Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : GUNKUL ตัวจริงพลังทดแทน ทุ่ม 1.86 พันลบ. ลุยโซลาร์เวียดนาม 60 MW

3,525

HotNews : GUNKUL ตัวจริงพลังทดแทน ทุ่ม 1.86 พันลบ. ลุยโซลาร์เวียดนาม 60 MW

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (7 กุมภาพันธ์ 2563) บอร์ด บมจ. กันกุลเอ็นจิเนิยริ่ง (GUNKUL) อนุมัติบริษัทย่อย ไบร์ท กรีน พาวเวอร์ ทำรายการซื้อหุ้น An Yang และ Yun Yang มูลค่ารวม 1,867.38 ล้านบาท เข้าถือหุ้นใหญ่ 99.94% ถือครองสิทธิ์โรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ด้าน “ โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ระบุช่วยหนุนการเติบโตด้านสินทรัพย์ และผลประกอบการในอนาคต ทั้งเป็นก้าวสำคัญขึ้นสู่ความเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทน รวมถึงมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ

 

 

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัท ไบร์ท กรีน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าทำรายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการ Tri Viet 1 Solar Power Plant และ โครงการ Bach Khoa A Chau 1 Solar Power Plant ในจังหวัด Tay Ninh ประเทศเวียดนาม โดยเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท Singapore An Yang Pte. Ltd. (An Yang) และ Singapore Yun Yang Pte. Ltd. (Yun Yang) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของโครงการฯ ด้วยมูลค่าการลงทุนโครงการละ 30,300,000.00 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ รวม 60,600,000.00 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1,867,389,000 บาท

 

 

การเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ An Yang และ Yun Yang ส่งผลทำให้บริษัทฯ เข้าถือหุ้นในแต่ละโครงการคิดเป็น 99.94% ซึ่งทั้ง 2 โครงการ มีอัตรารับซื้อไฟฟ้ารูปแบบ Feed-in Tariff ที่ 0.0935 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 20 ปี และโครงการนี้ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามนโยบายการลงทุนของบริษัทฯ โดยจะมีรายได้ค่าไฟประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี

 

 

 

 

“การเข้าซื้อหุ้นสามัญของ An Yang และ Yun Yang เพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนามที่ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์แล้ว ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายฐานการดำเนินงานของบริษัทฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการเติบโตของบริษัทฯ ทั้งในด้านสินทรัพย์และผลประกอบการโดยบริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้และผลตอบแทนจากการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าดังกล่าวได้ทันทีหลังเข้าลงทุน อีกทั้งยังเป็นการดำเนินตามนโยบายของบริษัทฯ ที่จะมีจำนวนเมกะวัตต์สะสมเพิ่ม และมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ เล็งเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง และมีความเสี่ยงต่ำ ตลอดจนสามารถสร้างแหล่งที่มาของรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทฯ ได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่องในระยะยาว” นางสาวโศภชากล่าวในที่สุด

 

 


พร้อมกันนี้ บริษัทฯคาดว่ารายได้ปี 2563 จะทำได้ 9,000 ล้านบาท หรือ เติบโต 20% จากปีก่อนคาดทำได้ 7,000 ล้านบาท เนื่องจาก ปีนี้บริษัทฯคาดว่าจะมีการ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า 120 เมกะวัตต์ โดยมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม จำนวน 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการ Tri Viet 1 Solar Power Plant กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ และ โครงการ Bach Khoa A Chau 1 Solar Power Plant กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในมาเลเซีย 30 เมกะวัตต์

 

 

โครงการโซลาร์รูฟท็อป Praivate PPA ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีคอนแทคอยู่ประมาณ 60-70 เมกะวัตต์ รวมทั้ง ปลายปีที่ผ่านมาบริษัทฯได้เข้าไปซื้อโครงการของรางเงินเพิ่ม อีกประมาณ 30 เมกะวัตต์ ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นปี2563 บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตของโครงการพลังงานทดแทนที่จ่ายไฟเข้าระบบมากกว่า 700 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันทำได้แล้วกว่า 600 เมกะวัตต์

 

 

 

 

 

ซึ่งบริษัทฯยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้เป้าหมายเมกะวัตต์สะสมไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 โดยบริษัทฯยังสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าชุมชน ในโครงการโซลาร์ใสหกรณ์ ที่รัฐยังคงออกนโยบายออกมมาอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นบริษัทฯมีแผนที่จะทำร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่น โดยมองว่าเป็นการตอบสนองต่อนโยบายจากทางภาครัฐที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้

 

 

 

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีงานในมือ (Backlog) จำนวน 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ต่อเนื่องในระยะเวลา 2 ปี อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็ยังคงเดินหน้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เพื่อเสริมแกร่งธุรกิจ นางสาวโศภชา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนการนำบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจก่อสร้าง(EPC) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น บริษัทฯมองว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะขยายการเติบโตของบริษัทฯ รวมถึงเป็นโอกาสอีกอย่างนึงที่ทำให้บริษัทลูกมีความแข็งแกร่ง รวมถึงเป็นการสร้างน่าความเชื่อถือให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

 


กูรูเคทีบี แนะซื้อ GUNKUL เป้า 3.60 บาท/หุ้น

 

บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า คงคำแนะนำ "ซื้อ" และราคาเป้าหมายที่ 3.60 บาท อิงวิธี SOTP โดยเราประเมินกำไรปกติ 4Q19E ที่ 487 ล้านบาท (+32% YoY, -49% QoQ) Key driver หลักมาจากธุรกิจไฟฟ้าโดยเติบโต YoY จากการรับรู้รายได้จากการ COD โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ระหว่างปี 66MW ในขณะที่ QoQ ลดลงจากการผ่านช่วง high season ของโรงไฟฟ้าทั้งแสงอาทิตย์และลม ซึ่งทำให้กำไรปกติทั้งปี 2019E คาดอยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท +15% YoY ในขณะที่ปี 2020E คาดกำไรอยู่ที่ 2.7 พันล้านบาท เติบโตเด่น +24% YoY หนุนโดยการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม 84MW และรับรู้รายได้จากงาน EPC ในระดับ 3.0 พันล้านบาท จาก backlog ราว 9.0 พันล้านบาทซึ่งเป็นระดับสูงสุดใหม่

 

 


ราคาหุ้นในช่วง 1 และ 3 เดือน ปรับตัวลงมา -12% และ -17% ตามลำดับ คาดมาจากการรับรู้รายได้/ปิดดีลโครงการที่ล่าช้ากว่ากำหนดเดิม (Solar Malaysia 21MW, การประกาศผู้ชนะโครงการเคเบิลใต้น้ำเกาะเต่า สมุย 3.3 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตามเราประเมินเป็นโอกาสเข้าซื้อสะสม เนื่องจากปัจจุบันเทรดราคาถูก (forward PER 9x เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 20x) เมื่อเทียบกับผลประกอบการที่โตโดเด่นเฉลี่ยราว 16% CAGR 2018-22E (จากธุรกิจไฟฟ้าที่มี secured revenue และธุรกิจ EPC ที่มี backlog ราว 9.0 พันล้านบาทที่จะทยอยรับรู้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า) หรือคิดเป็น PEG เพียง 0.6x เท่านั้น

 

 

 

คาดกำไรปกติ 4Q19E เติบโตเด่น YoY ได้โรงไฟฟ้าใหม่หนุน คาดกำไรปกติ 4Q19E ที่ 487 ล้านบาท (+32% YoY, -49% QoQ) และรายได้รวมอยู่ที่ราว 2.0 พันล้านบาท (+17% YoY, -5% QoQ) โดย key driver หลักมาจากธุรกิจไฟฟ้าซึ่งมีการรับรู้รายได้จากการ COD โครงการ Kimitsu Japan 34MW (COD Apr-19) และโครงการ Sendai Japan 32MW (COD Nov-18) ในขณะที่ QoQ ลดลง จากการผ่านช่วง high season ของธุรกิจพลังงานทดแทนทั้งแสงอาทิตย์และลม คาดรายได้รวมธุรกิจนี้อยู่ที่ราว 1.3 พันล้านบาท (+37% YoY, -18 QoQ) และ GPM อยู่ที่ 70% (+800bps YoY, -400bps QoQ) ในขณะที่ธุรกิจจัดจำหน่ายและ EPC ประเมินรายได้รวมที่ราว 700 ล้านบาท (-16% YoY, +7% QoQ) ทะยอยรับรู้รายได้จาก backlog ที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมี backlog อยู่ในมือราว 9.0 พันล้านบาทสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม GPM ใน 4Q19E ของธุรกิจดังกล่าวคาดอยู่ที่ราว 14% (-600bps YoY, -1700bps QoQ) อิงสมมติฐาน full year blended GPM ที่ 23% (เทียบเท่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี)

 

 

 

 

คงประมาณการกำไรปี 2019E-20E คงประมาณการกำไรปกติปี 2019E โดยหาก 4Q19E ออกมาตามคาดจะทำให้กำไรทั้งปีอยู่ที่ราว 2.1 พันล้านบาท +15% YoY (อยู่ในกรอบประมาณการเดิมของเรา) ในขณะที่ปี 2020E คาดกำไรปกติอยู่ที่ราว 2.7 พันล้านบาท +24% YoY โดยได้รับแรงหนุนจาก 1) ธุรกิจไฟฟ้ารับรู้รายได้เต็มปีจากโครงการ Kimitsu Japan 34MW และการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทรางเงินโซลูชั่นจาก 67% เป็น 100% ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มเติมอีกราว 29MW พร้อมกับการ COD Solar Malasia 21MW ใน 1Q19 และ 2) ธุรกิจ EPC มี backlog อยู่ราว 9.0 พันล้านบาท คาดทยอยรับรู้ในปี 2020E ไม่ต่ำกว่า 3.0 พันล้านบาท เป็นระดับสูงสุดใหม่หลังจากที่ก่อนหน้ารับรู้ฉลี่ยราวปีละ 2.0 พันล้านบาทเท่านั้น

 

 

 

ราคาเป้าหมาย 3.60 บาท อิงวิธี SOTP 1) ธุรกิจ Power producer อิง DCF (WACC 5.7% No TG) ได้มูลค่า 3.30 บาท 2) ธุรกิจ EPC อิงวิธี PER (ใช้ PER 16X เที่ยบเท่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม Construction service ย้อนหลัง 5ปี -1SD) ได้มูลค่า 0.30 บาท Key catalyst ระยะสั้นคือการเข้าประมูลโครงการ Submarine cable เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะปัญหยีมูลค่ารวมราว 4 พันล้านบาท และการเจรโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มเติมในเวียดนาม 240MW คาดเห็นความชัดเจนใน 1H20E

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

SET ตีตื้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยตีตื้น ติดเครื่องวิ่งต่อ แรงซื้อหลักมาจากกลุ่มไอซีที นำโดย ADVANC ...

มัลติมีเดีย

มารู้จักหุ้น SNPS ก่อน IPO - สายตรงอินไซด์

มารู้จักหุ้น SNPS ก่อน IPO - สายตรงอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้