Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ : เจาะลึก EEC

3,346

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 28 มกราคม 2562)-------- ระยะหลังมานี้ เชื่อว่าหลายๆคนคงจะได้ยินข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC กันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกระตุ้นการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น วันนี้ทีมข่าวหุ้นอินไซด์จะมาเจาะลึก พร้อมทำความเข้าใจกับ EEC ให้มากขึ้นว่ามีแล้วจะส่งผลดีอย่างไรให้กับประเทศของเราบ้าง

 

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยในการบรรยายพิเศษให้กับคณะผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและคณะสื่อมวลชนในการเยี่ยมชมสนามบินอู่ตะเภาว่า ในปี 2562 สถาการณ์เศรษฐกิจโลก อยู่ในสภาวะที่กำลังอ่อนตัวลงจากปี 2561 โดยเศรษฐกิจและการเงินของโลกยังมีความเสี่ยงต่อความผันผวนและขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจากความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าสําคัญ ๆ รวมทั้ง การเจรจาภายใต้กรอบ USMCA มาตรการตอบโต้ของจีน การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศที่ปัจจัยพื้นฐาน อ่อนแอ (ตุรกี อาร์เจนตินา บราซิล แอฟริกาใต้) การแก้ไขปัญหาเพดานหนี้สาธารณะ การผิดนัด ชําระหนี้ การปิดทําการชั่วคราวของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ และแผนการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐและการขาดดุลงบประมาณของอิตาลี

 

อีกทั้งยังมีความล่าช้าในการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการอ่อนค่าของเงินหยวน โดยในปีนี้คาดว่าจํานวนนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ยุโรป และจีนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติใน Q2/62

 


นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่เร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2561 อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางการปรับทิศทางนโยบายการเงิน ของสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลักและในปีนี้ดอกเบี้ยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการคาดการณ์ และจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และในขณะที่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลง แต่ราคาน้ามันมีแนวโน้มสูงขึ้น

 

จากสถาการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ประเทศต้องมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย ...........

 


***EEC ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ***

EEC หรือ Eastern Economic Corridor เป็น 'โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก' ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
มีแผนการลงทุนใน 4 กลุ่ม คือ
1. โครงสร้างพื้นฐาน
2.อุตสาหกรรมเป้าหมาย
3.การท่องเที่ยว
4.การสร้างเมืองใหม่

 

ประกอบด้วย 5 โครงการหลัก คือ
1.สนามบินอู่ตะเภา
2.ท่าเรือแหลงฉบัง
3.รถไฟความเร็งสูง
4.อุตสาหกรรมไฮเทคสำหรับอนาคต
5.เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง

 


การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัย ทั้งทางกายภาพและดิจิทัล ซึ่งจะช่วยหนุน 10 อุตสากรรมเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-curves) และเพิ่ม 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (Second S-curves) พร้อมกันนี้จะส่งผลให้เกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ ทั้งจากการท่องเที่ยว และการพัฒนาเมือง และครอบคลุมไปถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ไฟฟ้า การประปา และการพัฒนาชุมชน

 


***อุตสาหกรรมเป้าหมาย***
First S-Curve ได้แก่ ยานยนต์แห่งอนาคต อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารแห่งอนาคต และการท่องเที่ยวระดับโลก Second S-Curve ได้แก่ หุ่นยนต์และระบบอัตดนมัติ อากาสยานและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทยื และดิจิทัล

 

 

***ขุมพลังใหม่ประเทศไทย... ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ***

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีมูลค่าการลงทุนทั้งหมดประมาณ 6.5 แสนล้านบาท โดยจะเป็นเงินลงทุนจากรัฐบาล ประมาณ 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 30% โดยรัฐบาลจะได้ผลตอบแทนทางการเงินประมาณ 4.5 แสนล้านบาท และประเทสไทยจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 8.2 แสนล้านบาท ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีทั้งหมด 5 โครงการ ได้แก่


- โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก มูลค่าโครงการ 2.9 แสนล้านบาท โดยภาครัฐลงทุน 6% และภาคเอกชนลงทุน 94% ปัจจุบันได้มีผู้ซื้อเอกสารคัดเลือก 42 ราย และกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอได้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2566


-โครงการท่าเรือแหลงฉบังระยะที่ 3 มูลค่าโครงการ 1.1 แสนล้านบาท โดยภาครัฐลงทุน 47% และภาคเอกชนลงทุน 53% ปัจจุบันได้มีผู้ซื้อเอกสารคัดเลือก 32 ราย (สำหรับท่าเรือ F) และกำหนดให้เอกชนนื่นข้อเสนอเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในช่วงปลายปี2566


-โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาสยานอู่ตะภา มูลค่าโครงการ 0.1 แสนล้านบาท โดยภาครัฐลงทุน60% และภาคเอกชนลงทุน 40% และกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการกลางปี2565


-โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการ 0.6 แสนล้านบาท โดยภาครัฐลงทุน23% และภาคเอกชนลงทุน 77% ปัจจุบันได้มีผู้ซื้อเอกสารคัดเลือก 18 ราย (สำหรับท่าเรือของเหลว) และกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการต้นปี2568


-โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าโครงการ 1.8 แสนล้านบาท โดยภาครัฐลงทุน65% และภาคเอกชนลงทุน 35% ปัจจุบันได้ผู้ชนะการประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการปี2566

 

 

***แผนการดําเนินงานของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)***

ระยะที่ 1: แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ---แผนย่อย/กํากับแผน-งบประมาณ ผังเมือง/สิ่งแวดล้อม /เกษตร การประสานแผนกับงบประมาณ การพัฒนาเมือง


ระยะที่ 2 : โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญ -----กำกับดูแล/ก่อสร้าง โดย 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเรียบร้อยแล้ว และคาดว่า 3 โครงการ (ท่าเรือและศูนย์ซ่อม) จะมีการลงนามในสัญญากับเอกชนภายใน ก.พ.62


ระยะที่ 3:การชักจูงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การวางแผนเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต โดยการประชาสัมพันธ์กับชุมชนคนในพื้นที่ โครงการกับครู/นักเรียน/ผู้นาชุมชน/พระ/ และ กองทุนพัฒนา EEC (ปัจจุบันแผนการดำเนินงานอยู่ในระยะที่3)

 


การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จะทําให้รายได้ต่อหัวของประชากรใน 3 จังหวัด (GDP per Capita) สูงขึ้นเป็น 21,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของ ประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนบรรลุเป้าหมายการหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลางที่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี เร็วกว่าการเติบโตปกติที่ไม่มีการดําเนินนโยบายถึง 5 ปี และขนาดเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 15 ล้านล้านบาท (ปี 2560) เป็น 30 ล้านล้านบาท ปี 2570) และ 60 ล้านล้านบาท (ปี2580) อีกทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (GDP Growth Rate) (ปี 2560-2580) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 2 ต่อปี


By:ธาราทิพย์ พิพัฒน์

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้