
HotNews : BJC กัดฟันโต้คลื่น ศก. ชะลอ ยอดขายปี 63 โต Mid-Single-Digit
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(6 มีนาคม 2563) BJC คาดยอดขายปี 63 โตระดับ Mid-Single-Digit ตามการขยายสาขา ทุ่มงบ 8,000-10,000 ลบ.รองรับขยายสาขาBig C - เพิ่มกำลังการผลิต เล็งออกหุ้นกู้ 1.2 หมื่นลบ. ในมี.ค.นี้ รองรับรีไฟแนนซ์ ประเมินโควิด-19 กระทบต่อยอดขาย Big C Hypermarket สาขาท่องเที่ยว
นายรามี ปีไรแนน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดว่ายอดขายปี 2563 จะเติบโตในอัตราเลขตัวเดียวระดับกลาง (mid-single digit)ซึ่งเป็นไปตามการขยายสาขา Big C อย่างเนื่อง โดยช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์) บริษัทฯมียอดขายจากสาขาเดิม(SSG)ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับไตรมาส4/2562จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการซื้อสินค้าเพื่อกักตุนไว้
สำหรับงบลงทุนในปีนี้ บริษัทฯวางไว้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 8,000-10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้รองรับขยายสาขา Big C ได้แก่ Big C Hypermarketจำนวน 3 สาขา ใช้งบลงทุน 300 ล้านบาทต่อสาขา , Big C Market จำนวน 1 สาขา และ Food Placeจำนวน 1 สาขา ใช้งบลงทุน 50-60 ล้านบาทต่อสาขา และ Mini Big C จำนวน 300 สาขา ใช้งบลงทุน 5-7 ล้านบาทต่อสาขา ส่วนที่เหลือบริษัทฯจะใช้รองรับการปรับปรุงสาขาเดิม
อีกทั้ง บริษัทฯยังมีแผนขยายกำลังการผลิตโรงงานทิชชู่ในประเทศ ด้วยการเพิ่มเครื่องจักใหม่ ส่งผลให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 20,000 ตัน จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 46,000 ตันต่อปี
ด้านธุรกิจบรรจุภัณฑ์ทั้งแก้วและกระป๋อง บริษัทฯยังคงมุ่งเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในโรงงาน รวมทั้งมองหากลุ่มลูกค้ารายใหม่ และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้มีลูกค้ารายใหม่จากประเทศเวียดนามซึ่งเป็นลูกค้าโรงเบียร์เจ้าใหญ่ เข้ามาทดแทนลูกค้ารายเดิมที่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อไปตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยปัจจุบันบริษัทฯได้มีการส่งกระป๋องให้ลูกค้ารายดังกล่าวราว 300 ล้านกระป๋องต่อปี และคาดว่าปีนี้จะมีการส่งเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านกระป๋องต่อปี และเพิ่มเป็น 900 ล้านกระป๋องต่อปีภายในปี 2564 อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตโรงงานกระป๋องในเวียดนามตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอีก 30% เป็น 1,800 ล้านกระป๋องต่อปี จากเดิมอยู่ที่ 1,400 ล้านกระป๋องต่อปี
ขณะที่ บริษัทฯยังมีแผนออกหุ้นกู้ใหม่มูลค่า 12,000 ล้านบาท ในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อใช้ทดแทนหุ้นกู้เดิมที่จะหมดอายุ สำหรับปัจจุบันบริาทฯมีอัตราหนี้สินต่อทุน(D/E)อยู่ที่ 1.3 เท่า ส่วนภาวะดอกเบี้ยขาลงในปัจจุบันมองว่าเป็นผลบวกต่อบริษัทฯซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้วปรับตัวลดลงมากกว่านี้จากปัจจุบันอยู่ที่ 3%
สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันบริษัทฯยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากบริษัทฯมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่สินค้าในหมวดอาหารของบริษัทฯจมีการผลิตภายในประเทศ ส่วนสินค้าเครื่องใช้ภายในบ้านที่บริษัทฯมีความจำเป็นต้องนำเข้าจากจีน บริษัทฯก็ได้มีการหาสินค้าจากซัพลายเออร์รายอื่นมาทดแทนเป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ตามบิรษัทฯยอมรับว่าไวรัสโควิด-19 จะกระทบต่อยอดขาย Big C Hypermarket เฉพาะสาขาท่องเที่ยวหลัก 4 สาขาเท่านั้น ได้แก่ ภูเก็ต , พัทยา ,กระบี่ และ ราชดำริ จากปัจจุบันมี Big C Hypermarket ทั้งหมด 151 สาขา ซึ่งหากโรคระบาดมีระยะเวลาที่นานขึ้นบริษัทฯก็มีแผนออกสินค้าเพื่อตอบโจทย์กับสถานการณ์ในดังกล่าวต่อเนื่อง โดยปัจจุบันบริษัทฯได้มีการผลิตเจลล้างมือ และเป็นตัวแทนจำหน่ายหน้ากากอนามัย 3M อยู่แล้ว
**ด้านโบรกฯ ลดเพดานบิน BJC
รับผลกระทบเศรษฐกิจชะลอ**
บจ. หลักทรัพย์ทรีนีตี้ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า BJC ปรับประมาณการกำไรปี 2563 เพิ่มขึ้นราว 10% เป็น 7,861 ล้านบาท (+8.0%YoY) จาก Effective Tax Rate ที่จะอยู่ที่ราว 10% ต่อเนื่องอีก 3 ปี จากปกติ 15-16% ประกอบกับแนวโน้มที่สดใสขึ้นของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และ อุปโภคบริโภคที่เติบโตต่อเนื่อง ทั้งด้านรายได้และกำไร
แนะนำ "ซื้อ" ปรับราคาเป้าหมายเป็น 45.20 บาท (เดิม 45.00บาท) Upside ราว 17.4% จ่ายปันผลงวด 2H/2563 เท่ากับ 0.73 บาท/หุ้น (XD 30 เม.ย. 2563)
ปัจจัยบวกจากอัตราภาษีต่ำราว 10% ต่อเนื่องราว 3 ปี จากการปรับโครงสร้างภายใน
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มีแนวโน้มดีขึ้น คาดเติบโตราว 1-3%YoY จากลูกค้ารายใหม่ ด้วยอัตรากำไรขึ้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตกระป๋อง Slim ที่ได้ Economy of Scale ในปีนี้ ส่วนธุรกิจแก้วฟื้นตัวขึ้นจากโรงงานที่ ประเทศมาเลเซียกลับมาดำเนินงานตามปกติธุรกิจอุปโภคบริโภค ยังคงสดใสต่อเนื่อง คาดรายได้เติบโตราว 7-8%YoY ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น จากราคาวุตถุดิบ และการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นิยมสม่ำเสมอธุรกิจค้าปลีก รับผลกระทบ โดยธุรกิจนี้มีสัดส่วนรายได้ราว 70% ของยอดขาย คาดได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัวและ COVID-19 โดย SSSG เดือน ม.ค. ก.พ. ยังติดลบ อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะตั้งเป้ากลับมาเป็นบวกได้ในช่วง 2H2563 และมีแผนขยายสาขา Big C Hypermarket 3 สาขาในไทย และ 1 สาขาในประเทศลาว Big C Market 1 สาขา Big C Food Place 1 สาขา และ Mini BIG C ราว 300 สาขา
ปรับประมาณการปี 2563 เป็นต้นไป จากข้อมูลที่บริษัทแจ้งว่าจะได้รับประโยชน์ด้วยภาษีจากการปรับโครงสร้างภายใน โดยเราปรับสมมติฐาน Effective Tax Rate เป็น 10% ตั้งแต่ปี 2563-2565 จากเดิม16-17% ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 เป็น 7,861 ล้านบาท (EPS 1.96 บาทต่อหุ้น) จากเดิม 7,118 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตจากปี 2562 +8.0%YoY และปี 2564 จำนวน 8,527 ล้านบาท จาก 7,723 ล้านบาท โดยปรับปราคาเป้าหมายเป็น 45.20 บาท จากเดิม 45.00 บาท เนื่องจากกระทบ DCF ระยะยาวเพียงเล็กน้อย
คงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 45.20 บาท (วิธี DCF ใช้ WACC 6.2%, TG 2%) Upside ราว 17% ระดับ Forward PE 19.5 เท่า แม้คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 จะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อและ COVID-19 แต่ยังมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากอัตราภาษีที่ต่ำ และ Economy of Scale จากธุรกิจกระป๋อง อีกทั้งการเติบโตของกลุ่มอุปโภคบริโภค ซึ่งภาพรวมมีโอกาสฟื้นกลับมาช่วงครึ่งปีหลัง เงินปันงวด 2H2562 0.73 บาทต่อหุ้น XD 30 เม.ย. 2563 คิดเป็นอัตราเงินปันผลครึ่งปีราว 2%
ด้าน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด
ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า BJC เราคงคำแนะนำ "ถือ" และราคาเป้าหมายที่ 42.00 บาท อิง PER ที่ 22x (-1.5SD below 5-yr. average PER) ปรับลดลงจาก 54.00 บาทที่ 29x (-0.5SD below 5-yr. average PER) สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง การเติบโตที่จำกัด และความกังวลในผลกระทบของการจะเข้าซื้อกิจการของ Tesco Lotus โดยเรามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ โดยธุรกิจบรรจุภัณฑ์จะค่อย ๆ สร้าง economy of scales เพื่อทดแทนลูกค้าเก่าที่ไปทำ supply chain บรรจุภัณฑ์ของตนเอง และแนวโน้มจะดีขึ้นใน 2H20
ทั้งนี้บริษัทมีแผนจะเปิดสาขา Hypermarket ขนาดใหญ่ 3 แห่ง, Supermarket 2 แห่ง และ MiniBig C 300 แห่ง น้อยลงกว่าปีก่อน จากการระมัดระวังภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ผลกระทบจาก COVID-19 ยังไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทยังมี supplier จากจีนน้อย
ทั้งนี้เราคาดว่า การเติบโตจะมาจากการขยายสาขามากกว่า SSSG ขณะที่บริษัทมีฐานลูกค้า B2B น้อยลง ซึ่งเป็นกลุ่มมีอำนาจต่อรองสูง คาดว่าจะทำให้ gross margin อยู่ในระดับที่ดี 19.6% ได้จากปีก่อนที่ 19.5% โดย BJC มีการบริหาร Logistic ที่ทำได้ดีขึ้นและอัตราภาษีจะลดลงจากการปรับโครงสร้างภายใน เราประเมินกำไร 2020E ที่ 7.4 พันล้านบาท +2% YoY โดยยังคงมุมมองที่ระมัดระวังและมีการปรับลดกำไรมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ขณะที่ผลกระทบจาก COVID-19 อาจจะทำให้ผู้บริโภคเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง
ราคาหุ้น BJC ปรับลดลง 9% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง ในระยะสั้นราคาหุ้นอาจจะตอบสนองเชิงบวกต่อผลประกอบการที่ดี แต่ในระยะยาวยังมีความกังวลในผลกระทบของการจะเข้าซื้อกิจการของ Tesco Lotus ซึ่งอาจจะก่อให้เกิด Dilution เราจึงแนะนำเพียง "ถือ" จนกว่าจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว
เรามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุม เรามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ โดยธุรกิจบรรจุภัณฑ์จะค่อย ๆ สร้าง economy of scales เพื่อทดแทนลูกค้าเก่าที่ไปทำ supply chain บรรจุภัณฑ์ของตนเอง คาดแนวโน้มจะดีขึ้นใน 2H20 ทั้งนี้บริษัทมีแผนจะเปิดสาขา Hypermarket ขนาดใหญ่ 3 แห่ง, Supermarket 2 แห่ง และ MiniBig C 300 แห่ง น้อยลงกว่าปีก่อน ที่มีการเปิด hypermarket ขนาดใหญ่ 4 แห่ง จากการระมัดระวังภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ผลกระทบจาก COVID-19 ยังไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทยังมี supplier จากจีนน้อย
คงประมาณการกำไร 2020E คาดว่าในปี 2020E BIGC จะขยายสาขาขนาดใหญ่ประมาณ 3 สาขา อย่างไรก็ตามบริษัทจะลดการขยายสาขาที่เป็นขนาดใหญ่ลงจากเดิมที่เคยเปิดถึง 7-9 สาขาในช่วงปี 2017-2018 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ เราคาดว่า การเติบโตจะมาจากการขยายสาขามากกว่า SSSG โดยการปรับปรุง Product mix คาดว่า SSSG จะฟื้นตัวขึ้นกลับมาเป็นบวกเล็กน้อย +1% ในปีนี้ บริษัทมีฐานลูกค้า B2B น้อยลง ซึ่งเป็นกลุ่มมีอำนาจต่อรองสูง ทำให้คาดว่า gross margin จะอยู่ในระดับที่ดี 19.6% ได้จากปีก่อนที่ 19.5% โดยบริษัทมีการบริหาร Logistic ที่ทำได้ดีขึ้น ขณะที่คาดว่าอัตราภาษีจะลดลงจากการปรับโครงสร้างภายในโดยจะอยู่ประมาณ 11% เทียบกับ 18% ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้าง เราประเมินกำไร 2020E ที่ 7.4 พันล้านบาท +2% YoY โดยยังคงมุมมองที่ระมัดระวังและมีการปรับลดกำไรมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ขณะที่ผลกระทบจาก COVID-19 อาจจะทำให้ผู้บริโภคเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง
เราคงคำแนะนำ "ถือ" และราคาเป้าหมายที่ 42.00 บาท อิง PER ที่ 22x (-1.5SD below 5-yr. average. PER) ปรับลดลงจาก 54.00 บาทที่ 29x (-0.5SD below 5-yr. average. PER) สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง การเติบโตที่จำกัด และความกังวลในผลกระทบของการจะเข้าซื้อกิจการของ Tesco Lotus โดย Key Catalyst ระยะสั้นคือ ผลประกอบการ 4Q19 ที่ออกมาดี อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของบริษัทอยู่ที่การแข่งขันที่สูงขึ้นจากธุรกิจออนไลน์และการเพิ่มทุนจากการซื้อกิจการของ Tesco Lotus
ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ออกบทวิเคราะห์
เปิดเผยว่า ผลกระทบจาก TFRS16 และภาษีอสังหาฯ : บริษัทคาดว่าจะมีผลกระทบเพียงภาษีที่เพิ่มขึ้น 25 ล้านบาท หลังจากที่ปีก่อนได้เริ่มมีการตั้งสำรองในส่วนนี้ไว้แล้วประมาณ 400 ล้านบาท ต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้าที่ 750 ล้านบาท
PSC แนวโน้มปี 2020 : จากความกังวลต่อการดำเนินงานของ PSC ในปี 2019 หลังจากที่การผลิตของกระป๋องเพิ่มขึ้นในปีก่อน แต่อัตรากำไรลดลง นอกจากนี้ ยอดขายของกระป๋องในเวียดนามให้ Sabeco จะเพิ่มขึ้น 300 ล้านกระป๋องในปี 2020 ในขณะที่ยอดขายในไทยเพิ่มขึ้นจากกาแฟพร้อมดื่ม, น้ำผลไม้ และน้ำอัดลม และด้วยการผลิตกระป๋องในขนาดใหม่จะทำให้โรงงานผลิตได้ความประหยัดต่อขนาดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ขวดแก้วจะเพิ่มขึ้นจากเครื่องดื่มชูกำลังที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค และได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำกัด
การดำเนินงานของ Big C เพิ่มขึ้นทั้งการขยายสาขาและอัตรากำไร
ผู้บริหารคาดว่า อัตรากำไรจะเพิ่มขึ้นจาก
1) ยอดขายของ Big C ที่เพิ่มขึ้น (14% ในช่วง 4Q19)
2) การทำการตลาดที่เพิ่มขึ้น
3) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
4) แผนการประหยัดต้นทุน ปีนี้มีแผนการขยาย mini Big C เพิ่มขึ้น 300 สาขา, Hypermarket 3 สาขา Market 1 สาขาและ Food Place 1 แม้ว่า SSSg ในช่วง Q1 จะคงที่ แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2H20 จากการเปิดสาขาใหม่ๆ เราแนะนำให้ "ซื้อ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 56 บาท
BJC