Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : เจาะงบแบงก์โค้งแรก!! แบงก์ใหญ่ทรุด กดกำไรทั้งกลุ่มดิ่ง 15.75% / TMB โตสวน 163.7%

3,018

HotNews : เจาะงบแบงก์โค้งแรก!! แบงก์ใหญ่ทรุด กดกำไรทั้งกลุ่มดิ่ง 15.75%  / TMB โตสวน 163.7%

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 22 เมษายน 2563) ผู้สื่อข่าวหุ้นอินไซด์สำรวจผลประกอบการไตรมาส1/63 ของหุ้นกลุ่มแบงก์ ประกอบด้วย KBANK ,BBL , SCB, BAY, KTB, TMB, KKP TISCO ,CIMBT, LHFG พบทั้งกลุ่มกำไรวูบเหลือ 45,537 ล้านบาท ลดลง 15.75% จากไตรมาส1/2562 ที่มีกำไร 54,052 ล้านบาท หลังศก.ไทยหดตัว จากพิษโควิดขวิดไม่เลือกหน้าแถมเจอ TFRS 9 ฉุด งานนี้แบงก์ใหญ่กำไรทรุดถ้วนหน้า BAY ดิ่ง 44.78% , KBANK ร่วง 34.47% ,KTB หด 16.70% ,BBL ลดลง 15% ด้าน TMB โตสวน หลังซดกำไรธนชาตเต็มไตรมาส ดันกำไรโค้งแรกกระฉูด 163.70% ขณะที่ CIMBT กำไรพุ่ง 144.25% ฟาก KKP กำไรโต 20.83% ส่วน SCB กำไรแค่หางอึ่ง เพิ่มขึ้นเพียง 1%

 

 

 

 

 

--SCB เผยกำไร Q1/63 เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน--

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดเผยว่า ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิประจำไตรมาส 1 ปี 2563 (งบการเงินรวมก่อนสอบทาน) จำนวน 9,251ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากรายได้รวมที่ขยายตัว 9% จากปีก่อน พร้อมกับที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง

 

 

ขณะเดียวกันธนาคารได้ตั้งเงินสำรองสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในปัจจุบันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 25,777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน สะท้อนถึงกลยุทธ์ของธนาคารในการปรับพอร์ตสินเชื่อด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง การปรับตัวลดลงของต้นทุนทางการเงิน และการรับรู้รายได้ที่สูงขึ้นของพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามมาตรฐานบัญชีใหม่ซึ่งเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปี อย่างไรก็ตามฐานรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังคงได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากภาวะดอกเบี้ยขาลง การหดตัวของยอดสินเชื่อรวมในไตรมาสแรกของปี และการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยภายหลังที่ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา

 

 


รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 11,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากรายได้ค่าธรรมเนียมประเภท recurring ที่ปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาส 1 ของปี 2563 รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งขยายตัว 31% จากปีก่อน เป็นจำนวน 2,022ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจขายประกันผ่านธนาคารเพิ่มขึ้นห้าเท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 3,159 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากความร่วมมือกับกลุ่มเอฟดับบลิวดีในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต การขยายฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้สามารถชดเชยผลกระทบของการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ตามแนวทางการกำกับดูแลของทางการเมื่อต้นปี และการชะลอตัวของปริมาณการทำธุรกรรมธนาคารในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 16,393 ล้านบาท ลดลง 8% จากปีก่อน เป็นผลจากการไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับพนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่รับรู้ในปีก่อน และการตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตออกจากงบการเงินรวมภายหลังที่ธนาคารได้ขายหุ้นออกไป โดยรวมแล้วอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในไตรมาส 1 ของปี 2563 ของธนาคารจึงลดลงเป็น 43.6%

 

 


ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 9,726 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ของปี 2563 เพื่อรองรับหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชีใหม่ในการประมาณการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารอยู่ที่ 3.17% ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับเพียงพอที่ 140%

 

 


ธนาคารมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งโดยมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) ที่ 16.1% และเงินกองทุนรวมตามกฎหมายที่17.2% แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่จัดได้ว่าเป็นช่วงวิกฤต ที่มีความผันผวนและความไม่แน่นอนระดับสูงมากทั้งในตลาดการเงินและเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยที่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อใด คณะกรรมการธนาคาร จึงได้มีมติให้ยกเลิกโครงการซื้อหุ้นคืนของธนาคารในวงเงินไม่เกิน 16,000 ล้านบาทที่ได้อนุมัติไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้าช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารให้ก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่นี้ไปได้อย่างดีที่สุด โดยให้ลูกค้าเข้าร่วมโครงการบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของธนาคาร และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในมาตรการต่าง ๆ ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการทำให้ธนาคารมีความพร้อมในการขยายธุรกิจเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมสืบเนื่องจากวิกฤต

 

 


นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

 

“แม้ว่าธนาคารมีผลประกอบการในไตรมาสแรกของปีอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเกิดจากการพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ ของโครงการTransformation ที่ผ่านมา แต่การแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 กำลังสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่อประชาชนและภาคเอกชน และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจธนาคารทั้งในด้านรายได้และคุณภาพสินเชื่อ ซึ่งคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะปรากฏอย่างชัดเจนในไตรมาสถัดๆ ไป ขณะที่ภาคเศรษฐกิจจริงกำลังได้รับผลกระทบ ฐานะทางการเงินของธนาคารยังคงแข็งแกร่งด้วยเงินกองทุนรวมตามกฎหมายที่ 17.2% และ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) ที่ 16.1% 

 

การดํารงเงินกองทุนในระดับสูงและการบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวังจะช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือกับวิกฤตจากโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจมหภาคที่มีแนวโน้มถดถอยในปี 2563 ได้ ในช่วงเวลานี้ ธนาคารมีเป้าหมายหลักที่จะช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบให้ฟื้นตัวและกลับมาสู่ภาวะปกติได้ โดยให้ลูกค้าเข้าร่วมโครงการบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินขอธนาคาร และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในมาตรการต่าง ๆ ที่ประกาศโดยหน่วยงานกำกับดูแล ในขณะที่สถานการณ์ของการแพร่ระบาดยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยให้ลูกค้าและทุกภาคส่วนของสังคมก้าวข้ามช่วงเวลาอันท้าทายนี้ไปด้วยกัน และด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงเห็นควรที่ต้องประกาศยกเลิกโครงการซื้อหุ้นคืนของธนาคารไว้ก่อนเพื่อการเข้าช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างเต็มที่”

 

 

 

 

--KBANK แจงกำไรQ1/63 ทรุด 34.47% หลังใช้ TFRS 9 -รายได้ที่มิใช่ดอกบี้ยลดลง 39.78% --



ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 1ปี 2563 จำนวน 6,581 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2562จำนวน 10,044 ล้านบาท

 

 

ผลการดำนินงานสำหรับไตรมาส 1/63 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/62 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 6,581 ล้นบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3,463 ล้านบาท หรือ 34.47% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,830ล้านบาท หรือ 11.21% ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) จากเดิมรับรู้ตามสัญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9

 

 


ประกอบกับการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest magin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49%

 

 


นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกบี้ยลดลงจำนวน 4,869 ล้านบาท หรือ 39.78% ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19 รวมทั้ง TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของงินลงทุนใหม่โดยสะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนี้

 

 


สำหรับค่าใช้ง่จากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,471 ล้านบาท หรือ 9.19% ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้ง่ายในการจัดการหนี้ ค่าใช้ง่ายด้านเทคในโลยีสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้ง่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 49.31%

 

 

ทั้งนี้ ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss) เพิ่มขึ้นจำนวน 4,292 ล้านบาท จากปีก่อน โดยพิจารณาปัจัยต่ง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับดวามไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

 

 

 

 

--BBL เผยกำไรไตรมาส1/63 หด15% เหตุตั้งสำรองเพิ่มขึ้น -รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง--

 

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1/2563ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร 7,671ล้านบาท ลดลง 15.0% จากไตรมาส 1/2562 ที่มีกำไรสุทธิ 9,028 ล้านบาท

 

 

อย่างไรก็ตามมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,627 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อและการเปลี่ยนแปลงการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อโดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง และการปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจากร้อยละ 0.46 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.23 ต่อปีเป็นการชั่วคราวในช่วงปี2563 ถึง 2564 เพื่อให้สถาบันการเงินไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิจต่อไป

 

 

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง ส่วนใหญ่จากกำไรสุทธิจากเงินลงทุนลดลง เนื่องจากไตรมาสก่อนมีกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนจำนวน 14,988 ล้านบาท

 

 

นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง 4,611ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายที่สูงในไตรมาสก่อนซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล สำหรับไตรมาสนี้ ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 5,087ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน11,255ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสก่อน ธนาคารมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเสริมสร้างระดับสำรองของธนาคารก่อนเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9)หากเทียบกับไตรมาส 1/2562ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารลดลง1,357 ล้านบาท โดยมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 3,754ล้านบาท สาเหตุหลักจากไตรมาสนี้มีผลขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาดเงินและตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 1,521ล้านบาท

 

 

 

 


--KTB เผยกำไร Q1/63 วูบ 16.7% เหตุรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง-ศก.ไทยชะลอรุนแรง --

 

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เปิดเผยว่า จากสถานการณ์สงครามการค้า ภาวะภัยแล้ง และการแพร่ระบาดของ COVD-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างรุนแรง ประกอบกับการประกาศลตอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลและ ธปท. ตั้งแต่ต้นปี โดยธนาคารตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพยุงเศรษฐกิจ และพร้อมสนับสนุนกลไกของภาครัฐ จึงได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อและการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ข้างต้น ส่งผลให้ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารสำหรับไตรมาส 1/2563 เท่ากับ 6,082 ล้านบาท ลดลงร้อยละ16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง

 

 

โดยส่วนใหญ่ป็นผลมาจากการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่มาจากการได้รับงินบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนองจำนวน 3,899ล้านบาทในไตรมาส 1/2562 แม้ว่าธนาคารมีการบริหารจัดการทางการงินที่ดีทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายลดลงซึ่งมีสาเหตุหลักจากการขาตกุนจากการต้อยค่าทรัพย์สินรอการขายในไตรมาส 1/2562

 

 

รายได้รวมจากการดำเนินงาน เท่ากับ 30,482 ล้านบาท ลตลงร้อยละ 9.2 จากช่วงเตียวกันของปีก่อน (หากไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยจากการขายทอตตลาดฯ ในไตรมาส 1/2562 รายได้รวมจากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7

 

 

 

 

--BAY เผยกำไรQ1/63 ทรุด 44.8 % จากQ1/62 หลัง ศก.อ่อนแอ - อยู่ระหว่างทบทวนเป้าหมายธุรกิจปี63 --

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY เปิดเผยว่า กรุงศรีส่งมอบกําไรสุทธิในไตรมาส 1/2563 ที่ 7,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากไตรมาส 4/2562และลดลงร้อยละ 44.8 จากไตรมาส 1/2562 เนื่องจากมีการบันทึกกําไรพิเศษจากการขายหุ้นร้อยละ 50 ของบริษัทเงินติดล้อ จํากัด ในไตรมาส 1/2562แม้ว่าผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสเริ่มกระทบอย่างชัดเจนต่อภาคการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ และมาตรการการปิดเมืองเริ่มส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา

 

 

สินเชื่อในไตรมาส 1/2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินเชื่อเพื่อการหมุนเวียนของภาคธุรกิจ โดยเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ 1,869,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 52,086 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2562เงินรับฝากมีจํานวนทั้งสิ้น 1,667,371 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 100,486 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4จากสิ้นเดือนธันวาคม 2562 โดยส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากออมทรัพย์

 

 


รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจํานวน 869 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิที่เป็นผลจากการลดลงของกิจกรรมทางธุรกิจของลูกค้ารายย่อย สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงในระหว่างไตรมาส

 

 

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563กรุงศรีมีเงินสํารองจํานวน 75,663 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนเงินสํารองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 159.1 จากร้อยละ 163.8 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562กําไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.96 บาท ในไตรมาส 1/2563

 

 

สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน จากการหยุดชะงักของภาคการผลิตและรายได้ที่ลดลง อีกทั้งยังเพิ่มระดับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ได้แก่ ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การชะลอของการเบิกจ่ายงบประมาณ และภัยแล้ง จากปัจจัยดังกล่าว กรุงศรีจึงได้มีการประเมินสภาพแวดล้อมการดําเนินธุรกิจใหม่ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้

 

 


แม้จะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ระยะเวลาของการระบาดและการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสยังคงไม่แน่นอน ธนาคารจึงอยู่ในระหว่างการทบทวนเป้าหมายทางการเงินของธนาคารในปี 2563 ด้วยสมมติฐานว่าผลกระทบจากการระบาดของโรคจะมีความรุนแรงขึ้นในไตรมาส 2/2563 โดยกรุงศรีจะมีการสื่อสารเป้ าหมายทางการเงินใหม่ในโอกาสต่อไป

 

 

 


--TISCO เผยกำไร Q1/63 วูบ14.2% ตามภาวะธุรกิจชะลอตัว - รับผล TFRS 9--

 

บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)TISCO เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการในไตรมาส 1 ปี 2563จำนวน 156.33 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่ธรรมเนียมบริการ แต่เนื่องจากบริษัททิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และไม่มีการประกอบธุรกิจหลักอื่นใด ดังนั้น ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ จึงเป็นงบการเงินรวมของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์และกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์

 

 


ผลการตำเนินงานงวดไตรมาส 1 ปี 2563งบการเงินของบริษัทรอบปี 2563 บริษัทเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) เรื่องเครื่องมือทางการงิน และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 (TFRS 16) เรื่องสัญญาเช่า ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2563 โดยการรายงานข้อมูลงบการเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไปจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับเก่า

 

 

 


-- TMB อวดกำไร Q1/63 บานฉ่ำ โต 163.7 % จากปีก่อน หลัง รับรู้รายได้จากธนาคารธนชาตเต็มไตรมาส--

 

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส1/63 หลังหักสำรองฯ และภาษี ทีเอ็มบีมีกำไรสุทธิ 4,163 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 157.8 จากไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ 163.7 จากปีก่อนหน้า ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 8.5

 

 

 

สำหรับผลการดำเนินงานของทีเอ็มบีในไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นไปตามเป้าหมาย หลังรับรู้รายได้จากธนาคารธนชาตเข้ามาเต็มไตรมาส สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 0.8 สินเชื่อเช่าซื้อลูกค้ารายย่อยมีแนวโน้มเติบโตที่ดี สำหรับ NIM และรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับตัวดีขึ้นมีปัจจัยหลักมาจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและกำรบริหารต้นทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางของธนาคารในการปรับโครงสร้างงบดุลให้เหมาะสมเพื่อรับรู้ประโยชน์ด้านงบดุล (balance sheet synergy)

 

 

หลังการรวมกิจการ จากการ เติบโตอย่างแข็งแกร่งของรายได้ค่าธรรมเนียมและการรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุน (cost synergy) ส่งผลให้PPOP ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและปี ก่อนหน้า ทีเอ็มบียังคงตั้งสำรองฯ อย่างรอบคอบ และตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มเติมภายใต้มาตรฐำนบัญชี TFRS9 เพื่อบริหารจัดการภาพรวมที่อาจเกิดความไม่แน่นอนในอนาคต ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 2.76

 

 

 


--KKP แจงกำไร Q1/63 โต 20.8% จากรายได้เพิ่มขึ้น-สินเชื่อขยายตัวดีที่ 3.8%--

 

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) KKP เปิดเผยว่า สำหรับไตรมาส 1/2563ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำ ไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,484 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิจำนวน 1,228ล้านบาทในไตรมาส 1/2562 สำหรับกำไรเบ็ดเสร็จรวมของไตรมาส1/2563 เท่ากับ 799ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.6

จากจำนวน 1,369 ล้านบาทในไตรมาส 1/2562 โดยกำ ไรเบ็ดเสร็จรวมไดรวมผลจากการวัดมูลค่าหลกัทรัพย์เผื่อขายอันเป็นผลจากความผนัผวนของตลาดทุน

 

 

ในส่วนรายได้จากการดำเนินงานมีจำนวนรวม5,594 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 โดยหลักจากรายไดด้อกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้อื่นๆที่เพิ่มขึ้น

 

 

ทางด้านสินเชื่อของธนาคารสำหรับไตรมาส 1/2563 มีการขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 3.8 (1ไม่รวมสินทรัพยทางการเงินที่มีการดอ้ยค่าด้านเครดิตเมื่อซ้ือหรือเมื่อเกิดรายการ (Purchased or originated credit impaired)จากสิ้นปี2562 โดยมาจากการขยายตัวในสินเชื่อเกือบทุกประเภทรวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการขยายตัวได้ดีในไตรมาส 1/2563 ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจ เอสเอ็มอี มีการหดตัวเล็กน้อย ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อดอ้ยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 1/2563อยู่ที่่ร้อยละ 3.7ปรับลดลงจากสิ้นปี2562 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0

 

 

ทางด้านธุรกิจตลาดทุน บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)(บล.ภทัร) มีส่วนแบ่งตลาด (SET และ mai ไม่รวมบัญชีซื้อขายหลักทรัพยข์องบริษัท ) ร้อยละ 10.30 ซึ่งเป็นอันดับที่ 1 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่งโดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ9.61ในปี 2562

 

 

 

 

--CIMBT เผยกำไร Q1/63 โต 144.3% หลังรายได้พุ่ง - ผลขาดทุนด้านเครดิตลดลง--



นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) CIMBT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 มีกำไรสุทธิจำนวน1,079.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 637.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 144.3 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี2562 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานร้อยละ 16.8 และการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นร้อยละ 38.8 สุทธิกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ 20.5

 

 

ขณะที่สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) อยู่ที่ 13.5 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31ธันวาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 เป็นผลจากปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ด้อยคุณกาพ (Stage 3) อย่งไรก็ตามธนาคารซีไอเอ็มบีไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลลูกหนี้และการติดตามหนี้

 

 

 

 


--LHFG แจงQ1/63 พลิกขาดทุน 708.5 ลบ. เหตุ TFRS9 ฉุด --

 

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) LHFG เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยไตรมาสที่ 1ของปี 2563 หากไม่นับรวมการลดลงจากการ Mark to Marketของเงินลงทุน บริษัทและบริษัทย่อย จะมีกำไรสุทธิจำนวน 1,759.5 ล้านบาท (เป็นเพียงกำรจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบ)

 

 


ผลการดำเนินงำนของบริษัทและบริษัทย่อย (กลุ่มบริษัท) ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563ขาดทุนสุทธิจำนวน 708.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 187.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1ของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 806.7 ล้านบาท โดยการลดลงของกำไรสุทธิส่วนใหญ่มาจากการ Mark to Marketของเงินลงทุนซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ (TFRS9)

 

 


กำรลดลงจากการ Mark to Market เป็นผลจากเงินลงทุนของบริษัทและบริษัทย่อยที่ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนใน Infrastructure Fund (IFF) ร้อยละ 86.57 Property Fund (PF) ร้อยละ 3.99 และ REITs ร้อยละ 9.45 โดยการลงทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อคาดหวังเงินปันผลรับที่ค่อนข้างแน่นอนและอยู่ในระดับสูงซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยได้คัดเลือก IFF PF และ REITs ที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราเงินปันผลรับเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 สูงกว่าอัตราเงินปันผลรับเฉลี่ยต่อปีของทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม IFF PF และREITs ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.70

 

 


จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีความตื่นตระหนกจึงมีการขำยหุ้นจนเข้าสู่ภาวะขำยที่ไม่มีเหตุผล (Irrationality of Selling) ทำให้ราคาตลาดปรับตัวลดลงจากแรงเทขายค่อนข้างมากซึ่งเป็นลักษณะชั่วคราว แต่เมื่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)มีแนวโน้มที่ดีขึ้นประกอบกับภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือกับทุกภาคส่วน จะทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเริ่มกลับมาและส่งผลดีต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาตลาดกลุ่ม IFF PF และ REITs ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย

 

 

กำไร(ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน สำหรับงวดไตรมาสที่ 1ของปี 2563เท่ากับ (0.034) บาทต่อหุ้นลดลงจำนวน 0.072 บาทต่อหุ้น หรือลดลงร้อยละ 189.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1ของปี 2562 ที่มีจำนวน 0.038 บาทต่อหุ้น

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้