Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : MTC ยังพราวเสน่ห์ โบรกฯ เล็งกำไรปีหมูทะยาน 4.7 พันลบ. - จัดชั้น NPL แบบใหม่ ไม่กระทบ

2,656

 สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(17 มกราคม 2562)

MTC  ยังพราวเสน่ห์ 2 โบรกเกอร์  นำโดยกรูดีบีเอสฯ  ปักใจเชียร์ซื้อ MTC   ให้ราคาพื้นฐาน 63 บาท  ประมาณการกำไรสุทธิปี 61-62-63 เติบโต 50%/30%/31%  เทพหุ้นเคทีบีฯ ลั่นไก คงคำแนะนำ "ซื้อ"  MTC  ที่ราคาเหมาะสม 57  บาท มอง MTC จะไม่ได้รับผลกระทบด้านการจัดชั้นสินเชื่อเช่นเดียวกับ TISCO  คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ที่ 4.7 พันล้านบาท (+25%YoY)  

 

บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC) บริษัทจัดชั้นหนี้ตามเกณฑ์ ธปท.อยู่แล้ว นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร MTC เปิดเผยว่าบริษัทได้บันทึกการลงบัญชีโดยนำเงินค่างวดไปตัดเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายพร้อมกันตามเกณฑ์ของธปท.อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดชั้นลูกหนี้ NPL ใหม่แต่อย่างใด ดังนั้นรายได้ดอกเบี้ยรับและ NPL จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิม ทั้งนี้ บริษัทยังวางเป้าคุม NPL Ratio ในปี 2562 ไว้ไม่เกิน 2.0% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.26%



แผนการดำเนินงานในปี 2562 บริษัทเตรียมเปิดสาขาใหม่อีก 600 สาขา ส่งผลให้สิ้นปี 2562 จะมีสาขากว่า 3,900 สาขาทั่วประเทศ ตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโต 35% ทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปี 2561 (ที่คาดว่าจะเติบโตกว่า 40%)

 



เกณฑ์ใหม่ P-loan ก็ไม่กระทบเช่นกัน สำหรับเกณฑ์ใหม่ของสินเชื่อส่วนบุคคล (P-loan) แบบมีหลักประกัน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆ นี้ โดยหลักเกณฑ์ใหม่ คือ กำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ 28% ... บริษัทคาดว่าเกณฑ์ใหม่จะไม่กระทบการดำเนินงาน และอาจเป็นผลดีด้วยซ้ำ เพราะปัจจุบันคิดอัตราดอกเบี้ย 23% ต่ำกว่าเพดาน ทำให้มีช่องว่างในการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกถ้าต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น



ในเชิงกลยุทธ์ ยังคงคำแนะนำซื้อ MTC โดยให้ราคาพื้นฐาน 63 บาท (PEG 0.7 เท่าของอัตราการเติบโตกำไรเฉลี่ยปี 61-62-63 ที่ 37% ทั้งนี้ประมาณการกำไรสุทธิปี 61-62-63 เติบโต 50%/30%/31% ตามลำดับ



สำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อวานนี้ราคาหุ้นมีรีบาวด์ในวันหลังลงแรง และปิดในระดับเกือบสูงสุดของวัน การซื้อเก็งกำไรใหม่ แนะนำซื้อตามด้วยค่าบวกของราคาหุ้น แนวต้านแรก 48 บาท ถ้าผ่านและยืนได้ถือต่อเพื่อลุ้นแนวต้านถัดไป 50+/- แต่ถ้าไม่ผ่านก็ขายก่อน ค่าลบของราคาหุ้นไม่เล่น ให้ Wait & See ก่อน

 

 


ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า วานนี้ (16 ม.ค. 2019) MTC ได้จัด Conf. call ที่ส่งผลให้เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้น โดยมองว่า MTC จะไม่ได้รับผลกระทบเหมือน TISCO ที่มีการปรับปรุงการบันทึกบัญชีและการจัดชั้นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เนื่องจากค่างวดที่ค่อนข้างต่ำ และสามารถจัดสรรให้ตัดต้นตัดดอกได้ ส่งผลต่อการคำนวณหนี้คงค้างที่มีความสอดคล้องทั้งสินเชื่อคงค้าง, ดอกเบี้ยค้างรับ และระดับ NPLs ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้เราคาดกำไรสุทธิ 4Q18 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่1.05 พันล้านบาท (+41%YoY, +9%QoQ) ตามจำนวนสาขา ณ 4Q18 ที่ 3,279 สาขา อย่างไรก็ตามเราคาดว่า NPLs จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.41% จากการตัดจำหน่าย NPLs ที่ลดลง ทำให้มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นที่ 182 ล้านบาท (+9%YoY, +14%QoQ) ทั้งนี้เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ที่ 4.7 พันล้านบาท (+25%YoY) จากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.9 พันสาขา และคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเหมาะสม 57.00 บาท (อิง PBV 7.5x ใกล้เคียงกับ 5Yr AvgPBV+0.5SD)

 

MTC จะไม่ได้รับผลกระทบด้านการจัดชั้นสินเชื่อเช่นเดียวกับ TISCO 

วานนี้ (16 ม.ค. 2019) MTC ได้จัด Conf. call ที่ส่งผลให้เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้น โดยมองว่า MTC จะไม่ได้รับผลกระทบเหมือน TISCO ที่มีการปรับปรุงการบันทึกบัญชี และการจัดชั้นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เนื่องจาก (1) ค่างวดที่ค่อนข้างต่ำ และสามารถจัดสรรให้สามารถตัดต้นตัดดอกได้ ส่งผลต่อการคำนวณหนี้คงค้างที่มีความสอดคล้องทั้งสินเชื่อคงค้าง, ดอกเบี้ยค้างรับ และระดับ NPLs ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น , (2) เกณฑ์การตั้ง NPLs ของบริษัทเป็นปกติธุรกิจที่จะอิงยอดคงค้าง 3 งวด และค้างชำระมากกว่า 90 วัน และ (3) NPLs ในปี 2018 ยังคงเป็นไปตามเป้าของบริษัทที่ต่ำกว่า 1.5%

 

 

คาดกำไรสุทธิ 4Q18 ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง


คาดกำไรสุทธิ 4Q18 อยู่ที่ 1.05 พันล้านบาท (+41%YoY, +9%QoQ) ตามจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นใน 4Q18 ที่ 101 สาขา ส่งผลให้บริษัทมีจำนวนรวมที่ 3,279 สาขา และสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น 34.2%YoY, 6.8%QoQ ในขณะที่เราคาด NPLs จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.41% จาก 3Q18 ที่ 1.26% โดยเป็นผลจากการตัดจำหน่าย NPLs ที่ลดลง ทำให้มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นที่ 182 ล้านบาท (+9%YoY, +14%QoQ)

 

คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ขยายตัวที่ 25%YoY


คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2019 ที่ 4.7 พันล้านบาท (+25%YoY) จากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.9 พันสาขา, สินเชื่อจะขยายตัวที่ 22% และการตั้งสำรองที่ลดลงคิดเป็น Credit Cost 132 bps จากปี 2018 ที่ 137 bps โดยยังสามารถรักษาระดับ Coverage Ratio ไว้ได้ที่กว่า 200% นอกจากนี้เรามองว่าจะมีแรงกดดันต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่น้อย เพราะบริษัทได้มีสัดส่วนเงินกู้ยืมที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ค่อนข้างสูง (คาด หุ้นกู้:เงินกู้ยืมระยะยาว:เงินกู้ยืมระยะสั้น ที่ 60:30:10) ส่งผลให้บริษัทมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเล็กน้อย

 

 

คงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเหมาะสม 57.00 บาท


คงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเหมาะสม 57.00 บาท (อิง PBV 7.5x ใกล้เคียงกับ 5Yr AvgPBV+0.5SD) จากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คิดเป็น 2018-20 EPS CAGR ที่ 27% และปัจจัยความเสี่ยงที่ลดลงภายหลังที่บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจาก ธปท. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ทั้งนี้เรามองว่าราคาหุ้นได้มีการปรับตัวลดลงในช่วง 1 เดือนนั้นเป็นการปรับตัวลดลงตามตลาด และความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงระบบเหมือน TISCO ซึ่ง ณ ปัจจุบันบริษัทได้ชี้แจง และคลายความกังวลในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสม

 


สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ออกบทวิเคราะห์เปิดเผยว่า แม้ว่านโยบายปัจจุบันของ MTC จะต่างจากคู่แข่ง แต่บริษัทได้มีการใช้การชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นในการประเมินการชำระล่าช้า โดยจะเป็นการชำระดอกเบี้ยก่อนเงินต้น และบริษัทจะไม่นำเงินที่ได้มาหักดอกเบี้ย 2 เดือนต่อเนื่อง (เพื่อเลี่ยงผลกระทบด้านกฎหมาย) และด้วยเงินกู้ต่อสัญญาที่ต่ำ และระยะเวลาที่สั้น ทำให้ผลกระทบต่อ MTC ค่อนข้างจำกัด หากกฎหมายเปลี่ยนให้ชำระเงินต้นและค่าธรรมเนียมก่อนดอกเบี้ย เรามองว่ากลุ่ม Non-bank จะได้ข้อสรุปในสิ้นเดือนนี้ ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และการเติบโตที่ลดลง เราแนะนำให้ "ถือ" และมองราคาหุ้นที่ลดลงเป็นจังหวะในการเก็งกำไร

 

 



ประเด็นจากการประชุมนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน


- ขั้นตอนในการจ่ายเงินแบ่งเป็น ค่าปรับล่าช้า, ดอกเบี้ย และค่อยเป็นเงินต้น แต่ด้วยขนาดสัญญาที่เล็ก (เฉลี่ย 2.2 หมื่นบาท) และระยะเวลาในการกู้ที่สั้น (18 - 24 เดือน) ทำให้เงินชำระต่องวดต่ำ และมีการรวมเงินต้นในนั้นแล้ว


- การชำระจะไม่นำมาหักดอกเบี้ย 2 เดือนในกรณีที่มียอดค้าง แต่จะเป็นจ่ายค่าธรรมเนียม, ดอกเบี้ย และเงินต้นรอบล่าสุดก่อน


- และ NPL สำหรับกรณีค้างชำระเกิน 3 เดือน หากมีการชำระเพียงยอดขั้นต่ำจะทำให้ลูกค้ากลายเป็น NPL ในเดือนที่ 4 โดย MTC คาดว่าลูกค้าในกลุ่มที่ค้างชำระ 60-90 วันอยู่ที่ 2% ในช่วง 3Q18 โดยที่ NPL อยู่ที่ 1.26% ในช่วง 3Q18


- ในกรณีนี้ต่างจากการนับไม่จ่ายเงินต้น 3 เดือนคือ NPL ตามคู่แข่งรายอื่นในอุตสาหกรรม และต่างจากกลุ่มธนาคารที่หักดอกเบี้ยก่อนเงินต้น เนื่องด้วยธนาคารมียอดต่อสัญญาที่สูงกว่า (ขั้นต่ำ 2 แสนบาท) และระยะเวลาที่ยาวนานกว่า


- การดำเนินงานของ MTC ทำภายใต้กฎหมาย non-bank ซึ่งควบคุมโดย ธปท. เพื่อที่จะนำสินเชื่อนอกระบบเข้าสู่ระบบ และเพื่อให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยมีดอกเบี้ยที่ยุติธรรมก่อนที่จะเริ่มเข้มงวดด้านกฎเกณฑ์


- กลุ่มไฟแนนซ์มีการปรับตัวที่ดีกว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีพรีเมี่ยมที่ค่อนข้างสูง (มีโอกาสถูกขายทำกำไร) และมีปัจจัยกดดันหลายด้าน (ผลตอบแทนลดลง และการแข่งขันเพิ่มขึ้น) ทำให้เรามองเป็นโอกาสเก็งกำไรระยะสั้นมากกว่าลงทุนในระยะยาว เราแนะนำให้ "ถือ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 55 บาท (GGM)

 

 


บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเด็นที่น่าสนใจของผลการดำเนินงานใน 4Q61F จะอยู่ที่การเร่งขยายสินเชื่อ และการเพิ่ม margin ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกที่มาหักล้างกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เร่งตัวขึ้นของทุกบริษัทในกลุ่ม ในขณะที่มีการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ เราคาดว่าจะไม่ต้องมีการตั้งสำรองพิเศษใน 4Q61F สำหรับในระยะต่อไป จะมีประเด็นเรื่องกฎหมายคุมธุรกิจ Non-Bank ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา/คณะรัฐมนตรี และการมีธุรกิจ non-bank เข้ามาจดทะเบียนใน SET เพิ่มขึ้นในปี 2562 ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในธุรกิจนี้เข้มข้นมากขึ้น และเนื่องจากความไม่แน่นอนในประเด็นนี้ ทำให้เรายังคงชอบหุ้นที่มี risk profile ต่ำอย่างเช่น KTC และ MTC

 


MTC จัดการประชุมทางโทรศัพท์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับความกังวลเรื่องการเปลี่ยนวิธีการจัดชั้น NPL โดยใจความสำคัญได้แก่ 1.) MTC ยังไม่ได้จัดชั้น NPL เหมือนกับที่ TISCO ทำไปใน 4Q61 ในเรื่องการตัดการงวดแบบใหม่ 2.) MTC จัดชั้น NPL โดยอิงจากสินเชื่อคงค้างชำระรวม >3 เดือน 3.) MTC บริษัทจะได้ผลกระทบน้อยจากภายใต้เกณฑ์ใหม่เพราะสินเชื่อของมีการปล่อยสินเชื่อ/รายต่ำ 20,000-25,000 บาท/รายเท่านั้น (กำหนดชำระคืนเฉลี่ย 18 เดือน) ซึ่งผู้กู้มีภาระชำระคืนหนี้แค่งวดละ 2,000 บาท/เดือนเท่านั้น ผู้บริหารชูประเด็นว่าบริษัททำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น (12-18 เดือน) ซึ่งโดยปกติแล้วเงินงวดจะแบ่งเป็นส่วนของดอกเบี้ย:เงินต้น ที่ 25:75 ดังนั้น การเปลี่ยนนโยบายทางบัญชีของการชำระหนี้จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบกับรายได้ และ NPL ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

 

ผู้บริหารของ MTC เปิดเผยว่า ในปัจจุบันธุรกิจของบริษัทยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. และการปรับวิธีจัดชั้น NPL ของ TISCO ก็อาจจะเป็นนโยบายตามความสมัครใจ และมีผลเฉพาะกับธนาคารเท่านั้น บริษัทยอมรับว่าในปัจจุบัน บริษัทจัดชั้น NPL โดยอิงจากยอดรวมที่ค้างชำระ >3 เดือน ทั้งนี้เราเห็นด้วยกับผู้บริหารว่าผลกระทบของ MTC มีน้อยกว่าผู้ประกอบการรายอื่น แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ และได้ในการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนวิธีการจัดชั้น NPL เราได้ทำการวิเคราะห์ sensitivity โดยเราได้ทดลองใช้สมมติฐานว่าการเปลี่ยนจะนโยบายฯ จะทำให้สินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (คงค้าง 1-3 เดือน)ไหลกลับมาเป็น NPL ซึ่งแบ่งการตกชั้นหนี้ออกเป็น 4 ระดับ คือกำหนดให้หนี้จัดชั้น 1-3 เดือน (special mention) จะตกชั้นเป็น NPL 10%-40% ทั้งนี้ในปัจจุบัน NPL ของ MTC ต่ำมาก (สินเชื่อค้างชำระ >3 เดือน) เพียงแค่ 566 ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็นแค่ 1.3% ของพอร์ตสินเชื่อ ในขณะที่สัดส่วน NPL coverage ใน 3Q61 สูงถึง 252% ทั้งนี้ ถ้าหากการเปลี่ยนนโยบายบัญชีทำให้สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 10% กลายมาเป็น NPL ก็จะทำให้สัดส่วน NPL ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 2.1% ในขณะที่สัดส่วน NPL coverage จะลดลงเหลือแค่ 154% ซึ่งหากให้สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 40% กลายมาเป็น NPL ก็จะทำให้ NPL coverage ลดลงเหลือแค่ 71% ทั้งนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วน NPL coverage ที่ลดลงจะกดดันต่อนโยบายการตั้งสำรองในอนาคต

 

 

SAWAD อาจจะถูกกระทบมากกว่า MTC
พอร์ตสินเชื่อของ SAWAD ต่างกับของ MTC และ KTC ในแง่ของสัดส่วนสินเชื่อแต่ละประเภท, ขนาดของสินเชื่อแต่ละบัญชี (สูงกว่าของ MTC 2.0x), อายุของสินเชื่อ, สัดส่วน NPL, และสัดส่วน NPL coverage (figure 2) เราได้ทำการทดสอบ sensitivity ของการเปลี่ยนวิธีการจัดชั้น NPL จากการเปลี่ยนนโยบายทางบัญชี โดยพิจารณาจาก 4 scenario และพบว่าสัดส่วน NPL ของ SAWAD อาจจะพุ่งขึ้นไป เป็น 6% ถึง 11% (จากปัจจุบันที่ 5%) ถ้าหากว่ามีการจัดชั้นหนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษ 10%-40% เป็น NPL ในขณะที่สัดส่วน NPL coverage ก็จะลดลงเหลือ 61%-35% (จากปัจจุบันที่ 80%) ดังนั้น เราจึงพูดได้ว่าพอร์ตสินเชื่อ และคุณภาพสินทรัพย์ของ SAWAD เปราะบางยิ่งกว่าของ MTC

 

คำแนะนำ Under review
ถึงแม้ว่ากำไรของทั้ง SAWAD และ MTC จะยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในระดับสองหลักในปี 2562-63 แต่เราคิดว่าแนวโน้ม บวกกัยแรงกดดันจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชี เมื่อธุรกิจ non-bank ต้องถูกควบคุมโดย ธปท. ซึ่งให้ธปท.ความสำคัญกับเรื่องของความถูกต้อง เป็นธรรม และยังต้องพยายามคุมระดับของหนี้ครัวเรือนในภาพใหญ่ ดังนั้น เราจึงคาดว่าการทำธุรกิจนี้น่าจะยากขึ้นในปีหน้า ดังนั้น C

 

Risks
มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเนื่องจาก NPL สูงขึ้น, มีการเปลี่ยนเกณฑ์ในการจัดชั้นสินเชื่อ และนโยบายการกันสำรอง, กฎหมายคุมการทำธุรกิจ non-bank.

 

 

 


บิ๊กบอส MTC ลั่น วิธีการตั้ง NPL ทาง MTC ปฏิบัติตามแนวทางของ ธปท. อยู่แล้ว

 

ขณะที่วานนี้ นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC) เปิดเผยว่า การปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้น MTC ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา เกิดจากความกังวลว่าบริษัทฯอาจต้องมีการจัดชั้นลูกหนี้ใหม่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินบางแห่ง และทำให้ต้องมีการกันสำรองฯมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวขอยืนยันว่า ทาง MTC ได้บันทึกการลงบัญชีโดยนำเงินค่างวดไปตัดเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายพร้อมกันตามเกณฑ์ของ ธปท. อยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อการรับรู้รายได้และดอกเบี้ยที่ลดลง ดังนั้นทาง MTC จึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดชั้น ลูกหนี้ NPL ใหม่แต่อย่างใด

 

"ที่นักลงทุนกังวลว่าเราอาจต้องมีการจัดชั้นลูกหนี้ใหม่ แล้วทำให้ดอกเบี้ยรับลดลงและ NPL เพิ่มขึ้น ให้ลืมไปได้เลยครับ เพราะเราปฏิบัติตามเกณฑ์ ธปท. อยู่แล้ว เพราะเราคำนึงถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และที่สำคัญหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของบริษัทฯ ต่ำมากเมื่อเทียบกับในระบบ" ทั้งนี้ บริษัทฯยังวางเป้าคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปี 2562 ที่ระดับไม่เกิน 2.0% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.26% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระบบ

 

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC) กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานในปี 2562 บริษัทฯเตรียมเปิดสาขาใหม่อีก 600 สาขา ส่งผลให้สิ้นปีนี้มีสาขากว่า 3,900 สาขาทั่วประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโต 35% ทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ที่คาดว่าจะเติบโตกว่า 40% และพร้อมปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ของสินเชื่อส่วนบุคคล (P-loan) แบบมีหลักประกัน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆนี้



ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ P-loan ที่แบงก์ชาติเตรียมประกาศใช้จะเพิ่มโอกาสในการเติบโตให้กับ MTC เนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯ มี P-Loan ทั้งสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สินเชื่อรถจักรยานยนต์ ซึ่งตามเกณฑ์ใหม่ กำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ 28% โดยปัจจุบันบริษัทฯคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 23% ทำให้มีช่องว่างในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่อยู่ในช่วงขาขึ้น

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

TERA เปิดเทรดวันแรกราคาพุ่งเหนือจอง 122.86 %

TERA เปิดเทรดวันแรกราคาพุ่งเหนือจอง 122.86 %

คุมเชิง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองเกมหุ้นภาพรวม น่าจะเป็นรูปแบบการเทรด การเล่นคุมเชิง เน้นเล่นรอบ เล่นสั้น บนปัจจัยบวกใหม่...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้