Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

160

What’s in store ?
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ   โดยคุณชาญณรงค์ มีชัยเจริญยิ่ง
สรุปเนื้อหาสำคัญจากการประชุมเฟดในคืนที่ผ่านมา
1  เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบ 5.25% ถึง 5.5% และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นนโยบายดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้ ทำให้ตลาดน่าจะคลายความกังวลเรื่อง rate hike ไปได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามเฟดยังคงแสดงความระมัดระวังในการดูจังหวะของการเริ่มลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก โดยต้องการหลักฐานเพิ่มเติมว่าเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงก่อนพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย  
2  เนื้อหาการแถลงข่าวของเฟดข้างต้น ไม่ได้มีอะไรใหม่ และไม่ได้เหนือความคาดหมายของตลาด แต่สิ่งที่นักลงทุนจับตามากคือ โทนการให้ความเห็นทางด้านนโยบายในอนาคตจะออกมาในโทน more hawkish หรือตึงเครียดขึ้นหรือไม่ ผลคือ แถลงนโยบายดูเหมือนจะผ่อนคลายลงเมื่อเทียบกับการสื่อสารก่อนหน้า พิจารณาได้จาก (1) การชะลอการลดงบดุลจาก 60,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งข้อสังเกตก็คือ ตามปกติอัตราการลดเพดานลงควรจะเป็น 50% แต่เฟดเลือกที่จะตั้งไว้ต่ำกว่า (2) ไม่มีแผนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ และ (3) ยังกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ทำให้รวมความทั้งสามข้อ แถลงการณ์จึงออกมาในโทนที่ผ่อนคลายลงแต่เป็นแบบระมัดระวัง หรือที่เรียกว่า "Cautiously Dovish"
3  สำหรับไฮไลต์อื่นๆจากการให้สัมภาษณ์ของประธานเฟดคือเรื่องการจ้างงาน โดยเฟดยอมรับว่าตัวเลขการจ้างงานยังแข็งแกร่งและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังดี
อย่างไรก็ตาม ไฮไลต์อยู่ที่การกล่าวว่า เฟดพร้อมที่จะสนองตอบต่อความอ่อนแอลงของตลาดแรงงานโดยไม่ได้คาดคิดในอนาคตด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจคู่ (dual mandate) กล่าวคือ การรักษาเสถียรภาพของราคาและการจ้างงานไปพร้อมๆกัน"…   
ภาพตลาดและแนวโน้ม  โดยคุณวิกิจ ถิรวรรณรัตน์
ข่าวดี Microsoft ลงทุนไทย ยิ่งช่วงนี้บาทอ่อนยิ่งหนุนการลงทุน
ปัจจัยมหภาคในต่างประเทศ เช่น สงครามตะวันออกกลาง เฟดตรึงดอกเบี้ยนานกว่าเดิม เริ่มมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยน้อยลง และดูเศรษฐกิจไทยจะได้ตั๋วเดินทางสู่เศรษฐกิจโลกใหม่หลัง Micro soft เซ็น MOU ลงทุนในไทยไปเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว
เบื้องต้นหุ้นต้นน้ำที่จะได้อานิสงส์ เราคาด โรงไฟฟ้า และนิคมอุตสาหกรรม ส่วนหุ้นเทคอื่นๆ ยังต้องรอดูความชัดเจนในขั้นตอนต่อไป ว่าจะได้ประโยชน์จากการเป็นคู่ค้า หรือ จะกลายเป็นคู่แข่งสำหรับผู้ประกอบการ คลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ไทย

หุ้นแนะนำวันนี้ : AMATA  WHA
        
What’s in store ?
วิเคราะห์ทางเทคนิค   โดยคุณธนรัตน์ อิศรกุล
เริ่มต้นเดือนใหม่ไฉไลกว่าเดิม “Sell in April….Buy back in May”
(อ่านเพิ่มในรายงาน Technical Monthly Report)

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
ฤดูกาลประกาศงบการเงิน บจ. 1Q24
ความเสี่ยงฤดูแล้ง: อ่างเก็บน้ำโคราชวิกฤตเหลือน้ำใช้การได้เพียง 37.4% ด้านสถานการณ์ผลผลิตการเกษตรเริ่มได้รับกระทบ ทั้งสวนผลไม้ และ ปศุสัตว์
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลาดเริ่มไม่มั่นใจว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ หลังเงินเฟ้อสหรัฐยังไม่ยอมลดลง ทำให้การประชุมเฟดครั้งนี้ ถ้อยแถลงประธานเฟด กลับมามีผลต่อคาดการณ์ดอกเบี้ย และทิศทางตลาดหุ้นโลก

รายงานวันนี้    โดยนักวิเคราะห์ทางด้านพื้นฐาน
Econ – ภาพรวมเศรษฐกิจ มี.ค. ชะลอ แต่คาดดีขึ้นตั้งแต่ พ.ค. เป็นต้นไป
Energy (NEUTRAL) – คาดกำไรหลัก 1Q24 ขยายตัว และดีต่อใน 2Q24
Utilities (NEUTRAL) – รับฟังความเห็น แผน PDP สัปดาห์หน้า ติดตามประเด็นอะไรบ้าง
บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์: BAM (ขาย) – เส้นทางยังไม่ราบรื่น
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น: CRC (ถือ) – กำไรไตรมาส 1 ไม่น่าตื่นเต้น
Tactical Idea Call – Market-Timing Strategy: ร้อน แล้ง ยาวนานขึ้น

รายงานผลประกอบการ
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส: ADVANC (ซื้อ) – กำไรสูงกว่าที่เราและตลาดคาด
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต สามบีบี: 3BBIF (ถือ) – จ่ายปันผลจากการลดทุน

สรุปประเด็นจาก Quick take
เงินติดล้อ: TIDLOR (ซื้อ) – ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์

ปฏิทินหุ้น (XD, XR, XW) (อ่านต่อหน้า 17)
Market Statistics Daily
(รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์, Short Sell, Warrants)

ภาพตลาดและแนวโน้ม    Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ    คุยกันก่อนตลาดเปิด (ตอนที่ 1)  
สรุปเนื้อหาสำคัญจากการประชุมเฟดในคืนที่ผ่านมา
1  เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบ 5.25% ถึง 5.5% และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นนโยบายดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้ ทำให้ตลาดน่าจะคลายความกังวลเรื่อง rate hike ไปได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามเฟดยังคงแสดงความระมัดระวังในการดูจังหวะของการเริ่มลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก โดยต้องการหลักฐานเพิ่มเติมว่าเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงก่อนพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย  
2  เนื้อหาการแถลงข่าวของเฟดข้างต้น ไม่ได้มีอะไรใหม่ และไม่ได้เหนือความคาดหมายของตลาด แต่สิ่งที่นักลงทุนจับตามากคือ โทนการให้ความเห็นทางด้านนโยบายในอนาคตจะออกมาในโทน more hawkish หรือตึงเครียดขึ้นหรือไม่ ผลคือ แถลงนโยบายดูเหมือนจะผ่อนคลายลงเมื่อเทียบกับการสื่อสารก่อนหน้า พิจารณาได้จาก (1) การชะลอการลดงบดุลจาก 60,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งข้อสังเกตก็คือ ตามปกติอัตราการลดเพดานลงควรจะเป็น 50% แต่เฟดเลือกที่จะตั้งไว้ต่ำกว่า (2) ไม่มีแผนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ และ (3) ยังกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ทำให้รวมความทั้งสามข้อ แถลงการณ์จึงออกมาในโทนที่ผ่อนคลายลงแต่เป็นแบบระมัดระวัง หรือที่เรียกว่า "Cautiously Dovish"
3  สำหรับไฮไลต์อื่นๆจากการให้สัมภาษณ์ของประธานเฟดคือเรื่องการจ้างงาน โดยเฟดยอมรับว่าตัวเลขการจ้างงานยังแข็งแกร่งและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังดี
อย่างไรก็ตาม ไฮไลต์อยู่ที่การกล่าวว่า เฟดพร้อมที่จะสนองตอบต่อความอ่อนแอลงของตลาดแรงงานโดยไม่ได้คาดคิดในอนาคตด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจคู่ (dual mandate) กล่าวคือ การรักษาเสถียรภาพของราคาและการจ้างงานไปพร้อมๆกัน"…
…ซึ่งเราคิดว่าถ้อยแถลงนี้สำคัญ เพราะเป็นการส่งสัญญาณว่า เฟดไม่ได้พิจารณาเพียงแค่เรื่องเงินเฟ้อแต่ยังติดตามทิศทางและสุขภาพของตลาดแรงงานด้วย ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดๆไป เพื่อไม่ให้นโยบายทางการเงินตึงตัวเกินไป จนไปกระทบภาระหน้าที่อื่นๆของเฟด เช่น เสถียรภาพของการจ้างงานและภาคการเงิน
คุยกันก่อนตลาดเปิด (ตอนที่ 2)  
อัพเดตแนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐประจำเดือน พ.ค.
ดัชนี S&P500 ปรับฐานลง 5.5% ในเดือนเม.ย. ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วงปลายเดือน ช่วยลดช่วงลบลงได้บ้าง ปัจจัยกดดันหลักมาจากสามประการ ได้แก่
(1) ตลาดประเมินการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ใหม่ ทั้งจำนวนครั้งและช่วงเวลาเริ่มลดดอกเบี้ย
(2) ข่าวลบจากตะวันออกกลาง โดยอิหร่านยิงขีปนาวุธโจมตีอิสราเอล
(3) ภาวะตึงตัวทางเทคนิคหรือ technical overbought
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัจจัยลบเหล่านี้ได้สะท้อนเข้าราคาหุ้นแล้ว จากการเข้าสู่วงจรปรับฐานลูกย่อย (mini correction) ในเดือน เม.ย. เมื่อพิจารณาสถิติ 20 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าหากมีปัจจัยลบระยะสั้นเข้ามากระทบในภาวะตึงตัวทางเทคนิค ตลาดหุ้นสหรัฐมักจะมี drawdown ประมาณ 4-6% เท่านั้น  
นอกจากนี้ ในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ (late cycle) ตลาดหุ้นสหรัฐมักเทรดด้วยมูลค่าหุ้นสูงเป็นเวลาหลายเดือน เช่น S&P500 เทรดที่ forward PE สูงกว่า +1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2019 - ก.พ. 2020 ก่อนเกิดวิกฤตโควิด
ขณะที่ในปัจจุบัน แม้ forward PE จะอยู่ในระดับสูง แต่ยังต่ำกว่า +1SD ค่าเฉลี่ย 10 ปี และรายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2024 ก็มีแนวโน้มดี โดยบริษัทใน S&P500 รายงานแล้ว 45% และกว่า 80% ทำผลงานดีกว่าคาด ดังนั้นจึงยังไม่น่าจะมีการปรับลดประมาณการกำไรจนเป็นเหตุให้ตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญแรงขายระลอกใหม่ในเดือน พ.ค. นี้
เกี่ยวกับประเด็นการลดดอกเบี้ยของเฟดนั้น เรามองว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่า สถานการณ์ "higher for longer" จะเกิดขึ้นจริง เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีโอกาสชะลอตัวลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2024
สัญญาณเชิงลบที่น่าสนใจ ได้แก่ อัตราการผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี รวมถึงอัตราการออมส่วนบุคคล (personal saving rate) ที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.2% เมื่อเทียบกับ 6.4% ในช่วงปลายปี 2019 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคในอนาคตได้
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เฟดต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวจนเกินไป (overtighten) จนอาจนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหรือ hard landing
ถึงแม้เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิ.ย. ก.ค. หรือ ก.ย. ก็ตาม แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ภาพเศรษฐกิจใน 6-12 เดือนข้างหน้าเปลี่ยนแปลงไป เพราะไม่ว่าจะเริ่มลดเมื่อใด กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงอยู่ดีตามสาเหตุที่กล่าวมา
ดังนั้น เราจึงมองว่าเฟดยังมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้ โดยในปีนี้ยังเหลือการประชุมของเฟดอีก 5 ครั้ง (ไม่รวมการประชุมเดือนพฤษภาคม) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนยังมีเวลาติดตามสถานการณ์ตัวเลขต่างๆ ก่อนที่จะปรับมุมมองเรื่องดอกเบี้ยอีกครั้ง
    
สรุปภาพตลาดวานนี้    SET ยังบวกต่อในวันทำการก่อนหน้า แรงส่งจากหุ้นในกลุ่มคอมเมิร์ช CPALL CPN CPAXT OR HMPRO ปศุสัตว์ CPF BTG เครื่องดื่ม CBG OSP COCOCO MALEE ธนาคาร KBANK KTB ส่วนหุ้นลบ เช่น TOP PTTGC BCP TRUE  
    
แนวโน้มตลาดวันนี้    ข่าวดี Microsoft ลงทุนไทย ยิ่งช่วงนี้บาทอ่อนยิ่งหนุนการลงทุน
ปัจจัยมหภาคในต่างประเทศ เช่น สงครามตะวันออกกลาง เฟดตรึงดอกเบี้ยนานกว่าเดิม เริ่มมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยน้อยลง และดูเศรษฐกิจไทยจะได้ตั๋วเดินทางสู่เศรษฐกิจโลกใหม่หลัง Micro soft เซ็น MOU ลงทุนในไทยไปเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ล่าสุด...
นายสัตยา นาเดลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไมโครซอฟท์ ให้คำมั่นว่า ไมโครซอฟท์ พร้อมเข้ามาลงทุน Data Center ในไทย และพร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะ AI ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2025
เบื้องต้นหุ้นต้นน้ำที่จะได้อานิสงส์ เราคาด โรงไฟฟ้า และนิคมอุตสาหกรรม ส่วนหุ้นเทคอื่นๆ ยังต้องรอดูความชัดเจนในขั้นตอนต่อไป ว่าจะได้ประโยชน์จากการเป็นคู่ค้า หรือ จะกลายเป็นคู่แข่งสำหรับผู้ประกอบการ คลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ไทย...
    
กลยุทธ์การลงทุน    การเลือกหุ้นเล่น ควรโฟกัสเป็นรายตัวไป
วิเคราะห์ทางเทคนิค    ภาพรวมเดือนเม.ย. ดัชนีปิดที่ 1,367.95 จุด ผลตอบแทนรายเดือนลบเล็กน้อยที่  -0.8% ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยชะลอตัวลงจากเดือนที่แล้ว ลดลงมาอยู่ที่  5 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,411 และจุดต่ำสุดที่ 1,330.....“ลักษณะหลุด low แล้วดึงกลับ”
สถานการณ์ปัจจุบัน SET Index  ภาพรายเดือนหลังจากหลุด low แล้วพยายามต่อสู้ ฟื้นตัวกลับขึ้นไปที่กรอบเดิม....กลับขึ้นสู่ภาวะปรกติ ออกข้าง จับตา RSI เข้าใกล้เขตแดน oversold ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงโควิดปี 2020 (ไม่ได้เห็นบ่อย) ลุ้นตัดเส้น signal line ขึ้น มองแนวรับ 1,350 ต้าน 1,400 และ 1.420 จุด
Theme: Earning plays & signal recovery….เราคาดว่าเดือนเม.ย. ดัชนีลงไปทำ low แล้วสามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้ ส่งผลให้โครงสร้างระยะกลาง ยังคงรักษาแนว sideway เหมือนเดิม “Sell in April” ผ่านไปแล้ว มุมมองเดือนใหม่ May       ลุ้นสัญญาณฟื้นตัวกลับ “Sell In April and Buy back in MAY”
กลยุทธ์เทคนิค: วิธีสแกนหุ้น เลือกโดยใช้กราฟรายเดือน สแกนจุดกลับตัว & คัดหุ้นผลประกอบการไตรมาส 1 & 2 โตแล้ว! โตอีก! ขณะที่ราคายังไม่ขึ้นมากนัก       ขาขึ้นนับ 1 พร้อมเงื่อนไขโมเมนตัม ดูจากวอลุ่มเข้า!  Momentum บ่งชี้รูปแบบกระทิง หุ้นแนะนำประจำเดือน… BUY  “SCGP,  BTG,  CPN  และ  OSP”

What to watch  
  วันแรงงาน ประกาศเจตนารมณ์ ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ต่อวัน ทั่วประเทศ เริ่ม 1 ต.ค.นี้ส่วนปี 67 จะปรับขึ้นเป็น 600 บาท ต่อวัน  
  การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ประธานเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะเพิ่มโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยลงเร็วในปีนี้
  จากผลประชุมเฟดเมื่อคืน เราคาดว่า กนง.จะไม่ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงก่อน เฟดในการประชุม เดือน มิย.นี้แน่ และอีกเหตุผลสำคัญ คือค่าเงินบาท ที่อ่อนค่าลงรวดเร็ว หาก กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงก่อนเฟด คาดจะมีผลต่อบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง อย่างมีนัยะเมื่อเทียบกับ เยนญี่ปุ่น หรือ อินโดนีเซียรูเปี๊ยะห์ที่เพิ่งตัดสินใจปรับดอกเบี้ยขึ้น    
  ฤดูกาลประกาศงบการเงิน บจ.1Q24: คาดวันอังคาร ADVANC พฤ ITC            ศ TRUE และหุ้นที่คาดจะมีโอกาสรายงานงบดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาด เช่น CPN ILM COCOCO OSP GFPT เป็นต้น
  ความเสี่ยงฤดูแล้ง: อ่างเก็บน้ำโคราชวิกฤตเหลือน้ำใช้การได้เพียง 37.4% ด้านสถานการณ์ผลผลิตการเกษตรเริ่มได้รับกระทบ ทั้งสวนผลไม้ และ ปศุสัตว์
  นายสัตยา นาเดลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไมโครซอฟท์ ให้คำมั่นว่า ไมโครซอฟท์ พร้อมเข้ามาลงทุน Data Center ในไทย และพร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะ AI ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2025 สำหรับในประเทศไทย แผนงานด้านการเสริมทักษะของไมโครซอฟท์ในระยะแรกจะช่วยยกระดับความสามารถด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน
 รัฐบาลเดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสีเขียว ซึ่งไทยตระหนักดีถึงความต้องการโดยตรงของภาคธุรกิจในด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบรรลุพันธกรณีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ทั้งความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึง นโยบายที่จะทำให้ ครึ่งหนึ่งของการผลิตพลังงานในประเทศเป็นพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2040 (พ.ศ. 2583) นอกจากนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะจัดหากำลังการผลิตพลังงานสีเขียวใหม่มากกว่า 9 กิกะวัตต์ผ่านระบบ Utility Green Tariff ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573)

หุ้นแนนำวันนี้    AMATA    คาดได้อานิสงส์ จากการลงทุน คลาวด์ดาต้า จากไมโครซอฟต์
(S 22.5 R 23.5 SL 22)
    WHA    (S 4.9 R 5.2 SL 4.5)   
                            

รายงานพื้นฐานวันนี้
Econ
    ภาพรวมเศรษฐกิจ มี.ค. ชะลอ แต่คาดดีขึ้นตั้งแต่ พ.ค. เป็นต้นไป
ภาพเศรษฐกิจเดือน มี.ค. มีทิศทางชะลอตัวลง โดยกดดันมาจากทุกสาขา การบริโภคชะลอตัวลงจากมาตรการช่วยเหลือภาครัฐที่หมดไปและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง ขณะที่การลงทุนก็ยังคงติดลบโดยหลักมาจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่ลดลงมาก ในด้านของการใช้จ่ายภาครัฐก็ยังคงชะลอตัวจากงบประมาณปีที่ล่าช้า นอกจากนี้การส่งออกเดือน มี.ค. ก็หดตัวราว 11% หรือ 7% ถ้าไม่รวมทอง (สาเหตุหลักมาจากฐานที่สูงมากของปีก่อน)
โดยรวม 1Q24 จะทำให้แนวโน้มที่ GDP รายไตรมาส จะมี Downside จากคาดการณ์ของเรา หลักๆจากตัวเลขการส่งออกที่แย่กว่าคาด โดยเราคาด GDP ที่เกือบๆ 1.3% (ธปท. คาดราว 1%)
ส่วนแนวโน้มเริ่มเห็นปัจจัยบวกจากการผ่านงบประมาณปี 67 แล้วเมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. ก็คาดว่าการเบิกจ่ายการลงทุนจะเร่งตัวขึ้นช่วยหนุนเศรษฐกิจได้ และอีกปัจจัยบวกคือรายได้เกษตรกรที่พลิกกลับมาเป็นบวก YoY ซึ่งน่าจะยังคงบวกต่อได้ในเดือนต่อๆ ไป รวมถึงคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจะเติบโตขึ้นจากปีก่อน คาดจะช่วยหนุนต่อภาพของการลงทุนและการบริโภคได้

Energy Sector
    คาดกำไรหลัก 1Q24 ขยายตัว และดีต่อใน 2Q24
คาดกำไรหลัก 1Q24 กลุ่มพลังงาน 8 บริษัท ที่ 4.78 หมื่นล้านบาท ลดลง 25% YoY แต่เพิ่มขึ้น 9% QoQ โดยการลดลง YoY หลักๆ เกิดจาก BANPU IRPC และ PTT ส่วนที่สวนทางโตดีมี 2 บริษัท SPRC และ OR ส่วนด้าน QoQ ที่ดูดีขึ้นก็นำโดย OR ตามมาด้วย IRPC SPRC และ TOP (ที่สวนทางลงมี BANPU เช่นเดิม)
สำหรับแนวโน้ม 2Q24 คาดว่าภาพรวมกำไรหลักจะขยายตัวทั้ง YoY และ QoQ ได้ โดยเป็นไปตามทิศทางอุปสงค์น้ำมันดิบ และโรงกลั่น ขณะที่ด้านอุปทานยังคงถูกควบคุม (หั่นกำลังผลิต) ประกอบกับการซ่อม โรงกลั่น ภาพย่อยรายกลุ่มทิศทางน้ำมันดิบเพิ่ม YoY และ QoQ, ค่าการกลั่นเพิ่ม YoY ลด QoQ, ถ่านหินลดลง YoY และ QoQ ด้านกำไรคาดว่าโรงกลั่นจะนำการเติบโต YoY ส่วน QoQ นั้น BANPU จะนำ (ฐานต่ำ)
Fundamental View: เรายังคงชอบ PTTEP และ TOP ในเชิงพื้นฐาน และเห็นโอกาสเก็งกำไร SPRC
    
Utilities Sector
    รับฟังความเห็น แผน PDP สัปดาห์หน้า ติดตามประเด็นอะไรบ้าง
การเปิดรับฟังความเห็นแผน PDP ปี 2024 สัปดาห์หน้า อาจจะเห็นโอกาสการลงทุนครั้งใหญ่ของกลุ่มโรงไฟฟ้าทั้งแบบดั่งเดิม และพลังงานหมุนเวียน วันนี้เราสรุปประเด็นที่น่าสนใจของกลุ่มโรงไฟฟ้า ดังนี้
1) สิ่งที่คาดหวังจากแผน PDP ได้แก่ การเพิ่มพลังงานหมุนเวียดล็อตใหญ่ (เกิน 50% ในระยะยาว) และอาจพิจารณาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นทางเลือกอีกครั้ง ส่วนกลุ่มก๊าซคาดทรงๆ แต่สิ่งที่น่าตามคือการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (เปลี่ยนระบบการคิด)
2) แนวโน้มความต้องการไฟฟ้าสูงขึ้น โดย กฟผ. รายงานสถิติสูงสุดใหม่ไปเมื่อ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเห็น New High อีกครั้งไปถึงช่วงกลาง พ.ค. ภายใต้อากาศที่ร้อนจัด และในช่วงกลางคืน       ฤดูร้อน ที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำจำกัด มีความเสี่ยงไฟดับเพิ่ม จึงน่าจะเห็นการเร่งรัดโครงการ IPP โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
3) ค่าไฟฟ้าระดับ 4.18 บาท คาดว่าจะอยู่ยาวไปตลาดปี 2024 (คงที่ตลอดปี) แม้การผลิตก๊าซจากแหล่งเอราวัณเพิ่มขึ้น แต่จะกลบกับผลการลดลงของแหล่งอื่นๆ ที่ถูกเร่งนำมาใช้ก่อน
4) แนวโน้มกำไรหลัก 1Q24 ของกลุ่มโรงไฟฟ้า คาดที่ 6.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY และ 13% QoQ จากการขยายกำลังผลิตใหม่ และกลุ่ม SPP อัตรากำไรดีขึ้น (แต่เงินบาทที่อ่อนค่า จะกดดันกำไรสุทธิให้ลดลง 13% YoY และ 15% QoQ) แนวโน้ม 2Q24 คาดกำไรหลักเติบโตทั้ง YoY, QoQ ต่อ
Fundamental View: เรายังคงชอบ GULF มากที่สุดในกลุ่ม
    
BAM
บริหารสินทรัพย์    กรุงเทพพาณิชย์     เส้นทางยังไม่ราบรื่น
แม้เราประเมินว่าเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวใน 2H24 แต่ยังเป็นการฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง ทำให้เราประเมินว่าธุรกิจบริหารสินทรัพย์แบบมีหลักประกันของ BAM จะฟื้นตัวล่าช้าในปีนี้ โดยเราคาดกำไรสุทธิ 1Q24 จะเพิ่มขึ้น 56% YoY (จากฐานกำไรที่ต่ำในปีก่อนและกำไรจากการขาย NPL ฟื้นตัว) แต่ยังลดลง 10% QoQ (กำไรจากการขาย NPA ลดลง)
เรามองว่าราคาหุ้นปัจจุบันได้สะท้อนผลบวกจากโอกาสที่จะเกิดกรณี Bull case ของกำไรปี 2024 ไปแล้ว ซึ่งก็มี Valuations แพงกว่ากลุ่มผู้ประกอบการสินเชื่อจำนำทะเบียนมาก
Fundamental View: กลุ่ม Finance เราชอบ TIDLOR และ MTC มากกว่า

CRC
เซ็นทรัล รีเทล              คอร์ปอเรชั่น     กำไรไตรมาส 1 ไม่น่าตื่นเต้น
สำหรับ CRC เรายังคงมองบวกน้อยกว่าตัวอื่นๆ ในกลุ่ม เพราะมองแนวโน้มกำไร 1Q-2Q24 ยังไม่ตื่นเต้น เราคาดกำไรหลัก 1Q24 ที่ 2.2 พันล้านบาท ทรงตัว YoY และลดลง 24% QoQ (ปัจจัยฤดูกาล) โดย SSSG คาดที่ 1% และรายได้รวมเติบโต 7% YoY และ 4% QoQ (กลุ่มอาหารและธุรกิจในเวียดนามหนุน) แต่ตัวกดดันคือกลุ่ม Hardline ทั้งไทย-เวียดนาม และ GM คาด 25.8% ลดลงเล็กน้อย YoY และลดลง QoQ สำหรับ 2Q24 คาดจะยังไม่ตื่นเต้น (เดือน เม.ย. SSSG ติดลบ) แนวโน้มที่ดูดี เราคาดว่าจะอยู่ที่ 2H24 โดยมีปัจจัยฤดูกาล และสาขาชิดลมกลับมาหลัง Renovate และยอดขายจากการขยายสาขา Go Wholesale และ Thai Watsadu เข้ามาเพิ่ม
เรายังมอง CRC lacks short-term จุดนี้ เรามองว่าหันไปเล่น CPN อาจจะเหมาะสมกว่า (Valuation & growth outlook more attractive)
Fundamental View: เราคงคำแนะนำถือ และ/หรือ Switching ไปเล่น CPN ที่ชอบมากกว่า ด้วย Valuation และแนวโน้มกำไรที่ดี
    

Tactical     Idea Call
Market-Timing Strategy: ร้อน แล้ง ยาวนานขึ้น
กรมอุตุฯ คาดการณ์ปริมาณฝนถึงเดือน มิย. จะลดลงเฉลี่ย 10-20% ทั่วประเทศ และคาดการณ์อุณภูมิเฉลี่ยในเดือน เม.ย.-มิ.ย. ของปี 2024 สูงกว่าของปี 2023 ในทุกเดือน และมีอิทธิพลเป็นวงกว้างกว่า   เราประเมินว่านอกจากมีผลกับพืชผลทางการเกษตรแล้วยังมีผลกับปศุสัตว์ด้วย (เพราะขาดน้ำ-อาหาร และมีโอกาสเสี่ยงโรคและเสียชีวิตมากขึ้น) มองจากการประเมินค่า SMI ที่ใช้วัดความแล้ง (ดูว่าน้ำในดิน เพียงพอสำหรับการปลูกพืชหรือไม่) โดยใน 20 เม.ย. มีความแล้งเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 20 มี.ค. และอยู่ในระดับแล้งจัด เกือบจะทุกพื้นที่เกษตร และสังเกตุจากคาดการณ์ปริมาณฝนเฉลี่ย เทียบกับ ปริมาณน้ำระเหยเฉลี่ย เดือน เม.ย. พบว่าภาพรวม น้ำระเหยมากกว่ามากกว่าฝนตกใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนสถานการณ์เดือน พ.ค. แม้ดูดีขึ้น แต่ก็น่าจะยังเติมกลับไปได้ไม่เพียงพอ โดยระดับน้ำในเขื่อนหลักๆ ของ กฟผ. ก็ลดลงราวๆ 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่หลายเขื่อนอยู่ในระดับต่ำมากๆ
หุ้นผู้ประสบภัยแล้ง ตรงๆ คือ ธุรกิจร้านอาหาร, น้ำดิบเพื่อกลุ่มนิคมฯ, โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ, พืชเศรษฐกิจ เช่น ยาง และปาล์ม
ในทางตรงข้าม กลุ่มหุ้นที่คาดราคาขายปรับสูงขึ้น มาพร้อมผลการดำเนินงานปีนี้ที่จะ Turnaround ได้แก่ GFPT CPF BTG TFG นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้อานิสงค์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าตามสถานการณ์ปัจจุบันด้วย
Tactical Idea: แนะซื้อเก็งกำไรหุ้นกลุ่ม ปศุสัตว์ GFPT CPF BTG และ TFG (เรียงลำดับตามความชอบในมุมมองกลยุทธ์)
                       
รายงานผลประกอบการวันนี้
ADVANC
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
3BBIF
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต สามบีบี     (+) ADVANC รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 8,451 ล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักจะอยู่ที่ 8,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% YoY และ 20% QoQ สูงกว่าที่เราและตลาดคาด 20% เกิดจากรายได้บริการมากกว่าคาด และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่ำกว่าคาด แนวโน้ม 2Q24 คาดกำไรหลักเติบโต YoY และ QoQ จากปัจจัยเดียวกัน เราคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 270 บาท
() 3BBIF รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 1.1 พันล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักจะอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท ลดลง 34% YoY แต่ทรงตัว QoQ แม้ไม่สามารถจ่ายปันผลจากผลประกอบการได้ แต่ประกาศจ่ายปันผลจากการลดทุนที่ 0.19 บาท คิดเป็น Div. yields 3.3% ขึ้น XD 10 พ.ค. นี้ แนวโน้ม 2Q24 คาดกำไรหลักยังลดลง YoY จากผลกระทบรายได้ TTTBB อยู่ แต่ยังคงทรงตัว QoQ ต่อ และมองการจ่าย  ปันผลจากการลดทุนช่วง 0.16-0.19 บาท ต่อไตรมาส จนไปถึงสามารถมีกำไรสะสมได้ (คาดปี 2025) เรายังคงคำแนะนำถือ ราคาเป้าหมาย 5.80 บาท
 
สรุปประเด็นจาก Quick take
TIDLOR
เงินติดล้อ    ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์
ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นบริษัท ติดล้อ โฮลดิ้งส์ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อการปรับโครงสร้างธุรกิจของ TIDLOR โดยมองว่าธุรกรรมดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรของ TIDLOR ในระยะสั้น แต่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจในระยะกลางถึงยาว โดยเฉพาะธุรกิจ InsurTech ที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต ทั้งนี้ เรายังแนะนำซื้อ TIDLOR จากทิศทางกำไรปี 2024 จะเติบโต 15% YoY จากสินเชื่อและรายได้นายหน้าประกันภัยเติบโต

หุ้นมีข่าว
Industrial Estate +    "สัตยา นาเดลลา" ซีอีโอ "ไมโครซอฟท์" ประกาศลงทุน "ดาต้าเซ็นเตอร์" ในไทย พร้อมลุยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ AI ยกระดับศักยภาพบุคลากร ชุมชนนักพัฒนา ต่อยอดเอ็มโอยูกับรัฐบาล มุ่งนำประเทศไทยสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI คาดช่วยหนุนจีดีพีไทย เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 4.3 ล้านล้านบาท "เศรษฐา" ย้ำไทยพร้อมรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค หนุน AI เติบโตเต็มที่ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
Technology
+/0    

Utilities    กกพ.เตรียมเปิดรับซื้อพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ ไตรมาส 3/2567 นี้ เปิดทั้งผู้ยื่นโครงการเดิม และรายใหม่ เล็งขยายโควตารับซื้อไฟฟ้าภาคประชาชนเกิน 90 เมกะวัตต์ เปิดตัวเลขล่าสุดไทยใช้ไฟฟ้าพุ่งทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การสำรองไฟฟ้าลดเหลือ 25%
+    

SPP-Utilities
-/0    กลุ่มประเทศ G7 บรรลุข้อตกลงปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในปี 78 พร้อมเร่งเจรจานำเข้า LNG ทดแทน ด้านปตท.สผ.หวั่นราคา LNG พุ่ง แนะรัฐเร่งเจรจาแหล่งก๊าซธรรมชาติบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชาด่วน ลดผลกระทบจากการนำเข้าแอลเอ็นจี ส่วนแหล่งยาดานาอยู่ระหว่างเจรจาต่ออายุสัมปทานที่จะหมดลงปี 71
BANPU
-    

SKY    2 บริษัทในกลุ่ม SKY อัปเดตแผนงานปีนี้ โปร อินไซด์ หรือ PIS ยื่นไฟลิ่งต่อ ก.ล.ต. ขายหุ้นไอพีโอ 140 ล้านหุ้นไปแล้ว คาดเข้าตลาดหุ้นราวไตรมาส 3/67 ส่วน เมทเธียร์ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ 1,800 ล้านบาท แย้มอยู่ระหว่างเจรจากับสถานศึกษา 1 แห่ง คาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วงเดือน พ.ค.นี้  (หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น)
+    

ADVANC    ADVANC แจงไตรมาส 1/2567 โกยรายได้ 53,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% รับผลดีจากการรับรู้รายได้ของ TTTBB การเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการฟื้นตัวของธุรกิจมือถือ ขณะที่อีบิทดาพุ่ง 23% ที่ 27,769 ล้านบาท ดันกำไรสุทธิทะลุ 8,451 ล้านบาท โต 25% พร้อมอัดฉีดงบลงทุน 25,000-26,000 ล้านบาท ขยายฐานธุรกิจ (หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)
+    

JR    JR แจกข่าวดีรับไตรมาส 2/2567 ได้งานโครงการ D217 : Sequoia Project ของ TTCL มูลค่า 120 ล้านบาท ฟากผู้บริหาร "สุรเดช อุทัยรัตน์" ประกาศพร้อมเดินหน้าเข้าร่วมประมูลงานภาครัฐ-เอกชน ต่อเนื่อง โดยเน้นงานโครงการประเภท Quick Win เพื่อเร่งการรับรู้รายได้ของบริษัทให้ไวขึ้น มั่นใจปี 2567 รายได้โต 10-15% แบ็กล็อกทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ตามนัด (หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)
+    

DITTO    DITTO จับตางบภาครัฐสะพัดไตรมาส 2/2567 จ้องชิงงานหลักพันล้านบาท ชี้ศักยภาพรับงานแกร่ง หลังผนึกพาร์ตเนอร์ อวดแบ็กล็อกในมือ 5 พันล้านบาท ฟากบอสใหญ่ "ฐกร รัตนกมลพร" สั่งลุยออกกรีนโทเคน พุ่งเป้าธุรกิจ New S-curve เดินหน้าเต็มกำลัง (หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA  นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

ณภัค ภัทรสุปรีดิ์

: เรียบเรียง โทร : 02-276-5976 อีเมล์ : reporter@hooninside.com ที่มา : สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ต่างชาติ ลุยซื้อหุ้นไทย By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม เห็นนักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อหุ้นไทย วานนี้ จัดไป เกือบ 3,600 ล้านบาท ส่วนในประเทศ พร้อมใจขายอย่าง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้