Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ: ARROW ของขวัญ คริสมาสต์ (ต่อ1)

3,974


สภาพการแข่งขัน

    ท่อร้อยสายไฟฟ้า: ขนาดตลาดของท่อร้อยสายไฟฟ้าจะเติบโตตามอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้บริหารของบริษัทคาดว่ามูลค่าตลาดท่อร้อยสายไฟฟ้ามีมูลค่าประมาณ 1,600 ล้านบาท เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ในการวางระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารทุกประเภท ส่วนแบ่งการตลาดของ Arrow และ Union อยู่ใน 1 ใน 3 ลำดับแรกของมูลค่าตลาดทั้งหมด การแข่งขันในตลาดท่อร้อยสายไฟฟ้าอยู่ในระดับปานกลาง โดยการแข่งขันของท่อร้อยสายไฟฟ้าจะเน้นที่คุณภาพของสินค้า ราคาที่เหมาะสม และการให้บริการเป็นสำคัญ Arrow จะใช้เหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสี (Hot-dipped Galvanized) ซึ่งป็นการเคลือบผิวทั้งภายนอกและภายในทำให้สามารถกันสนิมได้ดี ทั้งนี้ สินค้าทดแทนท่อเหล็กร้อยสายไฟฟ้า ได้แก่ ท่อยูพีวีซี (UPVC) หรือ ท่อพลาสติก ซึ่งมีคุณภาพไม่ดีเท่าเหล็กชุบสังกะสี ปัจจุบันท่อร้อยสายไฟฟ้าจากต่างประเทศที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมีจำนวนน้อย เนื่องจากการผลิตภายในประเทศมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ บริษัทใช้กลยุทธการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเป็นหลักสำคัญ ประกอบกับความได้เปรียบด้านต้นทุนวัตถุดิบ เนื่องจากมีสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากทำให้มีอำนาจต่อรองด้านราคา รวมถึงการมีกำลังการผลิตและการเก็บสำรองวัตถุดิบและสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ บริษัทจะไม่ใช้การแข่งขันด้านการตัดราคาท่อประปาประเภท PP-R: ขนาดตลาดของท่อประปา จะเติบโตตามอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นวัสดุอุปกรณ์ในการต่อท่อน้ำประปาในการอุปโภคบริโภคในอาคาร บ้านเรือน โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ โดยท่อประปาประเภท PP-R จะเข้ามาทดแทนท่อประปาประเภท PVC โดยท่อประปาประเภท PPR ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูงและมีคุณสมบัติทนทานและปลอดภัยกว่าวัสดุประเภท PVC ซึ่งท่อประปาประเภท PPR ได้แพร่หลายในต่างประเทศมานานแล้ว ทั้งนี้ การแข่งขันในตลาดท่อประปา PPR ใน
    ประเทศไทยอยู่ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากผู้บริโภคยังไม่รู้จักประเภทผลิตภัณฑ์มากนัก ผู้ขายจึงต้องเน้นการให้ความรู้และประโยชน์ของการใช้ท่อประปา PP-R เพื่อสร้างมูลค่าตลาดให้เติบโตขึ้น และเพื่อใช้ทดแทนท่อประปาประเภท PVCท่อระบายอากาศ: ขนาดตลาดของท่อระบายอากาศจะเติบโตตามอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นท่อระบบปรับอากาศ (ระบบแอร์) ท่อลม ท่อระบายความร้อน ท่อลำเลียง(สินค้า) เป็นต้น โดยสัดส่วนของบริษัทผู้ผลิตที่มีโรงงานเป็นของตัวเองคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของการใช้ท่อระบายอากาศทั้งหมด และที่เหลือร้อยละ 60 จะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่ได้มีโรงงานเป็นของตัวเอง ส่วนแบ่งการตลาดของ Arrow Duct อยู่ในลำดับ 1 ใน 3 แรกของผู้ผลิตที่มีโรงงานเอง การเข้ามาแข่งขันในการผลิตท่อระบายอากาศนอกจากจะต้องมีการลงทุนในเครื่องจักรแล้ว จะต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะในการผลิตด้วยท่อก่อสร้าง: เนื่องจากท่อก่อสร้าง (Post tension Duct) เป็นวัสดุประกอบสำคัญของงานก่อสร้างคอนกรีตอัดแรง เพื่อเสริมความแข็งแกร่งการเกาะติดแน่นขึ้น ตลาดของท่อก่อสร้างจะเติบโตตามอุตสาหกรรมก่อสร้าง สำหรับการก่อสร้างบ้านอาคาร งานสร้างถนน สะพาน ก่อสร้างฐานราก ผนังอาคาร เป็นต้น ผู้ผลิตท่อก่อสร้าง Post Tension ปัจจุบันยังมีน้อยรายที่เป็นผู้ผลิตท่อ Post Tensionเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะผลิตเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการของตัวเอง ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย ทั้งนี้ ความรุนแรงในการแข่งขันยังไม่มากนัก

ความได้เปรียบในการแข่งขัน

    บริษัทมีนโยบายที่จะผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้บริษัทมีความพร้อมในด้านต่างๆ ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าบริษัทมีข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นในการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

    • เป็นบริษัท 1 ใน 3 บริษัทผู้นำตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ท่อเหล็กร้อยสายไฟฟ้า ทั้งประเภทท่อแหล็ก ท่อเหล็กอ่อน และท่อเหล็กอ่อนกันน้ำ สำหรับลูกค้าในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูลจากผู้บริหารของบริษัท)
    • มีผลิตภัณฑ์ท่อที่หลากหลาย ทั้งประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อประปาประเภท PPR ท่อระบายอากาศ และท่อก่อสร้าง ทำให้สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า
บริษัท แอร์โรว์ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) Arrow Syndicate Public Company Limited
    • ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล เช่นมาตรฐาน UL (Underwriters Laboratories INC.), มาตรฐาน DIN, มาตรฐาน SMACNA เป็นต้น และบริษัทได้รับการรับรองระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008
    • สร้างตราสินค้า (Brand) “Arrow” จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในกลุ่มผู้รับออกแบบระบบไฟฟ้า ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทภายใต้ตราสินค้า “Arrow” เป็นหนึ่งใน Vendor List ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
    • มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ซึ่งสามารถคัดเลือกเกรดวัตถุดิบให้ตรงกับการใช้งานของสินค้า และบริษัทมีความได้เปรียบในราคาเนื่องจากมีการสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก
    • ได้รับความไว้วางใจจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผลงานที่ผ่านมา เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ, สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, Airport Rail Link, อาคารการบินไทย, ศูนย์ราชการกรุงเทพฯ แจ้งวัฒนะ, ศูนย์การค้าเทสโก้โลตัส (ถ.สุขาภิบาล 1), ศูนย์การค้าบิ๊กซี(ธัญบุรี), อาคารคลังเก็บสินค้าดีทส์แฮล์ม 2, อาคารโรงงานโอสถสภา (จังหวัดอยุธยา), อาคารเอสพานาด, อาคาร Bliss Hotel,องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT), โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง เป็นต้น
    • บริษัทมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง โดยลูกค้าหลักของบริษัทเป็นร้านค้าตัวแทนจำหน่ายประมาณกว่า 60 ร้านทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นที่รู้จักในวงการรับเหมาก่อสร้าง
    • มีเครื่องจักรที่ทันสมัยในสายการผลิต และมีกำลังการผลิตของท่อร้อยสายไฟฟ้ามากถึง 4 สายการผลิต โดยมีสายการผลิตที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 1 สายการผลิต
    • ในปี 2554 บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการผลิตท่อเหล็กร้อยสายไฟ1 สายการผลิต การผลิตท่อเหล็กอ่อนกันน้ำ และการผลิตท่อประปา PPR โดยเริ่มใช้สิทธิเมื่อต้นปี 2555โครงการในอนาคตบริษัทมีแผนขยายการผลิตสำหรับรองรับการเติบโตของโครงการในปี 2556 โดยใช้เงินจากการเสนอขายหุ้นจากประชาชนในครั้งนี้และเงินกู้จากสถาบันการเงิน ดังนี้

    1. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตในขั้นตอนตัดเหล็กและเตรียมวัตถุดิบ สำหรับรองรับการขยายตัวของตลาดท่อระบายอากาศและท่อก่อสร้าง โดยในโครงการนี้บริษัทได้ซื้อที่ดินเพิ่มในบริเวณเดียวกับโรงงานเดิมอีกประมาณ 3.5 ไร่ เมื่อเดือนตุลาคม 2555เพื่อใช้ก่อสร้างขยายอาคารโรงงานจากเดิมอีกประมาณ 2,600 ตารางเมตร สำหรับติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการตัดเหล็กที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาทสำหรับที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง และอีกประมาณ 10 ล้านบาทสำหรับเครื่องจักรโดยโครงการลงทุนดังกล่าวจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตท่อก่อสร้างและท่อระบายอากาศอีกกว่าร้อยละ 50 และเพิ่มช่องทางการขายเหล็กแผ่นหากกำลังการผลิตยังคงเหลือ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2556 และเริ่มผลิตในไตรมาส 4 ของปี2556
    2. โครงการผลิตท่ออ่อนชนิดอลูมินัมฟรอยส์ สำหรับงานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยใช้เงินทุนสำหรับเครื่องจักร ประมาณ 5 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2556 และเริ่มผลิตในเดือนพฤษภาคม 2556
    3. โครงการขยายกำลังการผลิตท่อเหล็กอ่อนกันน้ำร้อยสายไฟ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศได้รับความเชื่อมั่นทั้งลูกค้าในและต่างประเทศ จำเป็นต้องขยายปริมาณการผลิตเพื่อรองรับตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการลงทุนโดยใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับการสั่งซื้อเครื่องจักรในการหุ้ม PVC สำหรับท่อกันน้ำ ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตอีกประมาณร้อยละ 25 หรือประมาณ 120 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2556 และเริ่มผลิตในเดือนเมษายน 2556

สรุปผลการดำเนินงาน
    กลุ่มบริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ท่อระบายอากาศ (Duct)ท่อก่อสร้าง (Post-Tension Duct) และท่อประปา PP-R รวมถึงอุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ โดยมีการจัดจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศผ่านช่องทางการจำหน่ายทางตรงต่อผู้รับเหมาก่อสร้างและเจ้าของโครงการ และผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทแบ่งเป็น ตัวแทนจำหน่าย (Dealer), ผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor), และเจ้าของโครงการ (Project Owner) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่จำเป็นในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การเติบโตของรายได้จึงเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมดังกล่าว และด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยราคาที่เหมาะสม และมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้ใช้ เป็นปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้บริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องผลการดำเนินงานในปี 2552 – ปี 2554 และงวด 9 เดือนปี 2555 กลุ่มบริษัทมีรายได้รวมจำนวนเท่ากับ 446.17 ล้านบาท531.88 ล้านบาท 681.60 ล้านบาท และ 586.80 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรายได้รวมดังกล่าวแบ่งเป็น (1) รายได้จากการขายในปี 2552– ปี 2554 และงวด 9 เดือนปี 2555 จำนวนเท่ากับ 435.95 ล้านบาท 513.65 ล้านบาท 667.64 ล้านบาท และ 572.90 ล้านบาทตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97.91 ร้อยละ 96.57 ร้อยละ 97.95 และร้อยละ 97.63 ของรายได้รวม ตามลำดับ มีอัตราการเติบโต
    คิดเป็นร้อยละ 17.82 ในปี 2553 ร้อยละ 29.98 ในปี 2554 และร้อยละ 11.85 สำหรับงวด 9 เดือนปี 2555 รายได้จากการขายมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากปริมาณการขายเพิ่มขึ้นเป็นหลักตามการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างและโครงการอสังหาริมทรัพย์ (2)รายได้จากการบริการในปี 2552 – ปี 2554 และงวด 9 เดือนปี 2555 จำนวนเท่ากับ 5.67 ล้านบาท 8.44 ล้านบาท 7.08 ล้านบาท และ4.46 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.28 ร้อยละ 1.59 ร้อยละ 1.04 และร้อยละ 0.76 ของรายได้รวม ตามลำดับ รายได้จากการบริการของกลุ่มบริษัทมีสัดส่วนไม่มาก เนื่องจากธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทคือการผลิตและจัดจำหน่าย โดยรายได้จากการบริการส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการบริการติดตั้งท่อระบายอากาศให้กับลูกค้าของบริษัท JSVT (3) รายได้อื่นในปี 2552 – ปี 2554 และงวด 9เดือนปี 2555 จำนวนเท่ากับ 4.52 ล้านบาท 9.80 ล้านบาท 6.88 ล้านบาท และ 9.43 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.01ร้อยละ 1.84 ร้อยละ 1.01 และร้อยละ 1.61 ของรายได้รวม ตามลำดับ รายได้อื่น ได้แก่ รายได้จากการขายเศษเหล็กเศษวัสดุ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ เป็นต้นกลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2552 – ปี 2554 และงวด 9 เดือนปี 2555 จำนวน 27.86 ล้านบาท 53.18 ล้านบาท 53.20ล้านบาท และ 74.30 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 6.24 ร้อยละ 10.00 ร้อยละ 7.81 และร้อยละ 12.66 ตามลำดับในปี 2553 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.90 จากปี 2552 เนื่องจากค่าซ่อมแซมเครื่องจักรลดลง ทำให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประกอบกับค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงจากที่ไม่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมจากปี 2552 และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิและอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น สำหรับปี 2554 ถึงแม้บริษัทจะมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น แต่ด้วยราคาเหล็กชุบสังกะสีซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทตามสื่อต่างๆ และค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิลดลง สำหรับงวด9 เดือนปี 2555 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 77.91 เนื่องจาก ราคาเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักเริ่มมีการปรับตัวลดลงส่งผลให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเหลือร้อยละ 23 และบริษัท
ได้เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI


สรุปฐานะการเงิน
    สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2552 - ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 เท่ากับ 356.07 ล้านบาท 476.65 ล้านบาท 580.77ล้านบาท และ 645.41 ล้านบาท ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ของสินทรัพย์รวมเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน โดยสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญประกอบด้วย
    (1) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - สุทธิ ณ สิ้นปี 2552 - ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 เท่ากับ 93.42 ล้านบาท119.41 ล้านบาท 143.03 ล้านบาท และ 202.03 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.24 ร้อยละ 25.05 ร้อยละ 24.63 และร้อยละ 31.30ของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ ลูกหนี้การค้าของกลุ่มบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยลูกหนี้การค้าส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ยังไม่ครบกำหนดชำระและลูกหนี้เกินกำหนดชำระไม่เกิน 3 เดือน คิดเป็นประมาณร้อยละ 95 ของลูกหนี้การค้ารวม โดยบริษัทมีระยะเวลาในการเก็บหนี้เฉลี่ยในปี 2552 – ปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 เท่ากับ 79 วัน 73 วัน 69 วัน และ 68 วัน ตามลำดับ โดยระยะเวลาในการเก็บหนี้เฉลี่ยดังกล่าวอยู่ในช่วงเครดิตเทอมในการชำระหนี้ที่ทางบริษัทให้แก่ลูกค้าคือ 60-90 วัน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดเก็บหนี้ที่ดีของบริษัท
    (2) สินค้าคงเหลือ - สุทธิ ณ สิ้นปี 2552 - ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 มีจำนวนเท่ากับ 92.97 ล้านบาท 195.04ล้านบาท 168.20 ล้านบาท และ 186.92 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.11 ร้อยละ 40.92 ร้อยละ 28.96 และร้อยละ28.96 ของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ โดยสินค้าคงเหลือส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 ของสินค้าคงเหลือรวมเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ เหล็กชุบสังกะสีและเม็ดพลาสติก เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่สั่งซื้อจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อให้มีปริมาณวัตถุดิบเพียงพอต่อความต้องการใช้ในการผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองด้านราคา และเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ บริษัทจึงมีการสำรองวัตถุดิบค่อนข้างมากและมีการสั่งซื้อล่วงหน้าอย่างน้อยประมาณ 2 เดือนทั้งนี้ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของบริษัท ณ สิ้นปี 2552 - ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 เท่ากับ 155.77 ล้านบาท158.86 ล้านบาท 259.77 ล้านบาท และ 253.64 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.75 ร้อยละ 33.33 ร้อยละ 44.73 และร้อยละ 39.30ของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของบริษัทประกอบด้วยสินทรัพย์ คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – สุทธิ ณ สิ้นปี 2552
    – ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 มีมูลค่าสุทธิเท่ากับ 124.29 ล้านบาท 104.58 ล้านบาท 208.73 ล้านบาท และ 223.24 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 34.91 ร้อยละ 21.94 ร้อยละ 35.94 และร้อยละ 34.59 ของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ โดยสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ เงินฝากประจำสถาบันการเงินที่ติดภาระค้ำประกัน และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งได้แก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัท เป็นต้น

    หนี้สิน ณ สิ้นปี 2552 – ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 มีจำนวนเท่ากับ 215.76 ล้านบาท 269.96 ล้านบาท315.28 ล้านบาท และ 357.50 ล้านบาท ตามลำดับ หนี้สินส่วนใหญ่ของบริษัทอยู่ในรูปของหนี้สินหมุนเวียน โดยหนี้สินหมุนเวียนที่สำคัญประกอบด้วย (1) เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ณ สิ้นปี 2552 – ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน2555 มีมูลค่าเท่ากับ 110.15 ล้านบาท 204.13 ล้านบาท 239.74 ล้านบาท และ 241.80 ล้านบาท ตามลำดับ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทมีการสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศในปริมาณมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการผลิต ซึ่งบริษัทจะชำระเงินค่าวัตถุดิบจากต่างประเทศทันทีโดยใช้เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินประเภททรัสต์รีซีท ทำให้บริษัทมีเงินกู้ยืมระยะสั้นประเภทดังกล่าวในสัดส่วนที่สูง (2) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ณ สิ้นปี 2552 – ณสิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 มีมูลค่ารวมเท่ากับ 59.64 ล้านบาท 27.25 ล้านบาท 30.93 ล้านบาท และ 42.86 ล้านบาทตามลำดับ เจ้าหนี้การค้าดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้การค้าในประเทศ โดยบริษัทได้รับ Credit Term จากเจ้าหนี้การค้าภายในประเทศประมาณ30 วัน สำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศจะชำระเงินทันที โดยใช้เงินกู้ยืมประเภททรัสต์รีซีท (TR) เมื่อได้รับเอกสารการส่งสินค้าจากผู้จัดจำหน่ายครบถ้วน ส่งผลให้บริษัทมีระยะเวลาในการชำระหนี้เฉลี่ยค่อนข้างสั้น (ไม่รวมเงินกู้ยืมประเภท TR) คือ เท่ากับ 36 วัน23 วัน 11 วัน และ 10 วัน ณ สิ้นปี 2552 – ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 ตามลำดับส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2552     – ณ สิ้นปี 2554 และ ณ 30 กันยายน 2555 มีมูลค่าเท่ากับ 140.24 ล้านบาท 206.69 ล้านบาท 265.49 ล้านบาท และ 287.90 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นทุกปีประกอบกับการเพิ่มทุนในปี 2553 และปี 2554 เพื่อสร้างโรงงานใหม่และเพิ่มกำลังการผลิต บริษัทมีการจ่ายเงินปันผลในปี 2552จำนวน 26.09 ล้านบาท และบริษัทไม่มีการจ่ายเงินปันผลในปี 2553 ทั้งนี้ ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2555 เมื่อวันที่ 26 เมษายน2555 ได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม ณ สิ้นปี 2554 ให้แก่ผู้ถือหุ้นหุ้นละ 53 บาท เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 69.93ล้านบาท โดยบริษัทได้ดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้กับผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 เว้นแต่การจ่ายปันผลแก่บริษัทแอล เค ซินดิเคท จำกัด จำนวน 21.2 ล้านบาทเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555 (ตามรายละเอียดตามส่วนที่ 2 ข้อ 12)
 

 

ต่อ..(1)

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้