
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 7 กุมภาพันธ์ 2568)---- บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC รายงานงบการเงินรวมปี 2567 มีกำไรสุทธิ 35,075 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 29,086 ล้านบาท
ADVANC ระบุว่า ในงวดปี2567 เอไอเอสมีรายได้รวมอยู่ที่213,569 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 13เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการรับรู้รายได้ของ TTTBB การเติบโตของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงการเติบโตของรายได้จากการขายอุปกรณ์
รายได้จากการให้บริการหลัก (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่ายและรายได้จากการเป็นพันธมิตรกับ NT) อยู่ที่ 162,363 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้รายได้ของ TTTBB และการเติบโตของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเติบโตของบริการลูกค้าองค์กร (ไม่รวมโทรศัพท์เคลื่อนที่)
• รายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ที่ 123,803 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากคุณภาพโครงข่ายที่แข็งแกร่ง การเติบโตของ ARPU จากการขายพ่วงและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มและแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
• รายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตความเรว็สงู อยู่ที่ 29,441 ล้านบาทเติบโตร้อยละ 116 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้รายได้ของ TTTBBและการเติบโตปกติด้วยกลยุทธ์การขายพ่วงบริการเสริมที่มีมูลค่าเพิ่ม การขยายฐานผู้ใช้บริการ และการเพิ่ม ARPU ที่สูงขึ้นจากการขายแพ็กเกจที่รวมหลายบริการ
• รายได้จากบริการลูกค้าองค์กรและอื่น ๆ อยู่ที่ 9,120 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากบริการการเชื่อมต่อโครงข่ายได้แก่ การเชื่อมต่อสื่อสารโครงข่ายข้อมูล (EDS) และ คลาวด์รวมถึงการรวมผลประกอบการ TTTBB ในส่วนรายได้อื่นที่เพิ่มขึ้นมาจากการรับรู้รายได้สัญญาโรมมิ่งกับ NT
รายได้ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (IC) และรายได้จากการเป็นพันธมิตรกับ NTอยู่ที่ 13,130 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการปรับลดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย และ ปริมาณการเชื่อมต่อโครงข่ายกับ NT ที่ลดลง
รายได้จากการขายอุปกรณ์และซิม อยู่ที่ 38,076 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 3.0 จากปีก่อน ตามการมุ่งเน้นการขายอุปกรณ์ค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น
สำหรับอัตรากำไรของยอดขายอุปกรณ์มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากร้อยละ1.8 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 5.6 ในปี 2567 จากการบริหารส่วนลดค่าเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี2567 ต้นทุนการให้บริการอยู่ที่ 99,434 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้ค่าใช้จ่ายส่วนของ TTTBB และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของรายได้
• ต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาต อยู่ที่ 6,276 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10เมื่อเทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการหลัก โดยต้นทุนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนค่าธรรมเนียมต่อรายได้จากการให้บริการหลักอยู่ที่ร้อยละ 3.9
• ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย อยู่ที่ 59,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ16 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรวมค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์สิทธิการใช้(Right-of-use assets) จาก TTTBB การรับรู้ค่าเสื่อมราคาจากการขยายโครงข่าย 5G และค่าเสื่อมราคาของคลื่นความถี่700MHz
• ค่าใช้จ่ายโครงข่ายและค่าใช้จ่ายจากการเป็นพันธมิตรกับ NT อยู่ที่22,989 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากการรับรู้ต้นทุนของ TTTBB ชดเชยกับกลยุทธ์ในการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
• ต้นทุนการให้บริการอื่น ๆ อยู่ที่ 10,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนจากต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคลาวด์สอดคล้องกับรายได้คลาวด์ที่เติบโต
ในปี2567 กำไรขั้นต้นอยู่ที่ 78,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากรวมผลประกอบการของ TTTBB และการขยายตัวของรายได้ควบคู่กับการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
อัตรากำไรขั้นต้น อยู่ที่ร้อยละ 36.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจและกำไรจากการขายอุปกรณ์ที่สูงขึ้น
ปี2567 EBITDA อยู่ที่113,243 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนตามการเติบโตของรายได้การให้บริการหลักและผลกระทบเชิงบวกจากการรวมการดำเนินงานของTTTBB ร่วมกับส่วนแบ่งกำไรจาก 3BBIF
EBITDA margin อยู่ที่ร้อยละ 53.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.0 ณ สิ้นปี2566 จากการเติบโตของรายได้ การปรับตัวดีขึ้นของอัตรากำไรของยอดขายอุปกรณ์ และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
กำไรสุทธิตามรายงาน อยู่ที่35,075 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น รวมถึงการบริหารต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติจ่ายปันผลงวดดำเนินงานวันที่ 01 ก.ค. 2567 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ในอัตรา 5.74 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 20 ก.พ. 68 มีกำหนดจ่ายวันที่ 10 เม.ย. 68
พร้อมกันนี้ ADVANC เปิดเผยมุมมองของผู้บริหารต่อแนวโน้มและกลยุทธ์ในปี2568 ดังนี้
*รายได้จากบริการหลักคาดว่าจะเติบโตที่ระดับร้อยละ3 ถึง 5*
ในปี 2568 การเติบโตคาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการเติบโตของ GDP เอไอเอสมีความได้เปรียบในการนำเสนอบริการแบบผสมผสาน (convergence) ที่เชื่อมโยงบริการหลักเข้าด้วยกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับลูกค้า กลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เสริมสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้ และกระตุ้นความภักดีต่อแบรนด์อย่างต่อเนื่อง
• โทรศัพท์เคลื่อนที่: มุ่งเน้นรักษาความเป็นผู้นำด้านคุณภาพของโครงข่าย ยกระดับการใช้งาน 5G อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำเสนอบริการเสริมและคอนเทนต์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่ไปกับการส่งมอบบริการดิจิทัลที่เหนือระดับ ขณะที่การแข่งขันในตลาดมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ใช้บริการ
• อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง : กลยุทธ์มุ่งเน้นการขยายฐานผู้ใช้บริการในพื้นที่ใหม่ ควบคู่กับการเพิ่ม ARPU ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านนวัตกรรมและการเชื่อมต่อที่เหนือกว่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วไป โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อส่งมอบคุณภาพบริการที่เหนือกว่า
• บริการลูกค้าองค์กร: มุ่งเน้นการให้บริการเชื่อมต่อและคลาวด์โดยใช้ความสัมพันธ์กับฐานลูกค้าที่มีอยู่เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์เสริมที่แตกต่าง โดยเฉพาะโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย 5G เพื่อตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล กลยุทธ์นี้จะช่วยผลักดันการเติบโตอย่างมีกำไร พร้อมตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*กำไร EBITDA เติบโตประมาณร้อยละ3 ถึง 5 จากการมุ่งเน้นความสามารถในการทำกำไร*
การเติบโตของธุรกิจได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการให้บริการและการจำหน่ายสินค้า ควบคู่ไปกับการบูรณาการธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
เอไอเอสยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการด าเนินงานและการใช้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการ โดยอาศัยความได้เปรียบจากการประหยัดต่อขนาด (Economies ofScale) และการปรับปรุงการบริหารต้นทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำกำไร นอกจากนี้ เอไอเอสยังคงลงทุนในระบบไอที การพัฒนาโครงข่ายให้ทันสมัย และการผสานบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เป็นระบบเดียว เพื่อต่อยอดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาผลประกอบการที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในระยะยาว พร้อมส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
*ตั้งเป้างบลงทุนระหว่าง26,000 ถึง27,000 ล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงข่ายและใช้ในการควบรวมกิจการให้เสร็จสมบูรณ์*
กลยุทธ์การลงทุนจะมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพื่อรักษาทั้งคุณภาพและความเป็นผู้นำด้านโครงข่าย โดยงบประมาณการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ให้ทันสมัย ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกิจการ และโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน สำหรับการจัดสรรงบลงทุนยังมุ่งเน้นที่บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมาด้วยลงทุนในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และส่วนที่เหลือสำหรับบริการลูกค้าองค์กรและอื่น ๆ
*นโยบายการจ่ายเงินปันผล : จ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ70 ของกำไรสุทธิ*
เอไอเอสมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว และส่งมอบผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นมาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เอไอเอสจึงให้ความสำคัญต่อการรักษาสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และมีความคล่องตัวเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต นโยบายการจ่ายเงินปันผลจะจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิ โดยนโยบายการจ่ายเงินปันผลนี้จะทำให้เอไอเอสมีกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเป็นผู้นำตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงพร้อมรับต่อสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลง
เอไอเอสยังคงการจ่ายเงินปันผลปีละสองครั้งจากผลการดำเนินงานบริษัท และกำไรสะสมบนงบการเงินเฉพาะกิจการ ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลในทุกกรณี จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดและแผนการลงทุน รวมถึงความจำเป็น และความเหมาะสมอื่น ๆ ในอนาคตของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อย และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่เกินกำไรสะสมที่ปรากฏในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท และ/หรือมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานปกติของบริษัท และบริษัทย่อย
///จบ///