Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : BGRIM ผลงานโตฉลุย โบรกฯ ให้เป้าสูงสุด 39 บาท

2,519

HotNews : BGRIM ผลงานโตฉลุย โบรกฯ ให้เป้าสูงสุด 39 บาท

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (22 พฤษภาคม 2562) 4 เซียนหุ้น ส่อง BGRIM ผลงานโตฉลุย เคทีบีฯ ให้เป้าสูงสุด 39 บาท มองแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโตมั่นคงกว่า 40% ต่อปี CAGR 2018-22 หนุนโดยโรงไฟฟ้าที่มี PPA รองรับ ด้านบัวหลวง คาดกำไรที่ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่เหลือของปี 62 ส่วนหยวนต้า ประเมินกำไร Q2/62 จะเติบโตสูงทั้ง QoQ และ YoY แต่ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรง 16% YTD สะท้อนผลประกอบการที่เติบโตเด่นในปีนี้ไประดับหนึ่งแล้ว Upside gain เหลือเพียง 9.0% จึงลดคำแนะนำลงจาก ซื้อ เป็น TRADING BUY ด้วยราคาเป้าหมายเดิมที่ 33.50 บาท และเมย์แบงก์ เคาะราคาเป้าหมาย BGRIM 32 บาท

 

 

บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง

ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์ คาดผลประกอบการ BGRIM ในอีก 3 ไตรมาสที่เหลือ ของปี 2019 มีแนวโน้มที่จะเติบโต QoQ ต่อเนื่องทุกไตรมาส โครงการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนามดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยและ คาดว่าจะ CODได้ภายในช่วงกลางเดือน มิ.ย. BGRIM อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเข้าลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนอีกหลายโครงการ โดยคาดว่าจะได้เห็นความชัดเจนของบางโครงการภายในปี 2019แนวโน้มกำไรที่ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่เหลือของปี 2019 กอปรกับ โอกาสลงทุนในโครงการใหม่ๆ น่าจะเป็นปัจจัยที่หนุนราคาหุ้น BGRIM ต่อไปได้นอกจากนี้หากมีการปรับขึ้นค่า Ft สำหรับช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2019 (คาดว่าจะประกาศในเดือน ก.ค.) ก็จะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนราคาหุ้นต่อไปได้อีก เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2019 ที่ 35 บาท

 

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด

ระบุว่า BGRIM จากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21/5/19) เรามีมุมมองเป็นกลางต่อการประชุม โดยโครงการหลักของบริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ 1) การต่ออายุโรงไฟฟ้า SPP ทั้ง 5 แห่งของบริษัทเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กฟผ. คาดเซ็น PPA ต่ออายุได้ในเดือน ส.ค.19 นี้ 2) โซล่าร์ฟาร์มเวียดนามกำลังการผลิตตามสัดส่วนรวม 437MW ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ระหว่าง Commissioning period คาด COD ได้ช่วงกลาง มิ.ย.19 เร็วกว่ากำหนดราวครึ่งเดือน 3) Potential projects คืบหน้าได้ดี โดยเฉพาะที่เกาหลี 136MW และ กัมพูชา 60MW คาดรู้ผลใน 3Q19 ทั้งนี้เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 39.00 บาท ทั้งนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาได้ดีราว 21% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน เรามองราคายังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน โดย Key catalyst คือการต่ออายุโรงไฟฟ้าสำเร็จและ Potential projects ที่เพิ่มกำลังการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

หลังจากที่ทาง กกพ. อนุญาตให้โรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุในช่วงปี 2018-25 สามารถต่ออายุในรูปแบบ Extension หรือ Replacement scheme ได้นั้น ล่าสุก BGRIM ยื่นเรื่องให้ทาง กฟผ. พิจารณาเป็นที่เรียบร้อย คาดสามารถเซ็น PPA ฉบับใหม่ในรูปแบบ Replacement scheme ได้ภายในเดือน ส.ค. 2019 เพื่อต่ออายุออกไปด้วยสัญญาระยะยาว 25 ปี โดยทางบริษัทมีโรงไฟฟ้าที่ยื่นเรื่องกับทาง กฟผ. จำนวน 5 แห่ง (ABP1-2, BPLC1, SPP1-2) กำลังการผลิตตามสัดส่วนรวม 235 MW 

 

 

โครงการโซล่าร์ฟาร์มที่เวียดนามซึ่งเป็นโครงการหลักในปี 2019 จำนวน 2 โครงการ Xuan Cau และ Phu Yen กำลังการผลิตตามสัดส่วน 231MW และ 206MW ตามลำดับ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสองโครงการและอยุ่ระหว่าง Commissioning period และจะเริ่มทยอย COD ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. - กลางเดือน มิ.ย. 2019 เร็วกว่ากำหนดการเดิมราวครึ่งเดือน

 

 

Potential projects ในต่างประเทศกำลังการผลิตรวมราว 800MW (กระจายตัวในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย) ซึ่งทั้งหมดจะรู้ผลภายในปี 2019 ปัจจุบันเดินหน้าเจรจา/ศึกษาต่อ ล่าสุดมีความคืบหน้าโดยเฉพาะโครงการลม On-shore 36MW และ Off-shore 100MW ที่เกาหลีใต้ร่วมกับ KEPCO การเจรจาคืบหน้าไปมากคาดสามารถเซ็น PPA ได้ภายใน 3Q19 โดยทั้งสองโครงการคาด COD ในปี 2020-21 ในขณะเดียวกันโครงการโซล่าร์ฟาร์ม 60MW ที่กัมพูชาคาดเป็นประมูลได้ใน 3Q19 ซึ่งหากบรษัทสามารถเพิ่ม Portfolio จาก Potential projects ได้ จะเป็น Upside ให้กับประมาณการของเรา

 

 

คงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมาย 39.00 บาท อิงวิธี DCF (WACC = 5.5%, no terminal growth) BGRIM ยังคงเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ของเรา ด้วยแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโตมั่นคงกว่า 40% ต่อปี CAGR 2018-22 หนุนโดยโรงไฟฟ้าที่มี PPA รองรับ ในขณะที่ราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานและมี Upside จากราคาเป้าหมายราว 27% เป็นระดับผลตอบแทนที่น่าสนใจเมื่อเทียบความเสี่ยงธุรกิจที่ต่ำจากการมีสัญญา PPA รองรับระยะยาว นอกจากนี้ยังมี Active investment ในต่างประเทศกำลังการผลิตรวมอีกกว่า 800MW ซึ่งจะทราบความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในปี 2019 เป็น Potential Upside ทั้งนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาได้ดีราว 21% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน เรามองราคายังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน โดย Key catalyst คือการต่ออายุโรงไฟฟ้าสำเร็จและ Potential projects ที่เพิ่มกำลังการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ โดยแม้ราคาในช่วง 1 เดือนล่าสุดจะลดลง 6% แต่เรามองเป็นเพียงการ Take profit ช่วงสั้นในภาวะตลาดผันผวนเท่านั้น

 

 

 

 


บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)

ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า 4 เหตุผลที่ลดคำแนะนำเป็น "ซื้อเก็งกำไร" 1) แนวโน้มกำไร 2Q62 โตเด่นทั้ง QoQ และ YoY เพราะมีกำลังการผลิตใหม่ ต้นทุนก๊าซลดลง และไม่มีปิดซ่อมบำรุง 2) มีโครงการอยู่ระหว่างการเจรจาและคาดว่าจะทราบผลในปีนี้หลายโครงการเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้น แต่ 3) อาจมีค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จากการตีมูลค่ายุติธรรมโครงการ SPP1 กระทบประมาณการกำไร และ 5) ราคาหุ้น YTD +16% ได้สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการในระดับหนึ่งแล้ว และเหลือ Upside gain เพียง 9%

 

 

แนวโน้มกำไร 2Q62 จะเติบโตสูงทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจาก

1) รวมงบ SPP1 ทั้ง 2 โรง (124 MW) เข้ามาเต็มไตรมาสเป็นไตรมาสแรก

2) ลูกค้า IU กลุ่มยางรถยนต์มี Low season ในไตรมาส 1 และบางรายปิดปรับรุงการผลิตใน 1Q62 ทำให้ Load factor ของลูกค้ากลุ่ม IU จะเพิ่มขึ้นใน 2Q62

3) COD โซล่าร์ฟาร์ม DT 1, 2 และ Phu Yen ในเวียดนามขนาดรวมตามสัญญาซื้อไฟ 564 MW ช่วงกลางเดือน มิ.ย.

4) COD โครงการ Hydro น้ำแจ (Nam Che) ในลาวอีก 15MW

5) ไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเลย และ

6) แนวโน้มราคาต้นทุนก๊าซธรรมชาติลดลง เป็นบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้นของรายได้จากลูกค้า IU แต่ไม่ใช่ประเด็นใหม่

 

 

 

มีโครงการที่อยู่ระหว่างเจรจาจำนวนมาก ซึ่งโครงการที่คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีนี้ และเป็น Catalyst หนุนราคาหุ้นในระยะสั้นถึงกลางได้แก่

1) โครงการลมในเวียดนามขนาดราว 200MW

2) โครงการ Solar ในมาเลเซียขนาดราว 100 MW

3) โครงการ Solar roof ในฟิลิปปินส์ ขนาดราว 50MW

4) โครงการลมที่เกาหลีใต้ราว 300MW และ

5) โครงการ Solar ในกัมพูชา ขนาดราว 60MW ซึ่งโครงการตามแผนในระยะยาว 5 ปีของบริษัท ต้องใช้เงินลงทุนราว 60,000 ลบ.

 

ซึ่งมีความเสี่ยงต่อฐานะทางการเงินได้ แต่เป็นการลงทุนที่กระจายหลายปี และปี 2562 - 2563 เป็นปีที่ฐานกำไรของบริษัทเติบโตสูงยกระดับแตะ 3,000 ลบ. ช่วยลดความเสี่ยงด้านนี้ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้โครงการในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้ถือ 100% ลดความเสี่ยงลงเช่นกัน นโยบายการจัดหาเงินของบริษัทจะคำนึงถึงนโยบายระดับหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 เท่า และ Gearing ratio ไม่เกิน 2 เท่า เพื่อรักษาอันดับความน่าเชื่อถือด้านสินเชื่อที่ระดับ A

 

 

หลังจากซื้อ SPP1 ขนาด 124 MW จาก GLOW ด้วยมูลค่า 3,300 ลบ. ต้องมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของโรง SPP1 ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เนื่องจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมจะพิจารณาที่อายุ PPA ที่มี ณ ปัจจุบันซึ่งเหลืออีก 3 ปี (2562 - 2564) ขณะที่ราคาที่ซื้อมาเป็นพรีเมี่ยมเพราะอยู่บนสมมติฐานผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการสร้างโรงใหม่ทดแทนโรงเก่าอีก 25 ปี ทำให้อาจต้องมีการบันทึกส่วนต่างเป็น สิทธิภายใต้สัญญา PPA (เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน) ในงบดุลและทยอยตัดจำหน่ายออก ทำให้ต้นทุนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายอาจสูงกว่าคาดได้ บริษัทอยู่ในขั้นตอนการประเมินมูลค่ายุติธรรมคาดว่าจะทราบผลภายใน 3Q62 ซึ่งมีผลต่อประมาณการกำไรอาจถูกปรับลง แต่มีผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าด้วย DCF ไม่มาก นอกจากนี้ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรง 16% YTD สะท้อนผลประกอบการที่เติบโตเด่นในปีนี้ไประดับหนึ่งแล้ว ทำให้ Upside gain เหลือเพียง 9.0% จึงลดคำแนะนำลงจาก ซื้อ เป็น TRADING BUY ด้วยราคาเป้าหมายเดิมที่ 33.50 บาท

 

 

 

 

ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ ของ บมจ. หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

เปิดเผยว่ามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุม BGRIM ปรับตัวดีขึ้นกว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนประเด็นบวกความชัดเจนจากการต่ออายุ SPP ในช่วงต้นปีทีผ่านมา เรามองว่าประเด็นนี้สะท้อนไปแล้วในราคา นักลงทุนอาจพิจารณารอราคาอ่อนตัวก่อนเข้าทำการ Trading Buy ซึ่งเป็นคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานของเรา เพื่อโอกาสเติบในอนาคตจากโครงการใหม่ที่อยู่ระหว่างเจรจา ราคาเป้าหมาย SOTP เท่ากับ 32 บาท

 

 

โครงการ SPP ที่กำลังจะหมดอายุในช่วงปี 2562-2565 BGRIM มีแผนที่จะเปลี่ยนเครื่อง (Replacement) ทั้งหมด โดยจะมี 3 โครงการ ได้แก่ ABP1, SPP1 #1และ SPP1 #2 จะต่อสัญญาโรงไฟฟ้าเดิม 1-3 ปี ในช่วงก่อนที่โรงไฟฟ้าใหม่จะก่อสร้างเสร็จพร้อมเปิดดำเนินงานในปี 2565 โรงไฟฟ้าทั้งหมด 5 โครงการ เราประเมินว่าตลาดได้รับรู้ประเด็นบวกการต่อสัญญาไปแล้ว แต่อาจยังมองไม่เห็นความเสี่ยงของรูปแบบสัญญาแบบ Replacement ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกฟผ. จะรับซื้อในสัดส่วนไม่เกิน 30 MW จากเดิมไม่เกิน 90 MW ดังนั้นการหาลูกค้าอุตสาหกรรมให้มากเพียงพอให้การเดินเครื่องโรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นทั้ง Upside และ Downside ของผลประกอบการและมูลค่าโครงการ

 

 

โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างยังเป็นไปตามแผน ในปี 2562 ได้แก่ โครงการน้ำแจ ในประเทศลาว และโซลาร์ฟาร์ม 2 โครงการในเวียดนาม ทั้ง 3 โครงการเตรียม COD ภายในเดือน มิ.ย. 2562 ในส่วนของต้นทุนทางการเงินมีแผน Refinance เงินกู้ 2,200 ล้านบาท คาดจะช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ยเฉลี่ยเหลือ 4.2-4.4% จาก 4.6% ในปี 2561

 

 

BGRIM ยังมองหาโอกาสลงทุนเพิ่มเติมในต่างประเทศ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเกาหลีใต้ โรงไฟฟ้าพลังลมในเวียดนาม โครงการโซลาร์ฟาร์มฟิลิปปินส์ กัมพูชาและมาเลเซีย รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เซกอง 4 ในลาว ที่ล่าสุดได้ลงนาม Project Development Agreement (PDA) แล้ว อยู่ระหว่างรอรัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณารับซื้อต่อไป เราประเมินว่าโครงการต่างๆ ดังกล่าวเป็น Upside ที่ยังไม่ถูกรวมในประมาณการ จนกว่าจะมีความชัดเจนของสัญญา

 


ความเสี่ยง : ความเสี่ยงในการดำเนินงาน ความผันผวนของต้นทุนเชื้อเพลิง การเปลี่ยนแปลงนโยบาย/กฏหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศที่เข้าไปลงทุน ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและ FX รวมถึงการพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่น้อยราย

 

 

 

 


BGRIM กำไร Q1/62 เพิ่มขึ้น 101% จากไตรมาสก่อน


นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ หรือ BGRIM เปิดเผย ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2562 บริษัทบันทึกรายได้ที่ 10,257 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและ 3.3% จากไตรมาสก่อนหน้าด้วยสาเหตุหลักจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปีที่แล้วของโรงไฟฟ้า ABPR 3, ABPR 4 และ ABPR 5 ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง และ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตรในเดือนธันวาคม 2561 รวมถึงการรับรู้ผลการดำเนินงานของโกลว์ เอสพีพี 1 หลังการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2562

 

ขณะที่กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจากงบการเงินรวมในไตรมาส 1/2562 (ไม่รวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ) อยู่ที่ 687 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ 443 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตรา 101% จากไตรมาสก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการรวมผลกำไรจากการควบรวมกิจการ โกลว์ เอสพีพี 1 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การที่ค่าใช้จ่ายที่ผ่านพ้นช่วงที่สูงตามฤดูกาลในไตรมาส 4 และการได้รับปัจจัยหนุนจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ อีกทั้งการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า

 


แม้ในช่วงต้นปี 2562 ราคาค่าก๊าซจะมีการปรับตัวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 แต่มีแนวโน้มลดลงแล้วในเดือนมีนาคม 2562 นอกจากนี้ในส่วนของกำหนดการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าของปี 2562 นั้นในช่วงที่เหลือของปี 2562 จะมีการซ่อมบำรุงในแต่ละไตรมาสน้อยกว่าไตรมาส 1/62 ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2562 มีกำลังผลิตรวมจากโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ทั้งสิ้น 2,200 เมกะวัตต์ โดยโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมีความคืบหน้าตามแผนสู่กำหนดการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ DTE1&2 (โครงการ Xuan Cau) กำลังการผลิตติดตั้ง 420 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

 

 

และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Phu Yen TTP (โครงการ Phu Yen) กำลังการผลิตติดตั้ง 257 เมกะวัตต์ ในประเทศเวียดนาม ภายในเดือนมิถุนายนนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Nam Che กำลังการผลิตติดตั้ง 15 เมกะวัตต์ ภายในไตรมาส 2/62 และโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม Interchem กำลังการผลิตติดตั้ง 4.8 เมกะวัตต์ ภายในเดือนธันวาคม 2562 รวมทำให้กำลังการผลิตในปี 2562 เติบโตในอัตรา 40% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมี โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายโครงการในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สาธารณรัฐเกาหลี

 

 

 

 


ขณะที่ความเคลื่อนไหวในช่วงไตรมาส 1/2562 หลังจากอนุมัติโดย กพช. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ (PDP 2018) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยให้โครงการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนแบบ เอสพีพี ที่จะหมดอายุสัญญาในระหว่างปี 2560 - 2568 สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี

 

 

โดยโรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุสัญญาภายในปี 2564 ได้รับการอนุมัติให้ต่ออายุรับซื้อไฟฟ้าออกไปอีกไม่เกิน 3 ปี ระหว่างที่โรงไฟฟ้าใหม่กำลังก่อสร้าง บริษัทมีโรงไฟฟ้ำพลังงานความร้อนร่วมที่เข้าเกณฑ์และสามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมจำนวน 5 โรง ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านี้จะหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ระหว่างปี 2562 - 2565 บริษัทมีแผนสร้าง 5 โรงไฟฟ้าใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัท จะสามารถให้บริการด้วยคุณภาพที่สูงแก่ลูกค้าอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

 


ทั้งนี้ หลังจากบริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อย B.Grimm Power Korea Limited เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในสาธารณรัฐเกาหลีในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว ในเดือนเมษายน 2562 ได้มีการจัดประชุมความร่วมมือระหว่าง บริษัท และ Korea Electric Power Corporation (KEPCO) ณ กรุงโซลสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อผนึกความสัมพันธ์และเตรียมพร้อมสำหรับการนำระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) และ พื้นที่เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และมีการประชุมกับบริษัท Korea Midland Power Co., Ltd (KOMIPO) เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม และโครงการพลังงานทดแทนในอนาคตในสาธารณรัฐเกาหลีด้วย

 

BGRIM

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

สถานบันเทิงครบวงจร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ยินดี สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ลงมติ รายงานผลการศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร...

รอดเท่ากับไม่เทรด By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง มองไม่ค่อยเห็น ผู้ชนะในเกมหุ้น แต่นักลงทุนที่รอด ชัวร์ๆ นั่นคือ หยุดเทรด ไม่เทรด ไม่ซื้อขาย ...

มัลติมีเดีย

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

QTCG กระแสตอบรับดี/เปิดพื้นฐานก่อนเทรดวันที่ 4 เม.ย. - สายตรงอินไซด์ - 29 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้