Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ: ARROW ของขวัญ คริสมาสต์ (จบ)

2,831


ความเสี่ยงที่สำคัญ
    1. ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดโลกวัตถุดิบสำคัญในการผลิต คือ เหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ในปี 2552- 2554 บริษัทใช้เหล็กกล้าเคลือบสังกะสีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92 - 95 ของยอดรวมของการซื้อวัตถุดิบทั้งหมด ดังนั้น ความผันผวนราคาเหล็กซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดโลกมีผลกระทบต่อรายได้ ต้นทุน และอัตรากำไรสุทธิของบริษัท หากกรณีที่บริษัทไม่สามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มตามราคาของวัตถุดิบที่มีการปรับตัวขึ้นได้ ปัจจุบันบริษัทสั่งซื้อเหล็กจากประเทศจีนเป็นหลัก โดยมีนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบขั้นต่ำในสต๊อกสำหรับการผลิตประมาณ 2 เดือนล่วงหน้า และไม่มีนโยบายการกักตุนเหล็กเพื่อเก็งกำไร บริษัทมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดราคาขายให้มีส่วนต่างกำไรในระดับที่จะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งหากราคาเหล็กมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องบริษัทจะพิจารณาปรับราคาเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบได้ นอกจากนี้ บริษัทจะตรวจสอบราคาเหล็กอย่างใกล้ชิด เพื่อคาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มของราคาและปริมาณความต้องการใช้เหล็กทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทและบริษัทย่อยจะจัดเก็บเหล็กให้น้อยที่สุดเมื่อพบว่าราคาเหล็กมีทิศทางแนวโน้มปรับตัวลดลง และจะสั่งเหล็กมากขึ้นกรณีราคาเหล็กมีทิศทางที่จะปรับตัวสูงขึ้น
    โดยอาศัยประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาเหล็กในการประกอบการตัดสินใจในการสั่งซื้อวัตถุดิบและวางแผนการผลิตสินค้าได้อย่างเหมาะสม
    2. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้จัดจำหน่ายหรือบริษัท Trader รายใหญ่วัตถุดิบสำคัญของบริษัทและบริษัทย่อย คือ เหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ซึ่งบริษัทจะสั่งซื้อจากประเทศจีนเป็นหลักเนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าราคาในประเทศ โดยบริษัทได้สั่งซื้อวัตถุดิบจากบริษัทตัวแทนผู้จัดจำหน่าย หรือตัวแทนส่งออก (“ผู้จัดจำหน่าย” หรือ“Trader”) จากประเทศจีนจำนวน 3 รายเป็นหลัก เนื่องจากบริษัท Trader ดังกล่าวมีใบอนุญาตการส่งสินค้าออกและสามารถจัดส่งสินค้าตามความต้องการของบริษัทได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในราคาซื้อที่เหมาะสม และตั้งอยู่ใกล้แหล่งโรงงานผลิตเหล็ก ซึ่งในปี2552 – ปี 2554 และ 9 เดือนของปี 2555 บริษัทได้สั่งซื้อผ่านบริษัท Trader รายหนึ่งจากประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.27 ร้อยละ 53.3 ร้อยละ 70.05 และร้อยละ 68.26 ของยอดสั่งซื้อรวม ตามลำดับ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่อยู่ในระดับของการพึ่งพิงบริษัท Trader รายดังกล่าว บริษัทจึงอาจมีความเสี่ยงจากการพึ่งพิงบริษัท Trader ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนส่งออกเหล็กรายดังกล่าว และอาจขาดแคลนเหล็กในกรณีบริษัท Trader รายดังกล่าวไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทได้ตามกำหนด และบริษัทไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบจาก
แหล่งอื่นเข้ามาทดแทนได้ทันแผนการผลิตสินค้าตามที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
    อย่างไรก็ตาม บริษัท Trader รายดังกล่าวมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทแต่อย่างใด และมีประวัติการสั่งซื้อระหว่างกันเป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปี โดยบริษัท Trader ดังกล่าวดำเนินธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้านำเข้า-ส่งออกรายใหญ่ และอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเมืองเทียนจิน โดยมีสินค้าหลากหลายมากกว่า 10,000 รายการ โดยเน้นสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้ในครัวเรือนทั่วไป อาทิ เสื้อผ้า เครื่องจานชาม สินค้าตกแต่งบ้าน งานฝีมือ เป็นต้น เป็นระยะเวลานานกว่า 40 ปี ครอบคลุมลูกค้ามากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นอกจากธุรกิจหลักดังกล่าว บริษัท Trader ยังเป็นตัวแทนในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าวัตถุดิบอื่นๆ จากโรงงานผลิต เช่น เหล็ก ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ และเนื่องจากบริษัท Trader ดังกล่าวมีธุรกิจนำเข้าส่งออกเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทเดินเรือหลายราย และสามารถอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งให้แก่ลูกค้าได้ตามความต้องการและตรงเวลา
ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้มีสัญญาผูกขาดการจัดซื้อวัตถุดิบผ่านบริษัท Trader รายใดรายหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ที่ผ่านมาบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตและบริษัท Trader ผู้ส่งออกเหล็กและไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบบริษัทมีความเชื่อมั่นว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการสั่งวัตถุดิบจากบริษัท Trader ดังกล่าว
    3. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาตัวแทนนายหน้าชาวจีนในการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กจากประเทศจีน บริษัทพึ่งพิงตัวแทนชาวจีน 2 ท่านในการทำหน้าที่ประสานงานติดต่อคัดเลือกผู้ผลิต
    และผู้จำหน่ายวัตถุดิบในประเทศจีน โดยเฉพาะเขตมณฑลเทียนจินและเซี่ยงไฮ้เพื่อนำเสนอราคาให้แก่บริษัท โดยบริษัทจะเปรียบเทียบคุณภาพและราคาที่เหมาะสม และเมื่อบริษัทตกลงสั่งซื้อเหล็กกับโรงงานที่ตัวแทนนายหน้าได้เสนอมา ตัวแทนนายหน้าจะประสานงานให้บริษัท Trader ดำเนินการสั่งซื้อและออกใบยืนยันการขาย (Sale Confirmation) มาให้บริษัท เมื่อบริษัทยืนยันการซื้อกับทางบริษัทTrader แล้วทางบริษัท Trader จะดำเนินการจัดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัท โดยตัวแทนดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบสภาพวัตถุดิบซึ่งเป็นเหล็กม้วนและการบรรจุก่อนที่จะส่งออกจากประเทศจีน เพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงตามคำสั่งซื้อของบริษัท ซึ่งการมีตัวแทนในจีนทำให้บริษัทสามารถเสาะหา (Sourcing) วัตถุดิบได้คล่องตัวในราคาที่เป็นประโยชน์กับบริษัท โดยตัวแทนจะได้รับค่าจัดการเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าสั่งซื้อ เหตุผลที่บริษัทเลือกซื้อเหล็กจากประเทศจีนเนื่องจากมีราคาถูกกว่าซื้อภายในประเทศ โดยถึงแม้ว่าจะมีค่าจัดการให้แก่ตัวแทนชาวจีนแต่ต้นทุนวัตถุดิบโดยรวมยังคงต่ำกว่าราคาเหล็กที่ซื้อผ่านบริษัทจัดจำหน่ายภายในประเท ดังนั้น หากตัวแทนชาวจีน 2ท่านขอยกเลิกการทำหน้าที่ประสานงานติดต่อ คัดเลือกผู้ผลิต และตรวจสอบสภาพวัตถุดิบก่อนส่งให้บริษัท อาจทำให้บริษัทมีต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และคุณภาพของเหล็กที่ได้รับไม่ได้มาตรฐานได้ ซึ่งจะมีปัญหาการเคลมสินค้าคืนทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทลดลง
    อย่างไรก็ตาม ตัวแทนชาวจีนทั้งสองรายซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจเหล็กเป็นอย่างดี โดยบริษัทมีนโยบายที่จะรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีต่อไป และคณะกรรมการตรวจสอบจะมีการประเมินการทำงานของตัวแทนทุกไตรมาส โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนค่าจัดการตามความเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบัน บริษัทได้เริ่มหาแหล่งวัตถุดิบอื่นนอกเหนือจากประเทศจีน ซึ่งมีคุณภาพทัดเทียมกัน เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศเวียดนาม เป็นต้น

    4. ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนเนื่องจากตั้งแต่ปลายปี 2553 บริษัทมีแผนการผลิตท่อเหล็กสำหรับโรงงานใหม่ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ประกอบกับการ
    คาดการณ์ว่าจะได้งานเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของโครงการอสังหาริมทรัพย์และงานโครงการรถไฟฟ้า จึงได้สั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กเข้ามามากทำให้ปริมาณสินค้าคงเหลือของบริษัทและบริษัทย่อยคงเหลืออยู่ในสต๊อคสูง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และณ 30 กันยายน 2555บริษัทมีสินค้าคงเหลือก่อนหักค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลงเท่ากับ 170.91 ล้านบาท และ 188.74 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.46 และร้อยละ 29.24 ของสินทรัพย์รวม ดังนั้น หากบริษัทไม่สามารถบริหารจัดการสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับประมาณการยอดขายและกำลังการผลิต อาจส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในเดือนมีนาคม ปี 2555 บริษัทเริ่มเปิดสายการผลิตจากโรงงานใหม่ จึงคาดว่าจะสามารถระบายวัตถุดิบที่ค้างในสต๊อคได้เมื่ออัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบและสำรองสินค้าคงเหลือของบริษัทจะพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ และปริมาณงานที่ต้องส่งมอบให้แก่ลูกค้า ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทยังไม่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยอัตราส่วนสภาพคล่อง ณ 31 ธันวาคม 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 อยู่ที่ 1.10 เท่า และ 1.21 เท่า ตามลำดับ ซึ่งการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปครั้งนี้ จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้การขยายตัวธุรกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีวงเงินสินเชื่อระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 400 ล้านบาท โดยมีวงเงินคงเหลือที่ยังไม่ได้เบิกใช้ประมาณ 158.20 ล้านบาท

    5. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเนื่องจากบริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเหล็กจากประเทศจีนในสัดส่วนประมาณกว่าร้อยละ 90 ของยอดซื้อวัตถุดิบรวม และมีการชำระเงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่รายได้ของบริษัทส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท ดังนั้น บริษัทจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหากเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงจะทำให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยในปี 2554 บริษัทและบริษัทย่อยมีการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างประเทศเป็นจำนวนเท่ากับ 348.55 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92.73 ของมูลค่าสั่งซื้อวัตถุดิบทั้งหมดในปี 2554 และในงวด 9 เดือนปี 2555 บริษัทมีการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างประเทศเป็นจำนวนเท่ากับ 310.42 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92.98 ของมูลค่าสั่งซื้อวัตถุดิบทั้งหมด และบริษัทมีรายได้จากการขายต่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐบางส่วนในปี 2554 และงวด 9 เดือนปี 2555 เท่ากับจำนวน81.37 ล้านบาท และจำนวน 59.94 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในอดีตบริษัทไม่ได้มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ในปี 2553 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 4.01 ล้านบาทและปี 2554 บริษัทมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 5.76 ล้านบาท ดังนั้น ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 บริษัทเริ่มใช้นโยบายการป้องกันความเสี่ยงโดยการใช้สินเชื่อเพื่อการชำระค่าสินค้า: Trust Receipt (T/R) เป็นเงินบาททั้งหมด และได้ใช้วงเงินสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) บางส่วน เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งณ 30 กันยายน 2555 บริษัทและบริษัทย่อยได้รับการอนุมัติการใช้วงเงิน T/R และวงเงินสำหรับใช้ Forward Contract จากธนาคารเท่ากับ 235.00 ล้านบาท เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น โดย ณ 30 กันยายน 2555 บริษัทได้ใช้วงเงินกู้เป็นสกุลเงินบาทและไม่มีหนี้สินที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บริษัททำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า บริษัทยังคงได้รับผลกระทบทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนอันเนื่องมาจากที่รายการซื้อและชำระค่าวัตถุดิบและรายการขายและรับชำระเงินไม่ได้เกิดขึ้นงวดบัญชีเดียวกันกับวันที่บันทึกบัญชีและ/หรือวันที่ชำระหรือได้รับเงิน ทำให้ ณ วันปิดงวดบัญชีจะต้องบันทึกค่าวัตถุดิบและรายได้จากการขายตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันปิดงวดนั้นๆ อาจทำให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนที่บันทึกบัญชีกับอัตราแลกเปลี่ยนจ่ายให้แก่คู่ค้าสำหรับงวด 9 เดือนปี 2555 บริษัทมีผลจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.10 ล้านบาทเนื่องจาก บริษัทมีรายได้บางส่วนเป็นเงินตราต่างประเทศ และยังมีการสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงบางส่วน โดยบริษัทจะติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อจะประเมินสถานการณ์และหาทางป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    6. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยณ 31 ธันวาคม 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีสินเชื่อระยะสั้นและระยะยาวคงค้างรวมเท่ากับ 261.90 ล้านบาทและ 272.97 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นประเภททรัสต์รีซีท (Trust Receipt) ซึ่งนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและชำระค่าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่วนเงินกู้ยืมระยะยาวใช้เพื่อลงทุนในโรงงานและเครื่องจักร โดยอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระ คือตั้งแต่ร้อยละ MLR-1.75% ถึง MOR+1% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวทั้งหมด ดังนั้น หากภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่ายมากขึ้นด้วยบริษัทจะลดความเสี่ยงโดยติดตามแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ โดยจะหาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนภายหลังการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เพื่อลดภาระการกู้ยืมเงินของบริษัทได้ในการจ่ายชำระคืนหนี้บางส่วน ที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยผิดนัดชำระดอกเบี้ยกับธนาคาร
    7. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจกำหนดนโยบายการบริหารณ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 กลุ่มนายเลิศชัย วงค์ชัยสิทธิ์ (รวมบริษัทแอลเค ซินดิเคท จำกัด ซึ่งกลุ่มนายเลิศชัยถือหุ้นร้อยละ97.50) ถือหุ้นรวมกันในบริษัทร้อยละ 76.56 ของทุนชำระแล้ว ถึงแม้ว่าภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือร้อยละ 57.41 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว กลุ่มนายเลิศชัยยังคงสามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับ 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การขายหรือโอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด เป็นต้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงอาจไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เสนอได้อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นกรรมการอิสระ จำนวน 3 ท่านจากจำนวนกรรมการทั้งหมด 9 ท่าน เข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลการทำงานของคณะกรรมการและผู้บริหารบริษัทรวมถึงการพิจารณาอนุมัติรายการต่างๆ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้นว่าการบริหารงานภายในบริษัทจะเป็นไปอย่างโปร่งใส
    8. ความเสี่ยงเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์บริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้ก่อนได้รับการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ทั้งนี้บริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 และบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณาคุณสมบัติของบริษัทในเบื้องต้นแล้ว เห็นว่าบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอได้ตามเกณฑ์กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ยกเว้นคุณสมบัติการกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนไม่ต่ำกว่า 300 ราย บริษัทจึงยังมีความไม่แน่นอนที่จะได้รับอนุญาตให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดรองและอาจไม่ได้รับผลตอบแทนจากการขายหุ้นได้ตามราคาที่คาดการณ์ไว้หากหลักทรัพย์ของบริษัทไม่สามารถเข้าจดทะเบียนได้

    สรุปข้อมูลหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
    ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00บาท เป็นทุนที่ชำระแล้ว 150.00 ล้านบาทโดยบริษัทจะทำการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนจำนวน 50 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.00 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้และจะเสนอขายต่อผู้บริหารและพนักงานบริษัทและบริษัทย่อยจำนวน 5.00 ล้านหุ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.50 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
    อย่างไรก็ตาม หากมีหุ้นเหลือจากการเสนอขายต่อผู้บริหารและพนักงานบริษัทและบริษัทย่อย ให้ส่วนที่เหลือทั้งหมดไปรวมเสนอขายต่อประชาชนบริษัทมีความประสงค์ที่จะนำหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตามเกณฑ์กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพยแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ไปใช้เพื่อการซื้อที่ดินและเครื่องจักรสำหรับขยายกำลังการผลิต เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน โดยหากมีเงินทุนส่วนที่เหลือ บริษัทจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานต่อไป

โครงการในอนาคต

    บริษัทกำหนดเป้าหมายการขยายกลุ่มลูกค้าร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั้งค้าปลีกและโครงการ ผู้รับเหมาโครงการ รวมถึงตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยได้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด การส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ตลอดปี มีการจัดระบบการติดตามงานโครงการของตัวแทนขายโครงการ และด้วยข้อมูลจากการติดตามความคืบหน้าโครงการ ในอนาคตอันใกล้มีการก่อสร้างอาคารมาตรฐานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมากอาทิ โครงการรัฐสภาแห่งใหม่ โครงการศูนย์การแพทย์ชั้นนำแห่งเอเซียโรงพยาบาลรามาธิบดี (บางพลี) สนามบินนานาชาติหลายจังหวัดรวมทั้งส่วนต่อขยายสุวรรณภูมิ โครงการอาคารมหานคร 77 ชั้นโครงการรถไฟฟ้าส่วนขยาย เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่ และอาคารสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โครงกาคอนโดมิเนียมต่างๆ ศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการนานาชาติภูเก็ต ตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ เป็นต้น โดยแนวโน้มการเติบโตด้านการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ทำให้
    บริษัทมีแผนการลงทุนด้านขยายกำลังการผลิตในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโรงงานโดยจะพิจารณาจากปัจจัยทางด้านส่วนแบ่งทางการตลาดและความต้องการผลิตภัณฑ์ในตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ส่วนที่ใกล้เต็มกำลังการผลิต ได้แก่ ท่อก่อสร้างและท่อเหล็กอ่อนกันน้ำร้อยสายไฟบริษัทมีแผนขยายการผลิตสำหรับรองรับการเติบโตของโครงการในปี 2556 โดยใช้เงินจากกาเสนอขายหุ้นจากประชาชนในครั้งนี้และเงินกู้จากสถาบันการเงิน ดังนี้
    1. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตในขั้นตอนตัดเหล็กและเตรียมวัตถุดิบ สำหรับรองรับการขยายตัวของตลาดท่อระบายอากาศและท่อก่อสร้าง โดยในโครงการนี้บริษัทได้ซื้อที่ดินเพิ่มในบริเวณเดียวกับโรงงานเดิมอีกประมาณ 3.5 ไร่เมื่อเดือนตุลาคม 2555 เพื่อใช้ก่อสร้างขยายอาคารโรงงานจากเดิมอีกประมาณ 2,600 ตารางเมตร สำหรับติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการตัดเหล็กที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาทสำหรับที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง และอีกประมาณ 10 ล้านบาทสำหรับเครื่องจักรโดยโครงการลงทุนดังกล่าวจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตท่อก่อสร้างและท่อระบายอากาศอีกกว่าร้อยละ 50 และเพิ่มช่องทางการขายเหล็กแผ่นหากกำลังการผลิตยังคงเหลือ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2556 และเริ่มผลิตในไตรมาส 4 ของปี2556
    2. โครงการผลิตท่ออ่อนชนิดอลูมินัมฟรอยส์ สำหรับงานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยใช้เงินทุนสำหรับเครื่องจักร ประมาณ 5 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2556 และเริ่มผลิตในเดือนพฤษภาคม 2556
    3. โครงการขยายกำลังการผลิตท่อเหล็กอ่อนกันน้ำร้อยสายไฟ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศได้รับความเชื่อมั่นทั้งลูกค้าในและต่างประเทศ จำเป็นต้องขยายปริมาณการผลิตเพื่อรองรับตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการลงทุนโดยใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับการสั่งซื้อเครื่องจักรในการหุ้ม PVC สำหรับท่อกันน้ำ ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตอีกประมาณร้อยละ 25 หรือประมาณ 120 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2556 และเริ่มผลิตในเดือนเมษายน 2556


การวิจัยและพัฒนา
    เป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาของบริษัท คือ การผลิตสินค้าให้มีต้นทุนลดลง โดยจะใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนมากขึ้น(Automation) และมีแผนในการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั้งภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และโรงงานอุตสาหกรรม โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน สามารถติดตั้งง่าย สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และสวยงาม เพื่อเพิ่มความสะดวกและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ที่ผ่านมาบริษัทได้เริ่มขายผลิตภัณฑ์ท่อประปา PP-R ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2555

นโยบายการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
    บริษัทมีนโยบายลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการที่เป็นส่วนสนับสนุนกิจการของบริษัทอันจะทำให้บริษัทมีผลประกอบการหรือผลกำไรเพิ่มมากขึ้น หรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ (Synergy) ให้กับบริษัท โดยสามารถสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทให้มีความครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีเงินลงทุนใน บริษัท เจ.เอส.วี.เทคนิคอล จำกัด คิดเป็นร้อยละ 99.99 ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาททั้งนี้การลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจะอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ และในการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทจะส่งกรรมการของบริษัทหรือคัดเลือกผู้บริหารที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารงาน เพื่อกำหนดนโยบายที่สำคัญและควบคุมการดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมดังกล่าว


นโยบายการจ่ายเงินปันผล
    บริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และสำรองตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจกำหนดให้การจ่ายเงินปันผลมีอัตราน้อยกว่าอัตราที่กำหนดข้างต้นได้หากบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินกำไรสุทธิจำนวนดังกล่าวมาใช้เพื่อขยายการดำเนินงานของบริษัททั้งนี้ บริษัทย่อย และ/หรือ บริษัทร่วมมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละ 100 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และสำรองตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อย และ/หรือ บริษัทร่วมอาจกำหนดให้การจ่ายเงินปันผลมีอัตราน้อยกว่าอัตราที่กำหนดข้างต้นได้หากบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินกำไรสุทธิจำนวนดังกล่าวมาใช้เพื่อขยายการดำเนินงานของบริษัท



ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
    12.1 งบการเงิน
    12.1.1 สรุปรายงานการสอบบัญชี
    สำหรับงบการเงินงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552
    ตรวจสอบโดยนายวิชัย รุจิตานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4054 บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด ซึ่งได้แสดงความเห็นว่างบการเงินของบริษัทแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป แต่ให้ข้อสังเกตเรื่องการมิได้ตรวจสอบปริมาณและมูลค่าสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวน73.73 ล้านบาท ในงบการเงินของบริษัท เนื่องจาก ณ ขณะนั้นยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชีและไม่สามารถใช้วิธีการอื่นตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในปริมาณและมูลค่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวสำหรับงบการเงินงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553ตรวจสอบโดยนายวิชัย รุจิตานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4054 บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด ซึ่งได้แสดงความเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจกาของบริษัทแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และให้ข้อสังเกตบริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการแสดงราคาทุนของสินค้าคงเหลือจากวิธีเข้าก่อนออกก่อนเป็นวิธีถัวเฉลี่ยน้ำหนักสำหรับงบการเงินงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554ตรวจสอบโดยนายวิชัย รุจิตานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4054 บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท ซึ่งได้แสดงความเห็นว่างบการเงินรวมของบริษัทแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และได้ให้ข้อสังเกตในระหว่างปี 2554 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ ซึ่งกำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป เพื่อจัดทำและนำเสนองบการเงินนี้ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบได้แสดงตามรูปแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้ปรับปรุงภาระผูกพันที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 จากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 โดยใช้วิธีปรับกับกำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 นอกจากนี้ ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2 ในปี 2554 บริษัทฯได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ถาวรจากวิธีราคาที่ตีใหม่เป็นวิธีราคาทุนโดยใช้วิธีการปรับย้อนหลัง และปี 2553 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีในการแสดงราคาทุนของสินค้าคงเหลือจากวิธีเข้าก่อนออกก่อนเป็วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักสำหรับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555สอบทานโดยนายวิชัย รุจิตานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4054 บริษัท เอเอ็เอส ออดิท ซึ่งได้แสดงความเห็นว่าไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าข้อมูลทางการเงินระหว่างการดังกล่าวไม่ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่องงบการเงินระหว่างกาลในสาระสำคัญจากการสอบทาน

กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิและกำไรเบ็ดเสร็จสำหรับปี 2552 – ปี 2554 มูลค่าเท่ากับ 27.86 ล้านบาท 53.18 ล้านบาท และ 53.20ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราส่วนกำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 6.24 ร้อยละ 10.00 และร้อยละ 7.81 ตามลำดับ ในปี 2553 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.90 จากปี 2552 เนื่องจากกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประกอบกับค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงจากที่ไม่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมจากปี 2552 และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิและอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น สำหรับปี 2554ถึงแม้บริษัทจะมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น แต่ด้วยราคาวัตถุดิบเหล็กที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทตามสื่อต่างๆ และค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้บริษัทมีอัตรกำไรสุทธิลดลงทั้งนี้ กลุ่มบริษัทมีต้นทุนทางการเงินสำหรับปี 2552 – ปี 2554 จำนวน 10.82 ล้านบาท 9.40 ล้านบาท และ 12.66 ล้านบาทตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยจ่ายของเงินกูยืมจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศและเพื่อการลงทุนขยายการผลิต นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทมีภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2552 – ปี 2554 จำนวนเท่ากับ 13.19 ล้านบาท 24.40 ล้านบาทและ 22.74 ล้านบาท ตามลำดับ

      สำหรับงวด 9 เดือนปี 2555 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 74.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.91 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบเหล็กมีการปรับตัวลดลง ประกอบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเหลือร้อยละ 23 และบริษัทได้เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ส่งผลให้กลุ่มบริษัทมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.66 จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีอัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 7.98การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในปี 2552 – ปี 2554 และณ 30 กันยายน 2555

    อดีตที่ ARROW ได้บันทึกไว้ ช่วยสร้างปัจจุบัน และอนาคตให้เติบโตได้อย่างมั่นคง  และคริสมาสต์  ARROW พร้อมแล้วที่จะมอบของขวัญให้ทุกคน   
---จบ---

By:เครื่องเสียง

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้