Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: เซียนหุ้น เล็ง CRC, HMPRO, GLOBAL, COM7, SPVI, CPW,KTC, AEONTS ,CENTEL ได้ประโยชน์ “ช้อปดีมีคืน” เต็มคาราเบล

1,407

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ ( 21 ธันวาคม 2565 ) ----------คณะมนตรี (ครม.) เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกใหม่ตามนัด บล.ทิสโก้ มองดีต่อเศรษฐกิจและแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศ ชี้เป้า CRC, HMPRO, GLOBAL, COM7, SPVI, CPW,KTC, AEONTS ได้ประโยชน์จากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน”

ด้านกูรูเอเซีย พลัส ประเมินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย “ของขวัญปีใหม่ 2566” หนุนการใช้จ่ายและเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจได้ราว 2.78 แสนล้านบาท และน่าจะช่วยดัน GDP ในปีหน้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 0.76% มอง. มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” ดีต่อ COM7, CRC, CENTEL, AEONTS


บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.65) ไฟเขียวมาตรการลดหย่อนภาษี “ช้อปดีมีคืน” สำหรับปี 2023 โดยลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 4 หมื่นบาท (3 หมื่นบาทสำหรับใบกำกับภาษีแบบกระดาษ และ 1 หมื่นบาทสำหรับใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์) เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. นี้ คาดจะทำให้มีเงินหมุนเวียนกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท และจะช่วยกระตุ้น GDP ได้ราว 0.16% รวมทั้งเป็นการจูงใจให้ภาคธุรกิจเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มากขึ้น


สำหรับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” คณะรัฐมนตรียังไม่พิจารณา เนื่องจากงบประมาณเหลือเพียง 4 พันล้านบาท เทียบกับวงเงินในโครงการดังกล่าวที่ประมาณ 8.4 พันล้านบาท

 

เรามองหุ้นได้ประโยชน์จากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” คือ กลุ่มค้าปลีก อาทิ CRC, HMPRO, GLOBAL, COM7, SPVI, CPW และหุ้นบัตรเครดิตอย่าง KTC, AEONTS โดยหุ้นเด่นที่เราชอบและแนะนำ “ซื้อ” คือ CRC (เป้าพื้นฐาน 47 บาท), GLOBAL (22 บาท), COM7 (39 บาท)


นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% และ 1% เป็น 1% และ 0.01% ตามลำดับ สำหรับราคาที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เรามองการลดค่าธรรมเนียมการโอนครั้งนี้น้อยลงจากครั้งก่อนที่ 2% เป็น 0.01% แต่ครั้งนี้ลดลงเป็น 1% ทำให้ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับลดลง อิงจากหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ของเรา หุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์มากที่สุด คือ PSH และ LPN เนื่องจากมีที่อยู่อาศัยที่ราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาทในสัดส่วนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ แต่ทั้งคู่เรามีคำแนะนำเพียง “ถือ” ประเมินเป้าพื้นฐาน 11 บาท และ 4.1 บาท ตามลำดับ


สำหรับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินภายในประเทศจากลิตรละ 4.726 บาท เหลือลิตรละ 0.2 บาท ขยายเวลาจากเดิมสิ้นสุด 31 ธ.ค. นี้ เป็น 30 มิ.ย. 2023 ถือเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการสายการบินทั้ง AAV (“ถือ”, เป้าพื้นฐาน 2.6 บาท) และ BA (“ถือ”, เป้าพื้นฐาน 10.8 บาท) แต่ปัจจุบันการเดินทางภายในประเทศกลับมาเทียบเท่าก่อนโควิดแล้วประมาณ 80-90% ดังนั้นการให้ส่วนลดนี้น่าจะสิ้นสุดลงเมื่อการเดินทางขึ้นมาเทียบเท่ากับช่วงก่อนโควิด


เราเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทยอยออกมาอีกในช่วงใกล้เลือกตั้ง จนถึงวาระของส.ส.ที่จะครบอายุ 4 ปีในวันที่ 24 มี.ค. และคาดจะเป็นปัจจัยบวกต่อ SET Index และแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศในระยะสั้น

 

 


ด้านบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย “ของขวัญปีใหม่ 2566” มาตามคาด โดย ครม. อนุมัติหลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้แก่ประชาชน อาทิ การลดค่าครองชีพทั้งขยายเวลาบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซ LPG และตรึงราคาน้ำมันไปจนถึงต้นปีหน้า การยกเว้นค่ามอเตอร์เวย์และค่าโดยสารสาธารณะ รวมถึงมาตราการภาษีและค่าธรรมเนียมที่สำคัญ 5 มาตรการ เสนอโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งคาดว่าจะหนุนการใช้จ่ายและเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจได้ราว 2.78 แสนล้านบาท และน่าจะช่วยดัน GDP ในปีหน้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 0.76% รายละเอียดดังนี้

 

1. มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 66 รวมระยะเวลา 46 วัน โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาทำการลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาทต่อคนทั้งนี้อาจไม่รวมสินค้าและบริการบางประเภท เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรก็ตามคาดว่าทางกรมสรรพากรอาจสูญเสียรายได้กว่า 8,200 ล้านบาทแต่จะทำให้เงินหมุนในระบบเศรษฐกิจกว่า 56,000 ล้านบาทซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ราว0.20% ดีต่อ COM7, CRC, CENTEL, AEONTS ฯลฯ


2. มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี2566ขยายมาตรการเดิมออกไปอีก 1 ปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.2566 โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ1% และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01%(รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)


3. มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี2566 โดยลดภาษีให้ 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี พ.ศ. 2566 (รายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)

 

4. มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ ลดลงจากลิตรละ 4.726บาท เหลือลิตรละ0.20 บาท โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. 66

 

5. มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรายาสูบและไพ่ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยยื่นคำขอได้ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 66

 

สรุป มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจบ้านเรากลับมาฟื้นตัวและขยายตัวได้ในปี 66 โดยพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หุ้นเด่นรับของขวัญปีใหม่จากทางรัฐบาล APHMPRO COM7 เป็น Toppick ในวันนี้

 

ต่ออายุลดค่าโอนฯ-จดจำนอง และลดภาษีที่ดิน 15% สำหรับปี 2566ที่ประชุม ครม. วานนี้ (20 ธ.ค. 2565) มีมติเห็นชอบขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯจากเดิม 2% ของราคาประเมิน (ปกติแบ่งคนละ 1% สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย) และค่าจดจำนองจากเดิม 1% ของมูลค่าที่จำนอง (ภาระผู้ซื้ออย่างเดียว) เหลืออย่างละ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัย (ทั้งบ้านมือ 1 และมอง 2) ที่มีราคาซื้อขาย และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทไปอีก 1 ปี สิ้นสุด ธ.ค. 2566 นอกจากนี้อนุมัติมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยลดภาษีในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี พ.ศ. 2566


ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกระดับปานกลางต่อ 2 มาตรการข้างต้น ดังรายละเอียดดังนี้ลดค่าโอนฯ-จดจำนอง - ถือเป็นมาตรการเดิมที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2563 และมีการขยายเวลาต่อให้อีก 1 ปี โดยจะมีผลถึงสิ้นปี 2566 (เดิม สิ้นสุด 2565) และจะสร้าง Sentimentเชิงบวกปานกลางให้กับกลุ่มอสังหาฯ เนื่องจากยังถูกจำกัดสิทธิให้เฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มราคาที่คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 30% ของมูลค่าทั้งตลาดรวม โดยมุมมอง

 

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าหากมีการขยายเพดานสิทธิสู่บ้าน 5 ล้านบาท จะครอบคลุมได้ในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากบ้านระดับถึง 5 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 50-60% ของตลาดรวมอย่างไรก็ดีภายใต้การลดค่าธรรมเนียมโอนฯ และจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้าน 3ล้านบาท ก็ถือเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับคนซื้อบางส่วน เพราะทำให้คนซื้อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 19,850 บาท โดยจ่ายเพียง 150 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท(ปกติค่าธรรมเนียมโอนฯ อยู่ในอัตรา 2% หรือ 2 หมื่นบาท โดยแบ่งคนละครึ่ง หรือ 1 หมื่นบาทสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อมีการปรับลดเหลือ 0.01% หรือฝั่งละ 0.05% ทำให้ผู้ซื้อประหยัดไป 9,950 บาท ส่วนค่าจดจำนองปกติเป็นภาระของผู้ซื้ออย่างเดียว หากลดเหลือ0.01% จากเดิม 1% ของวงเงินกู้ ดังนั้นหากกู้เต็ม 100% ทำให้เกิดการประหยัดไปอีก9,900 บาท) ดังนั้นกรณีซื้อบ้านมูลค่าราคา 3 ล้านบาท และกู้เต็ม 100% (บ้านหลังแรก) จะทำให้ผู้ซื้อประหยัดค่าธรรมเนียมโอนฯ 29,850 บาทและจดจำนอง 29,700 บาท รวมค่าใช้จ่ายลดลงทั้งสิ้น 59,550 บาท หรือจ่ายเพียง 450 บาท

 

ด้านฝั่งผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET แม้ไม่ได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายในการโอนฯ ที่ลดลงอย่างมีนัยฯ เนื่องจากพอร์ตสินค้าส่วนใหญ่มีราคาเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไปแต่ก็มีบริษัทที่ยังมีฐานสินค้าในกลุ่มนี้อยู่บ้าง ได้แก่ LALIN, LPN, PSH, QH, SENA และSPALI เป็นต้น ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่น อาทิเช่น SIRI, NOBLE, ORI, AP และ LH ก็เริ่มมีการขยับพอร์ตสินค้าใหม่สู่กลุ่มราคาระดับล่าง (Affordable Price) มากขึ้น ย่อมมีโอกาสได้ประโยชน์จากมาตรการนี้เช่นกัน หากมีสินค้าเสร็จพร้อมโอนฯ ในปีหน้าในกรอบราคาดังกล่าว ทั้งนี้การมีมาตรการ เป็นส่วนช่วยให้ Backlog รวมสิ้น 3Q65 ระดับ 2.3 แสนล้านบาท (รวม JV 8.63 หมื่นล้านบาท) เป็นส่วนที่พร้อมส่งมอบ 4Q65 ราว 9 หมื่นล้านบาท และปีหน้า 9.6 แสนล้านบาท ที่เข้าข่ายเกณฑ์ราคาตามมาตรการสามารถโอนฯ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการระบายสต๊อกคงค้างของผู้ประกอบการที่มีอยู่รวม 6 แสนล้านบาท (เป็นสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จ 1.2 แสนล้านบาท)

 

ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 15% – โดยผลที่มีต่อภาคอสังหาฯ เพื่อขายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่มีภาระในส่วนของที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่ได้พัฒนา ซึ่งมีอัตราจัดเก็บภาษีที่ดิน 0.3% (และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี รวมกันไม่เกิน 3%)กล่าวคือที่ดินเปล่าราคา 1 ล้านบาท มีภาระภาษีปีแรก 3,000 บาท (และหากได้รับลดหย่อน15% จะทำให้ภาษีลดลงเหลือ 2550 บาท หรือ ลดลง 450 บาท) แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้ประกอบการเกือบทุกราย นอกจากไม่มีนโยบายถือครองที่ดินเปล่าจำนวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ถือครองที่ดินเป็นเวลานาน รวมถึงบางรายก็มีการนำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกมาขายเพื่อลดต้นทุนการถือครองและเพิ่มสภาพคล่องในมือ ทำให้ประเด็นภาษีที่ดินจึงไม่มีผลต่อผู้ประกอบการอย่างมีนัยฯ ขณะที่ฝั่งผู้ซื้อ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีที่ดินสำหรับประเภทที่อยู่อาศัยปกติอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว เช่น ในส่วนบ้านหลังแรก (กรณีเป็นทั้งเจ้าของบ้านและที่ดิน) จะถูกเก็บเฉพาะบ้านที่มีราคาสูงเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เริ่มต้นในอัตรา 0.02% (เช่นบ้านราคา 50 ล้านบาท เสียภาษีที่ดิน 1 หมื่นบาท) และ ในส่วนผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษีในทุกระดับราคา อัตราภาษีเริ่มต้น 0.02% กล่าวคือ บ้าน/คอนโดฯ ราคา 1 ล้านบาทเสียภาษี 200 บาท (หากการลดจัดเก็บลง 15% เสีย 170 บาท) จึงไม่ได้มีนัยฯ ต่อผู้ซื้อเช่นกัน

 

โดยฝ่ายวิจัยคงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่มฯ เลือกหุ้นเด่นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว รวมถึงมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว มีระดับ Backlog สูง, พื้นฐานธุรกิจแข็งแรง

 

รวมถึงให้ปันผลสูงกว่า 5-6% ได้แก่ LALIN (FV@B12.10), AP (FV@B15.50), ORI(FV@12.30) และ SPALI (FV@B28.60)

 

---จบ---

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

GUNKUL ลุยขยายพอร์ตพลังงานทดแทน

GUNKUL ลุยขยายพอร์ตพลังงานทดแทน

ติดตาม By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ หลังจาก นายกฯคุยกับนายแบงก์ วันนี้ สมาคมธนาคารไทย ก็ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อย...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้