Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : 5 เทพหุ้น ส่อง DELTA ทำนายกำไรเร่งตัวครึ่งปีหลัง

4,634

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (25 กรกฏาคม 2561) 5 เทพหุ้น นำโดย เทพหุ้นเคจีไอ ชี้กำไรสุทธิของ DELTA สูงกว่าคาด 10% และสูงกว่า consensus 3% คงแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ที่ 74.00 บาท คาดเห็นการฟื้นตัวของผลประกอบการในครึ่งหลัง ด้านเทพหุ้นทิสโก้ แนะ"ซื้อ" ตีมูลค่าที่เหมาะสม 72.75 บาท ขณะที่เทพหุ้นบล.ธนชาต คากำไรจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากแรงกดดันต่ออัตรากำไรที่ลดลงหลังเงินบาทได้อ่อนค่าลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดขายในสกลุดอลลาร์ฯยังเติบโตได้ดี เทพหุ้นบล.ฟิลลิป ปรับลดคำแนะนำเป็น "ทยอยซื้อ" ปรับราคาพื้นฐานลงเหลือ 72 บาท หลังผลการดำเนินงานที่ประกาศมาต่ำกว่าคาดจาก margin ที่น้อยกว่าคาด ส่วนเทพหุ้นบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส คงคำแนะนำ ถือ ด้วยราคาพื้นฐาน 67.00 บาท ที่ P/E ปี 61 ที่ 16 เท่า เชื่อมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในครึ่งหลังปีนี้ - ปันผลยังจูงใจ

 


DELTA ประกาศกำไร Q2/61 โต 65% 

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสสอง (เม.ย. – มิ.ย.) ของปี 2561 ตามงบการเงินรวมฉบับ สอบทานสิ้นสุดวันที่30 มิถุนายน 2561 ผลดำเนินงานไตรมาส 2/61 มีกำไรสุทธิ 1,390.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 842 ล้านบาท ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ มีกำไรสุทธิ 2,448.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,191 ล้านบาทโดยผลประกอบการโดยรวมของบริษัท ฯในไตรมาสนี้เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนได้รับผลกระทบ จากปัจจัยด้านลบ คือ การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับ เงินเหรียญสหรัฐที่แข็งค่าจากอัตราเฉลี่ย 34.2863 บาทต่อ เหรียญสหรัฐในไตรมาสสองของปี 2560 เป็น 31.9468 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสเดียวกันของปี 2561

 


บริษัทฯ มียอดขายในไตรมาสสองของปีนี้จำนวน 13,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จากยอดขายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้หากไม่นำผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินเหรียญ สหรัฐเข้ามาพิจารณา ยอดขายในไตรมาสนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

โดยยอดขายเพิ่มขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ (Power Electronics) โดยเฉพาะยอดขาย ในกลุ่มเพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Solutions) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เนื่องจากการ เพิ่มขึ้นของยอดขายในยุโรปและในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในแถบยุโรปและอเมริกา รองลงมาได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์พัดลมอิเล็กทรอนิกส์ (DC Fan) มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และอุปกรณ์เพาเวอร์ซัพพลายมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรม (Standard Industrial Power Supplies หรือ IPS) มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ขณะเดียวกันยอดขายไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วก็เพิ่มขึ้นเช่นกันที่อัตราร้อยละ 4.9 โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และผลิตภัณฑ์ DC-DC เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโซนอเมริกาเหนือ กำไรขั้นต้น ในไตรมาสสองของปี 2561 มีจำนวน 2,889 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 โดยสาเหตุหลักมาจากการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับ เงินเหรียญสหรัฐอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ ในรูปของเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น โดยรวมลดลงเหลือร้อยละ 22 จากร้อยละ 25.4 ในงวดเดียวกันของปีก่อน

 

 


ขณะเดียวกันอัตรากำไรขั้นต้น ไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่แล้วก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับยอดขาย ที่ร้อยละ 5.8 โดยมีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวของผลิตภัณฑ์ DC-DC และเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในงวดเดียวกันปีก่อน บริษัทฯมี ค่าใช้จ่ายรายการสำคัญที่เกิดขึ้น ได้แก่ค่าใช้จ่ายจากการถูกประเมินภาษี จำนวน 992 ล้านบาทประกอบด้วย


1) เงินสำรองสำหรับภาษีเงินได้รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม จำนวน 734 ล้านบาท สำหรับการประเมินภาษีเงิน ได้ในระหว่างปี 2540 ถึง 2543 ซึ่งบริษัทฯ ต้องชำระตามคำพิพากษาของศาลฎีกาอ่านเมื่อวัน ที่ 26 มิถุนายน 2560 


2) สำรองเพิ่มอีกจำนวนรวม 258 ล้านบาทและสำรองที่มีอยู่เดิมจำนวน 100 ล้านบาท สำหรับภาษีเงินได้ สำหรับการประเมินภาษีเงินได้ในระหว่างปี 2544 ถึง 2549 รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมจำนวน 557 ล้านบาท ดังนั้นจากการที่บริษัทฯได้พิจารณาตั้งสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวในงวดเดียวกัน ปีก่อน ส่งผลให้กำไร สุทธิในไตรมาสนี้ที่มีจำนวน 1,387 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 64.6 โดยมีกำไรต่อหุ้น 1.11 บาท เพิ่มขึ้นจาก 0.68 บาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขณะเดียวกันกำไรสุทธิไตรมาสนี้เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้วก็เพิ่มขึ้นเช่นกันที่อัตราร้อยละ 31.6 โดยมีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวของผลิตภัณฑ์ DC-DC และเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ประกอบกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของเดือน มิ.ย.61

 

 

สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 46,793 ล้านบาทเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จากยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 ลูกหนี้การค้าสุทธิและลูกหนี้อื่น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 มีจำนวน 11,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 842 ล้านบาทจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560โดยลูกหนี้การค้าส่วนใหญ่เป็นยอดค้างชำระที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ คิดเป็นเกือบร้อยละ 90 ยอดลูกหนี้การค้าทั้งหมดสินค้าคงเหลือ(สุทธิ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 มีจำนวน 8,480 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 796 ล้านบาท จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 10 สาเหตุหลักมาจากการสำรองวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุน การผลิตที่คาดว่า จะมีความปริมาณที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสสาม ในผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับยานยนต์ ไฟฟ้าคอมพิวเตอร์เครือข่ายและผลิตภัณฑ์ DC-DC เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 มีจำนวน 750 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 157ล้านบาท จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560โดยรายการหลัก ที่เพิ่มขึ้นคือการลงทุนเพิ่มในบริษัทร่วม Delta Greentech Electronic Industry LLC ประมาณ 95 ล้านบาท

 

เพื่อรองรับการขยายธุรกิจหนี้สินรวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 บริษัท ฯ และ บริษัทย่อยมีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 14,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,255ล้านบาท จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 โดยรายการหลัก คือยอดเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเกี่ยวกับการซื้อวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 บริษัท ฯและบริษัท ย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 31,994 ล้านบาท ลดลงจำนวน 479 ล้านบาท จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 เนื่องจากมีการจ่ายเงินปันผลประจำปีจำนวน 2,744 ล้านบาทในไตรมาสนี้

 

 

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า กำไรสุทธิของ DELTA ใน 2Q61 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (+65% YoY และ +31% QoQ) สูงกว่าประมาณการของเรา 10% และสูงกว่า consensus 3% ทำให้กำไรสุทธิใน 1H61 อยู่ที่ 2.5 พันล้านบาท (+12% YoY) และคิดเป็น 52% ของประมารการกำไรปีนี้ทั้งปีของเรา จากยอดขายที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งและอัตรากำไรที่ฟื้นตัวขึ้นทำให้เรายังคงแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ที่ 74 บาท กำไรสุทธิของ DELTA ใน 2Q61 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (+65% YoY และ +31% QoQ) สูงกว่าประมาณการของเรา 10% และสูงกว่า consensus 3% ทำให้กำไรสุทธิใน 1H61 อยู่ที่ 2.5 พันล้านบาท (+12% YoY) และคิดเป็น 52% ของประมารการกำไรปีนี้ทั้งปีของเรา หากไม่นับรวมรายการพิเศษอย่างกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาด ยอดขายของ DELTA ออกมาน่าประทับใจที่ US$412 ล้าน (+16% YoY และ +5% QoQ) ซึ่งมาจากยอดขาย power supply ของรถยนต์ไฟฟ้า โดยหนุนให้ยอดขายใน 1H61 อยู่ที่ US$806 ล้าน (+15% YoY) และคิดเป็น 50% ของประมาณการปีนี้ทั้งปีของเรา

 


ถึงแม้ว่าอัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาสที่สองของปีนี้จะอยู่ที่ 22% ซึ่งต่ำกว่า 25.4% ใน 2Q60 อยู่มาก แต่ก็ยังดีขึ้นจาก 21.8% ใน 1Q61 ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นนี้ช่วยยืนยันมุมมองของเราว่ากำไรกำลังฟื้นตัว และแสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบริษัทกับ supplier ผลประกอบการที่ดีในไตรมาสที่สอง รวมถึงแนวโน้มที่คาดจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะส่งผลเชิงบวกต่อราคาหุ้น โดยที่ประมาณการกำไรของเราคาดว่าจะมี upside ประมาณ 5-10% แต่การปรับประมาณการกำไรของตลาดอาจจะยังไม่ได้เกิดขึ้นในเร็วนี้ เนื่องจาก Bloomberg Consensus อยู่ที่ประมาณ 5.2 พันล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในวิสัยที่สามารถเป็นไปได้เรายังคงแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมายกลางปี 2562 ที่ 74.00 บาท อิงจาก PER ที่ 16.5x (ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม +0.5 S.D.) เนื่องจากคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของผลประกอบการในครึ่งหลัง. Risks ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier เจ้าอื่น และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (เราใช้สมมติฐานค่าเงินบาทปีนี้ที่ 30.90 บาท/US$)

 

 


บล.ทิสโก้ ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า ผลประกอบการตามคาดจากค่าใช้จ่ายที่ลดลง DELTA รายงานผลประกอบการ 1.39 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 65% YoY และ 31% QoQ หากนำผลของอัตราแลกเปลี่ยน 97 ล้านบาท ออกผลประกอบการจะอยู่ที่ 1.29 พันล้านบาท ลดลง 9% YoY ต่ำกว่าที่เราคาด 4% จากอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด แต่ผลประกอบการหนุนโดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลงรายได้ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% YoY และ 4.9% QoQ แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น 7% YoY แต่รายได้ในเชิงดอลลาร์เพิ่มขึ้น 15% YoY เป็น 412 ล้านดอลลาร์ หนุนโดยอุปสงค์ที่สูงจากยานยนต์ (จากทั้งสหรัฐฯ และยุโรป) และผลประกอบการ QoQ เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ของระบบ Power supplies ในคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย, ระบบ DC-DC อัตรากำไรคงที่ 22% แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงใน 2Q18 แต่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และยอดขายสินค้าที่มีอัตรากำไรปกติที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 21.8% เป็น 22% เราแนะนำ "ซื้อ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 72.75 บาท เราแนะนำ "ซื้อ" โดยอ้างอิง PER ที่ 15 เท่า หนุนโดยผลประกอบการที่จะฟื้นตัวขึ้น QoQ ในช่วง Q3 หนุนโดยอุปสงค์ของรถยนต์ และดาต้าเซ็นเตอร์ แต่มีความเสี่ยงสำคัญคือ เศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรปที่ชะลอตัวลง, ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

 

 


บล.ธนชาต ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่าผลกำไรฟื้นตัวใน 2Q18 ตรงกับที่คาด DELTA รายงานผลกำไรการดำเนินงานปกติ (ไม่รวมผลกำไรอัตราแลกเปลี่ยน) ออกมาที่ 1.29 พันลบ. ใน 2Q18 ลดลง 8% y-y แต่ฟื้นตัวขึ้น 17% q-q ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ในรายงานการประมาณกำไรรายไตรมาส อย่างไรก็ตามเนื่องจากเราคาดผลกำไรเติบโตได้ดีขึ้นใน 2H18F จากเงินบาทที่อ่อนค่าและยอดขายที่เติบโตต่อเนื่องเราจึงมองว่าอาจมีความเสี่ยงทางบวกต่อประมาณการทั้งปีของเรายอดขายรวมในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเติบโตขึ้น 16% y-y และ 5% q-qขึ้นมาอยู่ที่ราว 414 ล้านเหรียญฯ โดยการเติบโต y-y ได้แรงหนนุจากยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และพัดลมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนยอดขายที่ดีขึ้น q-q มาจากปริมาณขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น

 

อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 22.0% ในไตรมาสนี้ จาก 21.8% ใน 1Q18 เนื่องจากผลของการประหยัดต่อขนาดที่ดีขึ้นจากการเติบโตยอดขาย อย่างไรก็ตามอัตรากำไรยังคงตํ่ากว่าปีก่อน (ที่25.4%) เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาถึงเกือบ 7% ค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหาร (SG&A) สูงขึ้นเล็กน้อย 3% y-y และ 1% q-q โดยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายถูกชดเชยลงด้วยการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ทั้งนี้เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A ต่อยอดขายลดลงเหลือ 13.2% ในไตรมาสนี้จากเดิมที่ 13.7% ใน 1Q18 และ 2Q17เราคาดการเติบโตผลกำไรจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากแรงกดดันต่ออัตรากำไรที่ลดลงหลังเงินบาทได้อ่อนค่าลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดขายในสกลุดอลลาร์ฯยังเติบโตได้ดีจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในกลมุ่ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ และพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูล (data center) และเนื่องจากผลกำไรรวมใน 1H18 เทียบได้เป็น 53% ของประมาณการทั้งปีของเราแล้ว เราจึงมองว่าจะมีความเสี่ยงทางบวกต่อประมาณการทั้งปีของเรา

 

 

บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า 2Q61 กำไรสุทธิ 1,390 ลบ. +65% y-y: กำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าคาด 4% จาก margin ต่ำกว่าคาด โดยยอดขาย +7% y-y และ +5% q-q อยู่ที่ 13,143 ลบ. หากเทียบในรูปเงินเหรียญสหรัฐ +16% y-y +4% q-q ดอลลาร์ ผลจากยอดขายที่ดีในทุกกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะ Data center และกลุ่ม Regional Margin ลดลง 3% y-y: margin 2Q61 อยู่ที่ 22% ลดลงจาก 25.4% ใน 2Q60 แต่ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 21.8% margin ที่ลดลงจากเงินบาทแข็งค่า 7% y-y และการขาดแคลนวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเพียง 3% y-y โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการขายเป็นหลัก และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 65 ลบ.ปรับลดคำแนะนำเป็น "ทยอยซื้อ" ปรับราคาพื้นฐานลงเหลือ 72 บาท: จากการดำเนินงานที่ประกาศมาต่ำกว่าคาดจาก margin ที่น้อยกว่าคาด รวมถึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ทำให้ทางฝ่ายปรับลดประมาณการลงจากเดิม อีกทั้งราคาหุ้นปรับขึ้นมาสะท้อนการดำเนินงานที่ดีมาในระดับหนึ่งแล้ว ณ ราคาปัจจุบันปรับคำแนะนำเป็น "ทยอยซื้อ"ปรับราคาพื้นฐานลงเป็น 72 บาท หมายเหตุ: กำไร = ล้านบาท, EPS = บาท

 

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า กำไรหลัก 2Q61 เป็น 1.29 พันล้านบาท (-16% y-o-y, +17% q-o-q) สืบเนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นต่ำลง ซึ่งมีสาเหตุจากเงินบาทที่แข็งค่าระหว่างไตรมาสและการขาดแคลนวัตถุดิบ อัตรากำไรขั้นต้น 2Q61 เป็น 22.0% เทียบกับ y-o-y และ q-o-q ที่ 26.4% และ 21.8% ตามลำดับ แม้ว่ารายได้-ขายสกุลดอลลาร์เติบโตดี 15% y-o-y ผลพวงจากอุปสงค์ในสินค้า Data Center และ DC-DC power มีความแข็งแกร่ง+ อย่างไรก็ตามแนวโน้มธุรกิจ 2H61 สดใสขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นควรจะปรับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลที่ดี และแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่า รวมทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบผ่อนคลายลง ซึ่งบริษัทมีการแก้ปัญหาช่วงระยะเวลาส่งมอบ (Lead Time) และปรับราคาขายกับลูกค้าให้สูงขึ้น ทั้งนี้กำไรในรอบ 1H61 เป็นสัดส่วน 46% เทียบกับประมาณการทั้งปี 61 ซึ่งถือว่ายังสอดคล้องกับประมาณการในปัจจุบัน + คงคำแนะนำ ถือ ด้วยราคาพื้นฐาน 67.00 บาท ซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 61 ที่ 16 เท่า แม้ราคาปิดถือว่าใกล้เคียงราคาพื้นฐาน แต่เนื่องจากแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้นในครึ่งหลังปีนี้ อีกทั้งเป็นหลักทรัพย์ที่จ่ายปันผลได้สูง คาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้และปีหน้าเป็น 4.9% และ 5.2% ตามลำดับ จึงสามารถถือรับปันผลที่สูงได้ ฐานะการเงินบริษัทดีมากเป็นเงินสดสุทธิ (net cash position) คือมีเงินสดมากกว่าหนี้เงินกู้

 

DELTA

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้