HotNews : 3 เทพหุ้น แห่เชียร์ซื้อ GUNKUL หลังกำไร 9 เดือนอลังการงานสร้าง
GUNKUL โชว์กำไร Q3/62 นิวไฮ ดัน 9 เดือนพุ่ง 122% ด้าน 3 เทพหุ้น แห่เชียร์ซื้อ GUNKUL นำโดยบล.เคทีบีฯ แนะนำซื้อ ปรับราคาเป้าหมายเป็น 3.60 บาท (เดิม 3.00 บาท ) ขณะที่บล.หยวนต้า คงคำแนะนำ ซื้อ ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 63 ที่ 3.58 บาท และ บล.ฟินันเซีย ไซรัส แนะนำซื้อ เคาะเป้า 3.70 บาท/หุ้น
บมจ. กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวัง อวดผลงานงวด 9 เดือน กำไรพุ่งสูงถึง 1,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 122% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 730 ล้านบาท ส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าพุ่งแตะ 3,372 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายหนุน “โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” มั่นใจโค้งสุดท้ายทิศทางธุรกิจยังส่งสัญญาณบวก รับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าที่ COD ไปแล้วกว่า 400 เมกะวัตต์ และเตรียมประมูลเพิ่มอีกเพียบ ทำให้มั่นใจรายได้ทั้งปีโตตามเป้า
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยถึงผลประกอบการงวด 9 เดือน (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562) ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 1,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 890 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 122%
สาเหตุที่ผลประกอบการงวด 9 เดือนของกลุ่มบริษัท GUNKUL เติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการขายไฟฟ้า และรายได้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 2,216 ล้านบาท และ 1,156 ล้านบาท ตามลำดับ หากเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนเท่ากับ 1,254 ล้านบาท และ 797 ล้านบาท เพิ่มขึ้นรวม 1,321 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64%
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานช่วงที่เหลือปีนี้ของกลุ่มบริษัทฯ เชื่อว่าน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมและจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้ COD ไปก่อนหน้านี้กว่า 400 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ เตรียมเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เพิ่ม คิดเป็นมูลค่างานไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
ซึ่งหากได้งานจะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ผลการดำเนินงานปีนี้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนให้งานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8,000 ล้านบาท จึงทำให้มั่นใจรายได้และกำไรสุทธิในปีนี้จะเติบโตตามเป้าที่ได้ตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ได้เป้าหมายเมกะวัตต์สะสมไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 จากปัจจุบันบริษัทฯ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) รวมกันแล้วประมาณ 600 เมกะวัตต์
“ผลประกอบการงวด 9 เดือนถือว่าดีเกินคาด เพราะสามารถเติบโตทั้งรายได้และกำไรจากธุรกิจผลิตและจัดหาอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้า รวมถึงงานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าการจำหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์และโรงไฟฟ้าพลังงานลม รวมถึงการให้บริการด้านบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ซึ่งทุกภาคส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัทฯ ส่วนทิศทางไตรมาส 4 เชื่อว่าน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยบริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นเข้าร่วมประมูลงานด้านต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ผลการดำเนินงานในอนาคตเติบโตเพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมาย” นางสาวโศภชากล่าวในที่สุด
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า GUNKUL รายงาน3Q19 กำไรทำสถิติสูงสุดใหม่ คาดมี momentum ต่อเนื่องปีอีก 2 ปี ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "ซื้อ" (เดิม "ถือ") และปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 3.60 บาท (เดิม 3.00 บาท) สะท้อนสมมติฐานใหม่หลัง performance โรงไฟฟ้าพลังงานลมและ backlog งานก่อสร้างทำได้ดีกว่าที่ประเมิน
ทั้งนี้บริษัทประกาศงบ 3Q19 กำไรปกติอยู่ที่ 955 ล้านบาท (+38% YoY, +126% QoQ) เติบโต YoY จากการ COD โรงไฟฟ้าใหม่ ส่วน QoQ ได้รับแรงหนุนจากโรงไฟฟ้าลมซึ่งเข้าช่วง high season และยอดขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2019E-20E ขึ้นมาที่ 2.2 และ 2.6 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากเดิม 29% และ 35%) ตามลำดับ สะท้อนผลงานโรงไฟฟ้าลมที่ดีกว่าคาด (ปรับ average capacity เพิ่มเป็น 23% เดิม 19%) และปรับรายได้จากธุรกิจรับเหมาเพิ่มขึ้นจากเดิม 30% หลังมี backlog รอรับรู้มากกว่าคาด ส่งผลให้รายได้รวมปี 2019E-20E อยู่ที่ 8.0 และ 9.2 พันล้านบาทตามลำดับ (ใกล้เคียงกับ guidance ของบริษัท)
ทั้งนี้ราคาหุ้นในช่วง 1 และ 3 เดือน ปรับตัวขึ้นมาราว 5% และ 7% ตามลำดับ คาดได้ปัจจัยหนุนจากกำไร 3Q19 ซึ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้เราประเมินราคาหุ้นจะมี positive momentum ต่อเนื่องจากงาน backlog ที่มีอยู่ในมือรอรับรู้ 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งไม่เพียงหนุนรายได้รวมเติบโตต่อเนื่องแต่ยังเปลี่ยนภาพของบริษัทโดยลดความผันผวนของรายได้ลงในระยะ 2-3 ปีถัดจากนี้ นอกจากนี้ปัจจุบันราคาหุ้นเทรด forward PER เพียง 11x ต่อกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 20x ในขณะที่เราประเมินเติบโตเฉลี่ยราว 16% CAGR 2018-22E เทียบเป็น PEG เพียง 0.7x เท่านั้น
กำไรปกติ 3Q19 เติบโตเด่นโรงไฟฟ้าพลังงานลมเข้าช่วง high season ประกาศกำไรสุทธิ 3Q19 ที่ 958 ล้านบาท (+34% YoY, +119% QoQ) ทั้งนี้หากตัดกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนราว 3 ล้านบาท จะทำให้กำไรปกติอยู่ที่ราว 955 ล้านบาท (+38% YoY, +126% QoQ) สาเหตุหลักเกิดจากการ COD โรงไฟฟ้าใหม่ระหว่างปีราว 65MW (Sendai และ Kimitsu) และโรงไฟฟ้าพลังงานลมเข้าสู่ช่วง high season ส่งผลให้รายได้จากการขายไฟฟ้าปรับตัวขึ้นโดดเด่นมาที่ 1.4 พันล้านบาท (+29% YoY, +37% QoQ)
ในขณะที่ธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและก่อสร้างรายได้รวมอยู่ที่ 677 ล้านบาท ยังคงแกว่งตัว -7% YoY, +48% QoQ (กลับมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีหลังไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่) ในขณะที่ GPM ของธุรกิจดังกล่าวทรงตัว QoQ ที่ระดับ 31%
ปรับประมาณการปี 2019E-20E ขึ้น โรงไฟฟ้าและงานก่อสร้างทำผลงานดีเกินคาด เราปรับประมาณการกำไรปกติปี 2019E-20E ขึ้นมาที่ 2.2 พันล้านบาท และ 2.6 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิม 29% และ 35% ตามลำดับ) โดยปัจจัยหลักมาจาก 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังลมทำผลงานได้ดีกว่าที่ประเมินทำให้ปรับ capacity factor โดยรวมขึ้นจาก 19% เป็น 23% 2) ปรับ GMP ของธุรกิจจัดจำหน่ายขึ้นจากเดิม 25% เป็น 32% เทียบเคียงระดับค่าเฉลี่ย 9M19 และ 3) ปรับเพิ่มรายได้จากงานก่อสร้างในปี 2020E ขึ้นราว 40% หลังบริษัทมี backlog ที่ราว 7.0 พันล้านบาท รอรับรู้ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าคาดรับรู้ในปี 2020E ราว 2.6 พันล้านบาท (เดิมประเมินรับรู้ราว 2.0 พันล้านบาท) ส่งผลให้รายได้รวมปี 2019E-20E อยู่ที่ 8.0 พันล้านบาท และ 9.2 พันล้านบาทตามลำดับ ใกล้เคียงกับเป้าที่บริษัทตั้งเป้าไว้
ปรับราคาเป้าหมายเป็น 3.60 บาท (เดิม 3.00) อิงวิธี SOTP 1) ธุรกิจ Power producer อิง DCF (WACC 5.7% (เดิม 5.9% เนื่องจากปรับ risk free rate ลงเป็น 2% จาก 3%), No TG) ได้มูลค่า 3.30 บาท (เดิม 2.90 บาท) 2) ธุรกิจ EPC อิงวิธี PER (ใช้ PER 16X เที่ยบเท่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม Construction service ย้อนหลัง 5ปี -1SD) ได้มูลค่า 0.30 บาท (เดิม 0.10 บาท) Key catalyst ระยะสั้นคือการเข้าประมูลโครงการ Submarine cable เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะปัญหยีมูลค่ารวมราว 4 พันล้านบาท และการเข้าประมูลโครงการโซล่าร์มาเลเซียขนาดกำลังการผลิตรวม 160MW ใน 2H19
ด้านบล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคาะห์หลักทรัพย์ว่า GUNKUL รายงานรายได้ อยู่ที่ 2,136 ลบ. (+41% QoQ, +15% YoY) เนื่องจาก 1) รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าเติบโต 37% QoQ ตามผลฤดูกาลของลม และ +29% YoY ตามปริมาณลมที่ใกล้เคียงปีก่อนแต่ปีนี้มี 2 โรงไฟฟ้าใหม่ในญี่ปุ่น 2 โรงคือโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์เซนไดขนาด 31.8MW (COD เมื่อ 4Q61) และโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์คิมิทซึขนาด 33.5MW (COD เมื่อ 2Q62) นอกจากนี้เริ่มมีการรับรู้รายได้งาน EPC มากขึ้นเป็น 221 ลบ. เพิ่มขึ้น 135% QoQ แต่ลดลง 38% YoY เพราะ 3Q61 มีงาน EPC ของโรงไฟฟ้าพลังงานลม
สัดส่วนรายได้ของธุรกิจโรงไฟฟ้าที่สูงขึ้นทำให้ GPM ทำระดับสูงสุดใหม่ที่ 60.1% จาก 53.2% ใน 2Q62 และ 57.0% ใน 3Q61
SG&A ลดลง 12% QoQ และ 11% YoY จาการบริหารต้นทุนภายใน และการ Refinance ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายเหลือเพียง 174 ลบ. จากเดิมอยู่ที่ระดับ 250 ลบ.+/- ต่อไตรมาส ส่งผลให้กำไรปกติทำระดับสูงสุดใหม่อยู่ที่ 950 ลบ. (+126% QoQ, +651% YoY)
แนวโน้มกำไร 4Q62 คาดกำไรกลับมาที่ระดับ 400 ลบ.+/- เนื่องจากเป็น Low season ของทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมและแสงอาทิตย์ มีเพียงรายได้จากธุรกิจ EPC ที่คาดว่าจะมีการรับรู้รายได้หนาแน่นตั้งแต่ 4Q62 ถึงปี 2564 จาก Backlog ปัจจุบันที่ 7,000 ลบ.
กำไรปกติ 9M62 คิดเป็นสัดส่วน 87% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ 1,817 ลบ. ทำให้เราอาจมีการปรับประมาณการกำไรปี 2562 ขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงประมาณการกำไรปี 2563 ไว้ที่ 2,194 ลบ. (+21% YoY) เพราะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์มรสุมในแต่ละปีที่จะมาหนุนธุรกิจพลังงานลม แต่ปีหน้าจะมีรายได้จาก EPC ที่เติบโตมีนัยสำคัญจาก Backlog รอรับรู้อีกมาก และโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในเวียดนามและในประเทศที่อยู่ระหว่างรอข้อสรุปเป็น Upside risk
ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายของ GUNKUL ณ สิ้นปี 2563 ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 3.58 บาท คงคำแนะนำ ซื้อ ปัจจุบันซื้อขายที่ PER2563 ที่ 13 เท่า
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) แนะนำ "BUY" GUNKUL ราคาเป้าหมาย 3.70 บาท/หุ้น 3Q19 ทำกำไร New High โดยกำไรสุทธิที่ 958 ล้านบาท +119.3% Q-Q, 33.9% Y-Y และกำไรปกติ 955 ล้านบาท +126.0% Q-Q, 38.1% Y-Y มากกว่าที่เราและตลาดคาด15-20% (ที่ 800-850 ล้านบาท) โดยรายได้รวมเพิ่ม 40.5% Q-Q, 14.6% Y-Y แรงหนุนหลักจากรายได้ขายไฟสูงเป็นประวัติการณ์ +37.3% Q-Q, +28.7% Y-Y แม้ฐานใน 3Q18 สูง จากโรงไฟฟ้าลม 3 โรงได้ผลบวกจากกระแสลมตามฤดูกาลในระดับสูงมาก โดย Capacity factor สูงถึง 43% นอกจากนี้ รายได้จากการขายอุปกรณ์ +24.9% Q-Q, 20.6% Y-Y และรายได้งานก่อสร้าง +135.3% Q-Q แม้ลดลง 38.0% Y-Y กอปรกับ Gross margin เพิ่มเป็น 60.1% จากไตรมาสก่อนที่ 53.2% และ 3Q18 ที่ 57.0% ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่าย SG&A ลดลง
ประมาณการทั้งปีมี Upside แม้คาดกำไรปกติ 4Q19 ลดลงจากสูงสุดใน 3Q19
รวม 9M19 กำไรสุทธิ +126.3% Y-Y จากฐานต่ำปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ ขณะที่กำไรปกติ +10.3% Y-Y และเป็นสัดส่วนถึง 91% ของประมาณการทั้งปีเดิมที่มี Upside แม้คาด 4Q19 จะลดลง Q-Q ตามฤดูกาล
คงคำแนะนำ ซื้อ ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2020 ที่ 3.7 บาท
ราคาหุ้นปรับขึ้นมารับคาดการณ์ผลประกอบการ 3Q19 บ้างแล้ว (+11% ในช่วง 3 สัปดาห์) แต่กำไรที่มากกว่าคาด น่าจะยังเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นต่อ กอปรกับที่ผู้บริหารคาดมีความคืบหน้าโครงการใหม่ที่เวียดนาม 50-60 MW ภายในปีนี้ นอกจาก Potential Projects ในต่างประเทศอื่นๆ จากเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าเป็น 1,000 MW ภายในปี 2020-2021 จากที่มีในมือปัจจุบัน 546 MW คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายปรับใช้ปี 2020 ที่ 3.70 บาท
ความเสี่ยง: ความล่าช้าการก่อสร้างและการเริ่มผลิตของโรงไฟฟ้าใหม่, เศรษฐกิจและการลงทุนชะลอตัว การพึ่งพิงการกู้ยืมมาใช้ในโครงการ
GUNKUL