Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ : TU สู่ ยั่งยืน+ Blue Finance

25,845


        สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ --- จุดเริ่มต้น ....บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จํากัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2531 ซึ่งครั้งแรกตอนจัดตั้งใช้ชื่อ บริษัท เอเชี่ยน แปซิฟิค ไทยทูน่า จํากัด ขึ้นก่อน ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 25 ล้านบาท ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการผลิตและ นําเข้าส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง รวมถึงแปรสภาพผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจัดจําหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จํากัด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2531 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 ได้เริ่มดําเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ 3 ประเภทแรกออกจําหน่าย ได้แก่ ปลาทูน่าสุกแช่แข็ง ปลาแล่แช่แข็ง และอาหารแมวกระป๋อง

        ต่อมาในปี 2535 บริษัทได้ก่อสร้างห้องเย็น เพิ่มเติม พร้อมกับการเข้าร่วมลงทุนจากบริษัทผู้ผลิตและจัดจําหน่ายรายใหญ่ ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จํากัด และ บริษัท ฮาโกโรโม่ พูดส์ จํากัด ซึ่งเป็นลูกค้าและผู้จําหน่ายของบริษัท ต่อมาบริษัทได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2537 โดยบริษัทได้ดําเนินงานและขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น อาหารสัตว์น้ำ โรงพิมพ์ อุตสาหกรรมกระป๋องบรรจุอาหาร และตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา บริษัทเริ่มขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเริ่มจากการเข้าลงทุนในชิ กเก้นออฟเดอะซี ในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วขยายต่อไปในภูมิภาคต่างๆ เรื่อยมา ทั้งในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย

        จนกระทั่งในปี 2558 เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มบริษัทที่ขยายเติบโตขึ้น ในส่วนของโครงสร้างการลงทุน บริษัทจึงได้จดทะเบียนเปลี่ยน ชื่อเป็น “บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)” รวมถึงชื่อย่อหลักทรัพย์จากเดิม TUF เปลี่ยนเป็น TU

        ปัจจุบัน ไทยยูเนี่ยนถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลระดับโลกและหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตทูน่าบรรจุกระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยยอดขายในปี 2563 กว่า 132.4 พันล้านบาท (4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และแรงงานทั่วโลกมากกว่า 40,000 คน ที่ทุ่มเทให้กับการบุกเบิกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

        ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอาหารภายใต้แบรนด์ UniQ™BONE และ UniQ™DHA และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพแบรนด์ ZEAvita.

        ผลิตภัณฑ์ของบริษัทครองตลาดหลักๆ ทั่วโลกซึ่งประกอบด้วย อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีฐานการผลิตกระจายอยู่ 14 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมีเครือข่ายในการจัดหาวัตถุดิบผลิตและเครือข่ายการกระจายสินค้าครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ไทยยูเนี่ยนมียอดขายหรือตลาดกระจายตัวอยู่ทั่วโลก โดยตลาดหลักอยู่ที่อเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) 44% และยุโรป 29% ในขณะที่ยอดขายในประเทศไทยมีสัดส่วนที่ 10% และตลาดอื่นๆ อีก 17% ของยอดขายทั้งหมด


        ปี 2563 ถือเป็นปีที่ท้าท้ายจากการระบาดของโรคโควิด-19 แต่บริษัทสามารถมีผลประกอบการที่ยอดเยี่ยม ด้วยยอดขาย 132,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 มีกำไรสุทธิ 6,246 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.7 สัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 0.94 เท่า ณ สิ้นปี 2563



        สำหรับ 9 เดือนแรก ของปี 2564 ยอดขายยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็น 102,547 ล้านบาท (+3.6% เทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2563) และ กำไรสุทธิของบริษัทสะสม 9 เดือนที่ 6,083 ล้านบาท (+27.0% เทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2563) ทั้งนี้ ยอดขายจากธุรกิจหลักยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยังคงอัตรากำไรได้ในระดับสูง ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและสถานการณ์โควิด-19



        สืบสานความเป็นผู้นําด้านความยั่งยืน
         เราภูมิใจที่ความทุ่มเทในด้านความยั่งยืน ได้รับการยกย่องไม่เพียงแต่ภายในองค์กร แต่ยังรวมถึงจากทั้งอุตสาหกรรม ไทยยูเนี่ยน ได้รับการคัดเลือกให้ติดในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หมวดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับการจัดให้อยู่ในลําดับ ที่ 1 ในปี 2561 และ 2562 และอยู่ในลําดับที่ 2 ในปี 2563 ล่าสุดไทยยูเนี่ยนติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นเวลา 5 ปี ติดต่อกัน และได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1 ในดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI) ซึ่งเป็นปีแรกของการจัดอันดับของดัชนีนี้


        TU นอกจากจะเป็นบริษัทอาหารทะเลของคนไทยที่เติบโตในระดับโลกแล้ว ไทยยูเนี่ยนมองว่าการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ โดยเฉพาะความยั่งยืนของทะเล เพราะถือคติว่าหากไม่มีทะเลแล้วก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจอาหารทะเลได้ สอดคล้องไปกับแนวคิดและเป้าหมายเรื่อง Healthy Living, Healthy Oceans  ที่มองธุรกิจเป็นมากกว่าอาหารทะเล แต่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ให้กับผู้คน และในการดำเนินธุรกิจนั้นก็ต้องดูแลทรัพยากรในท้องทะเลไปด้วย ในภาพใหญ่และในฐานะบริษัทระดับโลก การทำงานด้านความยั่งยืนจึงตอบรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSDG ไปพร้อมกัน
 
         ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด  ประเด็นหลักๆ ที่ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญคือการดูแลแรงงานทั้งในบริษัทเองและห่วงโซ่อุปทานให้มีการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย  มีการจัดหาวัตถุดิบอย่างโปร่งใส การผลิตต่างๆ มีความรับผิดชอบ และแน่นอนที่สุดคือดูแลสังคมอย่างต่อเนื่อง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องทำอย่างเป็นรูปธรรม มีนโยบายบริษัทและขั้นตอนการทำงานชัดเจน เน้นความโปร่งใสเป็นสำคัญ และที่สำคัญคือความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ  ซึ่งการทำงานด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนเป็นรูปธรรมและลงมือทำจริงจนสามารถนำมาเป็น KPI ที่เชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อและหุ้นกู้ Blue Finance

        ตัวอย่างผลงานด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน
• เข้าร่วมในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact)
• เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF)
• เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่ 8 ปีติดต่อกัน
• ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน
• อันดับหนึ่ง Seafood Stewardship Index (SSI) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

        กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ปี 2568         
        ไทยยูเนี่ยนวางแผนกลยุทธ์ไปจนถึงปี 2568 โดยตั้งต้นจากแนวคิด Healthy Living, Healthy Oceans เป็นการสร้างกลยุทธ์จากเทรนด์ระยะยาวของผู้บริโภคทั่วโลกที่มองหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีความยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายในระดับปานกลางและเพิ่มอัตราการทำกำไรให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ 3 ธุรกิจหลัก บริษัทยังคงมุ่งเน้นการเสริมกำลังให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยการนำเทคโนโลยีออโตเมชั่น เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ก้าวทันอนาคต รวมถึงสร้างแบรนด์ต่างๆ ที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังเพิ่มการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจอินกรีเดียนท์ นิวตรีชั่น (น้ำมันปลา แคลเซี่ยม คอลลาเจน โปรตีนสกัดจากปลาทูน่า เป็นต้น) และโปรตีนทางเลือก เป็นต้น และนำเรื่องนวัตกรรม รวมถึงสตาร์ทอัพ เข้ามาช่วยเสริมเพื่อให้ธุรกิจก้าวทันโลก ซึ่งทั้งหมดได้ดำเนินการไปควบคู่กับการรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม การดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างถูกต้องและเป็นธรรม และ ความปลอดภัยของผู้คนที่เกี่ยวข้อง

        TUมุ่งสู่  Blue Finance
        ในปี 2564 ไทยยูเนี่ยนได้เริ่มก้าวสู่ Blue Finance ด้วยซีรีย์ของสินเชื่อและหุ้นกู้ที่ส่งเสริมความยั่งยืน นับเป็นการก้าวจากการจัดหาเงินแบบดั้งเดิมไปสู่ Blue Finance ซึ่งเป็นการบริหารการเงินของธุรกิจที่มีโครงการต่างๆ ในการดูแลมหาสมุทรและอุตสาหกรรมอาหารทะเลในภาพรวม

         ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อและหุ้นกู้นั้นกำหนดให้เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้และเป้าหมายผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และหากสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง  สำหรับไทยยูเนี่ยน ตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่ตั้งไว้ได้แก่ 1) การได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์หรือ DJSI ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง 2) การลดปริมาณความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้า และ 3) บริษัทต้องซื้อปลาจากเรือที่มีเครื่องมือการตรวจสอบอิเล็คทรอนิคส์และ/หรือผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของซัพพลายเชนในจัดหาปลาทูน่าทั่วโลก

        ทำความรู้จักกับ Blue Finance ของไทยยูเนี่ยนกัน
        จุดแข็งของการบริหารการเงินของไทยยูเนี่ยน
        การเป็นผู้นำในตลาด: ไทยยูเนี่ยนเติบโตจนปัจจุบันเป็นบริษัทอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก โดยมีสินค้าที่หลายหลาย ในตลาดหลักๆ ทั้งอเมริกาและยุโรป ตลอดจนฐานการผลิตทั่วโลก ซึ่งช่วยเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานของบริษัทให้มีความแข็งแกร่งและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

        สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง: ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรอยู่ที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” หรือ “Positive เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 จากทริสเรตติ้ง และที่ระดับ “A-“ แนวโน้ม “คงที่” หรือ “Stable” (ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกับประเทศไทย)  เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 จาก Japan Credit Rating Agency, Ltd. หรือ JCR ซึ่งแสดงถึงสถานะทางการตลาดที่เข้มแข็งของไทยยูเนี่ยนในฐานะผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปชั้นนำของโลกที่มีสถานะการเงินและธุรกิจที่แข็งแกร่งและมั่นคง

        การดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน: บริษัทให้ความสำคัญกับงานด้านความยั่งยืนของบริษัท ด้วยกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัทหรือ SeaChange® ในการทำหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกและสร้างมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับเข้าเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ DJSI เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน และรางวัลอันดับหนึ่ง Seafood Stewardship Index (SSI) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

        ทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์: ไทยยูเนี่ยนอยู่ในธุรกิจอาหารทะเลมากว่า 40 ปี มีทีมผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ โดยสามารถบริหารงานให้บริษัทเติบโตได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้น กำไรยังคงมีความเติบโต และมีอัตราเงินปันผลที่ดี

        หนทาง สู่ Blue Finance ของTU  ถูกจัดเรียงอย่างเป็นระบบและน่าติดตาม....


อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

HotNews: RJH ทุ่ม 420 ลบ. ลุยโครงการซื้อหุ้นคืน

บอร์ด RJH เคาะ โครงการซื้อหุ้นคืน จำนวน 18 ล้านหุ้น วงเงิน 420 ลบ. เริ่ม 15 พ.ย.67 - 30 เม.ย.68

หนาแน่น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย เช้าวันนี้ ยังคงมีความคึกคัก .....

มัลติมีเดีย

รู้จัก เมดีซ กรุ๊ป ก่อนเทรด บนกระดาน SET - สายตรงอินไซด์

รู้จัก เมดีซ กรุ๊ป ก่อนเทรด บนกระดาน SET - สายตรงอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้