Market Wrap-Up
- SET วันที่ 28 พ.ค.67 ปิด -3.67 จุด อยู่ที่ 1,362.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 33,875 ลบ.ต่างชาติขาย 1,660ลบ.สถาบันซื้อ 62 ลบ.รายย่อยซื้อ 1,225 ลบ. NVDR มียอดขายสุทธิรวม 925 ลบ. โดยมียอดซื้อสุทธิในหุ้นPTTGC,COM7,BTS,SAWAD,TISCO และมียอดขายสุทธิ DELTA,MINT,SCB,PTT,IVL มูลค่า Short Sales อยู่ที่ 5,357 ลบ. หุ้นที่มี%ปริมาณ Short สูงคือ DCC-R,DELTA-R,IVL-R โดยนักลงทุนต่างประเทศมีสถานะ Short ใน Index Futures จำนวน 29,700 สัญญา ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีต่างชาติ Long สุทธิรวม 32,171 สัญญา นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรจำนวน 195 ลบ.
- ตลาดหุ้นสหรัฐ DJIA -0.55%, S&P500 +0.02%, Nasdaq +0.59% โดย DJIA ถูกกดดันจาก US Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.545% ส่งผลให้หุ้นกลุ่มอุต ฯ -1.26%, บริการสุขภาพ -1.25% แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มเทคโนโลยี นำโดย Nvidia +7% ตลาดหุ้นยุโรป Stoxx600 -0.60% จากแรงขายกลุ่มเดินทาง & สันทนาการ -2.8%, บริการสุขภาพ -1% อยู่ระหว่างรอรายงานตัวเลขเงินเฟ้อยูโรโซน
Market View
- ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ DJIA ปรับลดลง หลัง นีล แคชแครี ปธ.เฟดสาขามินนีแอโพลิส เผยควรรอข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายเดือน ก่อนเฟดจะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และไม่ปิดโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ US Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.545% ขณะที่กลุ่มเทค ฯ ได้แรงหนุนจาก Nvidia +7% ส่วน CB เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ พ.ค. อยู่ที่ 102 & เม.ย. 5 และดัชนีราคาบ้านสหรัฐ มี.ค. +6.5% YoY, +0.3% MoM บ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดี ซึ่งอาจเป็นปัจจัยส่งผลให้เงินเฟ้อลดลงช้ากว่าคาด โดยวันพรุ่งนี้ ติดตาม GDP สหรัฐ Q1/67 ครั้งที่ 2 คาด +1.3% & ครั้ง 1 ที่ +1.6% QoQ และวันศุกร์รายงาน US Core PCE เม.ย. คาดที่ 2.8% YoY, 0.3% MoM ทรงตัวเมื่อเทียบกับ มี.ค. เพื่อประเมินโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งล่าสุด CME Fed Watch ชี้โอกาส 44.8% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% ใน พ.ย.
- ตลาดหุ้นยุโรปวานนี้ปรับลดลงมากสุดในรอบ 1 เดือน โดยวันศุกร์นี้ รอรายงาน Core CPI ยูโรโซน พ.ค. คาดทรงตัวที่ 2.7% YoY ซึ่งเป็นระดับเดียวกับ เม.ย. เพื่อประเมินโอกาสลดอกเบี้ยในการประชุม 6 มิ.ย. ซึ่ง LSEG ชี้มีโอกาส 91% ที่ ECB จะลดดอกเบี้ย 0.25%
- ตลาดหุ้นเอเชีย ดัชนีนิเกอิวานนี้ -0.11% ถูกกดดันจาก Japan Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 1.018% ระหว่างรอผลการประชุม BOJ 13 มิ.ย.ว่าจะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้วานนี้ -0.46% โดยวันศุกร์นี้ติดตาม PMI ภาคผลิต & บริการจีน พ.ค. เพื่อประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
- SET -0.27% ปริมาณการซื้อขาย 38 หมื่น ลบ. ต่างชาติขาย 1,660 ลบ.สถาบันซื้อ 62 ลบ.รายย่อยซื้อ 1,225 ลบ. พอร์ตโบรกซื้อ 372 ลบ. โดยกลุ่มปิโตรเคมี -1.88% นำโดย PTTGC -2.67% จากความกังวลต้องตั้งด้อยค่าบริษัท PTT Asahi มูลค่า 9.3 พัน ลบ. ในช่วง Q2 – Q3 นี้ ส่วนกลุ่มอิเล็ก ฯ -1.17% ระหว่างรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่กลุ่มช่วยหนุนดัชนี คือ เกษตร +3.1% จากกลุ่มยางพาราปรับขึ้นตามราคายางที่ตลาดญี่ปุ่นวานนี้ +1.7% กอปรเกณฑ์ EUDR จะเริ่มใช้ในปีหน้า ส่งผลบวกต่อผู้ประกอบการยางพาราไทยที่ส่งออกไปยังตลาดยุโรป โดยดัชนี SET ผันผวนในกรอบแคบ ๆ ระหว่างรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ & ยุโรปในช่วงค่ำวันศุกร์นี้ ส่วนปัจจัยในประเทศวันนี้ อัยการสูงสุดนัดฟังคำสั่งคดี ม.112 ของทักษิณว่าจะมีความเห็นส่งฟ้องหรือไม่ และวันศุกร์ MSCI รีบาลานท์ ส่งผลให้ LH, BTS, MTC ถูกถอดจาก Global Standard Index และดัชนีมีโอกาสผันผวนสูงในช่วงปิดตลาด
Daily Strategy
- ประเมินดัชนี SET ทรงตัวในกรอบแนวรับ 1,355 – 1,360 แนวต้าน 1,370 คาดได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานปรับขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ & ยูโรโซนในวันศุกร์นี้ แนะนำซื้อเก็งกำไรกลุ่มพลังงาน PTTEP,TOP,SPRC / RCL,SINO,ETL จากแนวโน้มค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ปรับสูงขึ้น
- กลุ่มพลังงาน เก็งกำไรกลุ่มโรงกลั่นรับความคาดหวัง GRM จะเริ่มฟื้นตัวสนับสนุนจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในช่วง us driving season ที่เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาหุ้นโรงกลั่นปรับตัวลดลงมาสะท้อนค่าการกลั่นที่ตกต่ำและผลประกอบการที่แย่ลง QoQ ใน 2Q67 ไปแล้ว ดังนั้นจึงเลือกเก็งกำไร SPRC, BSRC ที่มีสัดส่วนการผลิตน้ำมันเบนซินสูง รวมถึง TOP ที่เป็น proxy ในฐานะโรงกลั่นขนาดใหญ่ในประเทศ ส่วนกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงไปก่อน PTT, PTTGC เพราะยังมีประเด็นเรื่องการปรับโครงสร้างก๊าซฯ และความเสี่ยงจากการบันทึกด้วยค่า
- AMATA (ซื้อเก็งกำไร / ราคาเป้าหมาย 28.00 บาท) สำหรับภาพการดำเนินงานกลุ่มนิคมฯในปี67 เราคาดว่าจะยังมีแรงหนุนจากการตั้งฐานการผลิตกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย โดยในส่วนของกำไรสุทธิ 1Q67 ของ AMATA อยู่ที่ 463 ลบ.(-17%YoY, -32%QoQ) หดตัวหลักๆ Margin ถูกดดันจาก 1.สัดส่วนการโอนที่ดินในระยองและเวียดนามที่มี Margin ต่ำมีสัดส่วนที่สูงขึ้น และ 2.รายได้สาธารณูปโภคในเวียดนามที่ราคาขายถูกคุมด้วยภาครัฐฯ อย่างไรก็ตาม เราคาดกำไรไตรมาสที่1 จะเป็นจุดต่ำสุดของกำไรทั้งปีแล้ว และยอดโอนที่ดินจะทะยอยปรับตัวดีขึ้นของไตรมาสที่เหลือ ทั้งนี้ ในส่วนของ backlog ณ สิ้นปี มี.ค.67 ยังแข็งแกร่งที่ 1.39 หมื่นลบ.(คาดจะสามารถทะยอยโอนได้ในปีนี้ราว 50%)
Daily Key Factors
Oil Update(+) WTI ก.ค. +$2.11 อยู่ที่ $79.83 / บาร์เรล, Brent ก.ค. +$1.12 อยู่ที่ $84.22/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากคาดการประชุม Opec 2 มิ.ย. มีโอกาสจะคงการลดกำลังผลิตแบบสมัครใจ 2.2 ล.บาร์เรล/วัน กอปรเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูขับขี่รถยนต์ในสหรัฐ
Gold Update(+) Comex Gold มิ.ย. +$22.0 อยู่ที่ $2,356.50/ออนซ์ ได้แรงหนุนจาก Dollar Index อ่อนค่า และอุปสงค์ซื้อทองคำในจีนปีนี้คาดสูงขึ้น
Fund Flow(-) Fund Flow ต่างชาติในตลาด TIP วานนี้ ขายสุทธิ -95.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นไทย -45.32 ล.ดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นอินโดฯ -36.50ล.ดอลลาร์สหรัฐ และขายหุ้นฟิลิปปินส์ -13.51 ล.ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ค่าเงินบาทเช้านีอ่อนค่าอยู่ที่ 36.61 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.554 %
(-) ดัชนี BDI วานนี้ -13 จุด อยู่ที่ 1,784
(-) BitCoinเช้านี้ -1.42% อยู่ที่ 68,381 ดอลลาร์สหรัฐ
Economic Calendar
ในประเทศ
27 พ.ค. สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1/67
31 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
สัปดาห์ที5 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,ดัชนี
ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
ต่างประเทศ
27 พ.ค. US วันระลึกถึงทหารที่จากไป
28 พ.ค. USรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซี ( พ.ค.)
30 พ.ค. US ดัชนีจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 1)
US สินค้าคงคลังน้ำมันดิบ
US จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
31 พ.ค. CN ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ( พ.ค.)
EU ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) (ปีต่อปี) ( พ.ค.)
US ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เม.ย.)
Theme Strategy
Theme หุ้นเด่นปี 2567 รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ด้านส่งออกมีโอกาสกลับมาขยายตัว ท่องเที่ยวฟื้นตามจำนวนนักท่องเที่ยว คาดหวัง Flow ไหลกลับหลังธนาคารกลางหลักมีโอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ย
(1) กลุ่มการอุปโภคบริโภค ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ CPALL, CPAXT*, CPN*, CRC, ICHI*, NSL*
(2) กลุ่มส่งออก ได้ประโยชน์จากตัวเลขส่งออกที่คาดฟื้นตัว AAI*, ITC*, TU, COCOCO*, PLUS*, OSP*, SAPPE*, KCE*
(3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้ประโยชน์จากมาตรการ Free Visa AOT*, CENTEL*, ERW*, SPA*, SISB*, WPH*
(4) กลุ่ม Leasing ได้ประโยชน์จากการยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น MTC*, TIDLOR*
(5) กลุ่มโรงไฟฟ้า ได้ประโยชน์จากต้นทุนก๊าซฯ ลดลง BGRIM*, GPSC*
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม/ EV ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต สงครามการค้า AMATA, WHA
**หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ที่ยังไม่อยู่ใน Coverage ของฝ่ายวิจัย
Asset Allocation: Equity 50% Fixed Income 30% Alternative Investment etc. Gold 10% Cash 10%
Today Fundamental Research: -
Monthly Portfolio May 2024: GFPT*, SAPPE*, ITC*, BTG*, CPALL, KLINIQ
Analysts
Apichai Raomanachai
Fundamental and Technical Investment Analysis ID No. 002939
Tel 02-829-6999 Ext 2200
Email : apichai.ra@kfsec.co.th
Nopporn Chaykaew
Fundamental Analysis ID No. 043964
Tel 02-829-6999 Ext 2203
Email : noppoen.ch@kfsec.co.th
Nattawat Poosunthornsri
Fundamental Analysis ID No. 087077
Tel 02-829-6999 Ext 2204
Email : nattawat.po@kfsec.co.th