Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : DELTA กับกำไรที่หล่นหาย ?

2,985

HotNews : DELTA  กับกำไรที่หล่นหาย?

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (31 กรกฎาคม 2562) ฤดูกาลประกาศงบ วนกลับมาอีกครั้ง  บจ.ทยอยแจ้งงบ Q2/62  ต่อเนื่อง  วันนี้ทีมข่าวหุ้นอินไซด์ เจาะงบ  DELTA  ที่เพิ่งประกาศงบ Q2/62  ออกมาสดๆ ร้อนๆ  โดยไตรมาสนี้  DELTA  มีกำไรหล่นหาย ประกาศกำไรสุทธิที่ 872 ล้านบาท ลดลง 37% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,390 ล้านบาท ขณะที่งวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 1,685.65 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,448.35 ล้านบาท

 

 

สาเหตุที่ DELTA ทำกำไร Q2/62 หล่นหาย เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศอินเดีย และความต้องการของตลาดที่ลดลง ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมค่าวิจัยและพัฒนา)เพิ่มขึ้น 21%

 


นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) DELTA เปิดเผยว่าผลดำเนินงานไตรมาส 2/62 มีกำไรสุทธิ 872 ล้านบาท ลดลง 37% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,390 ล้านบาท ด้านยอดขายสินค้าและบริการในไตรมาสนี้อยู่ที่ 13,915 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นสําหรับผลิตภัณฑ์เน็ตเวิร์คสวิตช์ และผลิตภัณฑ์เครื่องมือช่างอุตสาหกรรม

 

 

กําไรขั้นต้นในไตรมาสสองของปี 2562 มีจํานวน 2,772 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 จากไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน และลดลงร้อยละ 6.9 จากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศอินเดีย และ ความต้องการของตลาดที่ลดลงสําหรับวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตส่งผลให้วัตถุดิบคงเหลือมีมูลค่าลดลงจากการ ปรับต้นทุนมาตรฐานในไตรมาสนี้ ทําให้อัตรากําไรขั้นต้นของไตรมาสนี้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 19.9 เทียบกับร้อยละ 22 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและร้อยละ 23 ในไตรมาสแรก

 

 

 

 

 

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมค่าวิจัยและพัฒนา) ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 จากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจาการเพิ่มขึ้นของจํานวนบุคลากรด้านการตลาด และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีอันรวดเร็ว และเพื่อรองรับกับสภาวะการแข่งขันที่หลากหลายในตลาดโลกไร้พรมแดน

 

 


กําไรจากการดําเนินงานในไตรมาสนี้อยู่ที่ 658 ล้านบาท ลดลง 483 ล้านบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ ร้อยละ 8.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารดังกล่าวข้างต้น ในขณะที่กําไร สุทธิของไตรมาสนี้อยู่ที่ 868 ล้าน ลดลงร้อยละ 37.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีกําไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.70 บาท ลดลงจาก 1.11 บาทต่อหุ้นในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

 

 

 

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 47,104 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเมื่อ เทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ลูกหนี้การค้าสุทธิและลูกหนี้อื่น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจํานวน 11,480 ล้านบาท ลดลง 78 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 โดยลูกหนี้การค้าส่วนใหญ่เป็นยอดคงค้างที่ยังไม่ถึง กําหนดชําระประมาณร้อยละ 89 ยอดลูกหนี้การค้าทั้งหมด สินค้าคงเหลือ (สุทธิ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจํานวน 10,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 542 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของวัตถุดิบ

 

 

 

 

 

เนื่องมาจาก การชะลอตัวของธุรกิจโทรคมนาคม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีจํานวน 9,935 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,758 ล้านบาทหรือร้อย ละ 21.5 เมื่อเทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ส่วนใหญ่มาจากบริษัทและบริษัทในเครือได้ลงทุนจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาและโรงงานแห่งใหม่ที่อินเดีย รวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตภายใต้โครงการ “ Delta Smart Manufacturing” ที่ประเทศไทย

 

 


ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 14,362 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อ เทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 โดยมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จากการตั้งสํารองผลประโยชน์เพื่อพนักงาน ในระยะยาวและหนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ

 

 

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจํานวน 32,742 ล้านบาท ลดลง 1,199 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรก และเงินปันผลที่จ่ายในไตรมาสนี้ ขณะที่งวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 1,685.65 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,448.35 ล้านบาท

 

 

 

 

 

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า DELTA รายงาน Core profit 2Q62 ออกมา 965 ล้านบาท (-25%YoY, -13%QoQ) เป็นไปตามคาดของเราและตลาด การลดลงมาจากมาร์จิ้นที่หดตัว และตั้งสำรอง Employee benefit 102 ล้านบาทในไตรมาสนี้ บริษัทมีกำไร FX 5 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิบรรทัดสุดท้ายอยู่ที่ 868 ล้านบาท (-37%YoY, -20%QoQ) ยอดขายรูปดอลลาร์เติบโตได้ดี

 

 

โดย +7%YoY, +8%QoQ ใน 2Q62 มาจากอุปสงค์ในผลิตภัณฑ์ Network switch และผลิตภัณฑ์เครื่องมืออุตสาหกรรม แต่...อัตรากำไรขั้นต้นหดตัวต่อเป็น 19.9% ใน 2Q62 จาก 22.0% ใน 2Q61 และ 23.0% ใน 1Q62 เนื่องจาก Product mix ที่เปลี่ยน, ค่าเงินบาท และอุปสงค์ในส่วนอุปกรณ์สื่อสารในอินเดียชะลอตัว ด้าน SG&A อยู่ที่ 14.5% ของยอดขาย (เพิ่ม YoY แต่ลดลง QoQ) แนะนำ Fully Valued ให้ราคาพื้นฐาน 53 บาท โดยอิงกับ P/E ปีนี้ที่ 15 เท่า

 

 

 

 


ขณะที่สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า DELTA รายงานผลประกอบการ 873 ล้านบาท ลดลง 37% YoY และลดลง 20% QoQ ผลประกอบการต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด 5% หากนำรายการตั้งสำรองแรงงาน 102 ล้านบาท ออกกำไรจากการดำเนินงานจะอยู่ที่ 969 ล้านบาท ลดลง 25% YoY และ 12% QoQ โดยเป็นไปตามที่เราและตลาดคาด สินค้าที่มีอัตรากำไรสูงเช่น EV และพลังงานทางเลือกมีสัดส่วนที่ลดลงหลังการซื้อกิจการของ DELTA Taiwan และผลกระทบของสงครามการค้า โดยมีธุรกิจแบตเตอรี่ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีอัตรากำไรลดลงจาก 13.7% ใน 2Q18 เป็น 8.4%

 

 



รายได้อยู่ที่ 440 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7.1% YoY และ 7.5% QoQ หรือ 1.39 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY และ 7.5% QoQ ในขณะที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เฉลี่ยอยู่ที่ 31.6 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 1% YoY โดยอุปสงค์ของสินค้าประเภทโครงสร้าง ICT ที่สูงเป็นปัจจัยหนุน แต่กลุ่มยานยนต์และธุรกิจที่อินเดียได้รับปัจจัยกดดันจากช่วงการเลือกตั้งและเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ โดยอัตรากำไรลดลงเป็น 19.9% จากเดิม 22.0% จาก 1) ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 2) การปรับมูลค่าของสต็อคที่ลดลง นอกจากนี้ OPM ลดลงเป็น 4.7% จากเดิม 8.6% ใน 2Q18 จากสัดส่วนของ DELTA Taiwan ที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองแรงงาน 102 ล้านบาท

 



จากแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ถูกกดดัน เราคาดว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้นใน 3Q19F จากผลกระทบทางฤดูกาล แต่ยังมีฐานที่สูงในปีก่อนกดดัน ก่อนที่จะฟื้นตัว YoY ในช่วง 4Q19F จากการปรับราคาใบอนุญาต และประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดีขึ้น แต่เรามองว่า DELTA Taiwan จะยังผลักสัดส่วนงานที่มีอัตรากำไรต่ำมามากขึ้น ทำให้อัตรากำไรของ DELTA ลดลง ทำให้เราปรับประมาณการปี 2019-20F ลง 24% และ 21% ตามลำดับจากอัตรากำไรที่ลดลง และปรับ SG&A ต่อยอดขายเพิ่มขึ้น

 



ปรับคำแนะนำเป็น "ถือ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 59.50 บาท ปรับมูลค่าที่เหมาะสมลดลงจาก 71 บาท เป็น 59.50 บาท อิง PER ที่ 15 เท่า โดยราคาหุ้นได้รับรู้ปัจจัยลบไปหมดแล้วทำให้ปรับตัวแย่กว่าตลาด โดยมีความเสี่ยงคือ 1) สงครามการค้า 2) ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

 

 

 

 

ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า DELTA รายงานกำไรไตรมาส 2/2562 ที่ 879 ลบ. ลดลง 37% YoY และ 20% QoQ ซึ่งสูงกว่าที่เราคาด 8% แต่สอดคล้องกับประมาณการของ Bloomberg consensus สืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวสำหรับผลประโยชน์พนักงานที่ต่ำกว่าประกาศในช่วงก่อนหน้านี้ที่ 102 ลบ. การปรับมูลค่าสินค้าคงคลังที่ไม่คาดคิดจำนวน 158 ลบ. การบันทึกกลับด้อยค่าสินทรัพย์ที่ไม่คาดคิดจำนวน 86 ลบ. และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน (FX) จำนวน 5 ลบ.

 

 

ทั้งนี้ เราได้อัพเดตสมมติฐาน FX และนับรวมประเด็นสัดส่วนสินค้าที่แย่ลงเข้ามาในประมาณการแล้ว ดังนั้นเราจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2562-64 ลง 13%/7%/2% ตามลำดับ และทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 59.75 บาท อย่างไรก็ตาม เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" เพราะเชื่อว่าตลาดรับรู้ประเด็นผลกำไรที่อ่อนแอในไตรมาส 2/2562 และการแข็งค่าของเงินบาทไปแล้ว

 

 

 

 


บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า DELTA รายงานกำไรสุทธิ 2Q19 เท่ากับ 873 ล้านบาท (-19.6% Q-Q, -37.2% Y-Y) หากไม่รวมค่าใช้จ่ายตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงาน 102 ล้านบาท และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 5 ล้านบาท จะมีกำไรปกติเท่ากับ 969 ล้านบาท (-12.5% Q-Q, -25.1% Y-Y) ใกล้เคียงที่เราและ Consensus คาด (เราคาดไว้ 977 ล้านบาท) แม้รายได้จะเติบโต 7.5% Q-Q และ 5.9% Y-Y เพราะเริ่มรับรู้รายได้ที่มาจาก Delta Taiwan แต่ไม่สามารถชดเชยการอ่อนตัวลงของอัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับลงมาอยู่ที่ 19.9% จาก 23% ใน 1Q19 และ 22% ใน 2Q18 ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปี มาจากทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า, Product Mix เปลี่ยนไป

 

 

ซึ่งเป็นผลกระทบจาก Trade War ทำให้ธุรกิจที่มาร์จิ้นดีมีรายได้ลดลง เช่น EV Car และ Alternative Energy และ Regional Business ไม่สดใส โดยเฉพาะในอินเดียที่มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดสูญญากาศในเชิงธุรกิจ รวมถึงมีการย้ายสายการผลิตข้ามโรงงาน ส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง ทั้งนี้จากรายได้ที่เติบโต ทำให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงมาอยู่ที่ 15.2% จาก 15.4% ใน 1Q19 แต่ยังเพิ่มขึ้นจาก 13.2% ใน 2Q18 เพราะรายได้ส่วนที่รับรู้มาจาก Delta Taiwan เป็นส่วนที่ต้องบันทึกค่า Loyalty Fee ด้วย

 

 

บริษัทมีกำไรปกติ 1H19 เท่ากับ 2,076 ล้านบาท (-13.5% Y-Y) คิดเป็นสัดส่วน 46% ของประมาณการทั้งปี บริษัทได้ให้ภาพการฟื้นตัวของผลประกอบการในช่วง 2H19 โดยเฉพาะ 3Q19 ที่เป็น High Season ของธุรกิจ และน่าจะได้เห็นคำสั่งซื้อของ Delta Taiwan เข้ามามากขึ้น กอปรกับคาดการย้ายสายการผลิตระหว่างโรงงานจะแล้วเสร็จ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง

 

 

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมองระมัดระวัง เพราะยังมีสิ่งที่ยังเป็นความเสี่ยงของบริษัทคือ ค่าเงินบาท และปัญหาเรื่อง Trade War ที่ยังสร้างความกังวลให้ภาคธุรกิจอยู่ อาจกระทบให้การฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้นช้ากว่าคาด ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2019 ไว้ที่ 4,544 ล้านบาท (-8.8% Y-Y) และคงราคาเป้าหมายปีนี้ที่ 62 บาท (อิง PE เดิม 17 เท่า) แนะนำเพียงถือ และขอรอดูการฟื้นตัวใน 3Q19 ให้ชัดเจนก่อน

 

ความเสี่ยง - เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า, ค่าเงินบาทแข็งค่า, สินค้าใหม่ไม่ประสบความสำเร็จ, Product Mix เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง

 

 

DELTA

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เกาะเส้นกราฟ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ นักลงทุน คงต้องเกาะเส้นกราฟ เทรดตามกรอบแนวรับ แนวต้าน....

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

SPREME โรดโชว์หาดใหญ่คึกคัก

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้