัจจุบันพลิกกลับมาติดลบ 1.1 หมื่นล้านบาท


และหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไป พบว่า ต่างชาติเคยซื้อสุทธิหุ้นไทยในปี 2022 มีต้นทุนเฉลี่ยในการซื้อเทียบเท่า SET Index อยู่ที่ 1674 จุด แต่ในปี 2023 ถึง ปัจจุบันมีการขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง โดยมีต้นเฉลี่ยในการขายอยู่ที่ 1517 จุด แสดงว่า ภาพรวมต่างชาติยอมขายขาดทุนเฉลี่ยราว -10% (คำนวณจากดัชนีซื้อเฉลี่ย 1674 จุด และขายเฉลี่ยที่ 1517 จุด) และณ ปัจจุบัน SET Index อยู่ที่ 1369 จุด ถ้าต่างชาติซื้อสะสมหุ้นไทยในปี 2022 แล้วมาขายตอนนี้จะขาดทุนราว -18.3%


สรุป แสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทยพอสมควร เนื่องจากภาพรวมในช่วง 1 ปีกว่า ที่ผ่านมา เห็นแรงขายจากต่างชาติที่ยอมขาดทุนถึง -10% แต่หลังจากนี้แรงขายหลังจากนี้มีโอกาสชะลอลงเพราะยอดซื้อตั้งแต่ต้นปี 2022 พลิกกลับมาติดลบแล้ว ส่วนต่างชาติจะกลับมาซื้อเมื่อไหร่? หลายๆ ฝ่าย อาทิ รัฐบาล, ธปท., ตลาดหลักทรัพย์ฯ, กลต., โบรกเกอร์ คงต้องช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้นักลงทุนกลับมาลงทุนอีกครั้ง


หุ้นกู้ในกลุ่มไหนมีความเสี่ยงมาก/น้อย ... มาดูกัน
วันนี้ฝ่ายวิจัยฯมีการรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป ของหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯทำการศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มท่องเที่ยว : CENTEL (Rating A - / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี2567ราว 6ร้อยล้านบาท ขณะที่สัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 0.7เท่า จึงมองความเสี่ยงทางการเงินต่ำ ERW : ไม่มีการใช้ตราสารหนี้ ความเสี่ยงจากความกังวลด้านตราสารหนี้ ต่ำสุดในกลุ่มฯ MINT (Rating A / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567ราว 1.1 หมื่นล้านบาท ในเชิง Net gearing ณ สิ้นงวด 3Q66 ที่ 1เท่า ต่ำกว่า Debt covenant ที่ 1.75เท่า และกรอบการบริหารภายในของบริษัทที่ 1.3เท่า ขณะที่เงินสดในมือ ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท จึงประเมินอยู่ในการบริหารจัดการ โดยในกลุ่มโรงแรม ภายใต้เศรษฐกิจจีนที่อ่อนแรง ส่งผลต่อเนื่องถึงภาคท่องเที่ยวไทย ทำให้ MINT ที่โครงสร้างโรงแรมอยู่ใน EU ราว 50% ของรายได้ ซึ่งพึ่งพาจีนน้อย ประเมินแรงกดดันจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจจีนต่ำกว่ากลุ่มฯ


กลุ่มจำนำทะเบียน : ถือเป็นกลุ่มที่ใช้ Financial leverage สูง เพื่อนำเงินไปปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดีสัดส่วน D/E หุ้นในกลุ่มฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ Debt covenant หรือกรอบการบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนภายในของแต่ละบริษัทที่คุมไม่ให้เกิน 4 เท่าMTC (Rating BBB+ / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว 2.5หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 3.7 เท่า ยังอยู่ในกรอบการบริหารSAWAD (Rating BBB+ / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว9.8 พันล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2.7 เท่า อยู่ในกรอบการบริหารจัดการ
TIDLOR (Rating A / Tris) : ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปี 2567 ราว 8.3พันล้านบาท โดยสัดส่วน D/E ณ สิ้นงวด 3Q66 อยู่ที่ 2.4 เท่า อยู่ในกรอบการบริหารจัดการ


กลุ่มนิคมฯ : มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจาก rating ของบริษัทนิคมฯ อยู่ในเกณฑ์ดี บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรต่อเนื่อง ประกอบกับฐานะการเงินแข็งแกร่งสะท้อนจากnet gearing ratio ที่ 0.6 -0.9 เท่า นอกจากนี้หุ้นกู้บริษัทนิคมฯ มีอายุไม่เกิน 5 ป

กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : มีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดสูงถึง 7.6 หมื่นล้านบาทแต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจดี ทุกบริษัทมีเครดิตเรตติ้งสูง SCC(A),SCCC(A) และ TPIPL (A-)

กลุ่มมีเดีย : มีความเสี่ยงต่ำ ไม่มีหุ้นกู้ครบกำหนดในปีนี้ และบริษัทในกลุ่มที่ฝ่ายวิจัยวิเคราะห์มีฐานะการเงินค่อนข้างดี

กลุ่มบรรจุภัณฑ์ : มีความเสียงต่ำ โดยบริษัทในกลุ่มที่ฝ่ายวิจัยวิเคราะห์คือ SCGP มีฐานะการเงินดี และมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง


กลุ่มขนส่ง : มีความเสี่ยงต่ำ บริษัทที่ออกหุ้นกู้อยู่ในธุรกิจขนส่งมวลชนอย่าง BTS และBEM มีเครดิตเรตติ้งสูง และมีกระแสเงินสดเข้ามาสม่ำเสมอ มีอายุหุ้นกู้ยาว และกระจายตัวครบกำหนดในแต่ละปี ไม่กระจุกตัวในปีใดปีหนึ่งเป็นพิเศษ

กลุ่มการแพทย์: ไม่มี concern ที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากมีเพียง BDMS ตัวเดียวที่ออกหุ้นกู้ โดยครบกำหนดชำระจำนวน 1.5 พันล้านบาทในปี 2024 จากมูลค่ารวม 6พันล้านบาท ซึ่งมีกระกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เพียงพอในการ service debt.Interest coverage ในงวด 9M23 มากกว่า 40.3 เท่า


กลุ่มพลังงาน : โดยภาพรวมมีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดสูงถึง 6.0 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจดี เกือบทุกบริษัทมีเครดิตเรตติ้งสูง PTT (AAA), PTTEP (AAA) มีเพียง BANPUที่มีหนี้รวมค่อนข้างสูงรวมกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท แต่ยังได้รับเครดิตเรทติ้งในระดับที่ดีA+ อาจจะต้องมีการติดตามใกล้ชิด


กลุ่มโรงไฟฟ้า : โดยภาพรวมมีความเสี่ยงต่ำ แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดถึง 4.1 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจดี รวมถึงลักษณะธุรกิจจะเป็นการกู้ยืมในสัดส่วนสูง D/E ราว 3:1 ของแต่โครงการโรงไฟฟ้า จึงทำให้มูลหนี้ค่อนข้างสูง อันดับเครดิตเรทติ้งอยู่ในกรอบ AA+ ถึงBBB

กลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF และ TU) : มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีเครดิตเรตติ้งสูงระดับ A+ นอกจากนี้หุ้นกู้มีอายุยาว กระจายตัวครบกำหนดในแต่ละปี โดยปีนี้ครบ 2.8 หมื่นล้านบาท (คิดเป็น 12% ของหุ้นกู้ทั้งหมด)

กลุ่มปิโตรเคมี: มีความเสี่ยงปานกลาง บริษัทที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ IVL (AA-)เพราะหนี้รวมค่อนข้างสูงถึง 8.4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ธุรกิจยังมีความผันผวนด้านกำไรเพราะอิงกับราคา commodity ซึ่งแปรผันตามเศรษฐกิจ ต้องให้ความระมัดระวัง

กลุ่มอสังหาฯ (พัฒนาที่อยู่อาศัยและเพื่อเช่า) : มีความเสี่ยงปานกลาง แม้ปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดสูง 1.06 แสนล้านบาท (สัดส่วน 35% ของหุ้นกู้ทั้งหมด) แต่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น LH, CPN, FPT, SIRI, SPALI, PSH และ AP ที่มีธุรกิจมั่นคง การเงินค่อนข้างดี สำหรับบริษัทที่มีผลขาดทุน และ อัตราหนี้สินต่อทุนสูงกว่ากลุ่มฯ อย่าง ANAN ปีนี้มีหุ้นกู้ครบ 7 พันล้านบาท ได้คืนสำหรับเดือน ม.ค. แล้ว 3.8พันล้านบาท ที่เหลือ 3.2 พันล้านบาท จะครบ ก.ค. 2567 ส่วน PF ปีนี้ครบรวม 6.7พันล้านบาท เตรียมคืนหุ้นกู้ 1Q67 รวม 2.68 พันล้านบาท เรียบร้อยแล้ว สำหรับหุ้นกู้ที่เหลือต้องติดตามต่อไป


กลุ่ม ICT : ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาและมีการออกหุ้นกู้ คือ ADVANC, TRUE, และ JMARTโดยมีมูลค่าคงค้างอยู่รวมกันราว 2.2 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่ 1.8 แสนล้านบาท เป็นของ TRUE ซึ่งในปี 2567 นี้จะครบกำหนดราว 3.6 หมื่นล้านบาท แต่บริษัทยังมีกระแสเงินสดในการดำเนินงานปีละราว 7 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงยังมีวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินอีกราว 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้จากเรตติ้งของบริษัทที่ A+ น่าจะช่วยให้สามารถกู้ยืมเพิ่มเพื่อมาชำระหุ้นกู้ที่ครบกำหนดได้


กลุ่มพาณิชย์: ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาและมีการออกหุ้นกู้ คือ BJC, CRC, CPALL, CPAXT,HMPRO และ DOHOME มีมูลค่าหุ้นกู้คงค้างรวมกัน 3.5 แสนล้านบาท โดยบริษัทที่มีหุ้นกู้ในมูลค่ามากสุดคือ CPALL ที่ 2.2 แสนล้านบาท (ไม่รวม Perpetual bond 1 หมื่นล้านบาท) รองลงไปเป็น BJC ที่ 8.9 หมี่นล้านบาท โดยในปี 2567 มีหุ้นกู้ของ CPALL,BJC และ HMPRO ที่จะครบกำหนด 2.9 หมื่นล้านบาท, 2.3 หมื่นล้านบาท และ 4พันล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทจะไม่มีปัญหา จากฐานะการเงินที่ยังแข็งแกร่ง และเรตติ้งของบริษัทในระดับ A+ (CPALL), A (BJC) และ A- (HMPRO) ที่จะสนับสนุนให้ยังสามารถก่อหนี้เพิ่มได้


กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง บริษัทที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ NWRและ ITD เพราะมีหุ้นกู้ครบกำหนดปีนี้ค่อนข้างมากในขณะที่ธุรกิจหลักยังมีผลขาดทุนและมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงมาก ส่วน UNIQ และ SQ ซึ่งมีเครดิตเรตติ้ง BBB- และมีฐานกำไรต่ำ ก็ต้องให้ความระมัดระวังเช่นเดียวกัน

 

RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

หุ้นใหญ่ฟื้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองเห็นหุ้นใหญ่หลายตัว ฟื้นตัว เนื้อตัวเต็มไปด้วยแสง สีเขียว ตามตลาดสหรัฐบวก ....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้